วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๕-๒


The US Air Force (USAF)'s Lockheed Martin F-35A Lightning II assigned to the 355th Fighter Squadron, Eielson Air Force Base, Alaska was static displayed at Singapore Airshow 2022.


Lockheed Martin F-35B Lightning II of Marine Fighter Attack Squadron 242 (VMFA-242) "Bats", US Marine Corps (USMC), during flight demonstration at Singapore Airshow 2022.

Lockheed Martin has displayed model of F-35B for Republic of Singapore Air Force (RSAF) at Singapore Airshow 2022.

Turkish Aerospace was displayed model of Turkish Fighter (TF) at Defense & Security 2019 in Thailand. (My Own Photo)

Air Chief Marshal Napadej Dhupatemiya, the Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force delegation meeting with Korea Aerospace Industries (KAI) representative at Singapore Airshow 2022.

New Emblem of 102nd Fighter Interceptor Squadron, Wing 1 Korat, Royal Thai Air Force (RTAF), shown what appear likely be silhouette of F-35.

พล.อ.อ.นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผบ.ทอ.และคณะ เดินทางเยือนสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) อย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของ ทอ.เกาหลีใต้ ระหว่าง ๒๐ - ๒๖ ก.พ.๖๕ 
โดย เมื่อ ๒๑ ก.พ.๖๕ ได้เข้าพบ พล.อ.อ.Park In-ho (พาร์ค อิน-โฮ) เสนาธิการทหารอากาศสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)  เพื่อหารือข้อราชการ และเยี่ยมชมหน่วยงานของ ทอ.เกาหลีใต้ ณ  กองบินที่ ๑๖

งานแสดงการบินนานาชาติ Singapore Airshow 2022 ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔(2022) ที่ผ่านมา มีรายงานตั้งแต่ก่อนงานเริ่มแล้วว่า พลอากาศเอก นภาเดช ธูปเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศไทยและคณะได้เดินทางเยือนสิงคโปร์ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
ทำให้คาดว่า ผอ.ทอ.และคณะจะใช้โอกาสนี้พูดคุยบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯผู้ผลิตเครื่องบินขับไล่ F-35 Lightning II, ชมการสาธิตการบินของเครื่องบินขับไล่ F-35B ฝูงบินขับไล่โจมตีนาวิกโยธิน VMFA-242(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/f-35b-ddh-183-js-izumo.html)
และเยี่ยมชมเครื่องบินขับไล่ F-35A ฝูงบินขับไล่ที่355 กองทัพอากาศสหรัฐฯ จากฐานทัพอากาศ Eielson มลรัฐ Alaska บริษัท Lockheed Martin ยังได้จัดแสดงแบบจำลองย่อขนาดของ F-35B ในลวดลายของกองทัพอากาศสิงคโปร์ รวมถึงเครื่องจำลองการบิน F-35 cockpit demonstrator ด้วย

อย่างไรก็ตามความชัดเจนถึงความเป็นไปได้ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A สำหรับกองทัพอากาศไทย ตัวแทนของ Lockheed Martin กล่าวกับสื่อในงาน Singapore Airshow 2022 เพียงว่าไทยให้ความสนใจจริงแต่ความเป็นไปได้ในการขายนั้นขึ้นอยู่กับรัฐบาลสหรัฐฯว่าจะอนุมัติหรือไม่
ในขั้นระยะนี้ทั้ง Lockheed Martin และตัวแทนรัฐบาลสหรัฐฯยังไม่อยู่ในสถานะที่จะให้ข้อมูลใดๆกับสื่อและสาธารณชนได้ หลังจากคณะรัฐมนตรีไทยเห็นชอบอนุมัติวงเงินประมาณ ๑๓,๘๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($415 million) สำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่อง 
ที่ยังจำเป็นต้องได้รับมติเห็นชอบจากรัฐสภาไทยสำหรับงบประมาณผูกพัน พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๖๙(2023-2026) ซึ่งปัจจัยภายในไทยที่การคัดค้านและต่อต้านการซื้ออาวุธกองทัพไทยที่รุนแรง เห็นได้จากที่มีนักวิชาการใช้สื่อต่างๆมาโจมตีกองทัพอากาศไทยว่าต้องไม่มีการซื้อเครื่องบินอะไรใหม่เด็ดขาด

