Submarine Familiarization in Gulf of Thailand
Fleet Sails in Formation between Royal Thai Navy (RTN) LPD-792 HTMS Chang
(III), the Type 071ET Landing Platform Dock (LPD); FFG-471 HTMS Bhumibol
Adulyadej and FFG-421 HTMS Naresuan guided-missile frigates and People's Liberation Army Navy (PLAN) CNS Chang Cheng , the Type 039G
Submarine; LPD-986 CNS Siming Shan, the Type 071 LPD; FFG-599 CNS Anyang, the
Type 054A guided-missile frigate; and CNS Chaohu (890), the Type 903A
replenishment ship in Gulf of Thailand on 8 September 2023 as part exercise BLUE STRIKE 2023 on
1-10 September 2023. (Royal Thai Navy)
เรือดำน้ำจีนเข้าร่วมฝึกการฝึกผสม Blue Strike 2023 กลางอ่าวไทย
วันที่ 8 กันยายน 2566 ได้มีการทำการฝึกสร้างความคุ้นเคยเรือดำน้ำ
หรือที่เรียกว่า Submarine Familiarization ในอ่าวไทย ในการฝึกผสม Blue Strike
2023 ระหว่างกองทัพเรือไทย กับ กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน
ซึ่งทางฝ่ายจีนได้นำเรือดำน้ำ CNS Chang Cheng เข้าร่วมฝึก
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกให้เรือผิวน้ำและอากาศยานของทางกองทัพเรือไทยได้มีความคุ้นเคยกับการตรวจการณ์เรือดำน้ำ
ด้วยสายตาขณะปฏิบัติการในบริเวณผิวน้ำและต่อมาได้ทำการฝึกติดตามเรือดำน้ำ
หรือที่เรียกว่า TRACKEX
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เรือผิวน้ำฝึกการตรวจจับและติดตามเรือดำน้ำด้วยโซนา
รวมถึงการแสดงภาพและการรายงานเป้าเรือดำน้ำ
นับว่าเป็นโอกาสอันดีที่ทำให้กำลังพลของกองทัพเรือเกิดความมั่นใจและเป็นประสบการณ์ที่ห่างหายจากเรือดำน้ำที่เคยประจำการมากว่า
86 ปี
หมู่เรือฝึกของกองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เข้าร่วมฝึก จำนวน 4 ลำ
ได้เดินทางมาถึง ท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2566 ประกอบด้วย
เรือยกพลขึ้นบก CNS Simingshan ซื่อหมิงซาน เรือฟริเกต CNS Anyang อานหยาง
เรือส่งกำลังบำรุง CNS Chaohu ฉาวหู เรือดำน้ำCNS Chang Cheng ฉางเฉิง
ส่วนทางกองทัพเรือได้จัด เรือหลวงช้าง เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช
และอากาศยานเข้าร่วม
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 พลเรือเอก ชลธิศ นาวานุเคราะห์ เสนาธิการทหารเรือ
พร้อมด้วยคณะผู้บังคับบัญชากองทัพเรือไทย
ได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการฝึกผสม BLUE STRIKE 2023 โดยในระหว่าง 4 – 8
กันยายน 2566 เป็นการฝึกขั้นที่ 2
ซึ่งเป็นการฝึกแลกเปลี่ยนทางยุทธวิธีทั้งการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล ในพื้นที่การฝึก
อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ได้แก่ กองการฝึก กองเรือยุทธการ กองเรือดำน้ำ
กองเรือยุทธการ สนามยิงปืนหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ
สนามฝึกกองทัพเรือ หมายเลข 15 ณ บริเวณหาดยาว และค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า
กองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และพื้นที่ทะเลฝั่งอ่าวไทย ระยะทาง 45
- 65 ไมล์ทะเลจากฝั่ง
การตรวจเยี่ยมในทุกสถานีและหัวข้อการฝึกเต็มไปด้วยความใส่ใจและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณะผู้บังคับบัญชาทั้ง
