วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

กองทัพเรือไทยลงนามจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071E LPD จีน

Thailand signs for variant of Type 071 amphibious assault ship


The Royal Thai Navy (RTN) has signed a construction agreement with China for a variant of the Type 071 landing platform dock (LPD).
https://www.janes.com/article/91060/thailand-signs-for-variant-of-type-071-amphibious-assault-ship

Thailand signs for Chinese landing platform dock
The Royal Thai Navy (RTN) has signed a contract to procure from China a Type 071E (Yuzhao)-class landing platform dock (LPD). The deal was signed in Beijing on 9 September and is reportedly worth THB4 billion (USD130 million).
https://www.janes.com/article/91063/thailand-signs-for-chinese-landing-platform-dock


กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ได้ลงนามสัญญาข้อตกลงกับสาธารณรัฐประชาชนจีนสำหรับการสร้างเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) ชั้น Type 071 หนึ่งลำ และมีรายงานว่ามีวงเงินที่ราว ๔,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($130 million) ราคาโดยรวมทั้งหมดน่าจะอยู่ที่ ๖,๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($200,460,066.6)
พิธีลงนามสัญญาจัดสร้างเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071E สำหรับกองทัพเรือไทยจัดขึ้น ณ นครหลวง Beijing จีน เมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) โดยมี พลเรือเอก ช่อฉัตร กระเทศ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ เป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายกองทัพเรือไทยที่ลงนามสัญญากับจีน

Type 071E เป็นการกำหนดแบบสำหรับรุ่นส่งออกของเรือยกพลขึ้นบกชั้น Type 071(NATO กำหนดรหัสชั้น Yuzhao) ที่ประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy) ซึ่งตั้งแต่ปี 2007-2019 มีเรือหกลำที่ถูกนำเข้าประจำการแล้ว
คือ LPD-998 Kunlun Shan(2007), LPD-999 Jinggang Shan(2011), LPD-989 Changbai Shan(2012), LPD-988 Yimeng Shan(2016), LPD-980 Longhu Shan(2018) และ LPD-987 Wuzhi Shan(2019) ขณะที่เรืออีกสองลำถูกปล่อยลงน้ำระหว่างเดือนธันวาคม 2018 และมิถุนายน 2019

เรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 มีความยาวเรือรวม 210m ความกว้างรวม 28m ตัวเรือกินน้ำลึก 8m และมีระวางขับน้ำปกติประมาณ 20,000tonnes ทำความเร็วได้สูงสุด 25knots มีพิสัยทำการ 8,000nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 18knots มีกำลังพลประจำเรือ ๑๕๖นาย รวมนายทหาร ๒๓นาย
อู่ลอย(Well Deck) ท้ายเรือสามารถรองรับยานเบาะอากาศชั้น Type 726A LCAC(Landing Craft Air-Cushion) ได้ ๒-๔ลำ(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/type-726a-lcac.html) มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือรองรับ ฮ.ขนาดกลาง เช่น Sikorsky SH-60B Seahawk หรือ MH-60S Knighthawk ได้ ๒-๓เครื่อง และโรงเก็บรองรับ ฮ.ได้ ๒-๔เครื่อง

เรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071 LPD ทุกลำถูกสร้างที่อู่เรือ Hudong-Zhonghua Shipbuilding ในมหานคร Shanghai ในเครือ China State Shipbuilding Corporation(CSSC) หนึ่งในสองกลุ่มรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมการต่อเรือของจีน
นอกจากเรือ LPD ชั้น Type 071 ใหม่สองลำที่ถูกปล่อยลงน้ำแล้ว อู่เรือ Hudong-Zhonghua กำลังอยู่ระหว่างการสร้างเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์(LHD: Landing Helicopter Dock) ชั้น Type 075 สองลำ ซึ่งเป็นเรือประเภทนี้แบบแรกที่จีนสร้างเองในประเทศ

แหล่งข่าวในกรุงเทพฯยืนยันข้อตกลงการจัดหาเรือ Type 071E กับ Jane's เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๒ แต่ทางกองทัพเรือไทยยังไม่ได้ให้รายละเอียดที่เป็นทางการใดๆในขณะนี้ Jane's เข้าใจว่ากองทัพเรือไทยได้มองที่จะได้รับงบประมาณเพื่อการจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกใหม่มาหลายปีแล้ว
งบประมาณการจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกแบบ Type 071E จากจีนนำมาจากงบประมาณกลาโหมประจำปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ซึ่งได้ประกาศก่อนหน้าในเดือนกันยายนนี้ว่า งป.กลาโหมปี ๒๕๖๓ มีวงเงินที่ ๒๓๓,๓๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($7.6 billion)

เรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071E ใหม่จากจีนที่มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ได้คาดว่าจะได้รับมอบในต้นปี 2020s(ราวปี 2022-2023) และจะนำเข้าประจำการ ณ กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ(Amphibious Squadron, Royal Thai Fleet)
โดยเรืออู่ยกพลขึ้นบกใหม่จะถูกนำไปใช้ปฏิบัติการในฐานะเรือเอนกประสงค์ เช่น การลาดตระเวนและตรวจการณ์น่านน้ำอาณาเขต, การฝึก, การส่งกำลังบำรุงและการขนส่งกำลังพล และการบรรเทาภัยพิบัติต่างๆแก่ประชาชน

Type 071E ที่จีนส่งออกให้ไทยเป็นประเทศแรก จะเป็นเรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD ชุดที่สองของกองทัพเรือไทย ที่ช่วยแบ่งเบาภาระเรือหลวงอ่างทอง(ลำที่๓) ซึ่งเป็นเรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD ชุดแรกและลำเดียวของกองทัพเรือไทยในขณะนี้
ร.ล.อ่างทอง(ลำที่๓) ถูกสร้างโดยอู่เรือบริษัท ST Marine สิงคโปร์ วงเงิน ๔,๙๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($135 million) เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๕๕(2012) และถูกนำมาใช้ในหลายภารกิจทั้งการฝึกยกพลขึ้นบกและการบรรเทาสาธารณภัย(https://aagth1.blogspot.com/2017/01/h145m.html)

มีข้อสังเกตุในพิธีลงนามว่าภาพพื้นหลังที่เป็นแบบจำลองสามมิติของเรือ Type 071E LPD นั้นปรากฏว่ามีตัวเรือมี Crane ขนาดใหญ่ที่หน้าโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ และมีเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าแบบ S26T จอดเทียบข้างกราบขวาเรือท้ายเรือโดยมีลูกโป่งยางกันกระแทก(Balloon Mooring Rubber Fenders) สองจุดด้วย
จากข้อมูลคุณสมบัติของเรือดำน้ำ S26T ที่กองทัพเรือไทยสั่งจัดหาระยะที่๑ จำนวน ๑ลำ(https://aagth1.blogspot.com/2017/05/s26t.html) ว่ามีความยาวตัวเรือ 78m(https://aagth1.blogspot.com/2017/04/s26t-project-636-kilo.html) แสดงให้เห็นว่าเรือ Type 071E มีขนาดใหญ่มาก

นั่นทำให้ข้อมูลที่ว่ากองทัพเรือไทยมีแผนที่จะให้เรืออู่ยกขึ้นบก Type 071E LPD จีนถูกใช้เป็นเรือพี่เลี้ยงเรือดำน้ำ(Submarine Tender) ด้วย ตามแผนที่กองทัพเรือไทยกำลังผลักดันการจัดหาเรือดำน้ำ S26T จีนลำที่๒(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/s26t-lpd.html)
ล่าสุดเมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๒ พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือและคณะได้เดินทางไปจีนเพื่อทำพิธีวางกระดูกงู(keel laying ceremony) เรือดำน้ำ S26T ลำแรก ที่ได้ทำพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกในวันที่ ๔ กันยายน ๒๔๖๑(2018) ซึ่งเป็น 'วันเรือดำน้ำไทย' ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/s26t.html)