Japan Maritime Self-Defense Force (JMSDF)'s Kawasaki P-1 maritime patrol aircraft
JMSDF's ShinMaywa US-2 amphibious aircraft .
Japanese Air Self-Defence Force (JASDF)'s Kawasaki C-2 transport aircraft.
JASDF's Mitsubishi F-2 fighter aircraft.
Japan, Thailand ink agreement on defense transfer amid China's rise
Japanese Prime Minister Fumio Kishida and Thai Prime Minister Prayut Chan-o-cha attend a signing ceremony in Bangkok on May 2, 2022, for the two countries' agreement enabling the transfer of defense equipment and technology.
Japan to enable fighter jet and missile exports to 12 nations
India, Australia, Vietnam, Thailand, Malaysia, Philippines among destinations
การเดินทางเยือนไทยซึ่งเป็นประเทศที่สามในกลุ่มชาติ ASEAN ต่อจากฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น Fumio Kishida ที่ได้เข้าพบกับนายกรัฐมนตรีไทยและรัฐมนตรีกลาโหมไทย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022)
นอกจากการลงนามในข้อตกลงด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และด้านความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์ Covid-19 ยังรวมถึงด้านความร่วมมือด้านกลาโหม ความมั่นคง และการยุติธรรม คือข้อตกลงการถ่ายโอนยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศระหว่างกัน
ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนรองรับที่จะปูทางไปสู่ความเป็นไปได้ในการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของญี่ปุ่นทั้งที่สร้างใหม่และส่วนเกินที่จะปลดประจำการจากกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น(JSDF: Japan Self-Defense Forces) เช่นเดียวกับที่ญี่ปุ่นลงนามกับ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
การเดินทางเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุม Nikkei Forum ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ยังถูกเน้นย้ำเพิ่มเติมจากการรายงานข่าวในช่วงเดียวกันว่ารัฐบาลญี่ปุ่นมองแผนที่จะส่งออกเครื่องบินขับไล่และอาวุธปล่อยนำวิถีแก่มิตรประเทศของตน ๑๒ประเทศ
ที่รวมถึง อินเดีย, ออสเตรเลีย, เวียดนาม, ไทย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, สหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร, เยอรมนี, ฝรั่งเศส และอิตาลี ซึ่งถูกมองว่าเป็นกลุ่มมิตรประเทศที่มีความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยเฉพาะในการป้องปรามอิทธิพลของจีนและรัสเซียที่คุกคามญี่ปุ่น
ที่ผ่านมาประเทศในกลุ่มชาติ ASEAN เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศไดมีการจัดหาอาวุธจากจีนซึ่งเป็นคู่แข่งด้านความมั่นคงของญี่ปุ่นรวมถึงไทย การที่ญี่ปุ่นมีความจริงจังที่เข้ามาแข่งขันกับจีนด้านการส่งออกอาวุธจึงน่าจะเป็นผลดีสำหรับไทยต่อสมดุลทางพันธมิตรด้านความมั่นคงยิ่งขึ้น
ญี่ปุ่นเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาดอาวุธนานาชาติซึ่งยังไม่ประสบความสำเร็จมากนักสำหรับการขายระบบหลัก ในกลุ่มชาติ ASEAN ก็มีฟิลิปปินส์ที่จัดหาระบบ radar ป้องกันภัยทางอากาศ(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/radar.html) หรืออินโดนีเซียที่แสดงความสนใจเรือฟริเกต FFM(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/ffm.html)
สำหรับกองทัพไทยความสนใจระบบจากญี่ปุ่นดูจะจำกัดเฉพาะระบบที่ใช้ในเชิงป้องกันหรือใช้ในภารกิจช่วยเหลือประชาชนเช่นเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก ShinMaywa US-2 ทดแทน บ.ธก.๑ CL-215 หรือเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล Kawasaki P-1 ทดแทน บ.ตผ.๒ P-3T ในส่วนกองทัพเรือไทย
และเครื่องบินลำเลียง Kawasaki C-2 ทดแทน บ.ล.๘ C-130H ในส่วนกองทัพอากาศไทยเป็นต้น(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/asean-c-2.html) ดังนั้นความตกลงที่ลงนามล่าสุดและแผนการต่างๆจึงยังเป็นแนวทางกว้างๆที่ถูกจัดทำขึ้นเพื่อรองรับความเป็นไปได้ในอนาคตเท่านั้นครับ
USAF team to assess Thailand's ability to operate F-35s
The USAF is preparing to send a team to assess Thailand's ability to operate F-35s. If acquired, F-35s will replace the Royal Thai Air Force (RTAF)'s ageing fleet of Lockheed Martin F-16A/B Fighting Falcons and Northrop F-5E/F Tiger IIs.
