วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๕-๓


The US Air Force (USAF)'s Lockheed Martin F-35A Lightning II. (USAF)

Royal Thai Air Force (RTAF)'s Lockheed Martin F-16A/B Block 15 OCU Fighting Falcon of 103rd Squadron, Wing 1 Korat.
Royal Thai Air Force (RTAF) spokesperson reveal 1st progression of Lockheed Martin F-16A/B Block 15 replacement programme on 7 March 2022, requirements for 5th Generation Fighter Aircraft.
RTAF spokesperson reveal 2nd progression of F-16 replacement programme on 9 March 2022, it need for 5th Gen Fighter Aircraft to replaced retired F-5s and F-16s by 2032 when its fighter fleet to be less than 50% of current.

The RTAF's F-16A Block 15 ADF serial 10331 of 103rd Squadron, Wing 1 Korat was crashed at Chaiyaphum Province, Thailand local time 1340 on 8 March 2022 during Basic Fighter Maneuvers (BFM) training flight mission, Pilot ejected safely.
The crashed airframe was former F-16A ADF serail 10210 (pictured) that transited from 102nd Squadron, Wing 1 since 30 September 2021. (https://www.facebook.com/groups/441463545871708/posts/7567849086566416/)

โฆษก ทอ.เปิดเผยความก้าวหน้าโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน (ครั้งที่ 2)

วันนี้ (วันที่ 9 มีนาคม 2565) พลอากาศตรี ประภาส  สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยเหตุผลความจำเป็นที่ต้องจัดซื้อเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนว่า 
ตาม พรบ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551  มาตรา 21 ระบุให้ กองทัพอากาศมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศ การป้องกันราชอาณาจักรและดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังกองทัพอากาศ ตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม 
มีผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ และตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาศักยภาพของประเทศด้านความมั่นคง ของกระทรวงกลาโหม และแผนปฏิบัติการด้านการปกป้องอธิปไตยและรักษาผลประโยชน์แห่งชาติของกองทัพไทย 
ซึ่งกำหนดแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการปกป้องอธิปไตยและรักษาผลประโยชน์ของชาติ ระบุว่ากำลังทางอากาศต้องมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการเชิงรุกที่ได้เปรียบฝ่ายตรงข้าม และปฏิบัติการร่วมทั้งในและนอกประเทศ 
โดยใช้ระบบเครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operations) ทำให้กองทัพอากาศต้องเตรียมยุทโธปกรณ์ให้มีความพร้อม ทันสมัย มีศักยภาพทางทหารที่ทัดเทียมกับประเทศรอบบ้าน
 
ปัจจุบันเครื่องบินรบส่วนใหญ่ของกองทัพอากาศมีขีดความสามารถจำกัดในการปฏิบัติการทางอากาศมีอายุการใช้งานมาอย่างยาวนาน และจะเริ่มทยอยปลดประจำการตั้งแต่ พ.ศ.2564 จนถึง พ.ศ.2574 
โดยใน พ.ศ.2575 กองทัพอากาศจะคงเหลือเครื่องบินขับไล่โจมตีต่ำกว่าร้อยละ 50 ซึ่งจะทำให้ขีดความสามารถของกำลังรบทางอากาศลดลงจนไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ และยังต้องแบกรับภาระการส่งกำลังและซ่อมบำรุงกับเครื่องบินรบจำนวนมาก ที่มีอายุการใช้งานสูงถึง 28 - 54 ปี 
จึงต้องพัฒนาและจัดหายุทโธปกรณ์ที่จำเป็นและเพียงพอต่อหน้าที่ในการเตรียมการใช้กำลังทางอากาศ โดยคำนึงถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานภาพงบประมาณของกองทัพอากาศ 
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันประเทศ รองรับแผน ปฏิบัติการของกระทรวงกลาโหมและกองทัพไทย 
กองทัพอากาศได้พิจารณาความคุ้มค่าในการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีโดยมุ่งเน้นคุณภาพเหนือปริมาณ เพื่อการป้องปรามและรู้ผลแพ้ชนะในการใช้กำลัง รวมทั้งสามารถทวีกำลังและเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการปฏิบัติการร่วมระหว่างเหล่าทัพ 
ตลอดจนสร้างความมั่นคงร่วมกับมิตรประเทศในภูมิภาค กองทัพอากาศจึงได้กำหนดให้จัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีสมรรถนะสูงยุคที่ 5 มาทดแทนเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบเดิมที่ล้าสมัย อันจะก่อให้เกิดความได้เปรียบของกำลังทางอากาศในการผนึกกำลังป้องกันประเทศ (United Defense) 
สนับสนุนการปฏิบัติการร่วมกับเหล่าทัพอื่น และยังเป็นเครื่องมือเชิงยุทธศาสตร์ในการป้องปราม (Deterrence) หรือการป้องกันเชิงรุก (Active Defense) ตลอดจนสามารถร่วมปฏิบัติการทางทหารกับประเทศในภูมิภาคได้ ตามหลักคิดการสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงร่วมกับมิตรประเทศในภูมิภาค 

กองประชาสัมพันธ์ สำนักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ
9 มีนาคม 2565

