The Operators of Special Warfare Command, Royal Thai Army (RTA); Naval
Special Warfare Command, Royal Thai Navy (RTN); and Special Operations
Regiment, Royal Thai Air Force (RTAF) was firing test for domestic MOD963
rifles and MOD963AR carbines of Ministry of Defence of Thailand at firing
range of 2nd Infantry Battalion, 19th Infantry Regiment, 9th Infantry
Division, Fort Surasi, Kanchanaburi Province in 5 November 2021.
MOD 963 and MOD 963 AR in 20" and 14.5" length barrel respectively based on
NARAC556 assault rifles manufactured by local company NARAC ARMS INDUSTRY (NRC
Ammunition).
Weapon Production Center (WPC), Defence Industry and Energy Center (DIEC),
Ministry of Defence of Thailand Announced the median price to procure of
Machines in testing production line for domestic Rifles 5.56mm duration 1 year
(2022),
included 3D CMM (Coordinate Measuring Machine) and vibratory metal polishing
machine, production tools and four-axis CNC (Computer Numerical Control)
automatic milling machine.
ประกาศราคากลางงานซื้อเครื่องวัด ๓ มิติ CMM และเครื่องขัดผิวโลหะแบบเขย่า
สำหรับใช้ในโครงการทดสอบสายการผลิต ปลย.๕.๕๖ มม. ระยะเวลา ๑ ปี (ปี ๖๕)
(ประกาศ ณ วันที่ ๙ ธ.ค.๖๔)
ประกาศราคากลางจัดซื้อเครื่องมือการผลิต สำหรับใช้ในโครงการทดสอบสายการผลิต
ปลย. ๕.๕๖ มม. ระยะเวลา ๑ ปี (ปี ๖๕) (ประกาศ ณ วันที่ ๙ ธ.ค.๖๔)
ประกาศราคากลางงานซื้อเครื่องกัดอัตโนมัติ CNC ๔ แกน
สำหรับใช้ในโครงการทดสอบสายการผลิต ปลย.๕.๕๖ มม. ระยะเวลา ๑ ปี (ปี ๖๕)
(ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ธ.ค.๖๔)
05/11/64 ทดสอบ MOD963/MOD963AR
แล้วเราจะไปลุยกันต่อที่ ตวพ.ศอว.
ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ
ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
ศอว.ศอพท.(WPC, DIEC: Weapon Production Center, Defence Industry and Energy
Center) กระทรวงกลาโหมไทยได้ประกาศราคากลางงานจัดซื้อเครื่องมือสามรายการใน
Website ของตนประกอบด้วย
เครื่องวัดสามมิติ และเครื่องขัดผิวโลหะแบบเขย่า วงเงิน ๒,๒๙๐,๐๐๐บาท($68,005)
และเครื่องมือการผลิต วงเงิน ๕๖๕,๖๘๗บาท($16,798) เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม
พ.ศ.๒๕๖๔(2021) และเครื่องกัดอัตโนมัติ CNC สี่แกน วงเงิน ๙,๓๕๐,๐๐๐บาท($277,642)
เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๔
สำหรับโครงการทดสอบสายการผลิตปืนเล็กยาว ปลย.ขนาด 5.56x45mm NATO ระยะเวลา ๑ปี ใน
พ.ศ.๒๕๖๕(2022) แหล่งที่มาราคากลาง(ราคาอ้างอิง) ในเอกสารที่เผยแพร่ประกอบด้วย
๑.คณะกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางงาน/โครงการ ในส่วนของ
โรงงานต้นแบบการวิจัยพัฒนาอาวุธ รง.ตวพ.ศอว.ศอพท.(Weapon Research and
Development Plant, WPC, DIEC)
๒.ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจ อาร์ ทูล เอ็นจิเนียริ่ง(JR. TOOL ENGINEERING LIMITED
PARTNERSHIP)
๓.บริษัท อิมเมจ สเตลิ่ง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด(IMAGE STYLING ENGINEERING COMPANY
LIMITED)
๔.บริษัท ทีเอสพี ซีเอ็นซี พาร์ท จํากัด(TSP CNC PART COMPANY LIMITED)
๕.ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรโพธิ์ทอง คอนสตรัคชั่น(PORNPHOTONG CONSTRUCTION LIMITED
PARTNERSHIP)
๖.บริษัท พีซีเอ็ม อินเตอร์เทค จํากัด(PCM INTERTECH COMPANY LIMITED)
๗.บริษัท ฟรานซิส คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด(FRANCIS CORPORATION CO.,LTD.)