ทอ.ของป.ซื้อ F-35 2 เครื่องแรก ปี 66 นี้ ...มีรายงานข่าวว่ากองทัพอากาศได้ทำงบประมาณการจัดหาอาวุธในปี 2566 ซึ่งจะขอความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรในร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ 2566 ที่จะเข้าสภาฯในวันที่ 31 พ.ค. -2 มิ.ย. นี้
โดยจะนำไปซื้อเครื่องบินรบแบบ F-35A จำนวน 2 เครื่องราคาเครื่องละ 78 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือ 2,700 ล้านบาท โดยเป็นราคาเฉพาะเครื่องเปล่าไม่รวมอาวุธ ซึ่งตามแผนจะมีการจัดหารวม 8 เครื่องใช้ระยะเวลา 7 ปี
โดย 2 เครื่องแรกนี้กองทัพอากาศจะนำมาฝึกบินก่อน โดยรวมแล้วต้องใช้เวลาอีกประมาณ 10 ปี จึงจะทำให้ F-35A มีความพร้อมปฏิบัติการรบได้อย่างสมบูรณ์ …
ถ้าเรื่องนี้ผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ ก็หมายถึงกองทัพอากาศไทยจะมี F-35A อย่างแน่นอน เหลือเพียงขั้นตอนสุดท้ายคือการอนุมัติจากรัฐบาลสหรัฐฯเท่านั้น ซึ่งต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควร...
ต้องรอติดตามการอภิปรายของส.ส.ฝ่ายค้านที่จะอภิปรายฯว่า ไปซื้อเครื่องบินเปล่า ไม่มีอาวุธมา จะซื้อมาทำไม และมีเหตุผลความจำเป็นอย่างไร ถึงต้องซื้อเครื่องบินรบ จะไปรบกับใคร? อะไรทำนองนั้น...
กองทัพอากาศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU และ F-16A/B Block 15 ADF ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช รวมถึงเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F TH Super Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี
หลังการเดินทางเยือนสหรัฐฯของนายกรัฐมนตรีไทยและรัฐมนตรีกลาโหมไทย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๕ โฆษกกองทัพอากาศไทยได้กล่าวตามมาว่ากองทัพอากาศสหรัฐฯจะส่งทีมมาประเมินความสามารถของไทยที่จะปฏิบัติการเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ แบบ F-35
กองทัพอากาศไทยได้แสดงออกหลายครั้งว่าต้องการเครื่องบินขับไล่ F-35A เท่านั้น ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖ จะจัดซื้อ ๒-๔เครื่องจาก ๘เครื่อง ราคาเครื่องละ $78 million ซึ่งจะใช้เวลาจัดหาในปีงบประมาณผูกพันต่อเนื่อง ๗ปี แต่ก็ต้องผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภาไทยที่มีกระแสต่อต้านสูง
การจัดหายุทโธปกรณ์อย่างเครื่องบินขับไล่สำหรับกระบวนการขั้นตอนการจัดหาของกองทัพอากาศไทยที่ผ่านมาจะใช้วิธีจัดหาแบบงบประมาณผูกพันต่อเนื่องหลายปี โดยแบ่งเป็นการจัดหาไปในแต่ละปีงบประมาณ อย่างกรณีเครื่องบินขับไล่ F-35A คือเริ่มที่ ๒-๔เครื่อง พร้อมสิ่งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งการจัดหาระบบอาวุธอย่างเครื่องบินขับไล่ก็จะไม่ได้มาแค่ตัวเครื่องเปล่าๆอยู่แล้ว แต่จะต้องรวมอะไหล่ เครื่องมือ การบริการและการฝึก ซึ่งตามรูปแบบข้อบังคับการใช้งบประมาณรัฐของไทยทำให้จำเป็นต้องทยอยแบ่งจ่ายแต่ละอย่างไปในแต่ละปีงบประมาณไม่สามารถจ่ายทีเดียวเหมือนประเทศอื่น
ที่ผ่านมาการโจมตีจากฝ่ายการเมืองก็ทำให้กองทัพอากาศเสียโอกาสการพัฒนาขีดความสามารถหลายครั้ง เช่นตอนเริ่มจัดหา F-16A/B เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘(1985) ก็มีแผนจะจัดหาเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศ E-2 Hawkeye ด้วย แต่ก็ถูกค้านว่าเป็นเครื่องบินใบพัดสมัยสงครามโลกล้าสมัยไปเสียครับ
Lockheed Martin C-130H-30 transport aircraft serial 60107 of 601st Squadron, Wing 6, Royal Thai Air Force was wheels brake malfunction during landing in part of routine flight at Wing 21 Ubon RTAF runway on local time 1130, 25 May 2022
The result is due to used emergency brake, aircraft has broken tire on both after main landing gears and stuck on runway before able to moving to taxiway on local time 2130.