ระหว่างที่งาน Singapore Airshow 2022 กำลังดำเนินอยู่นั้นมีการเผยแพร่ภาพการสร้างประตูหน้ากองบิน๑ โคราชใหม่ เปิดเผยถึงตราสัญลักษณ์ฝูงบินขับไล่สกัดกั้นที่๑๐๒ มีการปรับเปลี่ยนใหม่โดยมีรูปภาพเงาดำที่ดูเหมือนว่าจะเป็นเครื่องบินขับไล่ F-35 แต่ภายหลังตราใหม่นี้ได้ถูกถอดออกไป
แสดงถึงความตั้งใจชัดเจนของกองทัพอากาศไทยว่าหวังที่จะจัดหา F-35A(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/f-16ab-f-35a.html) ทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ที่ว่างลงหลังโอนย้ายไปฝูงบิน๑๐๓(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/f-16a-adf.html)
แต่ทั้งนี้ในงาน SA2022 เอง บริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลี และบริษัท Turkish Aerospace ตุรกี ก็มีการเผยแพร่ภาพในสื่อประชาสัมพันธ์ของตนว่า คณะผู้บัญชาการทหารอากาศไทยได้มีการเข้ามาพูดคุยกับพวกตน รวมถึงการเดินทางเยือนสาธารณรัฐเกาหลีช่วงวันที่ ๒๐-๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ด้วย 

แม้ว่าเครื่องบินขับไล่ KF-21 Boramae เครื่องต้นแบบเครื่องแรกมีกำหนดการบินครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 2022(https://aagth1.blogspot.com/2022/02/kai-kf-21.html) และเครื่องขับไล่ TF-X กำลังสร้างเครื่องต้นแบบเครื่องแรกอยู่(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/tf-xmmu.html)
แต่ในกรณีที่ท้ายที่สุดรัฐบาลสหรัฐฯตัดสินใจไม่อนุมัติความเป็นไปได้ในการขายเครื่องบินขับไล่ F-35 ให้แก่ไทย เนื่องด้วยเหตุผลที่ไม่ไว้ใจไทยว่าเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงที่ใกล้ชิดมากพอที่จะขายระบบอาวุธที่ชั้นความลับสูงเพราะมองว่าไทยใกล้ชิดกับจีนที่เป็นคู่ขัดแย้งกับสหรัฐฯมากไปนั้น
เครื่องบินขับไล่ที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาจากเกาหลีใต้และตุรกีอาจจะอยู่ใน "ทางเลือกสำรอง" ของกองทัพอากาศไทย(ซึ่งเนื่องจากรูปร่างที่ดูคล้ายๆกัน ตราฝูงบิน๑๐๒ ที่ทำใหม่ก็ไม่ต้องปรับแบบมากถ้าจะจัดหา) รวมถึงข้อเสนอการถ่ายทอดวิทยาการเหมือนอินโดนีเซียและมาเลเซียก็ได้ครับ




At the end of last year, the European leading robotics and autonomous systems developer Milrem Robotics delivered the THeMIS Combat unmanned ground vehicle (UGV) to the Defence Technology Institute (DTI).

