HTMS Phutthayotfa Chulalok to Decommissioned at last fiscal year 2017 in 30 September 2017 follow her sister FFG-462 HTMS Phutthaloetla Naphalai which was Decommissioned in 1 April 2015
ปฏิบัติการรบผิวน้ำ พิชิตน่าฟ้านภากาศ
พิฆาตใต้น้ำมหาสมุทร พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
สำหรับประวัติความเป็นมาของ ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก นั้น กองทัพเรือไทยจัดหาเรือฟริเกตชั้น Knox มือสองจากกองทัพเรือสหรัฐฯ จำนวน 2 ลำ คือ
ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือเดิมคือ FF-1095 USS Truett ซึ่งเข้าประจำการเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ.2537 และ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย หรือเดิมคือ FF-1077 USS Ouellet ซึ่งเข้าประจำการเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ.2539
ซึ่งเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทั้งสองลำนั้นเป็นเรือฟริเกตชั้น Knox รุ่นที่ติดตั้งระบบป้องกันตัวระยะประชิด CIWS แบบ Phalanx ขนาด 20mm ซึ่งเดิมทีนั้น กองทัพเรือมีความต้องการในการจัดหาเรือฟริเกตชั้น Knox จำนวน 4-6 ลำ ในช่วงก่อน ปี 2540 แต่ได้ปรับลดเหลือเพียง 2 ลำ
โดยก่อนหน้านั้นกองทัพเรือต้องการจัดหาเรือพิฆาตชั้น Charles F. Adams มือสองจากสหรัฐฯ ซึ่งปลดประจำการในช่วงใกล้เคียงกัน เนื่องจากต้องการเรือที่มีแท่นยิง Mk13 สำหรับยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ RIM-66 Standard SM-1
แต่ทางสหรัฐฯได้เสนอเรือฟริเกตชั้น Knox ซึ่งตัวเรือมีอายุการใช้งานน้อยกว่าให้กองทัพเรือแทน ทั้งนี้สหรัฐฯ ยังได้ปฏิเสธที่จะเสนอเรือฟริเกตชั้น Knox ที่เป็นรุ่นติดตั้งแท่นยิง Mk25 สำหรับ RIM-7 Sea Sparrow ด้วย
เหตุผลที่กองทัพเรือปลดประจำการ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย ก่อน ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็เนื่องจากอายุการใช้งานตัวเรือโดยรวมที่มากกว่า
เพราะเดิมนั้น FF-1077 USS Ouellet นั้นเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯช่วงปี 1970–1993 ซึ่งตัวเรือได้ผ่านการปรับปรุงตัวเรือใหม่มาระยะหนึ่ง ก่อนที่จะส่งมอบให้กองทัพเรือไทยประจำการเป็น ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย
ขณะที่ FF-1095 USS Truett นั้นเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯช่วงปี 1974–1994 และส่งมอบให้กองทัพเรือไทยแบบ Hot Transfer ในปีเดียวกันที่ปลดคือ พ.ศ.2537
คุณสมบัติทั่วไป
ประเภทเรือ : FAST FRIGATE ,FF
หมายเลข : 461
วางกระดูกงู : 27 เม.ย. 2515
ปล่อยเรือลงน้ำ : 3 ก.พ. 2516
ขึ้นระวางประจำการที่สหรัฐฯ : 1 พ.ค. 2517
ขึ้นระวางประจำการที่ไทย : 30 ก.ค.2537
ผู้สร้าง : Avondale Shipyard, Bridge City, Louisiana สหรัฐอเมริกา
ระวางขับน้ำ : ปกติ ๓,๐๐๐ ตัน เต็มที่ ๔,๒๖๐ ตัน
ขนาด : ยาว ๑๓๓.๕ เมตร กว้าง ๑๔.๒ เมตร
กินน้ำลึก : หัวเรือ ๗.๘ เมตร ท้ายเรือ ๔.๖ เมตร
ความเร็ว : สูงสุด ๒๘ นอต มัธยัสถ์ ๑๕ นอต
รัศมีทำการที่ : ความเร็วสูงสุด ๓,๓๐๔ ไมล์ - ความเร็วมัธยัสถ์ ๕,๕๕๐ ไมล์
ลานจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ สำหรับ ฮ. Super Lynx 300 1 เครื่อง
ระบบตรวจการณ์
เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ AN/SPS-10
เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ AN/SPS-40B
เรดาร์ควบคุมการยิง AN/SPG-53
เรดาร์เดินเรือ Marconi LN-66
โซนาร์หัวเรือ AN/SQS-26CX
โซนาร์ชักหย่อน AN/SQS-35 (V)