๘.บริษัท ชโนทัยวัฒนา จํากัด(CHANOTHAI WATANA COMPANY LIMITED)
๙.บริษัท ไฟว์สตาร์ แมชชีนทูล จำกัด(5 STAR MACHINTOOL COMPANY LIMITED)
๑๐.ห้างหุ้นส่วนจำกัด แอ็ดวานซ์ พี ซี ลพบุรี(ADVANCED PC LOPBURI LIMITED
PARTNERSHIP)
๑๑.บริษัท พิรญาณ์ ซัพพลาย แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด(PIRAYA SUPPLY AND
ENGINEERING COMPANY LIMITED)
๑๒.บริษัท อินดัสเตรียล อินสทรูเมนท์ จํากัด(INDUSTRIAL INSTRUMENT COMPANY
LIMITED)
๑๓.บริษัท อินดี้ ซัพพลาย แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด( INDY SUPPLY AND
ENGINEERING CO., LTD.)
ห้างหุ้นส่วนและบริษัทในรายชื่อทั้งหมดเป็นกิจการที่มีจดทะเบียนและมีที่ตั้งการประกอบธุรกิจภายในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตและนำเข้าเครื่องมือและเครื่องจักรโรงงานจากต่างประเทศ
ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมในเอกสารที่เผยแพร่ออกมา
เป็นที่เข้าใจว่าโครงการทดสอบสายการผลิต ปลย.5.56mm โดย ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ
ดังกล่าวคือการทดสอบสายการผลิตสำหรับปืนเล็กยาว MOD 963 ความยาวลำกล้อง 20"
และปืนเล็กยาวจู่โจม MOD 963 AR ความยาวลำกล้อง 14.5"
ตามโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบมาตรฐานปืนเล็กยาวขนาด 5.56mm
โดยสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม(Office of the Permanent Secretary for Defence)
กระทรวงกลาโหมไทย(https://aagth1.blogspot.com/2020/10/556mm.html)
ปืนเล็กยาว MOD963 ปืนเล็กยาวจู่โจม MOD963AR และปืนเล็กยาวซุ่มยิง MOD963SPR
มีพื้นฐานจากปืนเล็กยาวตระกูล NARAC556 ที่พัฒนาโดยบริษัท NARAC ARMS
INDUSTRY(NRC) ไทย และสถาบันเทคโนโลยีช่างกลปทุมวัน(Pathumwan Institute of
Technology)
โดย กรมการอุตสาหกรรมทหาร(DID :Defence Industry Department) ศอพท.
มีความต้องการที่จัดหาปืนเล็กยาว MOD963 และปืนเล็กยาวจู่โจม MOD963AR
ที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานโดยคณะกรรมการมาตรฐานอาวุธยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหมแล้ว
มาใช้งานในหน่วยขึ้นตรงของกระทรวงกลาโหมไทยที่คาดว่าคือ
กองพันระวังป้องกัน(Security Battalion) และกองพันสารวัตรทหาร(Military Police)
กองบัญชาการกองทัพไทย(RTARFHQ: Royal Thai Armed Forces Headquarters) เป็นต้น
ปืนเล็กยาวตระกูล NARAC556 มีพื้นฐานพัฒนาปรับปรุงจากจากปืนเล็กยาวตระกูล Colt
AR-15 สหรัฐฯ ซึ่งมีใช้งานในกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army),
กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) และกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air
Force)
ทำงานด้วยระบบแก๊ซลูกสูบช่วงชักสั้น มีตัวหมุนปรับระดับอัตรายิง
ลำกล้องวางในโครงปืนส่วนบนแบบลอยอิสระ
โครงปืนส่วนล่างเป็นแบบมาตรฐานปืนเล็กยาวตระกูล AR15 รองรับซองกระสุนขนาด 5.56mm
มาตรฐาน NATO ความจุ ๓๐นัด
คันบังคับการยิงปรับได้สามระดับ คือ ห้ามไก(Safe), ยิงทีละนัด(Semi)
และยิงกล(Auto)
รวมถึงปุ่มปลดซองกระสุนและปุ่มปลดลูกเลื่อนสามารถควบคุมได้ทั้งได้ซ้ายและขวา
มีความแข็งแรงทนทาน สามารถปฏิบัติการได้สภาพอากาศ น้ำหนักเบา(ตัวปืนเปล่า 2.9kg)
แรงถอยต่ำ แม่นยำ คล่องตัว
MOD963 มีที่มาของชื่อจาก Ministry of Defence เดือน๙(กันยายน) และปี๖๓(2020)
ซึ่งปืนต้นแบบจำนวน ๑๖กระบอกประกอบด้วยรุ่นความยาวลำกล้อง 14.5", 16" และ 20"
โดยไม่มีการระบุว่าแบ่งเป็นแบบละกี่กระบอก ได้ถูกส่งมอบตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน
๒๕๖๓-กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ รวม ๙เดือน
อย่างไรก็ตามตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๔ รวม ๗เดือน
ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ มีปืนเล็กยาว MOD963
และปืนเล็กยาวจู่โจม MOD963AR จำนวนเพียง
๒๕กระบอก(ไม่ระบุว่าแบ่งเป็นแบบละกี่กระบอก) เท่านั้นที่ถูกส่งมอบ
ปัญหาเหล่านี้ได้ถูกเปิดเผยผ่านการสนทนาของชุมชนอาวุธปืนในสื่อสังคม online
ของไทยถึงความล่าช้าในการผลิตปืนเพื่อส่งมอบให้หน่วยงานรัฐของบริษัท NRC
ตามด้วยการลาออกของหัวหน้าและทีมงานผู้ออกแบบจากบริษัทในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๔
รวมถึงข้อบกพร่องต่างๆของตัวปืน
ผลการทดสอบปืนโดยผู้ใช้งานที่น่าจะรวมถึงเจ้าหน้าที่จากหน่วยรบพิเศษของแต่ละเหล่าทัพที่มีความเชี่ยวชาญด้านอาวุธ
และมักจะเป็นหน่วยที่ได้รับอาวุธแบบใหม่มาใช้งานเป็นหน่วยแรกๆ เช่น
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ กองทัพบก(RTA SWC:Special Warfare Command),
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองทัพเรือ(RTN NSWC: Naval Special Warfare
Command) และกรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองทัพอากาศไทย(RTAF
SOR: Special Operation Regiment, Security Force Command)
เข้าใจว่าได้ถูกจัดทำเป็นรายงานพัฒนาการโครงการพัฒนาอาวุธปืนเล็กยาว NARAC556
โดยข้อบกพร่องและอาการชำรุดต่างๆของปืนเล็กยาว MOD963 และปืนเล็กยาวจู่โจม
MOD963AR จำนวน ๒๕กระบอกที่ถูกส่งมอบแล้วที่บันทึกในช่วงวันที่ ๒-๕ สิงหาคม
พ.ศ.๒๕๖๔ ถึง ๑๗รายการ อาทิ
-ฝาประกับลำล้องไม่ระบายความร้อน
-ฝาประกับลำกล้องมีความคม
-การถอดชิ้นส่วนอาวุธปืนบางส่วน จำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษ
-ศูนย์หน้าเล็งของอาวุธปืนไม่คงที่
-ส่วนประกอบที่รับแรงเป็นประจำสึกหรอง่าย
-คันบังคับการยิงกีดขวางนิ้ว
-รางติดตั้งอุปกรณ์เสริมไม่มีระยะบอกชัดเจน
-ชุดพานท้าย ไม่แข็งแรงทนทาน
-ยาง Buffer rubber รับแรงสะท้อนถอยหลัง สึกหรออย่างรวดเร็ว
-การปรับศูนย์มีความยากลำบาก
-ชิ้นส่วนของอาวุธปืนไม่สามารถเปลี่ยนใช้ร่วมกันได้
-คันรั้งลูกเลื่อนใหญ่เกินไป
-อาวุธปืนยิงแล้วติดขัด ไม่คัดปลอก กระสุนซ้อนนัด และเกิดแก๊สรั่ว
-ซองกระสุนหลุดง่าย และเวลาปลดซองกระสุนไม่กระเด้งออกมา
-ปลอกลดแสงมีช่องผ่ามากเกินไป
-ชุดโครงปืนเครื่องลั่นไกไม่ได้มาตรฐาน
-ชุดเครื่องรับแรงถอย สลักยึดเครื่องรับแรงถอยไม่มีมาตรฐาน
หน่วยงานความมั่นคงของรัฐรวมถึงกองทัพไทยมักจะถูกตั้งข้อกล่าวหาโดยผู้ไม่หวังดีต่อชาติที่วิจารณ์แต่ข้อเสียด้วยชุดข้อมูลเดิมๆซ้ำซากว่า
กองทัพชอบซื้อแต่อาวุธปืนจากต่างประเทศที่ราคาถูกกว่าเพื่อเอาเงินทอน
แต่ไม่สนับสนุนภาคเอกชนไทยที่ออกแบบผลิตอาวุธภายในประเทศที่ราคาแพง
แต่ในความเป็นจริงก็เห็นตัวอย่างมาหลายครั้งแล้วว่าคำว่า
"เอกชนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก" อาจจะไม่จริงเสมอไป
ทั้งคุณภาพของผลิตภัณฑ์จริงที่สวนทางกับคำโฆษณาที่วาดไว้
ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่ใช่หนูทดลองที่เอาอะไรมาให้ใช้ก็ต้องรับ
พอไม่เอาก็ไม่พอใจไปโวยวายออกสื่อว่าทหารแกล้งเอกชน
การที่ ศอว.ศอพท.จะดำเนินการทดลองเปิดสายผลิตปืนเล็กยาวตระกูล MOD963
เองก็น่าเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทางหนึ่ง
แต่หนทางในการสนับสนุนอุตสากรรมป้องกันได้ประเทศของไทยให้มีปืนเล็กยาวประจำชาติใช้งานเป็นหลักเองได้เหมือนสิงคโปร์หรืออินโดนีเซียยังอีกยาวไกลครับ