กองทัพอากาศชี้แจงเรื่องอุบัติการณ์เครื่องบิน C130 ณ ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี
พลอากาศตรี ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ ชี้แจงเรื่องอุบัติการณ์เครื่องบิน C130 ณ ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี โดยมีรายละเอียดดังนี้
เมื่อวันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2565 เวลา 11.30 น. เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 หมายเลข 07/23 ของกองทัพอากาศ ทำการบินภารกิจการบินรับ-ส่ง เจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานราชการ ณ กองบิน 21 จังหวัดอุบลราชธานี
ในขณะทำการลงจอด ณ ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี นักบินได้ทำการชะลอเพื่อลดความเร็วเครื่องบินด้วยระบบห้ามล้อปกติ (Normal brake) พบว่าไม่สามารถหยุดเครื่องบินได้
จึงตัดสินใจใช้ระบบห้ามล้อสำรอง (Emergency brake) เพื่อควบคุมไม่ให้เครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่ง (Runway) ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือเป็นอันตรายต่อประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง
โดยหลังจากที่สามารถควบคุมเครื่องบินให้หยุดบนทางวิ่งด้วยความปลอดภัยแล้ว พบว่ายางล้อหลัง (After Main Landing Gears) ของเครื่องบินได้รับความเสียหายทั้ง 2 ข้าง ไม่สามารถทำการควบคุมเครื่องบินเข้าสู่ทางขับ (Taxiway) และไม่สามารถทำการลากจูงเครื่องบินได้
ส่งผลกระทบต่อการจราจรและการใช้งานของท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี ขณะนี้กองทัพอากาศอยู่ระหว่างการประสานงานแก้ไขข้อขัดข้อง เพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายเครื่องบิน ออกจากทางวิ่งให้ได้โดยเร็วที่สุดภายใต้มาตรการด้านนิรภัยการบิน (Flight Safety)
ทั้งนี้ กองทัพอากาศได้ประสานงานกับสนามบินอุบลราชธานี เพื่อทำการออกประกาศผู้ทำการในอากาศ (Notice to Airmen)ให้สายการบินอื่น ๆ ได้ทราบถึงเหตุการณ์ดังกล่าวเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางการบินและการใช้งานท่าอากาศยาน
ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในห้วงระยะเวลาที่ดำเนินการแก้ไขข้อขัดข้อง คาดการณ์ว่าจะสามารถเปิดสนามบินได้ในเวลา 21.00 น.
กองทัพอากาศต้องขออภัยในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นต่อพี่น้องประชาชนที่มีความจำเป็นในการเดินทางและจะดำเนินการแก้ไขข้อขัดข้องเพื่อให้สามารถทำการบินตามปกติได้โดยเร็วที่สุด
กองทัพอากาศชี้แจง สามารถเคลื่อนย้ายเครื่องบิน C130 ออกจากทางวิ่ง (Runway) ของท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี เรียบร้อยแล้ว
จากเหตุการณ์เครื่องบินลำเลียงแบบที่ C130 ของกองทัพอากาศ เกิดอุบัติการณ์บนทางวิ่ง (Runway) ณ ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี เมื่อวันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2565 เวลา 11.30 น. นั้น
พลอากาศตรี ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ ชี้แจงว่าขณะนี้กองทัพอากาศได้ดำเนินการแก้ไขข้อขัดข้อง และสามารถเคลื่อนย้ายเครื่องบินออกจากทางวิ่งเรียบร้อยแล้ว เมื่อเวลา 21.30 น.
