วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2565

กองทัพอากาศไทยเปิดเผยความก้าวหน้าการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทน F-16A/B ที่น่าจะเป็น F-35A


The US Air Force (USAF)'s Lockheed Martin F-35A Lightning II. (USAF)


Royal Thai Air Force (RTAF) spokesperson reveal progression of Lockheed Martin F-16A/B Block 15 (seen here in 103rd Squadron, Wing 1 Korat service) replacement programme 
requirements for 5th Generation Fighter Aircraft with capabilities of Network Centric Operations, Stealth, Super Cruise, Sensor Fusion, Super Maneuverable and Synergistic Integrated Avionics.

โฆษก ทอ.เปิดเผยความก้าวหน้าโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน (ครั้งที่ 1)

วันนี้ (วันที่ 7 มีนาคม 2565) พลอากาศตรี ประภาส  สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยว่าตามที่กองทัพอากาศได้แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาและจัดทำความต้องการเครื่องบินขับไล่โจมตี 
โดยมี รองผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธาน มีผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศและเสนาธิการทหารอากาศ เป็นรองประธาน เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2565 
คณะกรรมการฯ ได้จัดการประชุมมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อพิจารณาภารกิจตามกฎหมาย ยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลและได้กำหนดความต้องการเครื่องบินขับไล่โจมตีที่มีคุณภาพ (Quality Air Force) และมีเทคโนโลยีล้ำสมัย (Cutting-Edge Technology) 

โดยเครื่องบินขับไล่โจมตีที่ต้องการ ต้องมีขีดความสามารถของการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operations) มีการบริหารจัดการข้อมูลอัตโนมัติ ร่วมกับระบบตรวจจับของกองทัพไทยและฝ่ายพลเรือนได้อย่างสมบูรณ์ 
มีขีดความสามารถโจมตี ต่อต้านทางอากาศ ปฏิบัติกิจเฉพาะพิเศษ ลาดตระเวนและเฝ้าตรวจ เพิ่มระยะการปฏิบัติการทางอากาศ และการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศที่มีประสิทธิภาพ 
ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีสมรรถนะสูงยุคที่ 5 (The 5th Generation Fighter) มีคุณลักษณะ 5 ประการ ได้แก่ Stealth, Super Cruise, Sensor Fusion, Super Maneuverable และ Synergistic Integrated Avionics 

พร้อมกำหนดข้อพิจารณาประกอบการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน สรุปดังนี้
1. เป็นเครื่องบินที่ได้รับการรับรองมาตรฐานทางทหาร (Military Standard) มาตรฐานจากองค์กรการบินสากล หรือองค์กรมาตรฐานของประเทศผู้ผลิต 
2. เครื่องบิน ระบบต่าง ๆ และอุปกรณ์ที่ติดตั้งใช้งาน ต้องผลิตโดยใช้มาตรฐานทางทหาร และผ่านการพิสูจน์การใช้งานแล้ว มีความน่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีการใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วไป
3. สามารถผลิตและนำส่งให้แก่กองทัพอากาศในกรอบงบประมาณและตามห้วงระยะเวลาการจัดหา 
4. มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเครื่องบินขับไล่โจมตีและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่บุคลากรของกองทัพอากาศ 
5. บุคลากรของกองทัพอากาศควรได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Offset Scholarship) เพื่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน 

ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงคุณภาพของกำลังทางอากาศและขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศเป็นสำคัญ เพื่อประโยชน์สูงสุดและความคุ้มค่าในระยะยาว รวมทั้งการปกป้องผลประโยชน์และรักษาความมั่นคงของชาติ

คณะกรรมการศึกษาและจัดทำความต้องการเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ของกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ได้มีการเปิดเผยความคืบหน้าความก้าวหน้าโครงการเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๕ เป็นเวลาให้หลังราวสามเดือน
ตามที่หัวข้อการรายงานระบุว่า 'ครั้งที่๑' หมายความได้ว่ากองทัพอากาศไทยน่าจะมีการแถลงเปิดเผยความคืบหน้าของโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ Lockheed Martin F-16A/B Block 15 Fighting Falcon ตามมาอีกในอนาคต
เป็นการทดแทนในส่วนฝูงบินขับไล่สกัดกั้นที่๑๐๒ กองบิน๑ โคราชที่เคยประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A ADF(Air Defense Fighter) ที่ปัจจุบันเป็นฝูงว่างโดยเครื่องบางส่วนโอนย้ายไปฝูงบินขับไล่ทางยุทธวิธีที่๑๐๓ แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/f-16a-adf.html)

ตามรายละเอียดคุณสมบัติของเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ที่ต้องการและการแสดงเจตนารมณ์ของกองทัพอากาศไทยก่อนหน้าเป็นที่ชัดเจนว่าคือเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ แบบ Lockheed Martin F-35A Lightning II สหรัฐฯเท่านั้น(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/f-16ab-f-35a.html)
แม้ว่าการติดตราสัญลักษณ์ฝูงบิน๑๐๒ ใหม่ที่มีภาพเงาดำที่ดูเหมือนเครื่องบินขับไล่ F-35 ได้ถูกถอดออกไปจากการสร้างประตูหน้ากองบิน๑ ใหม่ แต่ก็เป็นหนึ่งในการแสดงถึงความปรารถนาที่ชัดเจนของกองทัพอากาศไทย(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/blog-post.html)
อย่างไรก็ตามบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯผู้ผลิต และรัฐบาลสหรัฐฯที่จะเป็นผู้อนุมัติการขาย F-35 ให้ไทยยังไม่อยู่ในสถานะและเวลาที่จะให้ข้อมูลใดๆแก่สาธารณชนได้ เห็นได้จากการให้สัมภาษณ์สื่อในงานแสดงการบินนานาชาติ Singapore Airshow 2022 ที่สิงคโปร์ที่ผ่านมา

หลังจากคณะรัฐมนตรีไทยเห็นชอบอนุมัติวงเงินประมาณ ๑๓,๘๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($415 million) สำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่อง ยังจำเป็นต้องได้รับมติเห็นชอบจากรัฐสภาไทยสำหรับงบประมาณผูกพันปี พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๖๙(2023-2026) 
ซึ่งคาดว่าอย่างเร็วจะเกิดขึ้นในเดือนเมษายน ๒๕๖๕ ซึ่งถ้ารัฐสภาไทยมีมติเห็นชอบ จะตามมาด้วยการยื่นจดหมายแสดงความจำนง(LOI: Letter of Intent) และตามด้วยจดหมายข้อเสนอและตอบรับ(LOA: Letter of Offer and Acceptance) แก่ทางสหรัฐฯ
โดยการอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายอาวุธยุทโธปกรณ์ของสหรัฐฯในรูปแบบความช่วยเหลือทางทหาร Foreign Military Sales(FMS) จะต้องได้รับการอนุมัติจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯก่อน และมีการพิจารณาเห็นชอบจากสภา Congress สหรัฐฯตามมา

อย่างไรก็ตามปัจจัยหลักที่จะขัดขวางโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A ของกองทัพอากาศไทย นอกจากทางสหรัฐฯที่อาจจะไม่อนุมัติเพราะมองว่า F-35 มีวิทยาการขั้นสูงที่จะส่งออกให้เฉพาะมิตรประเทศที่ใกล้ชิดจริงๆเท่านั้น(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/cobra-gold-2022.html)
สำหรับทางไทยก็คือการคัดค้านจากผู้ไม่หวังดีต่อชาติที่ใช้สื่อไร้จรรยาบรรณเป็นเครื่องมือในการโจมตีกองทัพอากาศไทยไม่ให้จัดหาอากาศยานใดๆทั้งสิ้น แม้ว่าจะเป็นความจำเป็นการทดแทนเครื่องบินที่ใช้งานมานานเริ่มจะล้าสมัยและใกล้จะเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของอายุการใช้งานก็ตาม
การโจมตีอีกแง่คือกล่าวหาว่าไม่สนับสนุนภาคเอกชนไทยซึ่งไม่ตรงกับความจริงทั้งหมด เพราะการจัดหาเครื่องบินขับไล่ยุคที๕ แบบแรกของไทยย่อมจะต้องมีการจัดตั้งการสนับสนุนต่างๆภายในประเทศที่เรามีขีดความสามารถจะพัฒนารองรับได้และสหรัฐฯพิจารณาว่าจะมอบให้แก่ไทยได้ด้วยครับ