โฆษก ทอ.เปิดเผยความก้าวหน้าโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน (ครั้งที่ 3) 
วันนี้ (วันที่ 11 มีนาคม 2565) พลอากาศตรี ประภาส  สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยวัตถุประสงค์การใช้งานเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน เพื่อรองรับภารกิจการบินรบในอากาศ การโจมตีทางอากาศ การปฏิบัติการเชิงรุกที่ก่อให้เกิดความได้เปรียบต่อฝ่ายตรงข้าม 
และการปฏิบัติการร่วมทั้งในและนอกประเทศ รวมถึงบูรณาการความร่วมมือในการป้องกันประเทศ และรักษาผลประโยชน์แห่งชาติกับเหล่าทัพอื่น 
โดยคณะกรรมการศึกษาและจัดทำความต้องการเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน ได้กำหนดแนวทางการถ่ายทอดเทคโนโลยีเบื้องต้นที่ควรได้รับจากการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน ดังนี้ 
1. มีข้อเสนอให้ทุนการศึกษาแก่ประเทศไทยในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท จำนวนที่เหมาะสม เพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สำคัญ และส่งเสริมการพัฒนาประเทศในภาพรวม 
2. บุคลากรของกองทัพอากาศควรได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Offset Scholarship) เพื่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน 
ตลอดจนมีขีดความสามารถในการทดสอบการใช้งาน การติดตามผลการใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และการรับรองมาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล 
3. การถ่ายทอดเทคโนโลยีในส่วนของการออกแบบอากาศยานที่สามารถซ่อนพรางจากการตรวจจับด้วยสัญญาณเรดาร์ (Stealth) ทั้งในส่วนการออกแบบอากาศยาน (Aircraft Design) การออกแบบพื้นผิววัสดุของอากาศยาน (Material Design) และการซ่อมบำรุงการซ่อนพราง 
4. การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการประยุกต์ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) นำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ในระบบบัญชาการและควบคุม ในการพิจารณาภัยคุกคาม (Threat Assessment & Analysis) เพื่อให้ระบบบัญชาการและควบคุม มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
5. การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านงานส่งกำลังบำรุงแบบบูรณาการในการติดตามระบบส่งกำลังบำรุง ระบบการจัดการ, การซ่อมบำรุงพัสดุ ในแบบ Realtime และสามารถนำมาพิจารณาแนวโน้มความต้องการพัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงรักษาได้ 
6. การถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้ด้านการบินทดสอบอากาศยานที่ทันสมัย และการบินทดสอบอากาศยานไร้คนขับในลักษณะ Manned-Unmanned Teaming (MUM-T) ให้แก่นักบินของกองทัพอากาศ ซึ่งทำหน้าที่ทดสอบสมรรถนะ หรือการทำงานของอากาศยาน 
7. การถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้ในด้านวิเคราะห์และเลือกใช้อาวุธ (Target Weaponeering) 
8. การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Warfare) รวมถึงการได้รับการเข้าถึงบัญชีความถี่ (EW Library) 
กล่าวได้ว่าการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนพร้อมระบบที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้ ได้กำหนดแนวทางการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต 
โดยคำนึงถึงคุณภาพของกำลังทางอากาศและขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศ เพื่อปกป้องผลประโยชน์และรักษาความมั่นคงของชาติ 

กองทัพอากาศยังคงดำรงเจตนารมณ์เช่นเดิมในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี แต่การดำเนินการที่เกี่ยวข้องในรายละเอียดทั้งหมดจะอยู่ในขั้นตอนต่อไป ภายหลังจากการเจรจากับประเทศผู้ขาย 
(ขอเวลาให้ คณะกรรมการฯ ดำเนินการ พิจารณาเลือกแบบเครื่องบินที่เหมาะสม ดำเนินการด้วยความรอบคอบก่อน) 
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีตามที่กองทัพอากาศสนใจจะให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้น เป็นเทคโนโลยีทางทหารชั้นสูง มีชั้นความลับกำกับ ถือเป็น Military Know how (ที่สร้างความได้เปรียบในการรบสมัยใหม่) 
จึงต้องถูกควบคุมจากประเทศผู้ผลิตอย่างเคร่งครัดโดยหน่วยงานด้านความมั่นคงของประเทศผู้ผลิต
อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่ากองทัพอากาศเรามีความชัดเจนในการถ่ายทอดเทคโนโลยีในสิ่งที่เราต้องการและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากองทัพไทยและประเทศชาติในระยะยาวแน่นอนครับ

พลอากาศตรี ประภาส  สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศไทย ได้เปิดเผยความก้าวหน้าโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน ครั้งที่๑ ครั้งที่๒ และครั้งที่๓ ตลอดช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022) สำหรับการทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 
ในส่วนการทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ที่เคยประจำการ ณ ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช ที่เครื่องบางส่วนโอนย้ายไปรวมที่ฝูงบิน๑๐๓ กองทัพอากาศไทยแสดงเจตนารมณ์ชัดเจนมาตลอดว่าต้องการเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ แบบ Lockheed Martin F-35A Lightning II สหรัฐฯ
คณะรัฐมนตรีไทยเห็นชอบอนุมัติวงเงินประมาณ ๑๓,๘๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($415 million) สำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่อง ยังจำเป็นต้องได้รับมติเห็นชอบจากรัฐสภาไทยสำหรับงบประมาณผูกพันปี พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๖๙(2023-2026) ไปแล้ว

