วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๔-๑





Ten weeks in Thailand: 1st SFG (A) Green Beret is first U.S. Soldier to complete Royal Thai Army’s Ranger School
From Oct. 17 to Dec. 29, 2020, a Green Beret with 1st Special Forces Group (Airborne) attended the RTA’s Ranger School in the Kingdom of Thailand and earned the Thai Ranger Badge along with recognition as the course’s distinguished graduate.

กำลังพลจากกลุ่มรบพิเศษที่1 (ส่งทางอากาศ) 'Green Beret' กองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) ได้เข้ารับการฝึกหลักสูตรจู่โจม(Ranger School) ของกองทัพบกไทย ระหว่างวันที่ ๑๗ ตุลาคม-๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ที่ผ่านมา เป็นนายแรกในรอบ ๔๐ปีนั้น
เป็นหนึ่งในการแสดงถึงความสัมพันธ์ทางทหารที่แข็งแกร่งและยาวนานระหว่างกันของกองทัพบกสหรัฐฯและกองทัพบกไทย ซึ่งก่อนหน้านี้เองก็มีกองทัพมิตรประเทศเช่นจากชาติตะวันตกที่เข้ารับการฝึกหลักสูตรส่งทางอากาศ(พลร่ม Airborne) จากกองทัพบกไทยมาบ้างแล้ว
ตามที่การฝึกหลักสูตรทางทหารในกองทัพบกไทยจะใช้ภาษาไทยในการสื่อสารซึ่งเป็นอุปสรรคสำหรับทหารต่างประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นๆ แต่ที่ผ่านมาหลายปีมานี้กองทัพบกไทยมีนโยบายระดับผู้บัญชาการที่ส่งเสริมให้กำลังพลมีทักษะการใช้ภาษอังกฤษให้ดียิ่งขึ้นอย่างมากครับ

3rd infantry Battalion, 29th Infantry Regiment, 9th Infantry Division, 1st Army Area, Royal Thai Army's Israel Weapon Industries (IWI) ACE-N 23 5.56x45mm rifles with IWI GL40 40x46mm grenade launcher.



...ศึกษาเพื่อความรู้...ฝึกฝนเพื่อความเชี่ยวชาญ... 
...Learn for knowledge...Train to expert.…

กองทัพภาคที่ 1 โดย พลทหารราบที่ 9 ( กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 29 ) จัดการเรียนการสอน ( Unit School ) ให้กับกำลังพล รวมถึงทดสอบการยิง เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม. IWI GL40 ประกอบปืนเล็กยาว IWI Galil ACE 
ณ สนามยิงปืนอินทรีย์ทอง เพื่อเป็นการเพิ่มพูนประสิทธิภาพ และความชำนาญในการใช้อาวุธของกำลังพล ที่มุ่งไปสู่ผลสัมฤทธิ์ ตามนโยบายการฝึกของกองทัพบก

กองพันทหารราบที่๓ กรมทหารราบที่๒๙ กองพลทหารราบที่๙ กองทัพภาคที่๑ กองทัพบกไทย ได้ทำการทดสอบยิงเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40x46mm แบบ IWI GL40 ประกอบปืนเล็กยาว IWI Galil ACE-N 23 ขนาด 5.56x45mm ในฐานะส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน Unit School
เป็นที่เข้าใจว่าเครื่องยิงลูกระเบิด IWI GL40 ดังกล่าวถูกจัดหาในโครงการวงเงิน ๒๘,๘๑๒,๙๖๐บาท($906,355) ราคาต่อหน่วย ๕๘,๒๐๘บาท($1,831) (๔๙๕กระบอก) มีผู้เสนอราคาคือบริษัท Israel Weapon Industries LTD.(IWI) อิสราเอล ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
การจัดหา ค.IWI GL 40 จะทำให้หมู่ปืนเล็กใช้ปืนแบบเดียวกันทั้งหมู่ลดปัญหาสายการส่งกำลังบำรุงปืนที่ต่างแบบกันในหน่วย เช่นที่เกิดกับบางหน่วยที่ใช้ปืนเล็กยาวจู่โจม ปลย.๕๐ TAVOR TAR ที่ยังจะใช้ปืนเล็กยาวจู่โจม M16A2 ติด ค.M203 40mm อยู่ครับ






Officers from Royal Thai Army (RTA) Cavalry Center visit Weapon Production Center, Defence Industry and Energy Center (WPC, DIEC) and demonstrated firing of ATMM(Autonomous Truck Mounted Mortar) 120mm, 81mm mortar NORINCO Type 85 Armored Personnel Carrier (APC) chassis and 120mm mortar turret for mounting on vehicle at RTA Artillery Center Range, Lopburi province in December 2020.

