วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

โอกาสของเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ Boeing AH-6i สหรัฐฯกับกองทัพบกไทย





Boeing AH-6 light attack / armed reconnaissance helicopter(https://www.boeing.com/defense/ah-6-light-attack-helicopter/)





Saudi Arabian National Guard AH-6 Little Bird.(wikipedia.org)


ตามเอกสารประกาศของกรมการขนส่งทหารบก กองทัพบกไทย(Department of Army Transportation, Royal Thai Army) เรื่องการยกเลิกการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ จำนวน ๘ เครื่อง วงเงิน ๔,๐๓๖,๕๒๗,๖๐๐บาท($131,439,430)
โดยให้ยกเลิกการจัดซื้อจากบริษัท Euro Intertrade Pte Ltd. สิงคโปร์ ผู้แทนจำหน่ายของบริษัท MD Helicopters สหรัฐฯผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์มาเป็นการจัดซื้อจัดซื้อโดยวิธี FMS(Foreign Military Sales) แทนนั้น(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/md-helicopters-fms.html)
ทำให้เป็นที่เข้าใจว่าเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ MD 530G น่าจะเป็นตัวเลือกล่าสุดที่จะถูกจัดหามาประจำการร่วมกับ ฮ.ลว./อว.๕๕๐ AS550 C3 Fennec(Airbus Helicopters H125M) ที่ประจำการใน กองพันบินที่๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ศบบ. จำนวน ๘เครื่องก่อนหน้า

การขายก่อนหน้ามีเช่น กองทัพอากาศอัฟกานิสถาน(Afghan Air Force) ได้จัดหาเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ MD 530F Cayuse Warrior จำนวน ๕๕เครื่อง(https://www.janes.com/article/85778/afghan-md-530f-helos-to-receive-safety-range-and-endurance-upgrades)
และกองทัพบกเคนยา(Kenyan Army) จัดซื้อ ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธ MD 530F Cayuse Warrior จำนวน ๖เครื่อง โดยทั้งสองประเทศได้รับการอนุมัติการขายจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯในรูปแบบ FMS(https://www.janes.com/article/83460/kenya-signs-for-six-md-530f-helos)
ขณะที่กองทัพบกมาเลเซีย(Malaysian Army) ที่สั่งจัดหา ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธ MD 530G จำนวน ๖เครื่องที่มีความทันสมัยมากกว่า กำลังเป็นประเด็นหนึ่งในหลายคดีทุจริตของรัฐบาลมาเลเซียชุดก่อน ที่รัฐบาลมาเลเซียชุดปัจจุบันที่เข้ามาบริหารประเทศหลังการเลือกตั้งปี 2018 กำลังสอบสวน

การส่งออก ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธที่มีพื้นฐานมาจากเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดเบา MD 530F(369F) นอกจากบริษัท MD Helicopters แล้ว ยังมีบริษัท Boeing สหรัฐฯอีกรายที่มีการพัฒนาและผลิตเฮลิคอปเตอร์ลักษณะเดียวกันนี้แข่งขันและส่งออกต่างประเทศ
โดยมีลูกค้าคือ กองกำลังพิทักษ์ชาติซาอุดีอาระเบีย(Saudi Arabian National Guard) ที่สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ Boeing AH-6i จำนวน ๒๔เครื่องผ่านการจัดซื้อในรูปแบบแบบ FMS(https://www.janes.com/article/42586/boeing-awarded-ah-6i-contract-for-saudi-arabia)
เช่นเดียวกับกองทัพอากาศจอร์แดน(Royal Jordanian Air Force) ที่จัดหา ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธ AH-6i จำนวน ๖เครื่องไปก่อนหน้า และวางแผนจะขายเฮลิคอปเตอร์ปฏิบัติการพิเศษ/ลาดตระเวนติดอาวุธ MD 530 รุ่นเก่า ๖เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/ch-4b-uav.html)

การจัดซื้อในรูปแบบ FMS เป็นโครงการความช่วยเหลือทางทหารของรัฐบาลสหรัฐฯต่อมิตรประเทศโดยตรง ที่จะประกาศการอนุมัติการขายจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ โดยสำนักงานความร่วมมือด้านความปลอดภัยความมั่นคงสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency)
ซึ่งกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯมีโครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ MD 530F/MD 530G จำนวน ๑๕๐เครื่องขายต่อให้มิตรประเทศในรูปแบบความช่วยเหลือทางทหาร(https://www.janes.com/article/82916/afghanistan-receives-first-recently-ordered-md-530f-helos)
ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าการจัดซื้อ ฮ.ลว./อว.MD 530G ในบางประเทศนั้นจะเป็นการจัดซื้อกับบริษัท MD Helicopters โดยตรงเช่นของมาเลเซีย ส่วน ฮ.ลว./อว.AH-6i นั้นส่วนมากจะเป็นการจัดซื้อในรูปแบบ FMS ผ่านรัฐบาลสหรัฐฯเช่นของซาอุดีอาระเบีย

เดิมทีนั้นแบบแผนเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดเบาตระกูล MD 530 นั้นเป็นของ McDonnell Douglas Helicopter ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในเครือบริษัท McDonnell Douglas สหรัฐฯโดยก่อนหน้านั้น McDonnell Douglas ก็ได้ซื้อกิจการของบริษัท Hughes Helicopters มาในปี 1984
ต่อมาเมื่อ McDonnell Douglas ได้ควบรวมกิจการกับบริษัท Boeing ในปี 1997 ทาง Boeing ได้ขายกิจการในส่วนเฮลิคอปเตอร์พลเรือนของ MD Helicopter ออกไปแต่ Boeing ยังคงถือสิทธิในสายการผลิตและการขายเฮลิคอปเตอร์ทางทหาร เช่น เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64 Apache อยู่
ทำให้เมื่อมีการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นในกิจการทำให้บริษัท MD Helicopters ในปัจจุบันจึงพัฒนา ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธที่มีพื้นฐานจาก ฮ.MD 530 ของตนแข่งขันกับแผนก Vertical Lift Division ในเครือบริษัท Boeing ที่พัฒนา ฮ.AH-6 ของตนโดยนำวิทยาการหลายส่วนจาก ฮ.โจมตี Apache มาใช้

AH-6i ติดตั้งกล้อง EO/IR(Electro-Optical/Infrared) แบบ L3 Wescam MX-15Di แคนาดา สามารถใช้อาวุธที่เคยติดตั้งกับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑ Bell UH-1H Huey Gunship กองทัพบกไทยได้ เช่น กระเปาะจรวด M260 ความจุ ๗นัดสำหรับจรวด Hydra 70 ขนาด 2.75"(70mm)
นอกจากปืนกลอากาศ M134D Minigun หกลำกล้องหมุน 7.62mm และ GAU-19/A สามลำกล้องหมุน .50cal(12.7mm) AH-6i ยังสามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-114 Hellfire นำวิถี Laser และจรวดอากาศสู่พื้นนำวิถี เช่น APKWS(Advanced Precision Kill Weapon System) ด้วย
อย่างไรก็ตามระหว่างที่กองทัพบกไทยจะดำเนินการตั้งโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธใหม่ตามขั้นตอนนั้น ตัวเลือกน่าจะยังเป็น MD 530G เช่นเดิม หรือจะเปลี่ยนไปเป็น AH-6i ตามการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจัดซื้อโดยวิธี FMS หรือไม่ ก็ยังเป็นเป็นเพียงการคาดเดาเท่านั้นครับ