“D Iron” หุ่นยนต์ติดอาวุธปืน 30 มม.อาวุธในอนาคตของเหล่าทหารม้า! 
ภาพที่เห็นอยู่นี้คือ RCV (Robotic Combat Vehicle) โครงการวิจัยและพัฒนาจัดสร้างต้นแบบหุ่นยนต์ทางยุทธวิธี ผลงานของ DTI ร่วมกับกองทัพบก มีชื่อว่า “D Iron” ซึ่งเป็นยานติดอาวุธไร้คนขับทำให้มีความปลอดภัย แต่การปฎิบัติการเป็นแบบอัตโนมัติใช้การควบคุมจากระยะไกล 
มีเสียงเงียบเหมาะสำหรับการลาดตระเวน ตรวจการณ์และค้นหาทำลายเป้าหมายเฉพาะจุด ออกแบบมาให้เป็นยานสายพานจึงใช้งานในภูมิประเทศได้ดี ปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันและกลางคืน 
เป็นการนำเอาหุ่นยนต์ THeMis UGV (Tracked Hybrid Modular Infantry System Unmanned Ground Vehicle) ของ Milrem Robotics จากเอสโตเนีย ที่มีขนาดเล็ก 
มาเป็นยานเพื่อติดตั้งป้อมติดอาวุธอัตโนมัติ RWS (Remote Weapon Station)) แบบ EOS R400 Mk2 ของ Electro Optic systems จากออสเตรเลีย ที่มีน้ำหนักเบา 
ติดตั้งปืน M230LF Chain Gun  ขนาด 30 มม. ของ Northrop Grumman Innovation Systems จากสหรัฐฯ พร้อมกระสุนบรรจุ 150 นัด 
ทำให้มันกลายเป็นยานหุ่นยนต์รบที่มีอำนาจในการทำลายล้างที่ทรงอานุภาพ สามารถใช้ยิงทำลายบังเกอร์แข็งแรง สังหารบุคคล ทำลายยานรบแม้กระทั่งรถหุ้มเกราะหรือรถถังที่มีเกราะไม่หนาจนเกินไป ได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ 
โดยป้อม EOS R400 Mk2 นี้ติดตั้งกล้องมองกลางวันมีระยะตรวจจับ 12,000 เมตรและกล้อง Thermal Imager   มีระยะตรวจจับ 13,700 เมตร และ Laser Range Finder มีระยะ Line of sight 1.5 กม. 
ซึ่งเท่ากับระยะยิงหวังผลของปืน 30 มม. (ระยะยิงไกลสุดของปืน 40,00 เมตร) มีน้ำหนักรวม  455 กก. 
ส่วนหุ่นยนต์ทางยุทธวิธี RCV นั้นมีขนาดยาว 240 ซม. กว้าง 200 ซม. สูง 115 ซม. มีน้ำหนักเปล่า 1,630 กก. น้ำหนักบรรทุกสูงสุด 1,200 กก. วิ่งได้นาน (Highbrid)  15 ชม. (Electric) 1.5 ชม. วิ่งในน้ำลึกได้ 60 ซม. ..
ซึ่ง DTI ได้นำมาสาธิตการยิงให้ดูที่ศูนย์การทหารม้าเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2565 ที่ผ่านมา ...สำหรับหุ่นยนต์ทางยุทธวิธี RCV  ติดตั้งป้อม EOS R400 Mk2 นี้ นอกจากติดตั้งปืน 30 มม. แล้วยังสามารถติดตั้งปืน 12.7 มม. ปืน 7.62 มม. เครื่องยิงลูกระเบิด 40 มม. ได้ด้วย 
และถ้านำป้อม EOS R400 Mk2 นี้ไปติดตั้งกับยานยนต์ล้อยาง 4x4 ก็สามารถติดตั้งอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังเพิ่มเติมได้อีกด้วย ...
ก็ต้องลองมาติดตามดู RCV “D Iron”  ผลงานของ DTI ร่วมกับกองทัพบกว่าจะมีการพัฒนาในรูปแบบใดเพิ่มเติมอีก .... Photo Sompong Nondhasa

การส่งมอบยานยนต์ไร้คนขับ THeMIS UGV(Unmanned Ground Vehicle) "D-Iron" RCV(Robotic Combat Vehicle) สำหรับกองทัพบกไทย ซึ่งมีการถ่ายทอดวิทยาการประกอบในไทย(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-dti-d-iron-ugv.html)
เป็นหนึ่งในความสำเร็จล่าสุดของ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI ยังคงเดินหน้างานพัฒนาวิจัยระบบไร้คนขับต่างๆเพื่อมาใช้จริงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ต่างๆ(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/dti-d-eyes-04.html)
DTI D-Iron RCV นี้เป็นยานยนต์ไร้คนขับ UGV(Unmanned Ground Vehicle) แบบแรกของไทยที่ติดปืนใหญ่กล M230LF ขนาด 30x113mmB ที่ยังเป็นปืนใหญ่อากาศของเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64 Apache หนึ่งในสองตัวเลือกโครงการเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ของกองทัพบกไทยด้วยครับ




Royal Thai Army (RTA) is set to receive eight Boeing AH-6i helicopters to replace its seven ageing Bell AH-1F Cobras.

Boeing Awarded Contract for Eight AH-6 Helicopters for Thailand
- Royal Thai Army becomes second international AH-6 customer
- Deliveries planned through 2024 

กองทัพบกไทยมีความต้องการเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธจำนวน ๑๖ เครื่อง โดยมีการจัดหา ฮ.ลว./อว.๕๕๐ AS550 C3 Fennec (Airbus Helicopters H125M) ๘เครื่องเข้าประจำการใน กองพันบินที่๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) แล้ว
ดังนั้นการจัดหา ฮ.ลว./อว.๖ AH-6i Little Bird ๘เครื่อง จึงน่าจะเป็นความต้องการในส่วนเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ ระยะที่๒ มากกว่าที่จะทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี ฮ.จ.๑ AH-1F Cobra ๗เครื่อง ที่ประจำการใน กองพันบินที่๓ เครื่องชุดแรกรับมอบมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๔(1991)
ถ้าจากวงเงินที่ประกาศ $103,774,884 หรือราว ๓,๓๔๒,๕๘๙,๐๑๔บาท ตามที่กองทัพบกไทยเคยแจ้งว่าโครงการนี้ใช้งบประมาณที่ราว ๔,๒๒๖,๐๐๐,๐๐๐บาท($138,103,567) แสดงว่าน่าจะมีการลงนามไปเมื่อไม่นานนี้และไม่ได้จัดหาอาวุธและอุปกรณ์เต็มจำนวนที่อนุมัติในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)