เมื่อ 071000 - 071500 ธ.ค.63 พล.ต.มนัส จันดี ผบ.ศม.ได้นำคณะผู้บังคับบัญชา ศม.และผู้แทนหน่วย ม.เข้าเยี่ยมชมสายการผลิตและดูการสาธิตการยิงอาวุธยุทโธปกรณ์ ณ ศอว.ศอพท.อ.เมือง จว.ล.บ. 
โดยห้วงเช้า เป็นการรับฟังการบรรยายสรุปการดำเนินการโครงการปรับปรุงพัฒนา ค.ขนาด 120 มม.แบบอัตตาจรล้อยาง(ATMM),ระบบรับแรง ค.ขนาด 81 มม.ติดตั้งบน รสพ.30( T85),ค.ขนาด 120 มม.ติดตั้งระบบรับแรง,ลย./ค.และกระสุนปืนใหญ่รถถัง 
และชมผลิตภัณฑ์และสายการผลิต ณ กองการผลิต รง.ปค.ศอว.ศอพท. ห้วงบ่ายเป็นการชมการสาธิตการยิง ค.ขนาด 81 มม.ติดตั้งระบบรับแรงบน รสพ.30(T85),ค.ขนาด 120 มม.ติดตั้งระบบรับแรง และ ค.ขนาด 120 มม.แบบอัตตาจรล้อยาง(ATMM) ณ สนามยิงปืน ศป.(เขาพุโลน)

การเยี่ยมชมกิจการของ ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศอว.ศอพท. ของศูนย์การทหารม้า กองทัพบกไทย เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓ ที่ผ่านมา ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพัฒนาระบบเครื่องลูกระเบิดในไทยหลายระบบ
เช่น เครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรล้อยาง ATMM(Autonomous Truck Mounted Mortar) ขนาด 120mm ที่สร้างในไทย ซึ่งกองทัพบกไทยมีสั่งการจัดหารวมแล้วสามระยะจำนวนรวมมากกว่า ๙ระบบแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/atmg-atmm.html)
รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงระบบรับแรงเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 81mm บนรถสายพานลำเลียง รสพ.๓๐ Type 85 และระบบรับแรงเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 120mm สำหรับติดตั้งบนยานยนต์ เป็นการยืดอายุระบบอาวุธที่มีอยู่เพื่อใช้งานต่อไป และใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในไทยได้เป็นส่วนใหญ่ครับ




Royal Thai Army's Rapid Deployment Operation Vehicle from Polaris Inc.

โครงการรถปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว สำหรับหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจลาดตระเวน หรือขนย้ายยุทโธปกรณ์ โดยสามารถเข้าถึงเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว ยกระดับในการปฏิบัติภารกิจให้กับบุคลากร เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงาน ด้วยนวัตกรรมทางยุทโธปกรณ์ 
GR TECHNICAL CO.,LTD ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อความมั่นคง สำหรับภาครัฐและเอกชน

โครงการรถปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว เป็นที่เข้าใจว่าเป็นการจัดหารถยนต์บรรทุกวิบาก UTV(Utility Terrain Vehicle) หรือรถ Side-by-side จากบริษัท Polaris Inc. สหรัฐฯ โดยตัวแทนจัดจำหน่ายในไทยคือบริษัท GR TECHNICAL จำกัด
โดย หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ กองทัพบกไทย ก็มีการพบเห็นว่ามีการใช้งานรถยนต์บรรทุกวิบากสำหรับปฏิบัติการพิเศษของ Polaris สหรัฐฯ มาก่อนหน้าแล้วจำนวนหนึ่ง ซึ่งการจัดหาใหม่อาจจะเป็นความต้องการในส่วนหน่วยเคลื่อนที่เร็ว(RDF: Rapid Deployment Force) หรือไม่ก็ไม่ทราบ
ซึ่งรถยนต์บรรทุกวิบาก Polaris MRZR เป็นต้นรุ่นนี้ก็ได้รับการจัดหาโดยหน่วยปฏิบัติการพิเศษของกองทัพและหน่วยงานด้านความมั่นคงของหลายประเทศ เช่น นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) ซึ่งได้เคยนำมาฝึกที่ไทยหลายครั้งแล้วครับ




Leopard 4x4 by Thailand company Panus Assembly based-on Ford sport utility vehicle (SUV).

