RUAG International signs contract for the modernization of the Royal Thai
Navy’s Dornier 228.
RUAG MRO International is comprehensively modernizing Dornier 228 aircraft for
the Royal Thai Navy.
Royal Thai Navy, Do-228-212, 1114, Hat Yai intl Arpt, Jan 8,
2014(https://www.facebook.com/Wuachonsowo/photos/a.384276041645355/5215866491819595/)
RUAG MRO International ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานในท่าอากาศยาน Oberpfaffenhofen
แคว้น Bavaria เยอรมนี ของบริษัท RUAG สวิตเซอร์แลนด์
กำลังทำการปรับปรุงความทันสมัยอย่างครอบคลุมสำหรับ
เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลแบบที่๑ บ.ลว.๑ Dornier Do 228 ฝูงบิน๑๐๑ กองบิน๑
กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทย(101 Naval Air Squadron, Naval
Air Wing 1, Royal Thai Naval Air Division, RTN: Royal Thai Navy)
การปรับปรุงรวมถึงการติดตั้งห้องนักบินแบบ Glass Cockpit
และอุปกรณ์ระบบภารกิจใหม่ เช่นเดียวกับการปรับปรุงความทันสมัยของระบบ Avionic(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/do-228.html)
กองทัพเรือไทยใช้เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล บ.ลว.๑ Do 228
ของตนเพื่อตรวจการณ์เขตเศรษฐกิจจำเพาะ(EEZ: Exclusive Economic Zone) ที่เรียกว่า
"เขต ๒๐๐ ไมล์ทะเล"
เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล บ.ลว.๑ Do 228 และลูกเรือดำเนินภารกิจข่าวกรอง,
ตรวจการณ์, ลาดตระเวน(ISR: Intelligence, Surveillance and Reconnaissance)
ในน่านน้ำทะเลอาณาเขตของอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
เพื่อวัตถุประสงค์ในการตรวจการณ์พรมแดนทางทะเล
และเพื่อต่อสู้การค้าและการทำประมงผิดกฎหมาย
โดยขั้นต้นขณะนี้ RUAG จะปรับปรุงความทันสมัยของ บ.ลว.๑ Do 228 จำนวน
๒เครื่องจากทั้งหมด ๗เครื่องที่กองทัพเรือไทยมีประจำการ
นี่ยังรวมถึงการขนส่งเครื่องบินจากไทยมายังเยอรมนีและกลับไปยังไทย
และให้บริการฝึกการใช้งานสำหรับอุปกรณ์ใหม่
สำหรับการปรับปรุง Do 228 ได้ถูกถอดประกอบจากสถานที่ในไทย
จากนั้นเครื่องบินลำเลียงหนัก Antonov AN-124
ยูเครนได้ทำการบินขนส่งเครื่องบินมายัง Oberpfaffenhofen เยอรมนี
ที่ซึ่งผู้เชี่ยวชาญของ RUAG MRO International
ได้ดำเนินการตรวจสอบตัวเครื่องอย่างครอบคลุม
ในส่วนขั้นตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญของ RUAG MRO International
พวกเขาได้ลบการทำสีและเครื่องหมายต่างๆบนตัวเครื่องทั้งหมด
และขจัดความเสียหายจากการผุกร่อนต่อโครงสร้างอากาศยานซึ่งมีอายุการใช้มาแล้ว ๒๕ปี
เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล บ.ลว.๑ Do 228
กองทัพเรือไทยจะได้รับการติดตั้งห้องนักบินแบบ glass cockpit และระบบ Avionic
รุ่นใหม่ต่างๆ(COM, NAV)
พื้นที่ภายใน, ห้องนักบิน และห้องบรรทุกของเครื่องยังจะได้รับซ่อมปรับปรุงใหม่
บ.ลว.๑ Do 228
จะได้รับอุปกรณ์ระบบภารกิจรุ่นใหม่ที่ทำให้ภารกิจสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากขึ้น
อุปกรณ์ใหม่ต่างๆเหล่านี้รวมถึง Radar ตรวจการณ์ 360degree,
กล้องสร้างภาพความร้อน Infrared
เช่นเดียวกับระบบจัดการภารกิจและการเชื่อมโยงเครือข่าย data link
สำหรับส่งข้อมูลไปยังสถานีภาคพื้นดินและ/หรือเรือ
เนื่องจากการปรับปรุงความทันสมัยของเครื่อง นักบิน, กำลังพลประจำเครื่อง
และช่างอากาศยาน จำเป็นจะต้องได้รับการฝึกสำหรับการใช้งานอุปกรณ์ใหม่
ดังนั้น RUAG MRO International
ยังจะดำเนินการฝึกอบรมให้กับกำลังพลประจำเครื่องและช่างอากาศยาน
โดยส่วนหนึ่งในเยอรมนีและอีกส่วนที่สถานที่ในไทย
ทีมนักบินของโรงงานอากาศยาน RUAG
จะรับผิดชอบการทำการบินเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล บ.ลว.๑ Do 228
ที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยแล้วจากเยอรมนีมายังสนามบินอู่ตะเภา(U-Tapao Royal Thai Navy Airfield) กองทัพเรือไทย
กองทัพเรือไทยนั้นพึ่งพาความเป็นไปได้ในความพร้อมสูงสุดของอากาศยานของตนที่จะทำให้สามารถดำเนินภารกิจหน้าที่ในการปกป้องอธิปไตยของไทยอย่างต่อเนื่องได้
"ดังนั้นเรากำลังทำทุกอย่างที่เราทำได้เพื่อทำให้การหยุดใช้งานเครื่องบินให้สั้นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดจากการระบาดของ coronavirus
Covid-19 นี่เป็นความท้าทาย
สิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายที่เรายินดีที่จะรับเพราะความพึงพอใจของลูกค้าเราเป็นความสำคัญลำดับสูงสุดของเรา"
Thomas Imke ผู้จัดการฝ่ายขาย RUAG MRO International อธิบายสรุป แม้ว่าการส่งทีม
5คนไปยังไทยเพื่อถอดชิ้นส่วนเครื่องจะเกี่ยวข้องกับความพยายามอย่างมาก
เนื่องจากการลดเที่ยวบินเชื่อมต่อระหว่างประเทศและกฎระเบียบในการกักตัวกันการแพร่ระบาดของ
Covid-19
RUAG สวิตเซอร์แลนด์ไม่ได้เปิดเผยมูลค่าของโครงการปรับปรุงความทันสมัย แต่กองบัญชาการระบบอากาศนาวี(NAVAIR: Naval Air Systems Command) กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ได้ประกาศเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ว่า
บริษัท RUAG ได้รับการประกาศสัญญาวงเงิน $40.2 million ก่อนหน้าเดือนดังกล่าวเพื่อทำการปรับปรุงความทันสมัยของเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล บ.ลว.๑ Do 228 กองทัพเรือไทยทั้ง ๗เครื่อง
โดยเน้นว่าจะถูกปรับปรุงเป็นมาตรฐาน Dornier 228 NG ใหม่ล่าสุด และเสริมว่าการปรับปรุงคาดว่าจะทำให้กองทัพเรือไทยจะสามารถประจำการ บ.ลว.๑ Do 228 ต่อไปได้อีกถึง ๑๕-๒๐ปีครับ