ภายใต้มาตรการด้านนิรภัยการบิน (Flight Safety) ทั้งนี้ กองทัพอากาศต้องขออภัยผู้ใช้บริการท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานีทุกท่าน และขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วย ในการดูแลอำนวยความสะดวกในการแก้ไขข้อขัดข้องในครั้งนี้
Royal Thai Air Force has begun MS20 Software upgraded Phase 1 (Increment 2.1) for Saab Gripen C/D of 701st Squadron, Wing 7 since early 2022.
กองบิน 7 ให้การต้อนรับประธานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ และคณะ
พลอากาศโท ภูวเดช สว่างแสง ประธานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ และคณะ เดินทางมาประชุมและติดตามผลในโครงการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุงเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบที่ 20/ก (Gripen39 C/D) ระยะที่ 1 (ช่วงที่ 2.1)
โดยปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ แบบที่ 20/ก (Gripen39 C/D) เป็นเวอร์ชั่น 20 (MS 20)
โอกาสนี้ นาวาอากาศเอก พุทธพงศ์ ผลชีวิน ผู้บังคับการกองบิน 7 มอบหมายให้ นาวาอากาศเอก กฤษณะ สุขดี รองผู้บังคับการกองบิน 7 และเสนาธิการกองบิน 7 ให้การต้อนรับ ณ ท่าอากาศยานทหาร กองบิน 7
และรับฟังบรรยายสรุป ณ อาคารกองบังคับการ ฝูงบิน 701 กองบิน 7 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565
โครงการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุงเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ บ.ข.๒๐/ก SAAB Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ จำนวน ๑๑เครื่อง วงเงินราคากลาง ๖๒๙,๒๒๔,๒๐๐บาท($20,961,358 or 175,505,261 Swedish Krona) ได้มีรายงานความคืบหน้าเพิ่มขึ้น
ตามที่มีการประชุมและติดตามผลโครงการ ระยะที่๑ (ช่วงที่ ๒.๑) โดยการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินขับ บ.ข.๒๐/ก ด้วยชุดคำสั่งมาตรฐานชุดคำสั่ง MS20(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/gripen-cd.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/02/gripen-cd-ms20.html)
นี่เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการตัดลดงบประมาณกลาโหมจากการระบาด Covid-19 ที่ทำให้การดำเนินงานถูกเลื่อนออกไป ซึ่งมีข้อมูลว่างานต่างๆของผู้จัดส่งที่รับสัญญาได้กลับมาเริ่มมาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.๒๕๖๕ แล้วและควรจะเสร็จสิ้นได้ภายในปลายปี ๒๕๖๕ นี้ครับ
LCS-6 USS Jackson ,the Independence-class Littoral Combat Ship (LCS). The US Navy partners with Thailand's Royal Thai Navy to begin maritime training during the 28th annual Cooperation Afloat Readiness and Traing (CARAT) exercise during 23-28 May 2022.
Royal Thai Navy (RTN) held hanover ceremony for Boeing Insitu RQ-21 Blackjack Unmanned Aerial System (UAS) from US Navy (USN) under Indo-Pacific Maritime Security Initiative (MSI) program at U-Tapao Airport, Sattahip District, Chonburi Province, Thailand on 24 May 2021.
กองทัพเรือไทยได้ทำพิธีรับมอบระบบอากาศยานไร้คนขับ RQ-21A Blackjack UAS จำนวน ๑ระบบจากกองทัพเรือสหรัฐฯ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๕ หลังจากที่ได้มีการส่งมอบมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.๒๕๖๔ เป็นการแสดงถึงการนำเครื่องเข้าประจำการอย่างเป็นทางการ
RQ-21A Blackjack จะเข้าประจำการใน ฝูงบิน๑๐๔ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ กบร. กองเรือยุทธการ กร. ร่วมกับอากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ชี้เป้าแบบที่๑ บร.ตช.๑ Aeronautics Orbiter 3B ๖เครื่อง และอากาศยานไร้คนขับปีกหมุน Schiebel Camcopter S-100 จำนวน ๓ระบบ ๖เครื่อง
ในช่วงเวลาเดียวกันกองทัพเรือไทยยังมีการฝึกผสม CARAT 2022 ร่วมกับกองทัพเรือสหรัฐฯที่ส่งเรือ Littoral Combat Ship ชั้น Independence คือ LCS-6 USS Jackson และเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-8A Poseidon มาร่วมฝึกที่อ่าวไทยระหว่างวันที่ ๒๓-๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ครับ
China Shipbuilding & offshore International Co., Ltd.(CSOC) has schedule to discuss with Royal Thai Navy for S26T submarine issue on Germany refuse to export MTU diesel engine during 6-8 June 2022, after delaying for a month due Covid-19.
