วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565

กรีซลงนามจัดหาเครื่องขับไล่ Rafale ฝรั่งเศสเพิ่มเติม 6เครื่อง

Greece signs for additional Rafales



One of the six Rafales from the first batch handed over to Greece in January. The HAF is to receive 24 such aircraft following the latest contract awarded on 24 March. (French Embassy in Athens)



กรีซได้ลงนามการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale เพิ่มเติมจากฝรั่งเศส โดยรัฐมนตรีกลาโหมทั้งสองประเทศได้ประทับตราคำสั่งจัดหาที่ประกาศก่อนหน้าเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2022
Nikolaos Panagiotopoulos รัฐมนตรีกลาโหมกรีซ และ Florence Parly รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสได้ลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale ใหม่ 6เครื่อง บนพิพิธภัณฑ์เรือลาดตระเวน Georgios Averof

เพื่อเติมต่อ 18เครื่องที่ได้รับการสั่งจัดหาแล้วทำให้ฝูงเครื่องบินขับไล่ Rafale ของกองทัพอากาศกรีซ(HAF: Hellenic Air Force) มีจำนวนถึง 24เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/rafale.html)
การประกาศการบรรลุผลสัญญาสำหรับเครื่องบินขับไล่ Rafale ใหม่มีขึ้นในเดือนกันยายน 2021 โดยนายกรัฐมนตรีกรีซ Kyriakos Mitsotakis(https://aagth1.blogspot.com/2021/07/rafale.html)

เครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 18เครื่องแรกสำหรับกองทัพอากาศกรีซประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ Rafale มือสองจำนวน 12เครื่องจากกองทัพอากาศและอวกาศฝรั่งเศส(French Air and Space Force, Armée de l'Air et de l'Espace) ที่เก็บรักษาไว้
(เป็นเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง Rafale B จำนวน 10เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Rafale C จำนวน 2เครื่อง) และเครื่องบินขับไล่ Rafale F3R สร้างใหม่ 6เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/rafale-12.html)

ไม่มีการเปิดเผยว่าเครื่องบินขับไล่ Rafale เพิ่มเติม 6เครื่องล่าสุดจะเป็นเครื่องมือสองหรือเครื่องสร้างใหม่ เป็นที่ทราบว่าเครื่องของกรีซที่จะถูกส่งมอบเป็นมาตรฐานเครื่องบินขับไล่ Rafale F3R 
ที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Dassault Aviation ฝรั่งเศส, บริษัท Thales ยุโรป, บริษัท MBDA ยุโรป และบริษัท Safran ฝรั่งเศส(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/rafale.html)

มาตรฐาน F3R ประกอบด้วยการปรับปรุงชุดคำสั่งและส่วนอุปกรณ์หลักที่รวมถึงการบูรณาการอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond Visual Range Air-to-Air Missile) แบบ MBDA Meteor 
และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นความแม่นยำสู่งรุ่นนำวิถีด้วย laser รุ่นล่าสุดแบบ modular แบบ Sagem(ปัจจุบัน Safran) AASM(Armement Air-Sol Modulaire),

AESA(Active Electronically Scanned Array) radar แบบ Thales RBE2, กระเปาะชี้เป้าหมายทางอากาศพิสัยไกล Thales TALIOS(Targeting Long-range Identification Optronic System),
ระบบหลีกเลี่ยงการบินชนพื้นอัตโนมัติ(Auto-GCAS: Automatic Ground Collision Avoidance System), ปรับปรุงกระเปาะเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบ Buddy-Buddy 

และระบบสงคราม Electronic แบบ Thales Spectra(Système de Protection et d'Évitement des Conduites de Tir du Rafale)(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/rafale-f3-r.html)
เครื่องบินขับไล่ Rafale F3R รุ่นล่าสุดจะยังคงสามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นพิสัยกลางเพิ่มขยายสมรรถนะแบบ ASMPA(Air-Sol Moyenne Portée-Amélioré) ในฐานะส่วนหนึ่งของภารกิจการป้องปรามนิวเคลียร์ทางอากาศ(airborne nuclear deterrence) ครับ