New North Korean corvettes spotted
Airbus Defence and Space imagery showing two new corvettes at Najin in North Korea. Source: CNES 2016, Distribution Airbus DS/2016
http://www.janes.com/article/65451/new-north-korean-corvettes-spotted
ภาพถ่ายดาวเทียมของบริษัท Airbus Defence and Space เมื่อวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมาได้พบเรือคอร์เวตใหม่จำนวน 2ลำของกองทัพเรือประชาชนเกาหลี ที่ท่าเรือ Najin ใน Rason ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
เชื่อว่าน่าจะเป็นโครงการที่ต่อเนื่องมาจากที่รับรู้กันครั้งแรกในปี 2014 โดยตัวเรือคอร์เวตใหม่ทั้งสองลำของเกาหลีเหนือนี้ยาวประมาณ 77m และมีการวางรูปแบบที่คล้ายกันโดยเน้นความทันสมัยอย่างการออกแบบตัวเรือให้ลดการถูกตรวจจับได้ยากขึ้น
โดยส่วนที่แตกต่างกันของเรือทั้งสองลำคือลานจอดเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือความยาว 28m ของเรือคอร์เวตที่เก่ากว่าที่จอดอยู่ที่ท่าตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน ปี 2013
ส่วนเรือคอร์เวตที่ใหม่กว่ามีการติดตั้งอาวุธเพิ่มเติมมากกว่าซึ่งพบที่ท่าเรือตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี 2016 การเลี่ยงลานจอดเฮลิคอปเตอร์น่าจะเพื่อเพิ่มองค์ประกอบของดาดฟ้ายกและอาวุธเพิ่มเติม
เรือคอร์เวตใหม่ทั้ง 2ลำนี้ถูกพบในหลายช่วงเวลาเช่นที่ท่าเรือ Nampo ทางตะวันตกของประเทศ ซึ่งพบเรือคอร์เวตที่มีลานจอด ฮ.พบในช่วงเดือนมิถุนายน 2012 และเดือนเมษายน 2014
ขณะที่เรือคอร์เวตที่ใหม่กว่าซึ่งไม่มีลานจอด ฮ.ถูกพบเมื่อเดือนสิงหาคม 2014 ช่วงเวลาที่แตกต่างกันในการพบตัวเรือทั้งสองที่ Najin และ Nampo ถูกตั้งข้อสังเกตว่านั่นมีการออกแบบเรือในสองแบบ
https://www.nknews.org/2016/11/exclusive-new-low-visibility-corvette-spotted-in-north-korea/
ซึ่งภาพถ่ายดาวเทียมนี้เป็นการยืนยันภาพถ่ายของ Website ข่าว NK News เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่พบภาพถ่ายที่ Najin ในปี 2016 ของเรือคอร์เวตที่มีรูปทรงทันสมัยโดยมีคุณสมบัติลดภาคตัดขวาง Radar(RCS: Radar Cross Section)
ตามรายงานเรือคอร์เวตที่การออกแบบตัวเรือลดการสะท้อน Radar ที่พบที่ Najin นี้ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้, แท่นยิง Torpedo, ปืนใหญ่กลลำกล้องหมุน, และ 2แท่นยิงสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนต่อต้านเรือผิวน้ำ Kumsong-3
Kumsong-3 เป็นการกำหนดชื่อเรียกแบบอาวุธของกองทัพประชาชนเกาหลีสำหรับระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ 3K24E Uran-E และตัวอาวุธปล่อยนำวิถี 3M24E ของรัสเซีย ซึ่งเชื่อว่ารัสเซียได้ส่งออกระบบนี้ให้เกาหลีเหนือ
ซึ่ง Kumsong-3 ถูกเรียกโดยทางตะวันตกว่า KN-9 ซึ่งมีความสับสนในการกำหนดแบบบางประการเพราะถูกใช้เรียกทั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Kumsong-3 กองทัพเรือประชาชนเกาหลี และเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง 300mm ของกองทัพบกประชาชนเกาหลี
UMS Tabinshwehti Stealth Corvette Myanmar Navy
Kim Min Seok นักวิจัยอาวุโสเกาหลีใต้จาก Korea Defense and Security Forum(KODEF) ได้ให้ความเห็นว่าเรือคอร์เวตแบบใหม่ของเกาหลีเหนือนี้มีความเชื่อมโยงบางประการที่คล้ายคลึงกับเรือคอร์เวต Stealth กองทัพเรือพม่า UMS Tabinshwehti(พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้) 773
ซึ่งพัฒนาจากเรือคอร์เวตชั้น Anawratha 2ลำคือ UMS Anawratha(พระเจ้าอโนรธา) 771 และ UMS UMS Bayinnaung(พระเจ้าบุเรงนอง) 772 โดยมีรายงานเพิ่มเติมด้วยว่ากองทัพเรือพม่ากำลังอยู่ระหว่างสร้างเรือคอร์เวต Stealth ชั้น Tabinshwehti นี้เพิ่มอีก 1ลำ
ขณะเรือคอร์เวตและเรือฟริเกต Stealth ที่พม่าต่อเองในประเทศทั้งเรือคอร์เวตชั้น Tabinshwehti กับเรือฟริเกตชั้น Kyansittha 2ลำคือ F12 UMS Kyansittha(พระเจ้าจานสิตา) และ F14 Sinbyushin(พระเจ้ามังระ) นั้นติดตั้งระบบอาวุธและอุปกรณ์จากหลายแหล่ง
เช่น ปืนใหญ่เรือ Oto Melera 76/62 อิตาลีที่พม่าสร้างเองในประเทศ ปืนใหญ่กลระบบป้องกันระยะประชิด AK-630 และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้จากรัสเซีย อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ C-802A และระบบอาวุธปราบเรือดำน้ำจีนเป็นต้นนั้น
แต่เรือคอร์เวตของเกาหลีเหนือดูจะมีข้อจำกัดอย่างมากในการจัดหาแหล่งระบบอาวุธจากต่างประเทศมาติดตั้ง จึงต้องเน้นการพึ่งตนเองในการใช้ระบบที่สร้างเองในเกาหลีเหนือเป็นหลัก
รวมถึงข้อสังเกตที่ว่าเรือคอร์เวตเกาหลีเหนือลำที่มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์นั้นน่าจะไม่มีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ในตัวเรือ ซึ่งการมีลานจอด ฮ.ก็น่าจะเพื่อให้สามารถนำ ฮ.ลงจอดบนเรือได้ชั่วคราวเท่านั้น ไม่สามารถใช้เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำปฏิบัติการร่วมกับเรือได้
อีกทั้งการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนต่อต้านเรือผิวน้ำที่มีพิสัยยิงไกลกับเรือก็จะต้องมีการฝึกและพัฒนายุทธวิธีการรบซึ่งเกาหลีเหนือยังมีประสบการณ์ไม่มาก แต่จากการที่ถูกคว่ำบาตและกดดันจากประชาคมโลกทำให้เกาหลีเหนือมีความกดดันในการเร่งพัฒนาระบบอาวุธของตนเองมาตลอดครับ