วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2565

อินโดนีเซียจัดตั้งกลุ่มกิจการเพื่อวิศวกรรมย้อนกลับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ C-705 จีน

Indonesia establishes consortium to reverse engineer anti-ship missile

KRI Kujang (642) and KRI Clurit (641), the Clurit-class fast attack craft launched a C-705 anti-ship missile.
the C-705 medium-range anti-ship missile of Indonesian Navy.

Indonesia has established a consortium to reverse engineer an anti-ship missile and, based on an image released by the Indonesian Ministry of Defense, it is strongly believed to be the C-705, which closely resembles the weapon type. (Janes/Patrick Allen)



กลุ่มกิจการค้าร่วม(consortium) ของอินโดนีเซียที่โดยหลักประกอบด้วยรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลอินโดนีเซียได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อที่จะทำวิศวกรรมย้อนกลับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ 
ด้วยมุมมองที่จะจัดตั้งขีดความสามารถขึ้นในอินโดนีเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2016/09/c-705.html, https://aagth1.blogspot.com/2014/03/c-705.html)

กลุ่มกิจการค้าร่วมนำโดย กรมเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย และรวมถึง PT Dirgantara Indonesia รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมการบินอินโดนีเซีย,
PT Len รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าอินโดนีเซีย, PT Dahana รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตวัตถุระเบิดอินโดนีเซีย และ PT Pindad รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตยานยนตร์ขนาดหนัก อาวุธปืน และกระสุนอินโดนีเซีย

ขณะเดียวกันสองกิจการเอกชนที่มีชื่อในฐานะส่วนหนึ่งของกลุ่มกิจการค้าร่วมคือ บริษัท PT Mulia Laksana Utama ผู้พัฒนาชุดคำสั่ง software กลาโหม และบริษัท PT Aero Terra Indonesia ผู้ผลิตอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle)
ข้อตกลงการจัดตั้งกลุ่มกิจการค้าร่วมอย่างเป็นทางการได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2022 กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียกล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2022

ในบรรดาประเด็นต่างที่มีขึ้นอย่างเป็นทางการรวมถึงขอบเขตการทำงานของแต่ละบริษัทที่จะมีส่วนร่วม และกระบวนการทดสอบและการรับรองผลที่จะถูกดำเนินการในขั้นระยะต่างๆของการปล่อยอาวุธ
"เราหวังว่าการเรียนรู้วิทยาการนี้ท้ายที่สุดจะนำไปสู่การมีอยู่ของอุตสาหกรรมอาวุธปล่อยต่อต้านเรือผิวน้ำในประเทศ และความสามารถในการผลิตอาวุธในประเทศเพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์การปกป้องอธิปไตยของชาติของกองทัพ" กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียกล่าวในแถลงการณ์

แถลงการณ์ของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียชะงักถึงการเปิดแบบของอาวุธปล่อยนำวิถีที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการวิศวกรรมย้อนกลับ อย่างไรก็ตามภาพประกอบการแถลงมีความคลึงอย่างมาก
กับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำพิสัยกลาง C-705 ที่พัฒนาโดย China Aerospace Science and Industry Corporation(CASIC) รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตอาวุธปล่อยนำวิถีของสาธารณรัฐประชาชนจีน

อินโดนีเซียได้รับสิทธิบัตรการผลิตอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ C-705 จากจีน ซึ่งถูกนำเข้าประจำการในกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut)
เช่นที่ติดตั้งกับเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Clurit(KCR-40) จำนวน 8ลำ และเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Sampari(KCR-60M) จำนวน 4ลำครับ(https://aagth1.blogspot.com/2016/04/type-730-kcr-60m.html)