Royal Thai Navy still confirm that MTU 396 engine is only its needed for S26T.
China Shipbuilding & offshore International Co., Ltd.(CSOC) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมต่อเรือสาธารณรัฐประชาชนจีนได้เลื่อกำหนดการหารือกับกองทัพเรือไทยเกี่ยวกับปัญหาเยอรมนีไม่อนุญาตส่งออกเครื่องยนต์ดีเซล MTU 12V 396 SE84 สำหรับเรือดำน้ำ S26T ของไทยมาหลายครั้ง
กำหนดการล่าสุดที่ออกมาคือจะมีการส่งคณะตัวแทนที่นำโดยรองผู้บริหารของบริษัทมายังไทยในระหว่างวันที่ ๖-๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๕ โดยการอ้างปัญหาการระบาด Covid-19 ล่าสุดในจีนและการที่เยอรมนีไม่ส่งออกเครื่องยนต์ การสร้างเรือดำน้ำ S26T ลำแรกของไทยขณะนี้ได้หยุดลงแล้ว
ขณะที่จีนเสนอเครื่องยนต์ดีเซลทางเลือกเช่น DEUTZ MWM TBD 620 เยอรมนีซึ่งไม่ใช้เครื่องยนต์สำหรับใช้ในเรือดำน้ำและดูเหมือนจีนจะผลิตเองโดยใช้สิทธิบัตรเดิมแต่เยอรมนีไม่มีสายการผลิต ย.รุ่นนี้ส่งออกแล้ว ทางกองทัพเรือไทยยังคงยืนยันที่จะต้องเป็นเครื่องยนต์ MTU เท่านั้นอยู่ครับ
Sikorsky UH-60A Black Hawk (Refurbished) of 9th Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center (AAC), Royal Thai Army (RTA).
Army Transportation Department, Royal Thai Army announced procurement plan in Fiscal Year 2022 for 9 of UH-60A (Refurbished) utility helicopters with related equipments and two hangars for 3,179,999,999.16 Baht ($93,309,913.18) on 27 May 2022.
ประกาศแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ ของกรมการขนส่งทหารบก ขส.ทบ กองทัพบกไทย เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ถึงโครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๖๐ Sikorsky UH-60A Black Hawk(Refurbished) จำนวน ๙ เครื่อง และโรงเก็บอากาศยาน ๒หลัง
ภายใต้โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไประยะที่๒ วงเงิน ๓,๑๗๙,๙๙๙,๙๙๙.๑๖บาท($93,309,913.18) ที่เดิมจะเป็นการจัดซื้อ ฮ.ท.๖๐ UH-60M สร้างใหม่ ๔เครื่อง และ ฮ.ท.๖๐ UH-60A เพิ่มเติม ๑๒เครื่อง ที่เลื่อนมาหลายปีจากการตัดงบประมาณกลาโหมลงเพราะสถานการณ์ Covid-19
ดังนั้นแม้ว่าจะเป็นเครื่องที่เคยประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯมาก่อน แต่การจัดหา UH-60A เพิ่มเติมจะทำให้ศูนย์การบินทหารบก ศบบ.มี ฮ.ท.๖๐ UH-60L/M/A รวมทุกรุ่น ๒๔เครื่องเพียงพอต่อการทดแทนเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปที่ปลดประจำการไปแล้วในภารกิจทางทหารและช่วยประชาชนครับ
Royal Thai Army (RTA) has planned to maintaining and manufacturing of spare parts and components for Ukrainian equipments with its inventory in Thailand include BTR-3E1, BTR-4MV1 8x8 armored personnel carriers, Oplot-T main battle tanks
and KraZ 6322 trucks.