ต่อมาหนึ่งวันให้หลังเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A ADF หมายเลข 10331 ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ ตกที่จังหวัดชัยภูมิ ระหว่างการฝึกภารกิจการบินขับไล่ขั้นมูลฐาน(BFM: Basic Fighter Maneuvers) นักบิน เรืออากาศเอก ปกรณ์  พิสิทธิ์ศาสตร์ ดีดตัวได้อย่างปลอดภัยและได้ถูกส่งไปโรงพยาบาล
อุบัติเหตุเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๕ เป็นการสูญเสียเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B เครื่องที่๗ จากทั้งหมด ๕๙เครื่องที่จัดหาเข้าประจำการมาเกือบ ๓๔ปี โดย F-16A ADF หมายเลข 10331 เดิมคือหมายเลข 10210ในฝูงบิน๑๐๒(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/f-16a-adf.html)
ถ้านับเฉพาะในรุ่น F-16A/B ADF จะมีการสูญเสียรวม ๔เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/f-16ab-2020s.html) โดย บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ที่กองทัพอากาศไทยมีประจำการได้รับการปรับปรุงโครงสร้าง Falcon UP/STAR แล้ว ทำให้มีอายุการใช้งานที่ 8,000 flight hours

เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A ADF หมายเลข 10331 ที่ตกนั้นล่าสุดนั้นมีชั่วโมงบินรวม 6,009.7 flight hours และเครื่องยนต์ไอพ่น Pratt & Whitney F100-PW-220E มีอายุการใช้ที่ 3,588.3 hours หมายความว่าเครื่องยังเหลือชั่วโมงบินอีกเกือบ 2,000 flight hours
ซึ่ง บ.ข.๑๙ F-16A ADF หมายเลข 10331 หรือหมายเลข 10210 เดิมนั้นเป็นเครื่องในสายการผลิต 82-1008 เคยประจำการในฝูงบินขับไล่ที่34(34th Fighter Squadron) กองบินขับไล่ที่388(388th Fighter Wing) กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๗(1984)
ก่อนได้รับการปรับปรุงเป็น F-16A ADF(Air Defense Fighter) ประจำการในกองกำลังพิทักษ์ชาติทางอากาศ(ANG: Air National Guard) ในปี พ.ศ.๒๕๓๕(1992) ก่อนส่งมอบให้กองทัพอากาศไทยภายใต้โครงการ Peace Naresuan IV ปี พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๔๖(2002-2003)

ภายในปี พ.ศ.๒๕๗๕(2032) ฝูงเครื่องบินขับไล่โจมตีของกองทัพอากาศไทยจะเหลือน้อยกว่าร้อยละ๕๐ ของปัจจุบัน เช่นเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๗ข/ค F-5E/F TH Super Tigris, เครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet TH และ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ฝูงบิน๑๐๓ ที่จะปลดประจำการลงทั้งหมดในช่วงนั้น
ซึ่งในสงครามทางอากาศยุคอนาคตเครื่องบินขับไล่ที่ไม่ใช้เครื่องบินขับยุคที่๕ จะไม่มีโอกาสรอดอีกต่อไป การจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 พร้อมทำงานร่วมกับอากาศยานไร้คนขับ MUM-T(Manned-Unmanned Teaming ) ในลักษณะการทวีกำลังรบจึงจะลดช่วงว่างขีดความสามารถที่หายไปนี้ได้
การถ่ายทอดวิทยาการในระดับที่เจ้าของจะมอบให้ได้ โดยมีกองทัพอากาศไทยและรัฐวิสาหกิจเช่น บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด(TAI: Thai Aviation Industries Co.,Ltd.) จนถึงสถาบันการศึกษาเป็นแม่งานหลัก เป็นแนวทางที่เหมาะสมเป็นได้จริงกว่าให้ภาคเอกชนที่ยังไม่มีความพร้อมจะลงทุน

การที่ออกมาบอกว่าโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนของกองทัพอากาศไทยไม่มีการมีส่วนร่วมของของภาคเอกชน ดูจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงทั้งหมด เพราะคำถามคือแล้วเอกชนบริษัทไหนในไทยที่มีขีดความสามารถพอที่จะมีสามารถมีส่วนร่วมในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 ได้?
F-35 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ ทีมีระดับวิทยาการสูง ต้องมองด้วยว่าไทยเรามีพื้นฐานภาคอุตสาหกรรมอากาศยานภายในประเทศแค่ไหน โดยแต่ละประเทศที่รวมโครงการ Joint Strike Fighter(JSF) หรือจัดหาแบบ Foreign Military Sales(FMS) ก็มีระดับการมีส่วนร่วมในโครงการไม่เท่ากัน
เช่น เนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งศูนย์ชิ้นส่วนอะไหล่ในยุโรปทั้งหมด(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/f-35a-f-16ambm.html), Kongsberg นอร์เวย์พัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น JSM(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/f-35a-jsm.html) ฟินแลนด์มีข้อตกการจัดตั้งการซ่อมบำรุงและการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่สถาบันการศึกษา(https://aagth1.blogspot.com/2022/02/f-35a-hx.html) และล่าสุดแคนาดาที่ระบุการมีส่วนร่วมของอุตสาหกรรมการบินในประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/f-35a.html)

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดทั้งหมดเป็นการตอกย้ำความจำเป็นเร่งด่วนที่จะทดแทนเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔ อย่าง บ.ข.๑๙ F-16A/B Block 15 OCU/ADF ที่มีอายุการใช้งานมานานและเริ่มล้าสมัยแล้ว ด้วยเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ ที่มีขีดความสามารถในการรองรับภัยคุกคามในอนาคต
อย่างไรก็ตามนอกจากปัจจัยจากทางสหรัฐฯที่ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะอนุมัติการขายเครื่องบินขับไล่ F-35A ให้ไทยหรือไม่ ซึ่งในขั้นระยะนี้บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯผู้ผลิตและรัฐบาลสหรัฐฯยังไม่อยู่ในสถานะและเวลาที่จะให้ข้อมูลใดๆแก่สาธารณชนได้ คาดว่าจะมีหลังเดือนเมษายนลงไป
ยังมีปัจจัยทางทางไทยที่การจัดหา F-35A ระยะที่๑ ๔เครื่องต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาก่อน แต่ผู้ไม่หวังดีต่อชาติยังคงใช้สื่อไร้จรรยาบรรณโจมตีกองทัพอากาศว่าตั้งใจทำเครื่องบินตกเพื่อหาเรื่องซื้อเครื่องใหม่ และไม่ยอมให้ซื่้อเครื่องใหม่อะไรทั้งนั้นแต่พอใช้เครื่องเก่าก็ว่าไม่ห่วงชีวิตนักบินครับ


Naval Research & Development Office (NRDO), Royal Thai Navy (RTN) demonstrated MARCUS-B (Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System-Type B) Vertical Take-Off and Landing (VTOL) UAV (Unmanned Aerial Vehicle) 
during the opening ceremony for RTN's Naval Exercise Fiscal Year 2022.


AAV7A1 RAM/RS amphibious assault vehicles which upgraded by Thailand's company Chaiseri of Marine Assault Amphibian Vehicle Battalion, Royal Thai Marine Corps (RTMC) Division, Royal Thai Navy.
Defence Technology Institute (DTI) 's announced on 8 March 2022 that Chaiseri metal & rubber Co. Ltd. is winner for development, modernization and maintenance the prototype of Amphibious Assault Vehicle (AAV) programme for AAVP7A1.

กองทัพเรือไทยยังคงเดินหน้าสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลแบบที่๒ MARCUS-B VTOL UAV แบบขึ้นลงทางดิ่ง ที่ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. พัฒนาร่วมกับภาคเอกชนไทย
และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI ประกาศให้ Chaiseri ไทยเป็นผู้ชนะโครงการพัฒนาปรับปรุงและซ่อมบำรุงต้นแบบยานรบสะเทินน้ำสะเทินบก(AAV) แบบ AAVP1A1 ที่เข้าใจว่าคือรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 RAM/RS ที่ได้รับปรับปรุงความทันสมัยแล้วสำหรับนาวิกโยธินไทย
ขณะที่ กองการบินทหารเรือ กบร.มีการพัฒนาขีดความสามารถระบบอากาศยานไร้คนทั้งที่จัดหาจากต่างประเทศและพัฒนาในไทย กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน พัน.รนบ.พล.นย.ก็จะปรับปรุงความทันสมัย รยบ.AAV7A1 ที่มีอยู่ใช้ร่วมกับยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/walkaround-vn16.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/03/blog-post_04.html)


Israeli Air Force's Hermes 900 Kochav UAV. Royal Thai Navy Spokesperson clarified the accusations that RTN selected Elbit Systems Hermes 900 as winner for land-based Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle (MALE UAV) requirement.

ตามที่มีข่าวมาเรื่องการจัดหา UAV ของกองทัพเรือ...
1. Hermes 900 เป็น UAV ของ Elbit Systems ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตยุทโธปกรณ์ทางทหารที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอิสราเอล มีชื่อเสียงในการผลิต UAV มีใช้ในกองทัพอิสราเอล ทั้ง 3 เหล่าทัพ 
และมีการใช้งานในภารกิจทางทะเล เช่น กองทัพเรือแคนาดา ฟิลิปปินส์ ชิลีและหน่วยงาน European Maritime Safety Agency (กรีซและไอซ์แลนด์)  นอกจากนี้ยังมีประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไม่เปิดเผยชื่อ)
2. ส่วนเรื่องที่ว่า Hermes 900 มีการตกในสวิตเซอร์แลนด์นั้น ข้อเท็จจริงคือ Hermes 900 ที่ตกเป็นรุ่น Star liner /HFE ซึ่งเป็นรุ่นที่มีขนาดใหญ่กว่า มีน้ำหนัก 1.6 ตัน เป็นคนละรุ่นกับ HERMES 900 ที่เสนอต่อกองทัพเรือ ที่มีน้ำหนัก 1.2 ตัน 
โดยการที่เครื่องตกครั้งนั้นเกิดขึ้นในประเทศอิสราเอลเพียงครั้งเดียว ระหว่างการทดสอบการบิน ในขั้นตอนการพัฒนาเพื่อส่งมอบให้กับสวิตเซอร์แลนด์  ...
ในรอบ 12 ปีที่ผ่านมา มี UAV ตกมากกว่า 200 เครื่อง ซึ่ง UAV HERMES 900 มีสถิติการตกน้อยที่สุด โดยมี Hermes 900 ตกอีกเพียงครั้งเดียวที่ประเทศกรีซ ระหว่างการนำเครื่องขึ้นซึ่งเป็นความผิดพลาดของผู้ควบคุมการบิน ไม่ใช่ข้อบกพร่องของเครื่อง 
3. ส่วนที่ว่าบริษัทเอกชนรายหนึ่งเป็นผู้แทนนั้น โดยข้อเท็จจริง บริษัท Elbit Systems เป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อกองทัพเรือโดยตรง

Thailand's Defence Technology Institute (DTI) new domestic VTOL UAV.

Thailand company's RV Connex shown its Sky Scout VTOL UAV at World Defense Show 2022 in Riyadh, Saudi Arabia on 6-9 March 2022.

สทป. ประชุมแนวทางความร่วมมือ หลักสูตรการอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ สำหรับ สถาบันการอาชีวศึกษา
พล.อ.ชูชาติ บัวขาว ผอ.สทป. เป็นประธานการประชุมแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ หลักสูตรการอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ สำหรับ สถาบันการอาชีวศึกษา โดยมี คุณปัทมา วีระวานิช นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 และคณะผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เข้าร่วมหารือเพื่อจัดทำแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ หลักสูตรการอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ จากนั้นคณะได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ (DTI-UTC) สทป. เมื่อวันที่ 11 มี.ค.65 
การประชุมในครั้งนี้ทาง สทป. มีผู้แทนจากฝ่ายพัฒนากิจการ โดยส่วนพัฒนาโครงการและประสานความร่วมมือ และศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aircraft Systems Training Centre - UTC) ร่วมให้ข้อมูลในการหารือ 
เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่บุคลากรการศึกษาเข้าสู่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม การประยุกต์องค์ความรู้ระบบอากาศยานไร้คนขับ รวมถึงการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรม และศูนย์ซ่อมบำรุงระบบอากาศยานไร้คนขับที่ได้รับมาตรฐานสากลต่อไปในอนาคต 

โฆษกกองทัพเรือไทยได้ชี้แจงข้อกล่าวหาจากฝ่ายการเมืองที่โจมตีโครงการอากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่งว่าได้เลือกแบบเป็น Hermes 900 UAV อิสราเอล โดยข้อมูลที่นำมาโจมตีที่ว่าตัวระบบไม่น่าเชื่อถือตกบ่อยและเกี่ยวข้องเรือดำน้ำนั้นล้วนแต่เป็นไม่เป็นความจริงและบิดเบือนทั้งสิ้น
กองทัพเรือไทยกำลังพัฒนาขีดความสามารถด้านอากาศยานไร้คนขับของตนตามที่ได้นำเสนอไปหลายครั้ง สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI ก็มีโครงการพัฒนา UAV ของตนเองหลายแบบที่ทำไปใช้งานจริงแล้ว ล่าสุดที่พบต้นแบบอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่งขนาดกลางแบบใหม่
ภาคเอกชนไทยเช่น RV Connex เองก็ได้ไปจัดแสดงผลิตภัณฑ์ใหม่ของต้นอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง Sky Scout ในงานแสดง World Defense Show 2022 ที่ซาอุดีอาระเบียระหว่าง ๖-๙ มีนาคม ๒๕๖๕ ถึงอย่างนั้นการโจมตีกองทัพเรือยังคงมีต่อเนื่องจากผู้เสียผลประโยชน์ผ่านสื่ออยู่ดีครับ

BTR-3E1 8x8 armored personnel carrier of Armored Company, Marine Tank Battalion, Royal Thai Marine Corps Division during exercise for Fiscal Year 2022.

Oplot-T main battle tanks of 2nd Cavalry Battalion,  2nd Infantry Division Royal Guard, Royal Thai Army (RTA).


BTR-3E1 8x8 armored personnel carrier of 1st Infantry Battalion, 2nd Infantry Regiment Royal Guard and 1st Infantry Battalion, 21st Infantry Regiment Royal Guard, 2nd Infantry Division Royal Guard, Royal Thai Army during exercise for Fiscal Year 2022.

Royal Thai Army's Mil Mi-17V-5 helicoptes of 41st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center support fast rope training of 1st Special Forces Regiment and 2nd Special Forces Regiment, Special Forces Division, Special Warfare Command, RTA.

Royal Thai Army's Igla-S Man-Portable Air-Defense System (MANPADS) simulator.

Royal Thai Air Force's Sukhoi Superjet 100-95LR serial 60208 of 602nd Squadron, Wing 6 Don Muang.

Royal Thai Navy was formal launching ceremony of new 2 Coastal Patrol Craft T.997-class (T.997 and T.998) from Thailand's shipyard company Marsun Public Company Limited in 21 June 2021.

ทบ.ระบุการจ้างซ่อมบำรุงยานยนต์ล้อและสายพาน ดำเนินตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างทุกประการ กับบริษัทที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากประเทศผู้ผลิต
ตามที่สื่อมวลชนได้ให้ความสนใจเสนอข่าวการจ้างซ่อมยานยนต์ล้อและรถสายพาน ตระกูลยูเครนของกองทัพบกกับบริษัทผู้แทนประเทศผู้ผลิต ตั้งแต่ปี 2554 ถึงปัจจุบัน จำนวน 6 สัญญา วงเงิน 215 ล้านบาท 
โดยตั้งข้อสังเกตว่าผู้บริหารของทั้ง 2 บริษัทที่ได้รับงานจ้างซ่อมนั้นมีความเชื่อมโยงกัน ทั้งนี้แม้สื่อยืนยันว่าไม่ปรากฏข้อมูลงานจ้างซ่อมฯ ดังกล่าวถูกร้องเรียน เรื่องความไม่โปร่งใสในการดำเนินการแต่อย่างใด 
กองทัพบกขอเรียนยืนยันว่าการดำเนินการจ้างเหมาส่งกำลังและซ่อมบำรุงเป็นไปตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างทุกประการ แต่เพื่อให้สังคมได้รับทราบในรายละเอียดของเรื่องนี้จากกองทัพบกโดยตรง กองทัพบกใคร่ขอเรียนข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ 

กองทัพบกตระหนักและให้ความสำคัญกับแนวทางการพึ่งพาตนเอง ในการจัดหายุทโธปกรณ์การซ่อมบำรุง รวมถึงการส่งเสริมผู้ประกอบการและหน่วยงานอุตสาหกรรมภายในประเทศ และได้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง 
สำหรับยานยนต์ล้อและรถสายพาน ตระกูลยูเครน เป็นยุทโธปกรณ์ที่กองทัพบกจัดซื้อโดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาลกับประเทศยูเครน และได้นำเข้ามาประจำการระยะหนึ่งแล้ว ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554 โดยยุทโธปกรณ์ดังกล่าวมีสัญญารับประกันการใช้งานเป็นเวลา 2 ปี 
จากนั้นผู้ซื้อจะเป็นผู้ดำเนินการซ่อมบำรุงด้วยตนเอง ตลอดเวลาที่ใช้งานยุทโธปกรณ์ดังกล่าวก็ได้เข้าสู่กระบวนการปรนนิบัติบำรุงตามข้อตกลงในสัญญาด้วยความเรียบร้อย ต่อมากองทัพบกได้จัดทำโครงการจ้างเหมาส่งกำลังและซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ดังกล่าว 
ตามมาตรฐานการปรนนิบัติบำรุงยุทโธปกรณ์ตามปกติ โดยพิจารณาให้ประเทศผู้ผลิตเป็นผู้ดำเนินการเป็นหลัก พร้อมกับได้ลงข้อมูลของโครงการในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตามขั้นตอน 
โดยกองทัพบกได้ดำเนินการจ้างเหมาส่งกำลังและซ่อมบำรุง แบบราคาคงที่ไม่จำกัดปริมาณหรือ Open end ต่อยุทโธปกรณ์ดังกล่าวกับ 2 บริษัท ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนอย่างเป็นทางการของประเทศผู้ผลิต 
คือในปีงบประมาณ 2556- 2563 ดำเนินการจ้างเหมาส่งกำลังและซ่อมบำรุงกับบริษัทฉะเชิงเทรา ยนตรการ เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงที่ได้รับแต่งตั้งจากผู้ผลิต 
และในปีงบประมาณ 2564 บริษัทผู้ผลิตได้ แต่งตั้งให้ บริษัท ดาต้าเกท จำกัด เป็นผู้แทนในการปรนนิบัติบำรุงและการซ่อมบำรุงยานยนต์ล้อและรถสายพาน ตระกูลยูเครน แต่เพียงรายเดียวในราชอาณาจักรไทย 
ดังนั้นกองทัพบกจึงได้ดำเนินการจ้างเหมาส่งกำลังและซ่อมบำรุงกับ บริษัท ดาต้าเกท จำกัด จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้การจ้างเหมาส่งกำลังและซ่อมบำรุง เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 และที่เพิ่มเติม

ที่ผ่านมา การส่งกำลังและซ่อมบำรุงเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยุทโธปกรณ์สามารถนำไปใช้งานได้ตามภารกิจ ในขณะเดียวกันกองทัพบกยังได้พัฒนากำลังพลที่เป็นช่างซ่อมบำรุงของหน่วยใช้และหน่วยสนับสนุนให้มีความชำนาญ 
โดยจัดให้มีการอบรมการซ่อมบำรุงฯตามลำดับ ทำให้สามารถซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ด้วยตัวเองได้มากขึ้น บนพื้นฐานความคุ้มค่า ประหยัดงบประมาณและปรากฎผลสัมฤทธิ์ในการปรนนิบัติบำรุงยุทโธปกรณ์ให้มีสภาพการใช้งานอย่างเหมาะสมกับภารกิจ 
และในอนาคตกองทัพบกจะมุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพของหน่วยและกำลังพลสู่การซ่อมบำรุงด้วยตนเองได้ทั้งระบบต่อไป
22 มีนาคม 2565

สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ที่ตามมาด้วยการทำลายโครงสร้างอุตสาหกรรมความมั่นคงของยูเครนโดยกองทัพรัสเซีย และการคว่ำบาตรและตัดรัสเซียออกจากระบบเศรษฐกิจโลกของชาติตะวันตกและโลกเสียนั้นส่งผลกระทบต่อกองทัพไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัจจุบันยุทโธปกรณ์หลักที่กองทัพบกไทยจัดหาจากยูเครนจะมีใช้ในหน่วยขึ้นตรงของ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ฯ คือรถถังหลัก Oplot-T ใน กองพันทหารม้าที่๒ กับรถเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-3E1 ใน กรมทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ฯ และ กรมทหารราบที่๒๑ รักษาพระองค์ฯ
ในส่วนของกองทัพเรือไทยก็มีรถเกราะล้อยาง BTR-3E1 ใน กองร้อยยานเกราะ กองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน จำนวน ๑๒คัน ยังรวมถึงรถยนต์บรรทุก KrAZ จำนวนหนึ่ง และยานเกราะล้อยางที่บังคับการ BTR-4CS-T ต้นแบบ ๑คัน(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/btr-4cs-t.html)

ในพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๕ นาวิกโยธินไทยเปิดเผยกับสื่อว่าขั้นต้นสงครามในยูเครนยังไม่ส่งผลกระทบต่อรถเกราะล้อยาง BTR-3E1 โดยการซ่อมบำรุงนั้นรถสามารถใช้ชิ้นส่วนที่หาภายในไทยได้ถึงร้อยละ๙๘ รวมถึง Battery ที่ผลิตโดยโรงงานแบตเตอรี่ทหาร กระทรวงกลาโหมไทย 
การที่อาวุธยุทโธปกรณ์จากยูเครนมีหน่วยใช้งานจำนวนค่อนข้างจำกัดก็ยังน่าพอจะแก้ปัญหาไปได้บางส่วน เช่นถ้าจบสงครามยูเครนยังไม่สิ้นชาติก็น่าจะยังพอมีแนวทางจัดหาอะไหล่และสิ่งอุปกรณ์ได้อยู่ ไม่เช่นนั้นไทยก็จำเป็นจะต้องวิจัยและพัฒนาและแก้ไขปัญหาในไทยด้วยตนเองในระยะยาว 
เช่นพวก battery หรือชิ้นส่วนวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆที่ไทยเราสามารถทำได้เอง ตัวอย่างเช่นการพัฒนาออกแบบและผลิตชุดแหวนขอบยางกันซึมของปืนใหญ่และปืนต่อสู้อากาศที่บริษัทผู้ผลิตดั้งเดิมเลิกสายการผลิตไปแล้วเป็นต้น(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/bofors-40mm-l70.html)

ยุทโธปกรณ์ที่จัดหาจากรัสเซียดูจะเป็นปัญหามากกว่า ระบบเดี่ยวที่ไม่ต้องการการบำรุงรักษาสูงมากอย่างอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Igla-S หรือปืนเล็กยาวตระกูล AK ที่จัดหาให้ทหารพรานกองทัพบกไทยและนาวิกโยธินกองทัพเรือไทย ยังพอจะใช้งานต่อไปได้จนกว่าจะหมดอายุการใช้งาน(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/ak-201.html)
แต่ที่จะมีปัญหามากที่สุดคือกลุ่มอากาศยาน ทั้งเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๗ Mi-17V-5 กองพันบินที่๔๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ที่มีแล้ว ๑๐เครื่องจากความต้องการที่น่าจะเป็น ๑๒เครื่อง ที่ผ่านมาก็มีรายงานว่ามีค่าใช้จ่ายการปฏิบัติการและซ่อมบำรุงสูงกว่าเฮลิคอปเตอร์ตะวันตก
ซึ่ง ฮ.ท.๑๗ Mi-17V-5 จากเดิมที่มีจัดหาเพื่อทดแทนภารกิจบางส่วนของเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ล.๔๗ CH-47D จะกลายเป็นใช้งานไม่ได้เลยตามมาเสียเองส่งผลต่อความพร้อมด้านการเคลื่อนทางอากาศของกองทัพบกไทย(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/mi-17v-5.html)

เครื่องบินลำเลียงแบบที่๑๘ บ.ล.๑๘ Sukhoi Sukhoi Superjet 100-95LR ฝูงบิน๖๐๒ กองบิน๖ กองทัพอากาศไทย แม้ว่าจะเป็นเครื่องบินพาณิชย์สำหรับขนส่งบุคคลสำคัญ แต่ก็จะเป็นอากาศยานที่ได้รับผลกระทบที่สุดจากการคว่ำบาตรและตัดรัสเซียออกจากระบบเศรษฐกิจโลกของชาติตะวันตก
ซึ่งถ้าการบังคับใช้กฎหมายคว่ำบาตรต่างๆของชาติตะวันตกต่อรัสเซียมีความเข้มงวดมากๆจนส่งผลกับไทยโดยตรง อากาศยานที่จัดหาจากรัสเซียเหล่านี้ถึงจุดหนึ่งก็จะมีปัญหาการซ่อมบำรุงจนไม่มีความสมควรเดินอากาศ สุดท้ายก็ต้องงดบินและปลดประจำการไปเพราะไม่คุ้มค่าที่จะใช้งานต่อ
ส่วนเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเรือ ต.997 และ ต.998 ๒ลำที่มีพิธีปล่อยลงน้ำเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๔(2021) ก็มีรายงานว่าระบบควบคุมการยิงและปืนกล AK-306 30mm รัสเซียมีความล่าช้าในการจัดส่งทำให้ยังบูรณาการระบบไม่ได้(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/ak-306-30mm.html

ความล่าช้าในการนำเรือ ตกฝ.ชุด เรือ ต.997 ๒ลำเข้าประจำการที่ถ้าแก้ปัญหาระบบปืนกล AK-306 จากรัสเซียไม่ได้ ก็น่าจะแก้ไขแบบเรือกลับไปใช้ปืนกล MSI 30mm เป็นปืนหลักเหมือนเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.๙๙๑ และเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.๙๙๔ ทั้ง ๖ลำที่เข้าประจำการไปแล้ว
การคว่ำบาตรอย่างเข้มงวดมากขึ้นของกลุ่มชาติตะวันตกยังรวมถึงระบบอาวุธของจีน จากเดิมที่กองทัพเรือไทยเคยสั่งต่อเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา ๔ลำ และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ๒ลำ ที่ติดตั้งระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ดีเซล MTU เยอรมนี รวมถึงระบบอุปกรณ์และอาวุธตะวันตกได้
ขณะที่เรืออู่ยกพลขึ้นบกเรือหลวงช้าง(Type 071E LPD) สามารถติด ย.MTU แทน Shaanxi 16 PC2.6 V400 สิทธิบัตร SEMT Pielstick ฝรั่งเศสที่จีนใช้กับเรือตนเองได้ แต่เยอรมนีไม่อนุญาตส่งออก ย.MTU 16V 396 SE84 ให้จีนสำหรับเรือดำน้ำ S26T ของไทยเพราะถือเป็นระบบสมรรถนะสูงครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/covid-19.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/12/type-071e-lpd.html)




The Republic of Singapore Navy (RSN) and Royal Thai Navy (RTN) ships sailing in formation as part of Exercise Singsiam 2022.

การฝึกผสม SINGSIAM 2022 ระหว่างกองทัพเรือไทยและสิงคโปร์ เป็นครั้งที่ 20

กองทัพเรือ จัดเรือเข้าร่วมทำการฝึก SINGSIAM 2022 ครั้งที่ 20 ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยจัด ร.ล.นเรศวร เเละ ร.ล.สายบุรี ร่วมทำการฝึกกับเรือฝ่ายสิงคโปร์ ประกอบด้วย  RSS Formidable, RSS Valaint เเละ RSS Fortitude 
โดย COL.Kwan Hon Choung, Commander First Flotilla กองทัพเรือสิงคโปร์ เป็น ผู้บังคับกองเรือเฉพาะกิจผสม (Commanding Task Group:CTG) และฝ่ายไทยมี น.อ.ทวีศักดิ์ ทองนำ เสนาธิการ กองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ เป็น ผู้บังคับหมู่เรือฝึก 
ทำการฝึกระหว่าง 18 มี.ค.- 5 เม.ย.65 การฝึกจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือการฝึกในท่า และการฝึกในทะเล ระหว่าง 20 - 22 มี.ค.65 ซึ่งการฝึกผสม SINGSIAM (สิงห์สยาม) เริ่มต้นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2528 

วัตถุประสงค์ในการฝึกครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ความชำนาญ ให้แก่กำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกฯ และพัฒนาการปฏิบัติการทางเรือสาขาต่างๆ เช่น การฝึกรบผิวน้ำ , การฝึกป้องกันภัยทางอากาศ และหัวข้อต่างๆที่เกี่ยวข้อง , 
เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในการปฏิบัติการทางเรือร่วมกัน ระหว่างกองทัพเรือทั้ง 2 ประเทศ นอกจากนี้กำลังพลจะสามารถนำความรู้ประสบการณ์ที่ได้รับในการฝึกร่วมมาพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถของตัวเอง และการใช้อาวุธยุทโปกรณ์ที่ทันสมัย ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น




Royal Thai Armed Forces (RTARF) with Royal Thai Army and Royal Thai Air Force and United Kingdom's British Armed Forces with British Army conducted exercise Panther Gold 2022 at Phetchabun Province in Thailand during 6 March to 3 April 2022.

รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และคณะ ตรวจเยี่ยมการฝึกผสมแพนเธอร์โกลด์ (Panther Gold 22) 
วันที่ 30 มีนาคม 2565 เวลา 09.40 นาฬิกา พลเอก สุภโชค ธวัชพีระชัย รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และคณะ ตรวจเยี่ยมการฝึกผสมแพนเธอร์โกลด์ (Panther Gold 22) ระหว่างกองทัพไทย กับ กองทัพสหราชอาณาจักร
 ณ สถานีควบคุมไฟป่าทุ่งแสลงหลวง  ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
กองทัพไทย ร่วมกับ กองทัพสหราชอาณาจักร จัดการฝึกผสมร่วมกัน ภายใต้รหัส “การฝึกผสมแพนเธอร์โกลด์ 22” (Panther Gold 2022) ระหว่างวันที่ 6 มีนาคม-3 เมษายน 2565 ณ จังหวัดเพชรบูรณ์ 
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ และเพิ่มพูนทักษะในการปฏิบัติการทางทหารร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การฝึกทางทหาร ตามหลักนิยมของทั้ง 2 ประเทศ รวมทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม ระหว่าง 2 กองทัพ 
รวมถึงเพื่อกระชับความสัมพันธ์และเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านความมั่งคงระหว่างกองทัพไทย และกองทัพสหราชอาณาจักร มีผู้เข้าร่วมการฝึกฯ จำนวน 280 นาย 
ประกอบด้วย ฝ่ายไทย จำนวน 160 นาย และฝ่ายสหราชอาณาจักร จำนวน 120 นาย จาก 1st Battalion Grenadier Guard ซึ่งเป็นหน่วยทหารที่มีศักยภาพสูงหน่วยหนึ่งของโลก 
เช่น ทักษะการปฏิบัติการทางทหารตามยุทธวิธีของหน่วยทหารราบ ด้านการปฏิบัติการในพื้นที่ป่าภูเขา การปฏิบัติการรบในพื้นที่ตะวันออกกลาง และการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
ทั้งนี้ การฝึกแพนเธอร์โกลด์ ถือเป็นความสำเร็จในการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางทหารระดับยุทธวิธีร่วมกันทั้งสองกองทัพ และทั้งสองกองทัพจะได้นำไปประยุกต์ใช้ต่อการปฏิบัติการทางทหารที่เกี่ยวข้องต่อไป 
สำหรับความร่วมมือในการฝึกผสมฯ ดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในด้านการสร้างความร่วมมือกับมิตรประเทศในการพัฒนาการฝึกผสมฯ กับมิตรประเทศอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของกองทัพไทย 
รวมถึงเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองกองทัพให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นต่อไป

นอกจากการฝึกผสม Cobra Gold 2022 ที่เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๕(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/cobra-gold-2022.html) และการฝึกผสม Hanuman Guardian 2022 รวมถึงการฝึกผสม Cope Tiger 2022 ที่เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๕(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/a330-mrtt-cope-tiger-2022.html)
การฝึกร่วมกับมิตรประเทศยังคงมีอย่างต่อเนื่อง เช่นกองทัพเรือไทยส่งเรือฟริเกตเรือหลวงนเรศวร และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงสายบุรี ร่วมฝึกกับกองทัพเรือสิงคโปร์(RSN: Republic of Singapore Navy) ในการฝึกผสม SINGSIAM 2022 ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๒ มีนาคม ๒๕๖๕
รวมถึงการฝึกผสม Panther Gold 2022 กับกองทัพสหราชอาณาจักร(British Armed Forces) ระหว่างวันที่ ๖ มีนาคม-๓ เมษายน ๒๕๖๕(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/f-15sg-f-16cd-cope-tiger-2022.html) แสดงถึงความสัมพันธ์ทางทหารใกล้ชิดกับบรรดามิตรประเทศของไทยครับ