2 ฝ่าย โดยเริ่มต้นตรวจเยี่ยมการฝึกสถานีการดำรงชีพในป่า (Jungle Survival)
ซึ่งเป็นการแนะนำจากครูฝึกของทางฝ่ายไทย
ที่ทำการสอนและสาธิตอย่างใกล้ชิดและเป็นกันเอง
โดยมุ่งเน้นให้กำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกทุกนายได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังพลของฝ่ายจีนได้มีโอกาสสัมผัส สัตว์ต่างๆ ผลไม้ พืชต่างๆ
ตามธรรมชาติ ที่สามารถกินได้และกินไม่ได้
จากสภาพแวดล้อมของป่าในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เพื่อให้สามารถอยู่รอดและดำรงชีพในป่าได้อย่างปลอดภัย
ถัดไปเป็นการตรวจเยี่ยมสถานียุทธวิธีทหารราบยานเกราะ VN 16
ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ร่วมฝึกและแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจการใช้ยุทโธปกรณ์ประเภทนี้ต่อกัน
ในสภาพแวดล้อมและโจทย์การฝึกซึ่งจำลองจากสถานการณ์จริงในการปฏิบัติการร่วม
หลังจากนั้นเสนาธิการทหารเรือเดินทางไปสนามฝึกกองทัพเรือหมายเลข 15
บริเวณหาดยาว เพื่อตรวจเยี่ยมการฝึกการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
และบรรเทาภัยพิบัติ หรือ HADR บนฝั่ง ประกอบด้วย
การปฏิบัติงานของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ (ICC)
ในการทำหน้าที่บัญชาการเหตุการณ์ ติดตาม และประเมินสถานการณ์
เพื่อสั่งการไปยังชุดปฏิบัติงานต่างๆ
ที่ทำหน้าที่ให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ หรือ HADR
ประกอบด้วย ชุดปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ปนเปื้อนสารเคมี
และชำระล้างสารพิษ (DECON)
และส่งต่อผู้ประสบภัยให้ชุกับปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน (MERT)
พร้อมด้วยการฝึกชุดค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง (USAR)
ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ติดอยู่ในอาคารสูง
และส่งกลับผู้ประสบภัยมายังชุดปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน (MERT) ณ
พื้นที่ชายหาด
เพื่อทำการคัดแยกผู้ประสบภัยที่บาดเจ็บ
และทำการรักษาผู้ประสบภัยที่บาดเจ็บเล็กน้อยบริเวณโรงพยาบาลสนามบนชายหาด
และส่งผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บจำเป็นต้องให้การช่วยเหลือทางการแพทย์ด้วยการส่งกลับสายแพทย์
(Medical Evacuation: MEDEVAC)
ทางเรือด้วยเรือระบายพลขนาดเล็ก (LCVP)
เป็นการเสร็จสิ้นโจทย์การฝึกการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ
หรือ HADR ภาคบก
หลังจากจากนั้น เสนาธิการทหารเรือพร้อมคณะได้ออกเดินทางจาก
หาดยาวด้วยเฮลิคอปเตอร์ Z-8C ซึ่งเป็นอากาศยานประจำเรือ CNS Simingshan
ไปยังเรือ CNS Simingshan ณ พื้นที่การฝึกบริเวณอ่าวไทย
เพื่อตรวจเยี่ยมการฝึกภาคทะเลบนเรือดังกล่าว
ประกอบด้วยการฝึก HADR ในทะเล การฝึกการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล
(SAR) การฝึกการช่วยเหลือทางการแพทย์บนเรือ และการส่งกลับสายแพทย์ (Medevac)
ซึ่งทางฝ่ายไทยได้ส่งกำลังพลเข้าร่วมฝึกกับทางฝ่ายจีน บนเรือ CNS Simingshan
ด้วย
สำหรับในวันนี้ (8 กันยายน 2566) การฝึกผสม BLUE STRIKE 2023
ภาคบกยังดำเนินการฝึกอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มพูนทักษะในการปฏิบัตการร่วมกันให้กับผู้เข้าร่วมการฝึกทั้ง
2 ฝ่าย ประกอบด้วย