ตามกรอบระยะเวลาที่ระบุในเอกสารกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ การผลิต ฮ.ลว./อว.๖ AH-6i สำหรับกองทัพบกไทยโดยโรงงานอากาศยาน Mesa ของบริษัท Boeing สหรัฐฯในมลรัฐ Arizona จะใช้เวลาราว ๓ปี ซึ่งการส่งมอบเครื่องจะอยู่ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๖๗-๒๕๖๘(2024-2025)
ทั้งนี้มองว่าโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ทดแทน ฮ.จ.๑ AH-1F เป็นคนละโครงการกับการจัดหา AH-6i ซึ่งตามที่กองทัพบกไทยเลือกจะจัดหาในรูปแบบ Foreign Military Sales(FMS) จะเป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64E Apache หรือเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1Z Viper ก็ได้ 
แต่ ฮ.จ.๖๔ AH-64E จะดีในแง่จำนวนผู้ใช้งานที่มากกว่า AH-1Z และที่ทราบมา ฮ.โจมตีใหม่อาจจะไปลงที่ กองพันบินที่๙ ซึ่ง Apache จะเหมาะกับการใช้ร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๖๐ UH-60L/M/A Black Hawk มากกว่า รวมถึงปืนกล M230LF 30mm ที่ใช้กับ D-Iron RCV ด้วยครับ




Royal Thai Navy (RTN) was signd contract with Schiebel Aircraft GMBH for $17,193,828 second batch of 2 systems with 4 aircarfts of Camcopter S-100 rotary-wing UAV(Unmanned Aerial Vehicle) 
for 104 Naval Air Squadron, Naval Air Wing 1, Royal Thai Naval Air Division (RTNAD), Royal Thai Fleet on 14 February 2022.

กองทัพเรือลงนามซื้อ Schiebel Camcopter S-100 ระยะที่ 2 ...
เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2565  พล.ร.ต. อภิชัย สมพลกรัง ผอ.สยป.ทร. เป็นประธานในพิธีลงนามในสัญญาโครงการจัดหาอากาศยานไร้คนขับระยะที่ 2 แบบ Schiebel Camcopter S-100 กับบริษัท Schieble Aircraft GMBH จะนวน 2 ระบบ 
เป็นอากาศยานไร้คนขับชนิดปีกหมุน (Unmanned Helicopter) จำนวน 4 เครื่องพร้อมระบบอุปกรณ์ และส่วนสนับสนุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในวงเงินรวม 556,100,000 บาท (ห้าร้อยห้าสิบหกล้านหนึ่งแสนบาท) 
โดยจะประจำการที่กองบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ อ.บ้านฉาง จว.ระยอง1 ระบบ และพื้นที่หน่วยปฏิบัติการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งที่ 491 เกาะหลีเป๊ะ จว.สตูล 1 ระบบ 
ซึ่งก่อนหน้านี้ทร.ไทยก็ได้จัดหา Schiebel Camcopter S-100 มาแล้ว จำนวน 2 ระบบ เป็นจำนวนเงิน 600 ล้านบาท เมื่อปี 2563

ระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAS: Unmanned Aerial System) แบบ Schiebel Camcopter S-100 ๑ระบบ จำนวน ๒เครื่อง หมายเลข 1425 และ 1426 ของฝูงบิน๑๐๔ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทย 
ที่จัดหาในปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020)  วงเงิน ๒๖๖,๖๐๒,๔๙๐บาท($8,726,832.61) พบว่านำเข้าประจำการที่เกาะกระ อ.ปากพนัง นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021)(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/schiebel-camcopter-s-100.html)
อากาศยานไร้คนขับอากาศยานไร้คนขับปีกหมุน Camcopter S-100 ระยะที่๒ ๒ระบบ ๔เครื่องวงเงิน ๕๕๖,๑๐๐,๐๐๐บาท ($17,193,828) จะประจำการในฝูงบิน๑๐๔ และนำมาวางกำลังที่หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งที่๔๙๑ เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล ๑ระบบ ๒เครื่องครับ

EA MECHANICS COMPANY LIMITED thailand distributor for MTU engines at Ship Technology for the Next Decade (Ship Tech.III) on 3-4 March 2016.



China Shipbuilding and Off-shore International (CSOC) was displayed model of 2,600 ton Conventional Submarines at Defense and Security 2019 exibition in Thailand.
Royal Thai Navy (RTN)'s S26T Submarine procurement is facing issues by Germany not exporting license of MTU 396 diesel engine to China.

Embassy clarifies

Re: "China offers navy subs as purchase deal hits snag", (BP, Feb 7).

