Mass Production Units of VT4(MBT-3000) Main Battle Tanks for Royal Thai Army unveiled in second NORINCO ARMOUR DAY 2017 at Inner Mongolia, China, 16 August 2017
งานแสดงยุทโธปกรณ์ผลิตภัณฑ์ของ NORINCO สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เขตปกครองตนเองมองโกเลียในเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคมที่ผ่านมานั้น นอกจากยานเกราะใหม่ๆแบบต่างๆ เช่น รถถังเบา VT5 รถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 และรถรบทหารราบ VN12 กับ VN17ใหม่แล้ว
NORINCO ยังได้เปิดตัวรถถังหลัก VT4 ในสายการผลิตจำนวนมากอีก ๗คันในสีพรางคล้ายแบบ Woodland NATO ซึ่งน่าจะชัดเจนว่าเป็นรถถังหลัก VT4 ของกองทัพบกไทย ที่หมายเลขบนป้อมปืนแสดงถึงคันที่๒๓
กองทัพบกไทยได้สั่งจัดหารถถังหลัก VT4 จากจีนระยะที่๑ จำนวน ๒๘คัน วงเงิน ๔,๙๘๔ล้านบาทในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) และระยะที่๒ อีก ๑๑คันในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) รวม ๓๙คัน โดยคาดว่าจะมีการลงนามสัญญาจัดหาอีกในปีหน้า(2018) เพื่อให้ครบทั้งกองพันอีกราว ๑๐คัน
จากการนำ ถ.หลัก VT4 มาแสดงในงานของ NORINCO ทำให้เป็นที่เชื่อว่ารถชุดแรกน่าจะส่งมอบให้กองทัพบกไทยได้ภายในปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า(2017-2018) โดยคาดว่าจะเข้าประจำการที่ กองพันทหารม้าที่๖ กรมทหารม้าที่๖ กองพลทหารม้าที่๓ เป็นหน่วยแรกครับ
M60A1 20th Cavalry Battalion Royal Guard, 5th Cavalry Regiment Royal Guard, 2nd Cavalry Division Royal Guard, Royal Thai Army at firing range, 14 May 2015
มีข้อมูลเพิ่มเติมรายงานมาว่ารถถังหลัก M60A1 ที่ประจำการใน กองพันทหารม้าที่๒๐ รักษาพระองค์, กรมทหารม้าที่๕ รักษาพระองค์, กองพลทหารม้าที่๒ รักษาพระองค์นั้น
กองทัพบกไทยมีแผนที่จะปรับปรุงความทันสมัยของรถถังหลัก M60A1 ซึ่งตามที่มีรายงานก่อนหน้านี้ว่าระบบควบคุมการยิง FCS-10MS อิสราเอลที่ได้รับการติดตั้งไปเมื่อ ๒๐กว่าปีที่แล้วนั้นมีอายุการใช้งานมากจำเป็นต้นเปลี่ยนใหม่(โครงการซ่อมคืนสภาพที่เคยทำไม่มีการดำเนินการต่อ)
ทั้งนี้กองทัพบกไทยได้ดำเนินการปรับปรุงรถถังหลัก M60A3 กองพันทหารม้าที่๑๗ รักษาพระองค์ กองพลทหารม้าที่๒ รักษาพระองค์ โดยบริษัท Elbit Systems อิสราเอลชุดแรก ๕คัน และกำลังดำเนินการปรับปรุง M60A3 กองพันทหารม้าที่๕ รักษาพระองค์ ๕คัน
และมีแผนที่จะทยอยปรับปรุง M60A3 อีก ๑๖คัน ทั้งรถของ ม.พัน.๑๗ รอ. และ ม.พัน.๕ รอ. รวมเป็น ๒๖คัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พล.ม.๒ รอ.จะยังคงประจำการรถถังหลักตระกูล M60 ไปอีกนานโดยปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้นตามงบประมาณที่จำกัดจะเอื้ออำนวยครับ
Royal Thai Army's Special Operation Battalion(former Task Force 90) with SR-25, SIG Sauer SSG 3000 and M110 SASS Sniper Rifles during RTA-US Army Special Forces Vector Balance Torch 17-1 exercise, 24 July-18 August 2017