ไทยเตรียมซ่อมบำรุงและหาอะไหล่อาวุธยูเครนภายในประเทศ! …
ผลกระทบสงครามในยูเครนทำให้กองทัพไทยเตรียมซ่อมบำรุงและหาอะไหล่อาวุธยูเครนภายในประเทศ เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว โดยให้มีผลกระทบน้อยที่สุด เพื่อให้รถถัง T-84 M และยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 ยังคงปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง
การสู้รบระหว่างยูเครนกับรัสเซียไม่มีท่าทีว่าจะยุติลงเมื่อไหร่ อีกทั้งเมืองสำคัญ คาร์คิฟ ที่เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ เป็นเมืองอุตสาหกรรมหนัก เป็นที่ตั้งของโรงงาน Malyshev Factory ซึ่งเป็นศูนย์กลางผลิตและซ่อมบำรุง ยานยนต์หุ้มเกราะหลากหลายชนิด
ได้ถูกรัสเซียโจมตีเสียหายอย่าหนัก ไม่สามารถที่จะดำเนินกิจการต่อได้ นอกจากนี้คลังสำรองอะไหล่ต่างๆที่เป็นของรถถัง Oplot-M และ BTR-3E ยังได้รับความเสียหายอย่างหนักด้วย ซึ่งเรื่องนี้ได้ส่งผลกระทบต่อกองทัพไทยโดยตรง เพราะต้องพึ่งพาอะไหล่ต่างๆจากยูเครน
ถึงแม้ว่าตัวแทนของ Kharkov Morozov Design Bureau (KMDB) จะยืนยันว่าได้ย้ายอะไหล่ต่างๆไปไว้ที่อื่นและยังสามารถสนับสนุนการซ่อมบำรุงต่อไปได้ อีกทั้งยังมีอะไหล่สำรองของ Oplot-M และBTR-3E1 อยู่ในประเทศไทยที่ใช้งานได้ถึง 5 ปีก็ตาม
กองทัพบกไทยจัดซื้อรถถัง Oplot-M จำนวน 49 คัน และรถบรรทุกสนับสนุนการซ่อมบำรุง KraZ 6322 และรถเกราะล้อยาง 8x8 BTR-3E1 อีก 238 คัน นอกจากนี้หน่วยนาวิกโยธินยังมี BTR-3E1 อีก 12 คัน โดยมีบริการซ่อมบำรุงมาอย่างต่อเนื่อง
พร้อมกันนี้ยังมีอะไหล่สำรองอยู่ในคลังจำนวนหนึ่ง ที่จะสามารถสนับสนุนการใช้งานอาวุธของยูเครนได้อีกหลายปี แต่ผลจากสงครามในยูเครนทำให้กระทรวงกลาโหมของไทยมีความวิตกกังวลไม่มั่นใจว่าจะสามารถหาอะไหล่ไว้ซ่อมบำรุงในระยาวจากยูเครนได้หรือไม่
จึงมีแนวความคิดที่จะวางแผนแก้ไขและเตรียมการเรื่องเหล่านี้ไว้แต่เนิ่นๆ โดยเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา กรมสรรพาวุธทหารบกได้เรียกบริษัทต่างๆภายในประเทศที่มีขีดสามารถในการซ่อมบำรุงรถถังและ APC มาปรึกษาหารือในเรื่องนี้ ว่ามีใครที่จะมีใครพร้อมทำได้บ้าง
พร้อมกันนี้ยังจะให้มีการจัดสร้างชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆขึ้นในประเทศอีกด้วย ซึ่งมีหลายบริษัทให้ความสนใจ แต่ที่โดดเด่นกว่าใครก็คือ บริษัทชัยเสรีฯ ซึ่งมีประสบการณ์ มีโรงงานสร้างยานรบหุ้มเกราะและรับงานซ่อมบำรุงรถถังและยานรบหุ้มเกราะและรถยนต์ทางทหารให้กองทัพอยู่แล้ว
อีกทั้งสามารถสร้างชิ้นส่วนอะไหล่ได้ด้วย มีโอกาสสูงที่จะได้รับความไว้วางใจจากกองทัพบก
ผลจากสงครามในยูเครนยังทำให้แผนการจัดหายานเกราะล้อยาง 8x8 รุ่นใหม่ แบบ BTR-4MV1 ที่นาวิกโยธินไทย ให้ความสนใจและได้เคยไปเยี่ยมชมที่ยูเครนมาแล้วต้องล้มเลิกไปด้วยเช่นกัน …Story & Photo …Sompong Nondhasa
ก่อนหน้านี้กองทัพบกไทยก็มีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาการขาดชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับการซ่อมบำรุงอาวุธยุทโธปกรณ์ เนื่องจากระบบนั้นบริษัทผู้ผลิตเลิกกิจการหรือปิดสายการผลิตระบบนั้นไปแล้ว โดยการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมเอกชนและหน่วยงานภายในประเทศในการผลิตชิ้นส่วนทดแทน
