Thailand to receive AH-6 helos
Thailand is set to receive eight AH-6i helicopters (pictured) to replace its seven ageing Bell AH-1F Cobras. (Janes/Gareth Jennings)
กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) จะรับมอบเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ ฮ.ลว./อว.๖ Boeing AH-6i จำนวนหนึ่งโดยสัญญาวงเงิน $103,774,884(ประมาณ ๓,๓๔๒,๕๘๙,๐๑๔บาท) ถูกประกาศโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕(2022)
ข้อตกลงซึ่งจะเห็นเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ ฮ.ลว./อว.๖ AH-6i 'Little Bird' ถูกสร้างที่โรงงานอากาศยาน Mesa ของบริษัท Boeing สหรัฐฯในมลรัฐ Arizona จะดำเนินไปจนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๘(2025)
ขณะที่เอกสารการแจ้งสัญญาไม่ได้เปิดเผยจำนวน ฮ.ลว./อว.๖ AH-6i ที่กองทัพบกไทยจะจัดหา กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้อนุมัติการขายเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ AH-6i(International) จำนวน ๘เครื่อง
เช่นเดียวกับระบบอาวุธที่เกี่ยวข้อง, อุปกรณ์ และการสนับสนุน แก่ไทยในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/ah-6i.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/07/boeing-ah-6i.html)
โดยชุดข้อเสนอการขายรวมมูลค่าวงเงิน $400 million อาวุธและระบบที่เกี่ยวข้องที่ได้รับการอนุมัติประกอบด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Lockheed Martin AGM-114R Hellfire จำนวน ๕๐นัด,
จรวดอากาศสู่พื้นนำวิถี BAE Systems APKWS(Advance Precision Kill Weapon System) จำนวน ๒๐๐นัด, ปืนกลอากาศ Dillion M134 Mini-Gun หกลำกล้องหมุนขนาด 7.62mm จำนวน ๑๐กระบอก,
ปืนกลอากาศ General Dynamics GAU-19/B Gatling gun สามลำกล้องหมุนขนาด 12.7mm จำนวน ๔กระบอก, จรวดอากาศสู่พื้น Hydra ขนาด 70mm จำนวน ๕๐๐นัด,
กล้องมองกลางคืน(NVG: Night Vision Goggles) จำนวน ๒๐ชุด และกล้องตรวจการณ์และชี้เป้าหมาย WESCAM MX-10Di EO/IR(Electro-Optical/Infrared) จำนวน ๘ระบบ
การจัดซื้อจัดจ้างจะทำให้กองทัพบกไทยจะปลดประจำการเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1F Cobra จำนวน ๗เครื่องที่มีอายุการใช้งานมานานของตนได้(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/ah-64e-ah-1z.html)
"ในฐานะส่วนหนึ่งของความพยายามการปรับปรุงความทันสมัยทางทหารที่กว้างขวาง" สำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) กล่าว
"เฮลิคอปเตอร์ AH-6i เหล่านี้ขีดความสามารถการลาดตระเวนและโจมตีเบาสำหรับการสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิดแก่หน่วยปฏิบัติการพิเศษ, หน่วยทหารราบยานเกราะล้อยาง Stryker และหน่วยป้องกันชายแดน" DSCA สหรัฐฯกล่าว
กองทัพบกไทยยังเป็นผู้ใช้งานส่งออกต่างประเทศรายแรกสำหรับยานเกราะล้อยางลำเลียงพล Stryker RTA ICV 8x8 จำนวน ๑๓๐คันที่ประจำการ ณ กรมทหารราบที่๑๑๒ กองพลทหารราบที่๑๑(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/stryker.html)
แม้ว่ากองบัญชาการการทำสัญญากองทัพบกสหรัฐฯ(US Army Contracting Command) ที่ Redstone Arsenal ในมลรัฐ Alabama ทำหน้าที่เป็นตัวแทนผู้มีอำนาจการทำสัญญาสำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง ฮ.ลว./อว.๖ AH-6i ของกองทัพบกไทย
การขายอากาศยานนี้และอื่นๆแก่ประเทศหุ้นส่วนพันธมิตรกำลังได้รับการกำกับดูแลโดยสำนักงานโครงการพิเศษการบินนานาชาติ(MASPO: Multi-National Aviation Special Project Office) ของกองทัพบกสหรัฐฯครับ