การฝึกผสมระหว่างกองทัพบกไทยกับกองทัพบกสหรัฐฯ ภายใต้รหัส " Vector Balance Torch 17-1"
กองทัพบกโดย กองพันปฏิบัติการพิเศษ ทำการฝึกร่วมกับหน่วยรบพิเศษจากกองทัพบกสหรัฐฯ ภายใต้รหัส " Vector Balance Torch 17-1" ในห้วงระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 18 สิงหาคม 2560 ณ พื้นที่ฝึกใน อ.ประจวบคีรีขันธ์, จ.สระบุรี, จ.ชลบุรี, กรุงเทพฯ,จ.ลพบุรี และ ชัยนาท
ในการฝึกครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์กับหน่วยรบพิเศษสหรัฐฯ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาหน่วยรบพิเศษของกองทัพบกไทยต่อไป
Result of Sniper Frontier 2017 Thailand team taked 15th place with WRONG National Flag picture(that Tajikistan flag)
สำหรับผลการแข่งขันพลซุ่มยิงนานาชาติ Sniper Frontier 2017 ในการแข่งทางทหารนานาชาติ International Army Games 2017 ที่คาซัคสถานซึ่งการแข่งที่จบลงในวันที่ ๘ สิงหาคมนั้นทีมไทยได้เพียงอันดับที่๑๕ ตามที่ได้รายงานไป
โดยผลการแข่งSniper Frontier 2017 ผู้ชนะอันดับที่๑ คาซัคสถาน(เจ้าภาพ) อันดับที่๒ รัสเซีย(เจ้าภาพร่วม) อันดับที่๓ จีน(เจ้าภาพร่วม) อันดับที่๔ เบลารุส และอันดับที่๕ อุซเบกิสถาน
(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/sniper-frontier-2017.html http://aagth1.blogspot.com/2017/08/sniper-frontier-2017_9.html)
ก็อย่างที่เห็นครับว่าอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ชุดพลซุ่มยิงกองทัพไทยได้คะแนนไม่ดีมีสองประเด็นคือ สรีระร่างกายที่แข็งแรงไม่พอจะสู้ชาติอื่นที่ลงแข่งได้ กับกติกาในการแข่งและอาวุธที่จัดหาให้ใช้โดยเจ้าภาพซึ่งเป็นอาวุธที่ไม่มีใช้ในกองทัพไทยและตำรวจไทย
พลซุ่มยิงของกองทัพบกไทย, กองทัพเรือไทย กองทัพอากาศไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่คัดมาอยู่ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์ต่อต้านการก่อการร้ายสากล กองบัญชาการกองทัพไทย ศตก.บก.ทท(CTOC: Counter Terrorist Operations Center)
ล้วนเป็นกำลังพลชุดพลซุ่มยิงที่มีความชำนาญสูงสุดในกองทัพไทย แต่ทว่าทักษะที่เรามีไม่สามารถจะนำมาใช้ในการแข่งทางทหารที่เอื้ออำนวยให้รัสเซียกับชาติพันธมิตรชนะและปิดประตูให้ทีมกองทัพไทยต้องแพ้ลักษณะนี้ได้
(แถมผลการแข่งที่ลงใน Website ทางการของกระทรวงกลาโหมรัสเซียที่ลงธงชาติไทยผิดเป็นธงชาติทาจิกิสถาน ก็แสดงให้เห็นว่ารัสเซียไม่ได้ใส่ใจอะไรกับไทยเราเลย http://aagth1.blogspot.com/2017/08/tank-biathlon-2017-sniper-frontier-2017.html)
ส่วนตัวมองว่ากองทัพไทยควรจะต้องพิจารณาให้รอบคอบครับว่า เราควรจะส่งกำลังพลไปลงแข่งในปีต่อๆไปโดยเตรียมตัวให้พร้อมมากกว่านี้ก่อนดีหรือไม่ หรือควรจะขยายการส่งกำลังพลไปแข่งในรายการอื่นที่แข่งอย่างไรกลุ่มประเทศเจ้าภาพก็ได้รางวัลชนะเลิศหรือไม่ครับ
Hanuman Guardian 2017 is Royal Thai Army and US Army Pacific Command exercise designed Military-to-Military relationships and mission readiness.
