MARSUN Thailand's shipbuidling company has showcased various types of Vessles at Defense and Security Thailand 2017.(My Own Photo)
Model of Marsun M18-S Fast Assault Boat(My Own Photo)
Model of Marsun M21 Patrol Boat Royal Thai Navy T.228-class, T.232-class, T.261-class, T.265-class and T.270-class(My Own Photo)
Model of Marsun M36 Mk II Patrol Boat(My Own Photo)
Model of Marsun M58 Patrol Gun Boat Royal Thai Navy HTMS Laemsing class(My Own Photo)
Model of Marsun M30 Patrol Boat(My Own Photo)
Model of Marsun M36 Mk I Patrol Boat Royal Thai Navy T.111-class(My Own Photo)
Model of Marsun M39 Fast Attack Missile craft Pakistan Navy Jurrat-class(My Own Photo)
LRAD corporation/MARSUN Long Range Acoustic Device(My Own Photo)
บริษัท มาร์ซัน จำกัด(Marsun) ได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์ทางเรือหลายแบบที่ได้รับการสร้างเข้าประจำการในกองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy) และหน่วยงานทางน้ำอื่นๆของไทย เช่น ตำรวจน้ำ(Marine Police, Royal Thai Police) และการส่งออกแก่ต่างประเทศ
ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense and Security 2017 ที่ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๖-๙ พฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ บริษัท Marsun ยังได้เปิดตัวแบนแผนยานผิวน้ำไร้คนขับ USV(Unmanned Surface Vehicle) ใหม่ด้วย
ยานผิวน้ำไร้คนขับ USV-10 ของ Marsun มีความยาวเรือ 10m กว้าง 3.2m กินน้ำลึก 0.5m ความจุเชื้อเพลิง 1,000liter ทำความเร็วได้สูงสุดมากกว่า 45knots พิสัยทำการมากกว่า 300nmi
ตัวเรือสร้างวัสดุผสม(Composite Meterials) รวมถึงติดตั้งเครื่องยนต์เรือเร็ว Speed Boat สองเครื่อง ซึ่งการออกแบบสร้างจะพยายามใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ในตลาด(Off the Shelf) เพื่อลดราคาไม่ให้สูงเท่าระบบ USV ของต่างประเทศ
ยานผิวน้ำไร้คนขับ USV ถูกออกแบบมาสำหรับภารกิจที่เสี่ยงอันตรายที่ไม่ต้องการส่งเรือที่มีคนประจำเรือปฏิบัติงานเข้าไป โดยแบบเรือ USV ที่จัดแสดงในงานมีการติดตั้งแท่นยิงปืนกล Remote Weapon Station ที่หัวเรือ และแท่นยิงเป้าลวงหรือระเบิดควันที่ท้ายเรือ
อย่างไรก็ตามยาน USV สามารถถูกนำมาใช้ในภารกิจไม่ใช่การรบในสงครามหรืองานพลเรือนได้ เช่นทางตัวเรือเป็นสีส้มแล้วติดเครื่องฉีดน้ำ/สารเคมีดับเพลิง อุปกรณ์สำรวจทรัพยากรทางทะเล เครื่องกำจัดคราบน้ำมันและสารเคมี
ทั้งนี้ MARSUN ได้ร่วมกับ LRAD corporation จัดแสดงนำเสนอระบบเครื่องส่งคลื่นเสียงระยะไกล Long Range Acoustic Device สำหรับการปราบจลาจล หรือจะติดระบบยิงลำแสง laser ที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต หรือเครื่องกระจายเสียงได้
USV ของ Marsun ยังรองรับภารกิจค้นหาและกู้ภัยทางน้ำ โดยนำทุ่นแพชูชีพ(Life Raft) ไปได้สองชุด รวมถึงอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle)ขนาดเล็ก และมีพื้นที่สะพานเดินเรือสำหรับให้คนบังคับได้
อย่างไรก็ตามทาง Marsun ระบุว่าแบบยานผิวน้ำไร้คนขับ USV ที่แสดงในขณะนี้ยังเป็นเพียงแนวความคิดเบื้องต้นเท่านั้น ที่การออกแบบระบบต้นแบบจริงยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้นจึงยังไม่สามารถจะบอกได้ในขณะนี้ว่า จะมีการสร้างและทดสอบระบบยานผิวน้ำไร้คนขับ USV ต้นแบบจริงได้เมื่อไร
ปัจจุบันอู่ต่อเรือของบริษัท Marsun ได้รับการสั่งจัดหาเรือเฉพาะในส่วนของกองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy) ก็มีเป็นจำนวนมากที่สร้างเสร็จส่งมอบไปแล้วและกำลังอยู่ระหว่างการสร้างตามสัญญาอีกหลายชุด
อาทิ เรือตรวจการณ์ชายฝั่งแบบ Marsun M21 ชุดเรือ ต.228 ๓ลำ, ชุดเรือ ต.232 ๖ลำ และล่าสุดชุดเรือ ต.261 ๔ลำ รับมอบเมื่อ ๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐ ที่ผ่านมา
ซึ่งกองทัพเรือได้สั่งต่อเรือ ตกช.ชุดเรือ ต.265 ๕ลำ และชุดเรือ ต.270 ๕ลำ จะทำให้กองทัพเรือมีเรือตรวจการณ์ชายฝั่งใหม่รวมทั้งหมด ๒๓ลำ(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/261.html)
แบบเรือเร็ว M18 คือเรือปฏิบัติการพิเศษชุดเรือ พ.51 ๔ลำ ที่ประจำการในหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ โดยบริษัทได้เสนอแบบเรือเร็วปฏิบัติการพิเศษ M18-S ที่ปรับปรุงเพิ่มเติม
เรือตรวจการณ์ปืนชุด ร.ล.แหลมสิงห์ แบบเรือ M58 ซึ่งต่อโดยกรมอู่ทหารเรือ ที่เข้าประจำการไปแล้วเมื่อ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙(http://aagth1.blogspot.com/2016/09/blog-post_21.html)
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด ต.991 ๓ลำ และชุด ต.994 ๓ลำ, เรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำ ชุด เรือ ล.161 ๓ลำคือแบบเรือ M10 และชุด เรือ ล.164 ๖ลำคือ แบบเรือ M10 Mk II และเรือสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือชุดเรือ ต.111 ๓ลำคือแบบเรือ M36
ตามที่กองทัพเรือไทยได้ตั้งโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ๒ลำใหม่ วงเงิน ๔๗๕ล้านบาท นั้น Marsun ได้เสนอแบบเรือ M36 Mk II ซึ่งปรับปรุงจากชุดเรือ ต.111 โดยรูปแบบกระบวนการการจัดหานั้นจะเป็นขั้นตอนจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ
ทั้งนี้บริษัท Marsun ยังได้มองโอกาสในการเข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ของหลายประเทศแถบเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ซึ่งในโครงการหลายประเทศแบบเรือของไทยได้รับความสนใจเข้ารอบในอันดับต้นๆแล้ว
โดย Marsun เคยมีประสบการณ์ส่งออกสิทธิบัตรแบบเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ M39 หรือชั้น Jurrat กองทัพเรือปากีสถาน ๒ลำที่ต่อโดยอู่เรือ Karachi ครับ