Indonesia selects A330 MRTT for acquisition
Indonesia's selection of the Airbus A330 MRTT for acquisition appears to have
been partly prompted by the aircraft's ability to transfer fuel via both a
fuselage-mounted boom and/or a hose-and-drogue transfer systems. (Airbus)
กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้เลือกเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Airbus A330
Multi Role Tanker Transport(MRTT) เพื่อการจัดซื้อจัดจ้าง(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/a330-mrtt-cope-tiger-2022.html)
ในการประกาศเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2023
กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียกล่าวว่าแผนที่จะจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ
Airbus A330 MRTT ได้เข้าสู่ขั้นระยะ "สัญญามีผลบังคับใช้"
การประกาศได้มีขึ้นตามหลังการประชุมระหว่างรองรัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย M
Herindra และบริษัท Airbus ยุโรปในนครหลวง Jakarta ในวันที่ 5 กันยายน 2023
ตามแถลงการณ์ของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย ผลิตภัณฑ์อื่นของบริษัท Airbus Defence
ยุโรป ที่ "อยู่ภายใต้สัญญามีผลบังคับใช้กับรัฐบาลอินโดนีเซีย" รวมถึง
เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ Anti-Submarine Helicopter(AKS), เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง
H225(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/h225m-bell-412epi.html) และเครื่องบินลำเลียง A400M(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/airbus-a400m.html)
"รูปแบบยุทโธปกรณ์กลาโหมทั้งหมดเหล่านี้จะมีพร้อมด้วยสิ่งอุปกรณ์เครื่องมือสนับสนุนและชิ้นส่วนอะไหล่"
กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียกล่าว
อย่างไรก็ตามสัญญาสำหรับเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ A330 MRTT
ปรากฎว่าจำเป็นที่จะต้องการให้มีการบรรลุผลเสร็จสิ้น
"เรายินดีที่อินโดนีเซียได้ประกาศความตั้งใจที่จะจัดหา A330 MRTT
ในการเพิ่มเติมต่อทรัพยากรอื่นที่อยู่ในคำสั่งจัดหากับ Airbus แล้ว
และเรามองไปข้างหน้าที่เสร็จสิ้นการบรรลุผลในรายละเอียดต่างๆ" โฆษกบริษัท Airbus
กล่าวกับ Janes
การประกาศของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียเกี่ยวกับการเลือก A330 MRTT มีขึ้นตามหลัง
4ปีหลังจากอินโดนีเซียเริ่มต้นการพิจารณาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศหลายแบบเพื่อการจัดหา
Janes รายงานในปี 2021
ว่ารัฐบาลอินโดนีเซียกำลังพิจารณาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Boeing
KC-46A สหรัฐฯ, เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Ilyushin IL-78
และเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ A330 MRTT
การเลือกเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศของอินโดนีเซียได้ขึ้นอยู่กับตัวเลือกทางงบประมาณต่างๆ
และข้อตกลงการถ่ายทอดวิทยาการที่เป็นไปได้
การศึกษาระบุความต้องการสำหรับการเลือกเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศที่จะสนับสนุนทั้งวิธีการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศแบบ
hose-and-drogue และแบบ boom
นี่เพื่อจะทำให้มั่นใจถึงความเข้ากันได้กับทรพยาการทางอากาศที่หลากหลายแบบของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian
Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) รวมถึง
เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16 ที่มีอยู่และเครื่องบินขับไล่ Boeing
F-15EX สหรัฐฯในอนาคต(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/mou-boeing-f-15ex-24.html) และเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศสครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/rafale-18.html)