วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2565

เครื่องบินขับไล่ F-15SG สิงคโปร์ และ F-16C/D สหรัฐฯเข้าร่วมการฝึกผสม Cope Tiger 2022 ในไทย








Exercise Cope Tiger 2022 at Wing 1 Korat Royal Thai Air Force (RTAF) base in Thailand during 13-25 March 2022,  involve F-15SG of 149 Squadron and F-16D Block 52+ of ,Republic of Singapore Air Force (RSAF) and F-16C/D Block 40 of 80th Fighter Squadron, 8th Fighter Wing, Pacific Air Forces (PACAF), US Air Force (USAF). (Whutchanunt Phutcharinya) 



พิธีเปิดการฝึกผสมโคปไทเกอร์ ประจำปี ๒๕๖๕ COPE TIGER 2022

เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. นาวาอากาศเอก สิทธิพล ป้อมตรี รองผู้อำนวยการสำนักยุทธการและการฝึก กรมยุทธการทหารอากาศ ในฐานะ ผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสมโคปไทเกอร์ ๒๐๒๒ ฝ่ายกองทัพอากาศ 
พร้อมด้วย Col David kok (นาวาอากาศเอก เดวิด ก๊อก) ผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสมฯ ฝ่ายกองทัพอากาศสาธารณรัฐสิงคโปร์ 
และ Lt Col Christopher High (นาวาอากาศโท คริสโตเฟอร์ ไฮจ์) ผู้แทน ผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม ฯ ฝ่ายกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา 
ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกผสมโคปไทเกอร์ ๒๐๒๒ ณ ห้องประชุมจันทรุเบกษา กองบิน ๑ จังหวัดนครราชสีมา

การฝึกผสมโคปไทเกอร์ (Multi-Lateral Exercise Cope Tiger) ถือได้ว่าเป็นการฝึกผสมทางอากาศ ที่มีการสนธิกำลังทางอากาศใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการนำกำลังทางอากาศ จาก ๓ ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการฝึก 
มีการพัฒนารูปแบบการฝึกให้เข้ากับสถานการณ์การสู้รบในปัจจุบัน จะมีการสมมติสถานการณ์เสมือนจริง ทั้งด้านการควบคุมและสั่งการ การฝึกยุทธวิธีการรบระหว่างเครื่องบินรบต่างแบบ 
การฝึกโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมายภาคพื้นดินที่มีการต่อต้านจากกอาวุธของหน่วยต่อสู้อากาศยานภาคพื้น การฝึกด้านการข่าวกรองยุทธวิธีโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ และการให้การสนับสนุนของหน่วยสนับสนุนต่าง ๆ 
สำหรับวัตถุประสงค์ในการฝึกครั้งนี้ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยบิน และหน่วยต่อสู้อากาศยานที่เข้าร่วมการฝึก และเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศผสม อีกทั้งยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างมิตรประเทศ ที่เข้าร่วมการฝึกอีกด้วย

การฝึกผสมโคปไทเกอร์ ๒๐๒๒ ในครั้งนี้ กองทัพอากาศ และกองทัพอากาศมิตรประเทศ ได้พิจารณาอย่างรอบคอบในการปรับลดจำนวนผู้เข้าร่วมการฝึกผสม ฯ พร้อมทั้งจัดทำแนวทางมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-๑๙) ในระหว่างการฝึกผสม ฯ 
โดยจะมีการฝึกภาคสนาม (Field Training Exercise : FTX) ระหว่างวันที่ ๑๓ – ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๕ ในพื้นที่กองบิน ๑ จังหวัดนครราชสีมา กองบิน ๒ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศ ชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี 
ทั้งนี้ กองอำนวยการฝึกผสม โคปไทเกอร์ ๒๐๒๒ ได้เน้นย้ำให้ผู้ร่วมการฝึก ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ทั้งทางภาคพื้นและภาคอากาศ รวมทั้งปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ อย่างเคร่งครัด

รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด พร้อม เอกอัครราชทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย ร่วมพิธีเปิดการฝึกผสม รหัส แพนเธอร์โกลด์  (Panther Gold 22) 
พลเอก สุภโชค ธวัชพีระชัย รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ นายมาร์ค กูดดิ้ง (Mark Gooding OBE) เอกอัครราชทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดการฝึกผสม รหัส แพนเธอร์โกลด์  (Panther Gold 2022) เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565 
ณ สนามหญ้าหน้าแหล่งสมาคมนายทหารค่ายพ่อขุนผาเมือง ค่ายพ่อขุนผาเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมี พลตรี สุริยะ เอี่ยมสุโร รองแม่ทัพภาคที่ 3 พลตรี นฤทธิ์ ถาวรวงษ์ ผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 1 , 
ผู้บังคับหน่วยทหารในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมในพิธี

โดยกองทัพไทย ร่วมกับ กองทัพสหราชอาณาจักร จัดการฝึกผสมร่วมกัน ภายใต้รหัสการฝึกแพนเธอร์โกลด์ (Panther Gold 2022) ระหว่างวันที่ 6 มีนาคม - 3 เมษายน 2565 ณ จังหวัดเพชรบูรณ์  
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและเพิ่มพูนทักษะในการปฏิบัติการทางทหารร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การฝึกทางทหาร ตามหลักนิยมของทั้ง 2 ประเทศ 
นอกจากนี้ยังเป็นการแลกเปลี่ยนขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม ระหว่าง 2 กองทัพ รวมทั้งเป็นการกระชับความสัมพันธ์และเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านความมั่งคงระหว่างกองทัพไทย และกองทัพสหราชอาณาจักร

สำหรับการฝึกดังกล่าวฯ มีกำหนดการฝึกภาคสนามในวันที่ 25 มีนาคม 2565 ณ สถานีควบคุมไฟป่าทุ่งแสลงหลวง ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์   
และพิธีปิดการฝึกแพนเธอร์โกลด์ (Panther Gold 2022)  ในวันที่ 1 เมษายน 2565 ณ โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์  
 
ทั้งนี้ การฝึกแพนเธอร์โกลด์  ถือเป็นความสำเร็จในการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางทหารระดับยุทธวิธีร่วมกันทั้งสองกองทัพ และทั้งสองกองทัพจะได้นำไปประยุกต์ใช้ต่อการปฏิบัติการทางทหารที่เกี่ยวข้องต่อไป 
สำหรับความร่วมมือในการฝึกผสมฯ ดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในด้านการสร้างความร่วมมือกับมิตรประเทศในการพัฒนาการฝึกผสมฯ กับมิตรประเทศอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของกองทัพไทย 
รวมถึงเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองกองทัพให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นต่อไป

นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาด Covid-19 เป็นต้นมาการฝึกผสมทางอากาศรหัส Cope Tiger ระหว่างกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force), กองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force) และกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ก็ปรับลดขนาดลงไปมาก
การฝึกผสม Cope Tiger 2022 ที่มีการฝึกภาคสนามตั้งแต่วันที่ ๑๓-๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022) โดยมีไทยเป็นเจ้าภาพ จัดการฝึกโดยมีที่ตั้งหลักที่ กองบิน๑ โคราช, กองบิน๒ โคกกระเทียม และสนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล(Chandy Rage) ลพบุรี นับว่ายังดีมากที่สามารถจัดการฝึกได้

กำลังทางอากาศที่เข้าร่วมการฝึกที่มีการวางกำลัง ณ กองบิน๑ ประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15SG Strike Eagle ฝูงบิน149(149 Squadron) และเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16C/D Block 52+ Fighting Falcon ฝูงบิน145(45 Squadron) กองทัพอากาศสิงคโปร์
และเครื่องบินขับไล่ F-16C/D จากฝูงบินขับไล่ที่80(80th FS: 80th Fighter Squadron), กองบินขับไล่ที่8(8th FW: 8th Fighter Wing) กองทัพอากาศแปซิฟิก(PACAF: Pacific Air Forces) กองทัพอากาศสหรัฐฯ ซึ่งมีที่ตั้งปกติ ณ ฐานทัพอากาศ Kunsan ในสาธารณรัฐเกาหลี

กำลังทางอากาศของไทยที่เข้าร่วมการฝึก Cope Tiger 2022 จะรวมถึงเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU และ F-16A/B Block 15 ADF ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ ที่ตั้งหลักในการฝึกปีนี้(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/f-16a-adf.html)
การฝึกผสม Cope Tiger 2022 ถูกจัดขึ้นในหลังเสร็จสิ้นการฝึกผสมนานาชาติ Cobra Gold 2022(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/cobra-gold-2022.html

เช่นเดียวกับที่การฝึกผสม Hanuman Guardian 2022 ระหว่างกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) กับกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) ระหว่างวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์-๒๔ มีนาคม ๒๕๖๕(https://aagth1.blogspot.com/2022/02/hanuman-guardian-2022.html
และการฝึกผสม Panther Gold 2022 ระหว่างกองทัพไทย(RTARF: Royal Thai Armed Forces) กับกองทัพสหราชอาณาจักร(British Armed Forces) ระหว่างวันที่ ๖ มีนาคม-๓ เมษายน ๒๕๖๕ จะเห็นได้ว่าไทยมีความสัมพันธ์ทางทหารที่ใกล้ชิดแน่นแฟ้นกับมิตรประเทศต่างๆผ่านการฝึกครับ