การฝึกผสม ระหว่างกองทัพบกไทยและกองทัพบกสหรัฐฯ(กองบัญชาการแปซิฟิค) ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาโดยมีพื้นที่การฝึกหลักที่ค่ายสุรสีห์ กองพลทหารราบที่๙ กาญจนบุรี นั้น
ก็เป็นหนึ่งในการฝึกขนาดใหญ่ระหว่างกองทัพไทย-สหรัฐฯ ที่มีการนำกำลังพลและยุทโธปกรณ์หลายแบบเข้าร่วมการฝึก ทั้งยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 ของไทย ยานเกราะล้อยาง Stryker และเฮลิคอปเตอร์ UH-60 กองทัพบกสหรัฐฯ
เป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ทางทหารที่แน่นแฟ้นอันดีระหว่างกองทัพบกไทยและกองทัพบกสหรัฐอย่างชัดเจนดีครับ
กองเรือยุทธการ สนับสนุนเรือและอากาศยานให้นายทหารนักเรียนหลักสูตรยุทธวิธีเรือผิวน้ำ ออกเรือฝึกภาคปฏิบัติในทะเล ระหว่างวันที่ 15-18 สิงหาคม 2560
โดยมีเรือและอากาศยานร่วมการฝึกครั้งนี้ได้แก่ เรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน เรือหลวงสายบุรี เรือหลวงปัตตานี เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบที่ 1 (S– 70 B) จำนวน 1 เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงและกู้ภัย (MH-60S ) จำนวน 1 เครื่อง
เพื่อให้นายทหารนักเรียนและนายทหารประจำเรือมีความรู้ความสามารถด้านการปฏิบัติการทางเรือต่างๆ และการปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือรบและอากาศยานของกองทัพเรือ ซึ่งในปัจจุบันมีการฝึกการปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือรบและอากาศยานของกองทัพอากาศด้วย
นับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพเรือให้มีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้น นับเป็นการวางพื้นฐานสำคัญในการสร้างนายทหารที่เป็นผู้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางเรือ อันจะเป็นกำลังสำคัญของกองทัพเรือต่อไปในอนาคต
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/1636336289751054
หมู่เรือเฉพาะกิจ ร.ล.จักรีนฤเบศร ที่เข้าร่วมการสนับสนุนการฝึกในหลักสูตรยุทธวิธีเรือผิวน้ำของนายทหารนักเรียนกองทัพเรือ ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๘ สิงหาคมที่ผ่านมา
เป็นการแสดงหลักฐานที่ชัดเจนในการยืนยันว่า ร.ล.จักรีนฤเบศร ไม่ได้จอดเทียบท่าที่ฐานทัพเรือเฉยๆ แต่มีภารกิจออกฝึกประจำตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) นี้ ร.ล.จักรีนฤเบศรก็ออกเรือปฏิบัติการในทะเลมาหลายครั้งแล้ว เช่น
การฝึกผสม CARAT 2017 ที่อ่าวไทย และ การฝึกผสม Guardian Sea 2017 ที่ทะเลอันดามัน กับกองทัพเรือสหรัฐฯ, การฝึกร่วมกองทัพเรือและการฝึกร่วมกองทัพไทยประจำปี ๒๕๖๐ และการอวดธงที่งานแสดงอาวุธทางเรือ IMDEX ASIA 2017 ที่สิงคโปร์
การที่กลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อประเทศชาติที่มักจะนำมาใช้เป็นประเด็นยกขึ้นมาโจมตีบ่อยครั้งว่า ร.ล.จักรีนฤเบศร แต่ละปีไม่เคยออกทะเลเพราะสิ้นเปลืองมากจนเพรียงเกาะเต็มท้องเรือนั้น จึงเป็นเรื่องที่ไม่เป็นความจริงโดยสิ้นเชิงครับ
Royal Thai Navy's Carrier Task Group of Surface Warfare course 2017 include CVH-911 HTMS Chakri Naruebet, FFG-421 HMTS HTMS Naresuan, FFG-422 HTMS Taksin and FFG-458 HTMS Saiburi with 1 SH-60B and 1 MH-60S, 15-18 August 2017
โดยมีเรือและอากาศยานร่วมการฝึกครั้งนี้ได้แก่ เรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน เรือหลวงสายบุรี เรือหลวงปัตตานี เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบที่ 1 (S– 70 B) จำนวน 1 เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงและกู้ภัย (MH-60S ) จำนวน 1 เครื่อง
เพื่อให้นายทหารนักเรียนและนายทหารประจำเรือมีความรู้ความสามารถด้านการปฏิบัติการทางเรือต่างๆ และการปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือรบและอากาศยานของกองทัพเรือ ซึ่งในปัจจุบันมีการฝึกการปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือรบและอากาศยานของกองทัพอากาศด้วย
นับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพเรือให้มีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้น นับเป็นการวางพื้นฐานสำคัญในการสร้างนายทหารที่เป็นผู้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางเรือ อันจะเป็นกำลังสำคัญของกองทัพเรือต่อไปในอนาคต
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/1636336289751054
หมู่เรือเฉพาะกิจ ร.ล.จักรีนฤเบศร ที่เข้าร่วมการสนับสนุนการฝึกในหลักสูตรยุทธวิธีเรือผิวน้ำของนายทหารนักเรียนกองทัพเรือ ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๘ สิงหาคมที่ผ่านมา
เป็นการแสดงหลักฐานที่ชัดเจนในการยืนยันว่า ร.ล.จักรีนฤเบศร ไม่ได้จอดเทียบท่าที่ฐานทัพเรือเฉยๆ แต่มีภารกิจออกฝึกประจำตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) นี้ ร.ล.จักรีนฤเบศรก็ออกเรือปฏิบัติการในทะเลมาหลายครั้งแล้ว เช่น
การฝึกผสม CARAT 2017 ที่อ่าวไทย และ การฝึกผสม Guardian Sea 2017 ที่ทะเลอันดามัน กับกองทัพเรือสหรัฐฯ, การฝึกร่วมกองทัพเรือและการฝึกร่วมกองทัพไทยประจำปี ๒๕๖๐ และการอวดธงที่งานแสดงอาวุธทางเรือ IMDEX ASIA 2017 ที่สิงคโปร์
การที่กลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อประเทศชาติที่มักจะนำมาใช้เป็นประเด็นยกขึ้นมาโจมตีบ่อยครั้งว่า ร.ล.จักรีนฤเบศร แต่ละปีไม่เคยออกทะเลเพราะสิ้นเปลืองมากจนเพรียงเกาะเต็มท้องเรือนั้น จึงเป็นเรื่องที่ไม่เป็นความจริงโดยสิ้นเชิงครับ
Royal Thai Navy LST-722 HTMS Surin Radio Mast damaged after collide Krungthep Bridge at Chao Phraya river in Bangkok, 3 August 2017
กรณีที่กองทัพเรือไทยถูกวิจารณ์ในทางลบอย่างมากในเดือนสิงหาคมคือ อุบัติเหตุเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ร.ล.สุรินทร์ ขณะเดินทางในแม่น้ำเจ้าพระยาลอดผ่านสะพานกรุงเทพขณะเปิดสะพาน แต่เสากระโดงที่ติดตั้งชุดสายอากาศวิทยุชนสะพานได้รับความเสียหาย
โดยสะพานกรุงเทพเป็นสะพานโยกแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังคงเปิดใช้งาน โดยเริ่มเปิดใช้งานมาตั้งแต่วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ๒๕๐๒(1959)
ทางโฆษกกองทัพเรือได้มีการชี้แจงต่อสาธารณชนแล้วว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเหตุสุดวิสัย เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาขณะนั้นสูงมากและมีคลื่นใต้น้ำไหลแรง แม้ว่าจะมีการเตรียมการป้องกันแล้วแต่ก็เกิดเหตุขึ้น
โดยความเสียหายตัวเรืออยู่ในระดับที่ซ่อมแซมได้ซึ่งปัจจุบัน ร.ล.สุรินทร์ ได้จอดเทียบท่าที่อู่พระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ เพื่อรอการประเมินความเสียหาย และทางกองทัพเรือจะตั้งคณะกรรมการสอบสวนสาเหตุต่อไป