I do have to comment on a wrong fact which was given in the Article though: ("…refused to sell one to China after learning that it would use the engine for assembling a new submarine for sale to another country.")
Germany did not refuse the export of the engine because of the product being for Thailand as a third country.
The export was refused because of its use for a Chinese Military/Defence industry item.
China did not ask/coordinate with Germany before signing the Thai-China contract, offering German MTU engines as part of their product.

PHILIPP DOERT
DEFENCE ATTACHE THAILAND
EMBASSY OF THE FEDERAL REPUBLIC OF GERMANY

กองทัพเรือ ชี้แจงกรณีถูกกล่าวหาโครงการจัดหาเรือดำน้ำ ยืนยันเป็นการดำเนินการแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล ส่วนกรณีเครื่องยนต์ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาร่วมกัน เพื่อหาทางออก ย้ำความต้องการ ยังเป็นเครื่องยนต์ MTU ของเยอรมัน
วันนี้ (28 กุมภาพันธ์ 2565) พลเรือโท ปกครอง  มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ ชี้แจงข้อเท็จจริง กรณี นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคามและรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แถลงความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อเรือดำน้ำ โดยกล่าวหาในหลายประเด็น 
โดยกองทัพเรือขอชี้แจงในประเด็นที่ว่าการจัดซื้อแบบจีทูจี เป็นการจัดซื้อจีทูจีที่ไม่จริงนั้น ขอเรียนว่าการดำเนินการจัดหาเรือดำน้ำ ระยะที่ 1 ของกองทัพเรือนั้น เป็นการดำเนินการโดยรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G ) และมีการดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการในทุกขั้นตอน
เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี และได้ผ่านการพิจารณาความถูกต้องด้านกฎหมายจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทั้งกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 
ก่อนที่จะเสนอให้ ครม. อนุมัติให้ ผู้บัญชาการทหารเรือหรือผู้แทน เป็นตัวแทนรัฐบาลไทยไปลงนามในข้อตกลงจ้างสร้างเรือดำน้ำลำที่ 1 ดังกล่าว 
สำหรับฝ่ายรัฐบาลจีน โดย The State Administration of Science, Technology and Industry for National Defense (SASTIND) ในฐานะหน่วยงานของรัฐบาลจีนสำหรับการบริหารงานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและการส่งออกอาวุธ 
ได้มอบอำนาจให้บริษัท China Shipbuilding & Offshore International Co., Ltd. (CSOC) เป็นตัวแทนรัฐบาลจีนในการมาหารือเรื่องเทคนิคและราคา/เจรจาต่อรอง รวมทั้งลงนามในข้อตกลงจ้างสร้างเรือฯ กับกองทัพเรือไทย ในโครงการจัดหาเรือดำน้ำลำที่ 1 ในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล

ส่วนประเด็นเรื่องความคืบหน้าในการก่อสร้างท่าจอดเรือดำน้ำและข้อสงสัยที่ว่าผู้แทนบริษัท CSOC ที่เข้ามารับผิดชอบโครงการสร้างท่าจอดเรือดำน้ำ เป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งโดยถูกต้องหรือไม่ กองทัพเรือขอชี้แจงให้ทราบว่า 
การก่อสร้างท่าจอดเรือดำน้ำ ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการบริหารสัญญา โดยกรมช่างโยธาทหารเรือ ในวงเงินทั้งสิ้น 857 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 28 เม.ย.64 และสิ้นสุดวันที่ 17 เม.ย.66 รวม720 วัน ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว 307 วัน 
โดยทางบริษัทได้เบิกล่วงหน้า 15 % เป็นเงิน 128 ล้านบาท ซึ่งได้มีการเร่งรัดเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ จากการตรวจสอบปัจจุบันมีการดำเนินการก่อสร้างไปแล้วส่วนหนึ่ง ซึ่งหากบริษัทไม่สามารถก่อสร้างเสร็จตามสัญญาก้อจะถูกปรับหรือยกเลิกสัญญา 
ในส่วนของผู้แทนบริษัท CSOC ที่เข้ามารับผิดชอบโครงการสร้างท่าจอดเรือดำน้ำ เป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ จากบริษัท CSOC โดยถูกต้องโดยมีเอกสารสัญญาที่ชัดเจน 
โดยมี นาย Lang Qingxu เป็นผู้บริหารโครงการ และมีนายจักรพงษ์ วงศ์ธนปกรณ์ เป็นวิศวกรโครงการ มีคุณวุฒิวิศวกรโยธาระดับสามัญ ส่วนบุคคลอื่น ๆ นั้น กรมช่างโยธาทหารเรือไม่อนุญาตให้เข้ามาในพื้นที่โครงการก่อสร้าง