เผยโฉมรถใหม่จากพนัสฯ “ Leopard ” ทำส่งนอก อินโดนีเซียสั่งซื้อ 115 คัน! 
ภาพที่เห็นอยู่นี้คือรถ 4 X 4 ผลงานล่าสุดจากบริษัทพนัส แอสเซมบลีย์ เป็นรถยนต์หุ้มเกราะเอนกประสงค์ ตัวรถใช้พื้นฐานโครงสร้างชัชชี่และภายในของ รถ ฟอร์ด มีน้ำหนัก 4.2 ตัน ติดตั้งเครื่องยนต์ขนาด 200 แรงม้า ระบบเกียร์อัตโนมัติ ตัวรถหุ้มเกราะกันกระสุนระดับ NIJ Level 3 
ซึ่งได้มีการทดสอบยิงเกราะมาแล้ว ภายในสามารถบรรทุกคนได้ 4 คน พร้อมสิ่งของและอุปกรณ์อื่นๆ แต่ถ้าใช้บรรทุกคนอย่างเดียวจุได้รวม 10 คน บนหลังคาสามารถติดอาวุธปืนได้ เนื่องจากเป็นรถเอนกประสงค์ออกแบบและตกแต่งภายในตามแต่ภารกิจและความต้องการ 
สามารถติดตั้งระบบตัดสัญญานและแจมเมอร์ฯลฯ มีราคาคันละระหว่าง 3-7 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์และระบบอาวุธและอื่นๆ ....ปัจจุบันตำรวจอินโดนีเซียได้สั่งซื้อ “ Leopard ”  แล้ว 115 คัน ...นับเป็นความสำเร็จและน่าภาคภูมิใจบริษัทของคนไทยที่สามารถส่งออกขายให้กับต่างประเทศ 
อันแสดงถึงความเชื่อมั่นเชื่อถือในฝีมือของคนไทยเรา ...สำหรับตลาดในประเทศ ได้มีผู้แทนจากกองทัพบกมาดูผลงานแล้ว และพนัสฯกำลังจะเสนอขายให้กองทัพบกไทย ..ต้องมาติดตามกันต่อไปว่าอนาคตของ “เจ้าเสือดาว” ตัวนี้ว่าจะประสบผลสำเร็จในการขายให้กับกองทัพไทยเมื่อไร....

การส่งออกรถยนต์หุ้มเกราะ Leopard 4x4 ของ บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด(Panus Assembly Co Ltd.) ไทยแก่ตำรวจอินโดนีเซีย( Indonesian National Police, POLRI: Kepolisian Republik Indonesia) จำนวน ๑๑๕คัน 
นับเป็นความสำเร็จล่าสุดของการส่งออกรถหุ้มเกราะของไทยแก่อินโดนีเซีย ต่อจากที่ บริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ไทย ได้ส่งออกรถหุ้มเกราะล้อยางตระกูล First Win II 4x4
ในชื่อรถหุ้มเกราะล้อยาง Hanoman 4x4 แก่หน่วยต่อต้านการก่อการร้ายของหน่วยรบพิเศษกองทัพบกอินโดนีเซีย(Indonesian Army, TNI-AD: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Darat) ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/first-win-4x4.html)




Defence Technology Institute (DTI)'s Amphibious Armored Personnel Carrier (AAPC) 8x8 wheeled amphibious armored vehicle for Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy was test firing weapons at Ban Chan Krem, Chanthaburi, Thailand in 11-13 January 2021.