ร.ล.สุรินทร์ เป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ชุดแรกๆ ที่สร้างในไทยโดยบริษัทอู่เรือกรุงเทพ Bangkok Dock เข้าประจำการเมื่อ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๒(1989) (เหตุเกิดขณะเรือเดินทางออกจาก อู่กรุงเทพ หลังการซ่อมบำรุงตามวงรอบ)
มีระวางขับน้ำเต็มที่ 4,245tons ความยาวตลอดลำ 112.5m กว้าง 15.4m สูงถึงยอดเสา 21.2m กินน้ำลึกสุด 4.14m ความเร็วสูงสุด 16knots ความเร็วมัธยัสถ์ 12knots พิสัยทำการ 7,000nmi กำลังพลประจำเรือ ๑๒๒นาย
อาวุธปืนใหญ่กล Bofors 40/L70 ๑กระบอก, ปืนใหญ่กล Rheinmetall Mk20 20mm ๒กระบอก, ปืนกลหนัก M2 .50cal ๒กระบอก มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์บนดาดฟ้าเรือ รองรับ ฮ.ขนาดกลาง หรือรถยนต์บรรทุก HMMWV 1 1/4tons ได้ ๑๐คัน
รองรับเรือระบายพลขนาดเล็ก LCVP ๔ลำ บรรทุกทหารราบได้ ๓๕๔นาย รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 ๑๒คัน หรือรถถังหลัก M60 ๑๓คัน หรือยุทโธปกรณ์หนัก 850tons
ร.ล.สุรินทร์ได้ปฏิบัติราชการสนามมาหลายครั้ง เช่น ภารกิจการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติที่ติมอร์ตะวันออกเมื่อปี ๒๕๔๗(2004) การฝึกนักเรียนนายเรือ และการฝึกร่วมกับกองทัพมิตรประเทศต่างๆ เช่น Cobra Gold และ CARAT
อย่างไรก็ตามเหตุดังกล่าวได้ถูกนำมาเป็นประเด็นโจมตีโดยผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมืองว่า ผู้บังคับการเรือ ต้นเรือ ต้นหน ต้นกล และกำลังประจำเรือ ร.ล.สุรินทร์ ทุกนายไร้ความสามารถทำงานประมาทเลินเล่อผลาญภาษีประชาชน และกองทัพเรือแถลงแก้ตัวไม่ยอมรับความผิดใดๆ
นี่เป็นอีกกรณีหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า แม้จะเป็นเพียงอุบัติเหตุเล็กน้อยแต่ผู้มีประสงค์ร้ายต่อชาติบ้านเมืองของเราก็นำมาโจมตีกองทัพเรือราวกับว่าทหารเรือไทยสะเพร่าเอาเรือไปจมในแม่น้ำ
โดยต้องการให้ทหารเรือทุกนายที่เกี่ยวข้องต้องถูกลงโทษสถานหนักจนถึงขั้นไล่ออกจากราชการ รวมถึงการใช้ถ้อยคำผรุสวาทโจมตีแบบเหมารวมอย่างไร้สติสัมปชัญญะ
Royal Thai Navy's new Frigate FFG-471 HTMS Tachin launching ceremony at Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) Okpo-Dong shipyard, Geoje, South Gyeongsang, Busan, Republic of Korea, 23 January 2017
Royal Thai Navy's RGM-84 Harpoon Anti-Ship Missile firing
หรือการที่สหรัฐฯอนุมัติการขายอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ RGM-84L Harpoon Block II ๕นัดและลูกฝึก RTM-84L ๑นัดวงเงิน $24.9 million หรือประมาณ ๘๓๑ล้านบาท ตามที่ได้รายงานไป(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/harpoon-block-ii.html)
ก็ถูกนำมาโจมตีว่าเป็นการจัดหาอาวุธเพื่อเอาใจสหรัฐฯในจำนวนน้อยแต่มีราคาแพง ทั้งๆที่ไม่ได้ดูความเป็นจริงเลยว่าระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำตระกูล Harpoon นั้นเป็นระบบที่กองทัพเรือไทยจัดหามาใช้มานานกว่า ๓๐ปี เช่นที่ติดในเรือคอร์เวตชุด ร.ล.รัตนโกสินทร์ แล้ว
ซึ่ง Harpoon Block II เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำรุ่นใหม่ที่จะถูกนำมาเป็นอาวุธหลักหนึ่งของเรือฟริเกตสมรรถนะสูงชุด ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๓) ที่กำลังดำเนินการสร้างที่อู่เรือบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลี ที่จะส่งมอบในปีหน้า(2018)
เป็นหนึ่งในระบบอาวุธที่จัดหาจากสหรัฐฯร่วมกับ Phalanx CIWS 20mm และ RIM-162 ESSM พร้อม Mk41 VLS การที่จัดหามาในจำนวนน้อยก็เนื่องจากตัวจรวดมีอายุการจำกัดจึงทยอยสั่งมาทีละน้อยเพื่อให้หมดอายุเป็นชุดๆไป(วงเงิน $25 million สำหรับการจัดหาอาวุธถือว่าน้อยมาก)