โฆษกกองทัพเรือกล่าวว่าสำหรับประเด็นเรื่องการจัดซื้อเรือดำน้ำโดยไม่มีเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเรือดำน้ำที่เยอรมันเป็นผู้ผลิต เนื่องจากเยอรมันไม่ออกใบอนุญาตการขายให้กับทางจีน แสดงว่ากองทัพเรือโดนหลอกทำสัญญาหรือไม่นั้น 
ขอชี้แจงว่าในการทำข้อตกลงจ้างฯ นั้น กำหนดให้เรือดำน้ำแบบ S26T มีเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รุ่น MTU396 จากเยอรมันได้ จำนวน 3 เครื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Diesel Generator Set) ชัดเจน 
แต่เนื่องจากภายหลังเยอรมัน มีนโยบายการระงับการส่งออก(Embargo Policy) ซึ่งกำหนดให้เครื่องยนต์ดีเซลของเรือดำน้ำ เป็นสินค้าที่อยู่ในรายการควบคุมการส่งออก ส่งผลให้การจำหน่ายเครื่องยนต์ อะไหล่ หรือเครื่องยนต์ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีเยอรมัน ต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลเยอรมัน 
ซึ่งเป็นปัญหาที่ทางจีนต้องดำเนินการแก้ไข เนื่องจากกองทัพเรือได้ยืนยันความต้องการเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รุ่น MTU396 จากเยอรมัน ตามข้อตกลงไปแล้ว จึงเป็นสิ่งที่ทางจีนจะต้องทำตามข้อตกลง 
โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาร่วมกันระหว่างกองทัพเรือกับบริษัท CSOC ในการหาทางออกแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกัน ทั้งนี้การดำเนินการต่าง ๆ ต้องเป็นไปตามข้อตกลงจ้างฯ รวมทั้งระเบียบ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องทุกประการ โดยกองทัพเรือคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ

อย่างไรก็ตามขอยืนยันว่า กองทัพเรือมุ่งมั่นในการเป็นกองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ  เป็นที่พึ่งของประชาชน และบริหารจัดการด้วยความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ 
ซึ่งกระบวนการจัดหายุทโธปกรณ์เป็นไปตามระเบียบราชการทุกประการ โดยยึดถือประโยชน์ของกองทัพเรือและประเทศชาติเป็นหลัก
สำนักงานโฆษกกองทัพเรือ

การที่จีนเสนอเรือดำน้ำที่เคยประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน ๒ ลำแก่กองทัพเรือไทย เพื่อชดเชยความล่าช้าของเรือดำน้ำ S26T ๓ลำที่กำลังสร้าง ๑ลำ แต่ยังไม่สั่งลำที่๒ และลำที่๓ อาจจะไม่มีผลเป็นรูปธรรมจริงก็ได้ แค่เป็นการดำเนินการเพื่อต่อรองกับไทยของทางจีนเท่านั้น
ไม่ว่าจะในรูปแบบบริจาคเหมือนเรือดำน้ำ Type 035B ของพม่า(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/type-035-ums-minye-kyaw-htin.html) หรือขายเรือดำน้ำ Type 039G ให้ในราคามิตรภาพ จะเป็นแบบเดียวกับที่ Janes เคยรายงานการให้ข้อมูลจากนายทหารเรือที่ไม่เปิดเผยชื่อภายใต้กฎ Chatham House Rule ในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018)
ว่าเรือดำน้ำ S26T จะติดระบบอุปกรณ์ ระบบอำนวยการรบ และระบบอาวุธผสมผสานจากจีนและตะวันตก(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/s26t.html) ซึ่งเวลาที่ผ่านไปได้พิสูจน์แล้วว่าไม่จริง จากปัญหาที่เยอรมนีไม่ส่งออกสิทธิบัตรเครื่องยนต์ MTU ให้จีนสำหรับเรือดำน้ำ S26T ของไทย