โซนาร์ลากท้าย AN/SQR-18A (V) 1
ระบบ ESM AN/SLQ-32 (V) 2
ระบบอาวุธ
ปืนใหญ่เรือ Mk 42 ขนาด 5"/54 จำนวน ๑ กระบอก
ปืนกลขนาด .50 จำนวน ๔ กระบอก
ระบบป้องกันตัวระยะประชิด (CIWS) ๑ ระบบ
ระบบ ASROC ใช้ยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น สู่ พื้น ฮาร์พูน ๔ ท่อยิง
ระบบ ASROC ใช้ยิง จรวดปราบเรือดำน้ำ ได้ ๔ ท่อยิง
แท่นยิง TORPEDO MK.32 ใช้ยิงTORPEDO MK.44 TORPEDO MK.46
แท่นยิงเป้าลวง Mk.137 2 แท่น แท่นละ 6 ท่อยิง
เป้าลวงตอร์ปิโด AN/SLQ-25 1
ชุดระบบยิงเป้าลวง Mk.36 SRBOC
ตราประจำเรือ
ประกอบด้วย รูปเรืออยู่ภายใต้เลข ๑ ที่หมายถึงองค์รัชกาลที่ ๑ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ภายใต้เรือมีรัศมีครึ่งวงกลมหมายถึงขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำด้วยโซนาร์ที่มีประสิทธิภาพสูงร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ประจำเรือ
ทั้งหมดอยู่ในเกลียวเชือกอันหมายถึงความสามัคคีกลมเกลียวของกำลังพลประจำเรือ โดยอยู่ภายใต้พระมหามงกุฏแสดงถึงความพร้อมในการปกป้องรักษาอธิปไตย และองค์พระมหากษัตริย์ไทย
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1338591096262802&set=p.1338591096262802
https://www.facebook.com/palmphattanan/posts/738976412975770
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1338591096262802&set=p.1338591096262802
https://th-th.facebook.com/เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก-168872353155220/
สำหรับเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งเป็นเรือฟริเกตชั้น Knox ลำแรกของชุดที่เข้าประจำการในกองเรือไทยมาตั้งแต่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๗(1994) ซึ่งเดิมคือเรือฟริเกต FFG-1095 USS Truett กองทัพเรือสหรัฐฯที่ส่งมอบในรูปแบบ Hot Transfer นั้น
ล่าสุดวันที่ ๒๘ กันยายน ที่ผ่านมา ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้มีการทำพิธีปลดประจำการเรือแล้วตามแผนที่วางไว้ว่าจะปลดในช่วงสิ้นสุดปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ คือ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ตามเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ปลดประจำการไปก่อนเมื่อ ๑ เมษายน ๒๕๕๘(2015)(http://aagth1.blogspot.com/2015/04/blog-post_17.html)
ตามที่มีข้อมูลกองทัพเรือมีแผนนำ ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย ไปจอดบนบกเพื่อจัดทำเป็นเรือพิพิธภัณฑ์เช่นเดียวกับเรือที่เคยประจำการในกองทัพเรือหลายลำที่ปลดประจำการไปก่อนหน้านี้
ถ้านับอายุราชการในกองทัพเรือไทยแล้ว ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จะประจำการมาได้ ๒๓ปี แต่ถ้านับอายุการใช้งานตัวเรือตั้งแต่เข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯเมื่อ ๑ มิถุนายน ๒๕๑๗(1974) เรือจะมีอายุการใช้งานถึง ๔๓ปี ซึ่งเก่าและมีระบบอาวุธและอุปกรณ์ที่ล้าสมัยแล้วในปัจจุบัน
โดยตามกำหนดในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) กองทัพเรือไทยจะได้รับมอบเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำแรกคือ ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๓) ที่กำลังอยู่ระหว่างการติดตั้งระบบเพิ่มเติมที่อู่เรือบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) สาธาณรัฐเกาหลี
และมีแผนสร้างเรือฟริเกตชุด ร.ล.ท่าจีน อีก ๑ลำภายในไทยโดยการถ่ายทอด Technology แบบเรือฟริเกต DW3000F จาก DSME เกาหลีใต้ เป็นการทดแทนในส่วน กองเรือฟริเกตที่๑ ครับ