หรือแม้แต่การที่กองทัพเรือส่งกำลังพล เรือตรวจการณ์ลำน้ำ และเรือผลักดันน้ำ ช่วยเหตุน้ำท่วมในภาคอีสาน ที่ทหารเรือและเรือของกองเรือลำน้ำ และหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง นรข. ทำการช่วยเหลือประชาชนแบบไม่หยุดพักทั้งวันทั้งคืน
กลับถูกคนบางกลุ่มใส่ร้ายว่าเป็นการทำแบบเสียไม่ได้เพื่อเอาหน้าผู้บังคับบัญชา แถมการช่วยเหลือต่างๆที่กล่าวมาเช่นการใช้เรือดันน้ำก็ไม่ได้มีประโยชน์ช่วยระบายน้ำอะไรได้จริง และทหารเรือไม่ได้ทำงานเปล่าๆแต่ทำเพื่อเอาเงินเดือนตามหน้าที่เท่านั้น
ซึ่งประชาชนผู้เห็นแก่ตัวส่วนหนึ่งที่ไม่ต้องการเสียภาษีให้กองทัพเรือแต่อยากได้นู่นได้นี่โดยที่ตัวเองไม่ต้องจ่ายอะไรเลย และบรรดาสื่อปลอมไร้จรรยาบรรณที่เป็นแหล่งมั่วสุมกระจายขายข่าวเท็จทำลายขวัญกำลังใจเจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจเหล่านี่ต่างหากที่เป็นภัยคุกคามของชาติที่แท้จริงครับ
First Flight of T-50TH Lead-In Fighter Trainer serial number 40101, 401st Squadron, Wing 4, Royal Thai Air Force at Korea Aerospace Industries facility Republic of Korea 10 August 2017
ตามที่ page Facebook กองทัพอากาศไทยได้เผยแพร่ภาพการทดสอบการบินขึ้นครั้งแรกของเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ KAI T-50TH ที่โรงงานอากาศยาน Korea Aerospace Industries สาธารณรัฐเกาหลี
โดย T-50TH ที่ปรากฎในภาพมีหมายเลขเครื่อง 40101 เป็นเครื่องแรกในจำนวนชุดแรก ๔เครื่องของฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี ที่สั่งจัดหาในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ระยะที่๑ วงเงิน ๓,๗๐๐ล้านบาท($108 million) เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๘(2015)
ขณะนี้นอกจาก T-50TH หมายเลข 40101 ยังไม่พบภาพเครื่องหมายเลขอื่น(40102, 40103 และ 40104) ในสายการผลิตของโรงงาน KAI แต่เข้าใจว่าน่าจะมีการเปิดตัวครบทั้ง ๔เครื่องในช่วงใกล้ส่งมอบตามกำหนดในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018)
ทั้งนี้ตามที่คณะรัฐมนตรีไทยได้อนุมัติโครงการจัดหา T-50TH ระยะที่๒ อีก ๘เครื่องวงเงินประมาณ ๘,๘๐๐ล้านบาท($258 million) ไปเมื่อ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐(2017) โดยกองทัพอากาศไทยต้องการ T-50TH ครบฝูงราว ๑๖เครื่อง
ก็ควรจะมีลงนามสัญญาจัดหาระหว่างกองทัพอากาศไทยกับ KAI เกาหลีใต้ในเร็วๆนี้ครับ เพราะสายการผลิตจะได้ต่อเนื่องส่งมอบได้รวดเร็วทันใช้งาน เพื่อทดแทน บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ที่จะย้ายไปรวมที่ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ ฝูงเดียวเป็นฝูงสุดท้ายก่อนจะยุบฝูง
ถ้าดูตัวอย่างเช่น กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ลงนามจัดหา FA-50PH ๑๒เครื่องเมื่อ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๗(2014) ใช้เวลาส่งมอบครบ ๑๒เครื่อง ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐(2017) รวมระยะเวลาราว ๓ปี ถ้ากองทัพอากาศไทยลงนาม T-50TH ระยะที่๒ และระยะที่๓ ช้าก็จะได้รับมอบเครื่องช้าตามครับ
J-10A People's Liberation Army Air Force at Zhuhai Airshow(wikipedia.org)