การทดสอบยิงอาวุธปืนใหญ่กล 30mm และปืนกลร่วมแกน 7.62mm จากป้อมปืน Remote แบบ ADDER M30 จากบริษัท ST Kinetics สิงคโปร์ของต้นแบบยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC) 8x8 สำหรับนาวิกโยธินไทย
ณ สนามฝึกยิงปืนหมายเลข๑๖ กองทัพเรือ บ้านจันทเขลม อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ ๑๑-๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๔ เป็นความคืบหน้าล่าสุดหลังจากที่ในปี พ.ศ.๒๕๖๓ ได้มีการนำยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก AAPC ทดสอบปฏิบัติการจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกเรือหลวงอ่างทอง
ตามที่กองทัพเรือไทยจะจัดหา AAPC 8x8 ขั้นต้น ๕คันซึ่งผลิตโดยบริษัท ช ทวี จำกัด(มหาชน)(CHOTHAVEE PLC) ไทย จากราคาต่อคันที่ราว ๑๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($5 million) และป้อมปืนที่ ๖๙,๓๐๐,๐๐๐บาท($2,281,356) จะเห็นว่าการพัฒนาอาวุธในไทยมีราคาโดยรวมที่ต้องจ่ายสูงครับ

QW-18 Vanguard Man-portable air-defence system (MANPADS) missile of 2nd Air Defense Regiment (ADR2), Naval Air and Coastal Defence Command (ACDC), Royal Thai Navy (RTN). 

Igla-S MANPADS missiles of Royal Thai Army.

The Dzhigit support launching unit (SLU) to mount, aim and launch two Igla or Igla-S MANPADS missiles on Land Rover Defender 4x4. 

โครงการจัดหาอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ จำนวน ๕ ชุดยิง สำหรับหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. วงเงิน ๒๔๖,๐๐๐,๐๐๐บาท($8,205,470)(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/manpads-4x4.html)
ก็เป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถการป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพเรือไทยในส่วน สอ.รฝ.ต่อเนื่องจากโครงการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่ ระยะที่๑ ที่น่าจะคือ FK-3 จีน(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/fk-3.html)
ตามที่กำหนดร่างขอบเขตของงาน(TOR: Terms of Reference) ระบุให้อาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานเป็นแบบที่มีใช้ในกองทัพไทยแล้ว บริษัท Datagate น่าจะเสนอ Igla-S หรือ Verba ส่วนบริษัท CVIC จีนน่าจะเสนอตระกูล Vanguard QW ติดกับแท่นยิงบนรถยนต์เฉพาะการหุ้มเกราะ 4x4ครับ

Royal Thai Air Force's RTAF U1-M Unmanned Combat Aerial Vehicle (UCAV) based-on Thailand company RV Connex's Sky Scout-X tactical Unmanned Aerial System (UAS). 



Thailand company's RV Connex unveiled Sky Scout-X unmanned combat aerial vehicle (UCAV) with two Thales's Freefall Lightweight Multirole Missiles (FFLMM) underwings for Royal Thai Air Force (RTAF) at Defense and Security 2019.(My Own Photos)

ประกาศ เปลี่ยนแปลงแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ โครงการผลิตอากาศยานไร้นักบินของกองทัพอากาศ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๔

กรมยุทธการทหารอากาศ(Directorate of Operations) กองทัพอากาศไทยได้ประกาศเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๔ การเปลี่ยนแปลงประกาศการจัดซื้อจัดจ้างโครงการผลิตอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธแบบ RTAF U1-M จำนวน ๓เครื่อง วงเงิน ๔๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($15 million) 
จากเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๓ เป็นเดือนมกราคม ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่าการจัดหาอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธ RTAF U1-M หนึ่งระบบ ๓เครื่องจากบริษัท RV Connex ประเทศไทย ตามแผนในสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html
โดยมีพื้นฐานจากอากาศยานไร้คนขับ RTAF U1 ที่เข้าประจำการในกองทัพอากาศไทยแล้ว อากาศยานไร้นักบินทางยุทธวิธีขนาดกลางติดอาวุธ RTAF U1-M จะติดอาวุธปล่อยนำวิถี FFLMM ของบริษัท Thales Air Defence สหราชอาณาจักรใต้ปีกทั้งสองข้างรวมสองนัดครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/f-5th-super-tigris-rtaf-u1-m-singapore.html)