วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2565

ไทยตัดงบประมาณกลาโหมปี ๒๕๖๖ ลงอีกปีเนื่องจาก Covid-19

Thailand proposes 2% cut in 2023 defence budget



US Army and Royal Thai Army Stryker vehicles during exercise Hanuman Guardian 2022. (112th Infantry Regeiment, 11th Infantry Division, Royal Thai Army)




Janes Defence Budgets forecasts continued constraints in Thailand's military expenditure during the next few years. (Janes Defence Budgets/Ministry of Defence of Thailand)



“มิตรภาพ-เสถียรภาพ-ความยั่งยืน” Friendships-Stability-Sustainability ทบ.ไทย-ทบ. สหรัฐฯ ปิดการฝึกผสม หนุมานการ์เดียน 202

วันนี้ (24 มี.ค. 65) ที่  ศูนย์ฝึกทางยุทธวิธีกองทัพบก บ้านดีลัง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี  พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานร่วมกับ พลเอก ชาร์ลส์ เอ ฟลินน์ (Gen. Charles A. Flynn) ผู้บัญชาการกองกำลังทางบกสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก 
ในพิธีปิดการฝึกผสมรหัส Hanuman Guardian 2022 โดยมีคณะผู้บังคับบัญชาของกองทัพทั้งสองประเทศร่วมในพิธี 
ผู้บัญชาการกองกำลังทางบกสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นแปซิฟิกได้กล่าวถึง ความสำคัญของการฝึกผสมครั้งนี้ ที่เกิดจากมิตรภาพอย่างยาวนานระหว่างสองประเทศ นอกจากจะเป็นพื้นฐานของเสถียรภาพความมั่นคงในระดับภูมิภาคแล้ว 
ยังจะนำไปสู่ความต่อเนื่องในการฝึกและความร่วมมือด้านอื่นๆ เพื่อให้กองทัพมีความสามารถและพร้อมรองรับภัยคุกคามในสถานการณ์โลกทุกรูปแบบ

โดยผู้บัญชาการทหารบก ได้กล่าวในพิธีปิดว่า การฝึกผสม Hanuman Guardian 2022 ในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่กำลังพลของทั้งสองกองทัพ ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน ยกระดับขีดความสามารถและความรู้ทั้งในด้านเทคนิคทางยุทธวิธี 
ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่ด้วยความมีวินัยของกำลังพลของทั้งกองทัพ สามารถฝึกร่วมทางทหารได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย 
ทั้งนี้ขอชื่นชมกำลังพลทุกนายที่มีความกระตือรือร้น และตั้งใจในการฝึกเป็นอย่างดี รวมทั้งมีการสร้างมิตรภาพระหว่างบุคคล และหน่วยให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต 
ก่อนเข้าสู่พิธีปิดได้ตรวจเยี่ยมการฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริงของหน่วยยานเกราะสไตรเกอร์ ณ พื้นที่การฝึกเนิน 129 บ้านดีลัง
และในโอกาสนี้กองทัพบกยังได้จัดพิธีประดับและแลกเปลี่ยนปีกร่มให้กับกำลังพลที่ผ่านการฝึกกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ ณ ร.31 พัน.3 รอ. ให้กับกำลังพลของทั้งสองประเทศด้วย 

สำหรับการฝึกผสม Hanuman Guardian 2022 ในปีนี้จัดขึ้นในระหว่าง 24 ก.พ.-25 มี.ค. 65 ณ พื้นที่ฝึก จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ จ.ลพบุรี ซึ่งประกอบกำลังจาก กองทัพบกไทย และกองกำลังทางบกสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก (USARPAC) 
มีการแลกเปลี่ยนในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการฝึกกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ การรบผสมเหล่า การฝึกแลกเปลี่ยนของหน่วยกำลังรบ หน่วยบิน รวมทั้งหน่วยต่อต้านวัตถุระเบิดและการฝึกแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ 
ถือเป็นความร่วมมือและความสำเร็จอันงดงามในการพัฒนาทั้งระดับบุคคลและระดับหน่วยของกองทัพบกไทยและสหรัฐฯ  

ไทยได้จัดสรรงบประมาณกลาโหมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ที่วงเงิน ๑๙๗,๒๙๒,๗๓๒,๐๐๐บาท($5.86 billion) ตามเอกสารร่างงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรีไทย
วงเงินในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีแสดงว่า งบประมาณกลาโหมปี ๒๕๖๖ ถูกตัดลดลงร้อยละ๒ เปรียบเทียบงบประมาณกลาโหมปี ๒๕๖๕(2022) ที่มีวงเงิน ๒๐๑,๖๖๖,๔๒๑,๐๐๐บาท(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/covid-19.html)

ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.๒๕๖๖ จะถูกยื่นให้สภาผู้แทนราษฏรรัฐสภาไทยพิจารณาเพื่อเห็นชอบในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕ โดยปีงบประมาณของไทยจะเริ่มในเดือนตุลาคม
ตามการตัดลดในร่างบประมาณกลาโหม ๒๕๖๖ กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) จะได้รับการจัดสรรงบประมาณที่วงเงิน ๙๖,๕๗๓,๔๓๔,๗๐๐บาท ถูกตัดลดลงปีต่อปีที่ร้อยละ๓

กองทัพเรือไทย(RTA: Royal Thai Navy) จะได้รับการจัดสรรงบประมาณที่วงเงิน ๔๐,๓๒๒,๕๒๕,๑๐๐บาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่วงเงิน ๑๑๕,๓๓๑,๖๐๐บาท
และกองทัพอากาศไทยไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) จะได้รับการจัดสรรงบประมาณที่วงเงิน ๓๖,๑๑๒,๙๒๘,๑๐๐บาท ถูกตัดลดลงที่ร้อยละ๔ จากปีที่แล้ว

งบประมาณกลาโหม ๒๕๖๖ ในส่วนอื่นๆรวมถึง สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย(RTARF HQ: Royal Thai Armed Forces Headquarters) ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณที่วงเงิน ๙๖,๕๗๓,๔๓๔,๗๐๐บาท และ ๑๔,๕๔๐,๙๕๓,๔๐๐บาท ตามลำดับ
และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute) หน่วยวิจัยและพัฒนาของกระทรวงกลาโหมไทย ที่ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ๒๑ เป็นวงเงิน ๕๐๔,๖๐๑,๕๐๐บาท(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/male-uav-hermes-900.html)

การตัดลดงบประมาณกลาโหม ๒๕๖๖ ได้รับการกระตุ้นจากกระแสแรงกดดันด้านเศรษฐกิจจากผลกระทบการแพร่ระบาดของ Covid-19 แรงกดดันนี้ยังนำไปสู่ความล่าช้าของโครงการจัดหาทางกลาโหมหลายๆโครงการของไทย
โครงการเหล่านี้เช่น การจัดหารถถังหลักใหม่เพิ่มเติม, ปืนใหญ่ใหม่, Radar ใหม่ และรถเกราะล้อยาง General Dynamics Land Systems Stryker 8x8 ICV(Infantry Combat Vehicle) เพิ่มเติมจากสหรัฐฯของกองทัพบกไทย(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/cobra-gold-2022.html)

โครงการจัดหาที่ล่าช้าอื่นๆรวมถึงการจัดหาเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า S26T ลำที่๒ และลำที่๓ เพิ่มเติมจากจีน(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/s26t.html), การปรับปรุงเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล และการพัฒนาสถานที่ของกองทัพเรือไทย
ขณะที่กองทัพอากาศไทยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณสำหรับเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่อง ที่น่าจะเป็นเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/f-16ab-f-35a.html) ซึ่งยังต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาครับ