วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2565

กระทรวงกลาโหมไทยเริ่มสายการผลิตปืนเล็กยาว MOD2019 ชุดนำร่อง ๕๐กระบอก


Weapon Research and Development Plant, Weapon Production Center (WPC), Defence Industry and Energy Center (DIEC), Ministry of Defence of Thailand has started manufacturing for 50 pilot lot of domestic MOD2019 5.56mm assault rifles.



MOD2019 rifle series was formerly know as MOD963 5.56mm assault rifle that was based on NARAC556 assault rifles manufactured by Thailand local company NARAC ARMS INDUSTRY (NRC Ammunition). 

Clip: 3D manufacturing machine on metal part of Thailand's domestic MOD2019 rifle



ผอ. สำนักงบประมาณกลาโหม และ รอง ผบ ศอว. มาตรวจดูความพร้อม การเปิดสายการผลิต ปืนเล็กยาว MOD2019 ของ โรงงานต้นแบบวิจัยและพัฒนาอาวุธ ล็อตแรก50กระบอกจะได้เข้าประจำการเพื่อเป็น Pilot lot ราวๆต้นปีหน้า 
เพื่อให้ทันตามแผนงบประมาณ ความท้าทายของ ทีมงาน ตวพ และ Miltech คือ 28 นี้ ปืนต้องผ่านการทดสอบ กมย กห . งานนี้ไม่ยากครับแต่เราเวลามีจำกัด ความท้าทายอยู่ตรงนี้

โรงงานต้นแบบการวิจัยพัฒนาอาวุธ รง.ตวพ.ศอว.ศอพท.(Weapon Research and Development Plant) ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศอว.ศอพท.(WPC, DIEC: Weapon Production Center, Defence Industry and Energy Center) 
กระทรวงกลาโหมไทยได้เริ่มต้นสายการผลิตปืนเล็กยาว MOD2019 ชุดนำร่อง(Pilot lot) จำนวน ๕๐กระบอกแรก เพื่อนำไปเข้าสู่การทดสอบเพื่อการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์ของกระทรวงกลาโหมไทย โดยคณะกรรมการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม กมย.กห.
ร่วมกับบริษัท MILTECH RESEARCH & DEVELOPMENT CO., LTD. ไทยผู้ออกแบบและผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรและผลิตเครื่องจักรตามแบบสั่งทำ ตามที่มีประกาศจัดซื้อเครื่องมือในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021)(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/556mm.html)

ปืนเล็กยาว MOD2019 สำหรับโครงการทดสอบสายการผลิตปืนเล็กยาว ปลย.ขนาด 5.56x45mm NATO ระยะเวลา ๑ปี ใน พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ที่คาดว่าจะเข้าสู่การทดสอบโดย กมย.กห.ในราวปลายเดือนมิถุนายน ๒๕๖๕ ตามแผนกำหนดการในงบประมาณประจำปี พ.ศ.๒๕๖๕ นี้
เดิมเป็นที่รู้จักในชื่อปืนเล็กยาว MOD963 ซึ่งมีที่มาของชื่อจาก Ministry of Defence เดือน๙(กันยายน) และปี๖๓(2020) การเปลี่ยนชื่อจาก ปลย.MOD963 เป็น ปลย.MOD2019 เป็นที่เข้าใจว่าตั้งชื่อตามปีที่ปืนต้นแบบแรกออกแบบผลิตในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) โดยให้มีความเป็นสากลขึ้น
ปืนเล็กยาว MOD2019 เดิมมีมีพื้นฐานจากปืนเล็กยาวตระกูล NARAC556 ที่พัฒนาโดยบริษัท NARAC ARMS INDUSTRY(NRC) ไทย และสถาบันเทคโนโลยีช่างกลปทุมวัน(Pathumwan Institute of Technology) ที่มีพื้นฐานพัฒนาปรับปรุงจากจากปืนเล็กยาวตระกูล Colt AR-15 สหรัฐฯ

การทดสอบสายการผลิตสำหรับปืนเล็กยาว MOD 963 ความยาวลำกล้อง 20" และปืนเล็กยาวจู่โจม MOD 963 AR ความยาวลำกล้อง 14.5" ตามโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบมาตรฐานปืนเล็กยาวขนาด 5.56mm(https://aagth1.blogspot.com/2020/10/556mm.html
โดยสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม(Office of the Permanent Secretary for Defence) กระทรวงกลาโหมไทย ซึ่งปืนต้นแบบจำนวน ๑๖กระบอกประกอบด้วยรุ่นความยาวลำกล้อง 14.5", 16" และ 20" โดยไม่มีการระบุว่าแบ่งเป็นแบบละกี่กระบอก 
ได้ถูกส่งมอบตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน ๒๕๖๓-กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ รวม ๙เดือน อย่างไรก็ตามตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔ รวม ๗เดือน มีปืนเล็กยาว MOD963 และปืนเล็กยาวจู่โจม MOD963AR จำนวนเพียง ๒๕กระบอก(ไม่ระบุว่าแบ่งเป็นแบบละกี่กระบอก) เท่านั้นที่ถูกส่งมอบ

ผลการทดสอบปืนโดยผู้ใช้งานที่น่าจะรวมถึงเจ้าหน้าที่จากหน่วยรบพิเศษของแต่ละเหล่าทัพที่มีความเชี่ยวชาญด้านอาวุธ และมักจะเป็นหน่วยที่ได้รับอาวุธแบบใหม่มาใช้งานเป็นหน่วยแรกๆ เช่น หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ กองทัพบก(RTA SWC:Royal Thai Army Special Warfare Command), 
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองทัพเรือ(RTN NSWC: Royal Thai Navy Naval Special Warfare Command) และกรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองทัพอากาศไทย(RTAF SOR: Royal Thai Air Force Special Operation Regiment, Security Force Command) 
มีผลไม่เป็นที่น่าพอใจ นอกจากข้อบกพร่องและอาการชำรุดต่างๆที่บันทึกในช่วงวันที่ ๒-๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๔ ถึง ๑๗รายการแล้วบริษัท NRC ไทยยังล้มเหลวที่สามารถผลิตปืนส่งมอบให้ได้เพียง ๔๑ กระบอก รวมถึงมีราคาต่อกระบอกที่แพงกว่าปืนเล็กยาวแบบเดียวกันที่จัดหาจากต่างประเทศด้วย

ปัญหาเหล่านี้ได้ถูกเปิดเผยผ่านการสนทนาของชุมชนอาวุธปืนในสื่อสังคม online ของไทยถึงความล่าช้าในการผลิตปืนเพื่อส่งมอบให้หน่วยงานรัฐของบริษัท NRC ตามด้วยการลาออกของหัวหน้าและทีมงานผู้ออกแบบจากบริษัทในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๔ รวมถึงข้อบกพร่องต่างๆของตัวปืน 
ปัจจุบันทีมงานผู้ออกแบบปืนได้รับการว่าจ้างจากกระทรวงกลาโหมไทย เพื่อดำเนินโครงการใหม่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานในสังกัดขึ้นตรงของกระทรวงกลาโหมโดยตรง คือ รง.ตวพ.ศอว.ศอพท. ซึ่งน่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากปัจจัยของภาคเอกชนภายนอกที่เคยเกิดขึ้นได้
ที่ผ่านมากองทัพไทยมักจะถูกกล่าวหาโดยผู้ไม่หวังดีต่อชาติว่าชอบซื้อแต่อาวุธจากต่างประเทศเพื่อเอาเงินทอนไม่สนับสนุนภาคเอกชนไทย แต่เห็นได้จากหลายๆตัวอย่างที่คุณภาพผลงานต่ำสวนทางกับราคาที่แพงแล้ว บางทีคำที่ว่า "เอกชนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก" ก็ไม่ได้เป็นจริงเสมอไปครับ