ตัวอย่างเช่นการพัฒนาออกแบบและผลิตชุดแหวนขอบยางกันซึมของปืนใหญ่ขนาด 155mm คือปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบ ปนร.๓๔ GHN45A1, ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ปกค.๒๕ M198, ปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบ ปนร.๒๐ M71 และปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน Boford L/70 ขนาด 40mm เป็นต้น(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/bofors-40mm-l70.html)
ซึ่งปัญหาของระบบอาวุธจากยูเครนที่ผ่านมา ๑๐กว่าปีตั้งแต่รถเกราะล้อยางตระกูล BTR-3E1 ที่เปลี่ยนเครื่องยนต์ดีเซลจาก DEUTZ เป็น MTU-Mercedes-Benz และรถถังหลัก Oplot ที่ใช้เวลาหลายปีมากกว่าจะครบก็มีมาตั้งแต่ก่อนที่รัสเซียจะผนวก Crimea ในปี 2014 และสงครามใน Donbass แล้ว
สำหรับระบบอาวุธจากยูเครนนั้นในพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๕ นาวิกโยธินไทยเปิดเผยกับสื่อว่า การซ่อมบำรุงรถเกราะล้อยาง BTR-3E1 ของตนนั้นรถสามารถใช้ชิ้นส่วนที่หาภายในไทยได้ถึงร้อยละ๙๘ รวมถึง Battery ที่ผลิตโดยโรงงานแบตเตอรี่ทหาร กระทรวงกลาโหมไทย
ระบบในกลุ่มยานยนต์อื่นๆเช่น รถถังหลัก Oplot-T หรือรถยนต์บรรทุก KrAZ ก็ต้องมีการหารือกับทางยูเครนและผู้ประกอบการภายในไทยเช่น Chaiseri หรือ Panus ที่มีขีดความสามารถว่าจะสนับสนุนการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ทดแทนหรือสนับสนุนการซ่อมบำรุงในระยะยาวได้อย่างไร
ในส่วนของนาวิกโยธินไทยคือยานเกราะล้อยางที่บังคับการ BTR-4CS-T ต้นแบบ ๑คันที่พัฒนาร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI ก็คงจะต้องยุติไปก่อน(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/btr-4cs-t.html) ตามสถานการณ์สงครามกับรัสเซียที่เกิดขึ้นล่าสุดในปี 2022 นี้ครับ
Defence Technology Institute (DTI) was delivered the domestic command vehicle variant of Norinco VN1 8x8 wheeled armoured vehicle to Royal Thai Army (RTA) at Cavalry Center, Fort Adisorn, Saraburi province, Thailand on 5 May 2022.
DTI VN1 8x8 domestic command vehicle equipped with Elbit Systems's The New Generation of Battle Management System while BTR-3CS command vehicle equipped with Thales's Battle Management System.
ขณะที่โครงการวิจัยและพัฒนายานเกราะล้อยาง 8x8 แบบ VN1 (ที่บังคับการ) ที่ส่งมอบให้กองทัพบก เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๕ ณ ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จังหวัดสระบุรี เป็นความต้องการในส่วนเหล่าทหารม้า โดยมีพื้นฐานเดียวกับรถเกราะที่บังคับการและลาดตระเวน VE36
โครงการยานเกราะล้อยางที่บังคับการ ACPC(Armoured Command Post Carrier) คือ BTR-3CS 8x8 ที่มีพื้นฐานจากรถเกราะล้อยาง BTR-3E1 ยูเครนก่อนหน้าเป็นความต้องการสำหรับทหารราบ ซึ่งติดตั้งระบบควบคุมบังคับบัญชา Battle Management System ของบริษัท Thales ฝรั่งเศส
โดยรถเกราะล้อยางที่บังคับการ VN1 สำหรับเหล่าทหารม้าระบบควบคุมบังคับบัญชายุคใหม่ The New Generation Battle Management System ของบริษัท Elbit Systems อิสราเอล ซึ่งทั้งสองโครงการเป็นการนำตัวรถแคร่ฐานที่ผลิตจากต่างประเทศมาประกอบติดตั้งระบบภายในไทยครับ
DTI and Thailand's company Chaiseri metal & rubber Co. Ltd. have founded THAI DEFENSE INDUSTRY COMPANY for support exporting of Thailand local defence industries products,
include Chaiseri's First Win 4x4 vehicles for Armed Forces of the Philippines (AFP) requirement.
