วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

TKMS เสนอเรือคอร์เวต MEKO A-100 และ BAE Systems เสนอเรือฟริเกต Type 31 แก่กองทัพเรือไทย


ThyssenKrupp Marine Systems(TKMS) has showcased Model of Blohm+Voss Class MEKO A-100 Corvette/Light Frigate for Royal Thai Navy and HDW class Type 209/1400mod Submarine
at Defense and Security 2017 exhibition in Bangkok Thailand on 6-9 November.(My Own Photos)

Defence & Security 2017: BAE Systems positions Type 31 frigate for Thailand
Cammell Laird and BAE Systems will bid the Leander design to meet the Type 31e requirement. (Cammell Laird)
http://www.janes.com/article/75449/defence-security-2017-bae-systems-positions-type-31-frigate-for-thailand

บริษัท ThyssenKrupp Marine Systems(TKMS) เยอรมนีได้นำเสนอแบบเรือคอร์เวต/ฟริเกตเบา MEKO A-100 ของตนเป็นตัวเลือกหนึ่งของโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งและเรือฟริเกตใหม่ในอนาคตของกองทัพ
ตามบริษัทได้จัดแสดงแบบจำลองผลิตภัณฑ์ของตนในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense and Security 2017 ที่ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๖-๙ พฤศจิกายนที่ผ่านมา

โดยบริษัท Blohm+Voss ในเครือ TKMS เยอรมนีนั้นได้มีการเจรจากับบริษัท Marsun ไทยในความร่วมมือถ่ายทอด Technology ในการพัฒนาเรือรบตั้งแต่เรือตรวจการณ์จนถึงเรือฟริเกตในการลงทุนอัตราส่วน 50:50
ที่น่าจะรวมถึงการเสนอแบบเรือคอร์เวต MEKO A-100 ที่ถ้าได้รับเลือกก็จะทำการสร้างในไทยด้วย (http://www.janes.com/article/66495/thai-shipbuilder-marsun-plans-ipo-to-support-expansion)

แบบเรือ MEKO นั้นถูกออกแบบมาเป็นระบบ Modular ที่สามารถเลือกติดตั้งอาวุธและอุปกรณ์ได้ตามความต้องการลูกค้า ซึ่งประเทศที่ได้จัดหาแบบเรือ MEKO A-100 พร้อมสิทธิบัตรการสร้างในประเทศแล้วมีเช่น เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ORP Ślązak กองทัพเรือโปแลนด์(Polish Navy)
ทั้งนี้ TKMS ยังได้แสดงแบบจำลองเรือดำน้ำ Type 209/1400mod ของบริษัท Howaldtswerke-Deutsche Werft(HDW) ในเครือ แสดงถึงการมองโอกาสในการเสนอเรือดำน้ำของตนในภูมิภาค ASEAN อยู่

บริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักรได้วางตำแหน่งแบบเรือฟริเกตเอนกประสงค์ Type 31 ของตนเพื่อให้ตรงความต้องการในโอกาสที่เป็นไปได้ของของกองทัพเรือไทยสำหรับการเพิ่มเติมกำลังเรือผิวน้ำในอนาคต ตามที่โฆษกของบริษัทกล่าวกับ Jane's ในงาน Defense and Security 2017
ซึ่งบริษัทได้เสนอที่จะถ่ายทอด Technology การสร้างเรือภายในประเทศไทย ที่ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ร่วมกับบริษัท อู่กรุงเทพ(Bangkok Dock) ไทยมีประสบการณ์ในการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ทั้งสองลำมาแล้ว

ชุด ร.ล.กระบี่ของไทยนั้นได้ใช้สิทธิบัตรแบบเรือ 90m Offshore Patrol Vessel(OPV) ของ BAE Systems เช่นเดียวกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น River กองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy) ซึ่งทางบริษัทกล่าวว่ามีข้อจำกัดทางการรบในสงครามตามแบบ
ดังนั้น BAE Systems จึงได้แสนอแบบเรือฟริเกต Type 31e ของตนที่เข้าแข่งขันในโครงการจัดหาของกองทัพเรืออังกฤษจำนวนขั้นต้น ๕ลำ ซึ่งพัฒนาจากแบบเรือ 99mm corvette คือเรือคอร์เวตชั้น Khareef กองทัพเรือโอมาน(Royal Navy of Oman)

ปัจจุบันกองทัพเรือไทยได้สั่งจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๓) ที่สร้างโดยบริษัท Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลีในปี พ.ศ.๒๕๕๖(2013) วงเงินรวมประมาณ ๑๔,๙๙๗ล้านบาท($400 miilon)
โดยเรือฟริเกต ร.ล.ท่าจีน ลำใหม่มีกำหนดส่งมอบให้กองทัพเรือไทยในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ซึ่ง DSME เกาหลีใต้มุ่งหวังที่จะได้สัญญาการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำที่๒ ที่จะมีการถ่ายทอด Technology เพื่อสร้างภายในไทย

ทั้งนี้ กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทยยังมีความต้องการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งรวม ๖ลำ เพิ่มเติมจากชุด ร.ล.ปัตตานี ๒ลำ(ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.) ชุด ร.ล.กระบี่ ทั้งสองลำ(ร.ล.กระบี่ และ ร.ล.ตรัง) คือเรือ ตกก.เพิ่มอีกอย่างน้อย ๒ลำ
เช่นเดียวกับ กองเรือฟริเกตที่๑ กองเรือยุทธการ ที่มีการปลดประจำการเรือฟริเกตชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ๒ลำ(ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย)ไปแล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_30.html) รวมถึงเรือฟริเกตชุด ร.ล.ตาปี ๒ลำ(ร.ล.ตาปี ร.ล.คีรีรัฐ) ในอนาคตครับ