การฝึกผสม Falcon Strike 2017 ซึ่งเป็นการฝึกผสมทางอากาศร่วมกับระหว่างกองทัพอากาศไทย(Royal Thai Air Force) และกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army Air Force) ระหว่างวันที่ ๑๗ สิงหาคม-๓กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐(2017) นั้น
ขณะที่ข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมจีนระบุว่าได้ส่งเครื่องบินขับไล่ J-10A จำนวน ๖เครื่องพร้อมเครื่องบินลำเลียงหนัก IL-76 สำหรับสนับสนุน เดินทางมาฝึกที่พื้นที่ประเทศไทย
แต่ทางกระทรวงกลาโหมและกองทัพอากาศไทยนั้นกลับไม่มีการแถลงข่าวประสัมพันธ์ข้อมูลใดๆออกมาเลย นอกจากมีข้อมูลเล็กน้อยมากว่าพื้นที่การฝึกน่าจะเป็น กองบิน๒๓ อุดรธานี โดยกองทัพอากาศไทยน่าจะนำเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet ฝูงบิน๒๓๑ ทำการฝึกกับฝ่ายจีน
ทำให้การฝึกผสม Falcon Strike 2017 ซึ่งเป็นครั้งที่๒ มีความต่างจากการฝึกผสม Falcon Strike 2015 ที่เป็นครั้งแรกที่ทำการฝึกที่ กองบิน๑ โคราช ช่วงวันที่ ๑๖-๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๘(2015)มาก
เพราะการฝึก Falcon Strike ครั้งแรกนั้นฝ่ายจีนส่ง J-11(Su-27SK) ทำการฝึกร่วมกับเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎณ์ธานี ซึ่งแม้ว่าผลการฝึกจะเป็นความลับของกองทัพอากาศทั้งสองประเทศ แต่ก็มีการประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณชน
ดูเหมือนจะมีการวิเคราะห์ตามข่าวลือมาว่ากองทัพอากาศไทยได้รับการรอขอจากมิตรประเทศไม่ให้นำอากาศยานรบสมรรถนะสูงที่ผลิตโดยตะวันตก เช่น บ.ข.๑๙ F-16A/B Block 15 OCU, ADF และ EMLU รวมถึง Gripen มาฝึกกับจีน เพื่อเป็นการรักษาความลับข้อมูลระบบไม่ให้ถึงมือจีนครับ
F-16A/B ADF 102nd Squadron Royal Thai Air Force and F-16A/B/C/D 16 Squadron and Hawk 109/209 12 Squadron Indonesian Air Force in Elang Thainesia XVIII at Roesmin Nurjadin Airbase 30 July-10 August 2017
อย่างไรก็ตามการฝึกผสม Falcon Strike 2017 นั้นไม่ใช่การฝึกเดียวระหว่างกองทัพอากาศไทยและมิตรประเทศในช่วงนี้
โดยกองทัพอากาศไทยพึ่งจะเสร็จสิ้นการฝึกผสม Elang Thainesia XVIII กับกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara)ที่ ฐานทัพอากาศ Roesmin Nurjadin เมือง Pekanbaru อินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ ๓๐ กรกฎาคม-๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๐(2017)
ซึ่งการฝึก Elang Thainesia 2017 กองทัพอากาศไทยได้ส่งเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก. F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ ๖เครื่อง ฝึกกับ F-16A/B/C/D ฝูงบินที่16(Skadron Udara 16) ๕เครื่อง และ Hawk 109/209 ฝูงบินที่12(Skadron Udara 12) ๕เครื่องของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย
และระหว่างวันที่ ๓-๑๕ กันยายน กองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศออสเตรเลีย(Royal Australian Air Force) จะดำเนินการฝึกผสม THAI BOOMERANG 17 ที่กองบิน๑ โคราช
โดยการฝึก THAI BOOMERANG 2017 กองทัพอากาศไทยจะส่ง F-16 จากฝูงบิน ๑๐๒ กับ ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ และฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี ร่วมฝึกกับ F/A-18A/B ฝูงบิน75(No. 75 Squadron) กองทัพอากาศออสเตรเลียที่เดินทางมาไทย
ซึ่งกองทัพอากาศไทยก็เป็นหนึ่งในเหล่าทัพหลักทั้งสี่เหล่าทัพที่มีการฝึกร่วมกับนานามิตรประเทศตลอดทั้งปีไม่มีหยุดพักครับ