ในการจัดตั้ง บริษัท Thai Defense Industry โดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI กับ บริษัท Chaiseri ไทย เพื่อสนับสนุนการแข่งขันส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของไทยคือรถหุ้มเกราะล้อยางตระกูล First Win 4x4 ตามความต้องการของกองทัพฟิลิปปินส์ ๒๐๐คันจาก ๙๐๐คัน
ภายใต้แผนการปรับปรุงความทันสมัยกองทัพฟิลิปปินส์ 'second horizon' 2018-2022 ถ้าจะมีการจัดหารถเกราะล้อยาง First Win 4x4 ก็ควรจะมีลงนามสัญญาจัดหาก่อนที่รัฐบาลของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ Rodrigo Duterte จะหมดวาระลงหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม 2022
หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องรอให้รัฐบาลชุดใหม่ของว่าที่ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ Bongbong Marcos ดำเนินการหลังเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งความล่าช้านี้เป็นส่วนของทางฟิลิปปินส์เอง แต่ก็มีผู้ไม่หวังดีโจมตีว่าที่การดำเนินการล่าช้าเพราะมาจากปัญหาการบริหารงานราชการของ DTI ไทยซึ่งไม่จริงครับ
Thailand domestic DTI D-Lion mine-resistant, ambush protected (MRAP) 4x4 vehicle base-on South Africa firm's Paramount Group Mbombe 4 (pictured) at factory of Thailand company's JATUNAPAS CO., LTD.
DTI and Counter Terrorist Operations Center (CTOC), Royal Thai Armed Forces Headquarters (RTARF HQ) was signed Memorandum of Agreement (MoA) for Research and Development (R&D) on Armored Wheel Vehicle 4x4 (MRAP) in 10 February 2021.
โครงการพัฒนายานเกราะล้อยาง 4x4 (ป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี) สำหรับ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศตก. กองบัญชาการกองทัพไทย บก.ทท. ที่ DTI มีการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงการวิจัยและพัฒนาร่วมต้นแบบยานยนต์เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔(2011) นั้น
ความคืบหน้าล่าสุดหลังวีดิทัศน์สั้นใน TikTok ทในเดือนเมษายน ๒๕๖๕ แสดงถึงรถหุ้มเกราะล้อยาง Mbombe 4 4x4 แอฟริกาใต้ ที่โรงงานบริษัท จตุนภัส จำกัด จังหวัดระยอง ตรงกับภาพประกอบที่แสดงในพิธีลงนามก่อนหน้าในชื่อยานเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี D-Lion 4x4
เป็นที่เข้าใจว่าถ้าการดำเนินการประสบผลด้วยดี รถเกราะล้อยาง DTI D-Lion จะได้รับการปรับแต่งตามความต้องการของกองทัพไทยสำหรับสนับสนุนหน่วยปฏิบัติพิเศษต่อต้านการก่อการร้าย ด้วยสิทธิบัติการผลิตในไทยเช่นเดียวกับอินเดียที่ผลิตในประเทศในชื่อ Kalyani M4 โดยบริษัทเอกชนครับ
Border Patrol Police Bureau (BPP), Royal Thai Police (RTP) has planned to procurement for 46 of CHAISERI First Win Armoured Fighting Vehicle (AFV) 4x4 from FY2023-FY-2025 total value 920,000,000 Baht ($26,704,904).
It likely to replacing fleet of ageing Cadillac Gage V-150 Commando 4x4 wheel armored vehicles.
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ในส่วน กองบัญชาการตํารวจตระเวนชายแดน บช.ตชด. สำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย ถึงแผนการจัดหา รถเกราะล้อยางใช้ต่อสู้ทางยุทธวิธี(Armoured Fighting Vehicle) จำนวน ๔๖คัน วงเงินรวม ๙๒๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($26,704,904)
การลงทุน ครุภัณฑ์นวัตกรรมไทย-ด้านยุทโธปกรณ์ความมั่นคง ในรายชื่อบัญชีนวัตกรรมไทย ทำให้ชัดเจนว่าคือการจัดหารถเกราะล้อยาง First Win AFV 4x4 ของบริษัท Chaiseri ไทย ราคาคันละ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐บาท ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์ของกระทรวงกลาโหมไทยแล้ว
เป็นที่เข้าใจว่าจะถูกนำมาทดแทนรถหุ้มเกราะล้อยาง V-150 4x4 ที่ตำรวจตระเวนชายแดนไทยใช้งานมานาน นี่จึงเป็นอีกความสำเร็จหนึ่งของภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทยที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรักษาความมั่นคงของรัฐ ในการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ผลิตในประเทศครับ