วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อินโดนีเซียเปิดเผยแนวคิดเรือดำน้ำขนาดเล็ก แบบจำลองเท่าลำจริงเรือรถถัง X18 และเสนอการสร้างเรือยกพลขึ้นบก MRSS ให้มาเลเซีย

Indo Defence 2016: Indonesia unveils 22 m mini-submarine concept for special operations
A model of the 22 m mini-submarine concept on display at Indo Defence 2016. (IHS/Patrick Allen)
http://www.janes.com/article/65211/indo-defence-2016-indonesia-unveils-22-m-mini-submarine-concept-for-special-operations

Mini-submarine project ready to move ahead [INDODEF16-D3]
http://www.janes.com/article/65243/mini-submarine-project-ready-to-move-ahead-indodef16-d3

กลุ่มทำงานที่ประกอบด้วยฝ่ายวิจัยและพัฒนาอาวุธของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย(Balitbang Kemhan)และบริษัทอู่ต่อเรือ PT Palindo Marine อินโดนีเซีย ได้เปิดตัวแนวคิดเรือดำน้ำขนาดเล็ก(Kapal Selam Mini) ความยาว 22m ซึ่งกล่าวว่าเป็นการออกแบบในอินโดนีเซียทั้งหมด
แนวคิดดังกล่าวได้เริ่มตั้งขึ้นตามความต้องการสำหรับเรือใต้น้ำขนาดเล็กที่สามารถวางกำลังได้ในน่านน้ำชายฝั่งสำหรับภารกิจลับ เช่น การตรวจการณ์ และปฏิบัติการของหน่วยรบพิเศษ

ตัวแทนของ PT Palindo Marine กล่าวกับ Jane's เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Indo Defence 2016 ที่จัดขึ้นที่ Jakarta ระหว่างวันที่ 2-5 พฤศจิกายนว่า
การทำงานด้านแนวคิดได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2007 ถึงต้นปี 2016 ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาของอินโดนีเซียคือ
สถาบันเทคโนโลยี(ITS: Institut Teknologi Sepuluh Nopember), มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย(UI: University of Indonesia), สำนักงานการประเมินและประยุต์ใช้เทคโนโลยี(BPPT:Badan Pengkajian dan Penerapan Teknologi) และกระทรวงประสานงานกิจการทางทะเลอินโดนีเซีย
รวมกับบริษัทอุตสาหกรรมความมั่นคงอินโดนีเซีย เช่น PT Len, PT Dirgantara Indonesia, PT Barata และ PT RiSEA

แนวคิดเรือดำน้ำขนาดเล็กดังกล่าวมีความยาวเรือ 22m ความกว้างตัวถังความดันเรือ 3m มีระวางขับน้ำขณะดำใต้น้ำ 127.1tons มีความเร็วสูงสุดขณะดำใต้น้ำ 10knots สามารถปฏิบัติการโดยดำน้่ำได้ลึกที่สุด 150m ซึ่งการออกแบบจะถูกกำหนดเป็นมาตรฐาน DNV GL
ปฏิบัติการได้ 6วัน โดยดำใต้น้ำได้ต่อเนื่อง 3วันโดยไม่ใช้ท่อ Snorkel  มีกำลังพลประจำเรือ 5นาย และมีพื้นที่รองรับกำลังพลได้เพิ่มอีก 9นาย หรือนักประดาน้ำทำการบ 7นาย รวม 12-14นาย
เช่นที่เรือดำน้ำขนาดเล็กนี้มีความคิดริเริ่มหลักสำหรับการลาดตระเวนและขนส่งหน่วยรบพิเศษ การติดตั้งระบบอาวุธจึงไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบ ตามที่พนักงานวิศวกรของ PT Palindo Marine กล่าวว่า
"ณ เวลานี้มันยังเป็นเพียงแนวคิดเท่านั้น แต่เราคาดหวังถึงการได้รับสัญญา(จากกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย)ในการสั่งสร้างเรือต้นแบบที่ทำงานได้เพื่อพิสูจน์ถึงการออกแบบ การประเมินค่า" วิศวกรเรือกล่าว

บริษัท PT Palindo Marine กล่าวว่าจะมีแผนเริ่มต้นการก่อสร้างเตรียมอู่เรือใน Batam สำหรับการสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กต้นแบบสาธิตทางเทคโนโลยีภายในปีหน้า
โดยเฉพาะการสร้างตัวถังความดัน เพื่อพิสูจน์การออกแบบก่อนเข้าสู่สถานะความพร้อมในการผลิต ซึ่งทางบริษัทคาดว่าจะส่งมอบเรือต้นแบบสาธิตได้ในปี 2019 ครับ

Indo Defence 2016: Indonesian defence companies unveil mock-up of 'tank boat' concept
A full-sized mock-up of the 'tank boat' on display at Indo Defence 2016. Source: IHS/Ridzwan Rahmat 

กลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงอินโดนีเซียสองบริษัทคือ PT Lundin และ PT Pindad และบริษัท CMI Defence เบลเยียม ได้เปิดตัวแบบจำลองขนาดเท่าของจริงของ 'เรือรถถัง' ในงานแสดงอาวุธ Indo Defence 2016 ซึ่งหวังที่จะสร้างความสนใจในการจัดหาเรือ
เรือสนับสนุนการยิง X18 FSV(Fire Support Vessel) ขนาด 18m ของอู่ต่อเรือ PT Lundin นี้เคยเปิดตัวแบบจำลองขนาดเล็กในงาน Indo Defence 2014 มาแล้ว

จากข้อมูลที่ Jane's ได้รับจาการพูดคุยกับ Andri Setiyoso ผู้จัดการความร่วมมือทางธุรกิจของ PT Pindad ยืนยันว่ายังไม่มีสัญญาจัดหาสำหรับเรือจริงหรือเรือต้นแบบใดๆ ณ ขณะนี้จากกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย
เขากล่าวว่า PT Pindan ได้เข้ามาให้ความร่วมมือด้านเรือรถถังนี้กับ PT Lundin และ CMI Defence เมื่อต้นปีนี้ทางด้านผู้มีความชำนาญในการจัดการระบบอาวุธลักษณะเดียวกันนี้
ซึ่งเรือติดตั้งป้อมปืนใหญ่รถถังความดันสูง Cockerill 105mm ของ CMI Defence เป็นอาวุธหลัก และอาวุธรองป้อมปืน Remote Weapon Station แบบ BAE Systems/Bofors LEMUR ติดปืนใหญ่กล M230LF ขนาด 30mm 

"ในขั้นนี้เรายังคงดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติการของอาวุธหลักของเรือว่าจะมีผลต่อระบบเรือโดยรวมอย่างไร" นาย Andri กล่าวโดยเขาเสริมว่าเรือต้นแบบเพื่อวัตถุประสงค์มในการสาธิตจะถูกสร้างขึ้นเมื่อการศึกษานี้เสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น
อย่างไรก็ตามเขาได้ไม่ได้ให้รายละเอียดด้านระยะเวลาว่าเมื่อไรที่การศึกษาคาดว่าจะเสร็จสิ้นครับ

Indo Defence 2016: PT PAL signs MoU with Boustead to build Malaysian Navy ship in Indonesia
The MRSS will be based on a 150 m design by PT PAL that will be modified, according to the Royal Malaysian Navy's requirements. Source: IHS/Patrick Allen 

PT PAL รัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือของรัฐบาลอินโดนีเซียได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) กับ Boustead Naval Shipyard(BNS) มาเลเซีย 
ในการสร้างเรือสนับสนุนเอนกประสงค์ MRSS(Multirole Support Ship) ของกองทัพเรือมาเลเซียลำแรกในอินโดนีเซีย ซึ่งลงนามในงาน Indo Defence 2016 เมื่อวันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา 

ซึ่งจะนับเป็นโครงการแรกที่ PT PAL อินโดนีเซียจะสร้างเรือให้กองทัพเรือมาเลเซีย ถ้าทาง BNS มาเลเซียได้รับสัญญาจัดหาจากรัฐบาลมาเลเซีย
ผู้อำนวยการบริหารของ BNS นาย Ahmad Ramli Moh Nor ซึ่งเป็นผู้ลงนามบันทึกความเข้าใจในนามบริษัทมาเลเซียได้อธิบายถึงข้อตกลงดังกล่าวว่า
เป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ของทั้งสองประเทศที่ยังไม่เคยเป็นที่รับทราบถึงความร่วมมือหลักใดๆเกี่ยวกับระบบทางเรือก่อนความเป็นไปได้ในโครงการ MRSS นี้

ตามข้อมูลของ PT PAL การออกแบบพื้นฐานสำหรับแบบเรือที่คล้ายคลึงเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock-like) MRSS จะมีความยาวตัวเรือ 150m กว้าง 24m และกินน้ำลึก 6m
มีความเร็วสูงสุดประมาณ 18knots ความเร็วมัถยัสถ์ 15knots และปฏิบัติการได้ราว 30วัน เรือสามารถติดตั้งอาวุธปืนใหญ่เรือ 76mm และปืนกลหนัก 12.7mm ได้
(มีพื้นฐานจากเรือยกพลขึ้นบกชั้น Makassar ของกองทัพเรืออินโดนีเซีย ซึ่ง PT PAL ซื้อสิทธิบัตรจากบริษัท Daewoo เกาหลีใต้ เช่นเดียวกับเรือยกพลขึ้นบก SSV ที่สร้างให้กองทัพเรือฟิลิปปินส์ 2ลำ)

อย่างไรก็ตามตัวแทนของ PT PAL ได้กล่าวกับ Jane's ในงานว่าเน้นยำว่าการพูดคุยกับกองทัพเรือมาเลเซียและบริษัท BNS ยังคงดำเนินการอยู่ และการปรับแต่งพื้นฐานระบบเรือตามความต้องการเพื่อการปฏิบัติงานจะยังมีขึ้นในภายหลัง
โดยหนึ่งในความต้องการของกองทัพเรือมาเลเซียคือเรือจะต้องสามารถนำเฮลิคอปเตอร์ 2เครื่องปฏิบัติการบนลานจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือได้ ซึ่งอาจจะจำเป็นต้องขยายความยาวเรือเป็น 163m ครับ