เรือดำน้ำจีน ๒ลำที่จีนปลดประจำการแล้วที่จะเสนอนั้น ทางโฆษกกองทัพเรือออกมาบอกสื่อว่าจีนยังไม่ได้ยื่นเรื่องอย่างเป็นทางการแต่เท่าที่ทราบเป็นเรือเก่าและค่อนข้างเก่ามากๆ ผลสรุปในเรื่องนี้กองทัพเรือไทยอาจจะไม่รับข้อเสนอจากจีนก็ได้เพราะมองว่าไม่คุ้มในระยะยาวมากพอ
ที่ได้ข้อมูลมาเกี่ยวกับเรื่องปัญหาเยอรมนีไม่ส่งออกสิทธิบัตรเครื่องยนต์ดีเซล MTU แก่จีนสำหรับเรือดำน้ำ S26T ของกองทัพเรือไทยคือ ไม่ใช่แค่จีนยังไม่ได้หารือเรื่องนี้กับเยอรมนี แต่ทางเยอรมนีจะไม่หารือเรื่องนี้กับจีนอีกแล้วมากกว่า ดูแล้วน่าจะมีทางแก้ไขปัญหาสองทางคือ
หนึ่งเปลี่ยนเครื่องยนตร์ใหม่ตามที่จีนแนะนำ ซึ่งดูเหมือนเรือดำน้ำชั้น Hangor ปากีสถาน ๘ลำ ที่มีพื้นฐานจาก Type 039B เช่นเดียวกับ S26T ของไทยที่จะต่อในประเทศตนด้วย ๔ ลำ ซึ่งมีปัญหาเรื่องการส่งออกเครื่องยนตร์จากเยอรมนีเช่นเดียวกัน มีแนวโน้มจะเลือกแนวทางนี้

บริษัทที่ผลิตเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับใช้งานในเรือในจีนมีเช่น Shaanxi Diesel กับ Henan Diesel ซึ่งทั้งสองอยู่ในเครือ China State Shipbuilding Corporation Limited(CSSC) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมการสร้างเรือของสาธารณรัฐประชาชนจีน 
Shaanxi จีนมีสิทธิบัตรการผลิตเครื่องยนต์จากทั้ง MTU เยอรมนี MAN เยอรมนี และ SEMT Pielstick ฝรั่งเศส Henan จีนมีสิทธิบัตรการผลิตเครื่องยนต์จาก DEUTZ-MWM กับ MAN เยอรมนี ซึ่งมีการผลิตและติดตั้งกับทั้งเรือพาณิชย์และเรือทางทหารหลายแบบ
อย่างเช่นเรือฟริเกตชั้น Type 054A ที่กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนใช้เอง และส่งออกให้ปากีสถานล่าสุดคือ F261 PNS Tughril ใช้เครื่องยนต์ดีเซลระบบ CODAD ๔เครื่องสิทธิบัตร SEMT Pielstick ฝรั่งเศส(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/type-071e-lpd.html)

แต่นอกจากเครื่องยนต์ MTU ที่ใช้กับเรือดำน้ำชั้น Type 039A/B/C ที่จีนใช้เอง ซึ่งเยอรมนีไม่อนุญาตส่งออกให้ติดตั้งกับเรือดำน้ำ S26T ของไทย และเรือดำน้ำชั้น Hangor ของปากีสถานแล้ว ไม่มีเครื่องยนต์จากรายอื่นที่ผลิตเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับใช้ในเรือดำน้ำโดยตรงเหมือน MTU เลย
เครื่องยนต์ดีเซลสำหรับเรือรายอื่นอย่างที่มีข่าวว่าจะเปลี่ยนเป็น MWM เยอรมนีถ้าดูจากที่ปากีสถานมีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ตามที่จีนเสนอ แสดงว่าจีนจะต้องมีวิธีแก้ไขปัญหาในทางใดทางหนึ่ง ถ้ากองทัพเรือไทยจะยอมแก้ไขสัญญาเปลี่ยนไปไม่ใช้MTU เยอรมนี
สองไทยสั่งจัดซื้อเครื่องยนต์ MTU จากเยอรมนีโดยตรงไม่ผ่านจีน แล้วนำมาติดตั้งกับเรือในไทย กรณีนี้จะยุ่งยากกว่ามากๆเพราะต้องขนส่งชิ้นส่วนเรือจากจีนและต้องลงทุนอู่เรือในการประกอบเครื่องยนต์เข้ากับเรือดำน้ำในไทย มันจึงแทบเป็นไปไม่ได้ที่กองทัพเรือไทยจะเลือกดำเนินแนวทางนี้ได้