การฝึกการปฐมพยาบาลสนาม (Field Medical) ดำรงชีพในป่า (Jungle Survival)
การฝึกดำน้ำทางยุทธวิธี (Tactical Diving) การฝึกยุทธวิธีทหารราบยานเกราะ (VN -
16) (Mechanized Tactical)
ในส่วนการฝึกภาคทะเลมีความเข้มข้นและครบถ้วนตามหัวข้อการฝึก ซึ่งเน้นให้ทั้ง 2
ฝ่ายได้ร่วมฝึกในมิติต่างๆ ของการปฏิบัติการในทะเลอย่างครบถ้วน ได้แก่
เรือผิวน้ำ อากาศนาวี และเรือดำน้ำ
การฝึกภาคทะเลในวันนี้ประกอบด้วย การฝึกแปรขบวนทางยุทธวิธี (MANEX)/ถ่ายภาพ
(PHOTOEX) การฝึกการรับ – ส่งสิ่งของในทะเล (Replenishment at sea : RAS)
การฝึกการสร้างความคุ้นเคยเรือดำน้ำ (Submarine Familiarization)
และการฝึกติดตามเรือดำน้ำ (TRACK EX)
โดยเรือที่เข้าร่วมการฝึกภาคทะเลจะทำการฝึกจนแล้วเสร็จ
และเข้าเทียบท่าเรือจุกเสม็ดในห้วง 23.00 น. ของวันที่ 8 กันยายน 2566
การฝึกผสม BLUE STRIKE 2023 ระหว่างกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)
และกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy)
ที่มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023)(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/blue-strike-2023-open.html)
เป็นครั้งแรกที่กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนได้ส่งเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น
Type 039G(NATO กำหนดรหัสชั้น Song) มาฝึกในอ่าวไทย
โดยการฝึกสร้างความคุ้นเคยเรือดำน้ำ(Submarine Familiarization)
ร่วมกับเรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และเรือหลวงนเรศวร กองทัพเรือไทย
(เรือดำน้ำ Chang Cheng 长城 อ่านว่า "ฉางเฉิง" แปลว่า 'มหากำแพง'
ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งให้เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบทุกลำตามด้วยหมายเลขเรือ
ซึ่งจีนได้ลบหมายเลขเรือออกจากเรือดำน้ำของตนทุกลำตั้งแต่ราวปี 2010s
เพื่อรักษาความลับ ทำให้การระบุเรือแต่ละลำว่าเป็นลำใดนั้นทำได้ยากมาก)
การฝึกเป็นขบวนหมู่เรือเมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๖
ได้เห็นเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอยชั้น Type 071 เรือ LPD-986 Siming Shan
จีนเดินเรือข้างกับเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย เรือหลวงช้าง
กองทัพเรือไทยซึ่งเป็นเรือชั้น Type 071ET LPD
รุ่นส่งออกที่จีนสร้างให้ไทยเข้าประจำการล่าสุดที่มีความแตกต่างกัน
เรือฟริเกตชั้น Type 054A เรือฟริเกต FFG-599 Anyang,
เรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ชั้น Type 903A เรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ Chaohu(890)
ยังรวมขบวนหมู่เรือกับเรือดำน้ำ Chang Cheng และเรือฟริเกต ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช
และเรือหลวง ร.ล.นเรศวร ในการฝึกถ่ายภาพ PHOTOEX ด้วย
จากวีดิทัศน์ที่เป็นหลักฐานชัดเจนว่าเรือดำน้ำชั้น Type 039G Song
ระวางขับน้ำขณะดำใต้น้ำ 2,250tonnes ความยาวเรือ 75m
สามารถปฏิบัติการในอ่าวไทยได้เช่นเดียวกับที่กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US
Navy) เคยส่งเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Los Angeles
มาฝึกในอ่าวไทยแล้วครับ(https://aagth1.blogspot.com/2015/04/los-angeles.html)