ถ้าเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่จึงน่าจะเป็นไปได้มากที่สุด ยกเว้นกองทัพเรือไทยจะไม่ยอมให้จีนแก้ไขสัญญายืนยันจะเอา MTU เท่านั้นไม่เช่นนั้นจะถือว่าจีนผิดสัญญา แต่นั่นเป็นตัวบ่งชี้ว่าโครงการ S26T กำลังจะถึงทางตัน และกลายเป็นจุดแตกหักของความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างกองทัพเรือไทยและจีน
เพราะกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนไม่เต็มใจที่จะขาย S26T ที่มีพื้นฐานจาก Type 039B ที่ก้าวหน้าที่สุดของตนให้ไทยมาแต่แรกแล้ว แต่เป็นความต้องการของรัฐบาลจีนที่ต้องการจะเปิดตลาดกับไทย ด้วยเหตุผลด้านความคุ้มค่าและภาพลักษณ์ เป็นไปได้ที่กองทัพเรือไทยจะปฏิเสธเรือดำน้ำมือสองจากจีน และมุ่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นอย่างเรื่องเครื่องยนต์ให้ได้ในขั้นต้น 
มองว่าถ้าโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T จากจีนประสบความล้มเหลวถึงขั้นที่ไม่มีการรับมอบเรือได้แม้แต่ลำเดียว มันจะเป็นโครงการจัดหาเรือดำน้ำครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ความพยายามของกองทัพเรือไทย เพราะหลังจากนี้คงไม่มีใครยอมให้กองทัพเรือมีเรือดำน้ำในทุกรูปแบบอีกต่อไปแล้วครับ




U-Tapao, Kingdom of Thailand – Royal Thai Marine Corps and U.S. Marines operate RTMC AAV7A1 RAM/RS amphibious assault vehicles during a training exercise Feb. 23, 2022. 
RTMC Assault Amphibian Vehicle Battalion and USMC from the 3rd Assault Amphibian Battalion, 1st Marine Division, are participating in a subject matter expert exchange Feb. 21 – March 4, 2022, as part of exercise Cobra Gold 2022.

กองทัพไทย ร่วมกับ กองทัพสหรัฐอเมริกา ดำเนินการฝึกแลกเปลี่ยนยุทธวิธี AAV ( AAV TACTICAL TRAINING) ตามคำสั่งยุทธการ รูปขบวนการรบ และการปฏิบัติฉับพลัน  
ในรูปแบบการฝึกแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ (Subject Master Expert Exchange : SMEE) การฝึกคอบร้าโกลด์ 2022 ณ กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
กองทัพไทย ร่วมกับ กองทัพสหรัฐอเมริกา ดำเนินการฝึกการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก ระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ถึง 4 มีนาคม 2565 
โดยมีผู้เข้าร่วมการฝึกจาก กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน 40 นาย และ กองทัพสหรัฐอเมริกา 15 นาย 
ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกในครั้งนี้ เพื่อการแลกเปลี่ยนยุทธวิธีด้านการปฏิบัติด้านการรบ รูปขบวนรบ การปฏิบัติฉับพลัน เทคนิคการเข้าโจมตีต่อที่หมาย การแก้ปัญหา เมื่อเกิดสถานะการณ์การปะทะ และการโจมตีโดยใช้ขบวนรถสะเทินน้ำสะเทินบก ของระหว่างทั้งสองกองทัพ
ทั้งนี้ กองทัพไทยกำหนดให้ใช้มาตรการ Bubble and Seal เพื่อความปลอดภัยของกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกฯ และพี่น้องประชาชนในพื้นที่โดยรอบการฝึกฯ 
เพื่อให้สอดรับกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ของกระทรวงสาธารณสุข และจังหวัดต่างๆ อย่างเคร่งครัด




U.S. Army Soldiers with 4th Brigade Combat Team (Airborne), 25th Infantry Division and Royal Thai Army soldiers with the 31st Infantry Regiment, King Bhumibol's Guard conduct a strategic airborne operation during exercise Hanuman Guardian 2022 in Thailand. 

การฝึกผสมระหว่างกองทัพไทยและกองทัพสหรัฐฯในปลายเดือนกุมภาพันธ์-ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๕ คือการฝึกผสม Cobra Gold 2022 ภาคสนามระหว่างวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์-๔ มีนาคม ๒๕๖๕ และการฝึกผสม Hanuman Guardian 2022 ระหว่างวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์-๘ มีนาคม ๒๕๖๕
แม้ว่าเนื่อจากการระบาดของ Covid-19 ทำให้มีการจำกัดขนาดและปรับรูปแบบการฝึก แต่ทั้งสองฝึกในไทยสหรัฐฯก็ได้นำยุทโธปกรณ์ที่สำคัญเข้าร่วมเช่นกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ที่ส่งอากาศยานใบพัดกระดก CV-22B Osprey มาวางกำลังฝึกในไทย(แม้ว่าจะเปิดเผยมากนัก)
รวมถึงนำเครื่องบินลำเลียงหนัก C-17A บินจากมลรัฐ Washington สหรัฐฯเป็นเวลา ๑๙ชั่วโมงส่งทางอากาศทหารบกไทย-สหรัฐฯ โดดร่มที่ค่ายธนะรัชต์ ประจวบคีรีขันธ์ ไทย แสดงให้เห็นถึงความพร้อมและการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดของกองทัพจากทั้งสองประเทศอย่างดีครับ