Japan’s MHI Launches 7th Mogami-class Frigate for JMSDF
Japanese shipbuilder Mitsubishi Heavy Industries (MHI) launched today the
seventh (of a planned fleet of 12) Mogami-class multirole frigate for the
Japan Maritime Self-Defense Force (JMSDF).
https://www.navalnews.com/naval-news/2023/09/japans-mhi-launches-7th-mogami-class-frigate-for-jmsdf/
บริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI)
ญี่ปุ่นได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเรือฟริเกตอเนกประสงค์ชั้น Mogami ลำที่7
จากแผนทั้งหมด 12ลำสำหรับสำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan
Maritime Self-Defense Force)
เรือฟริเกตชั้น Mogami ลำที่7 เรือฟริเกต FFM-7 JS Niyodo(によど)
ได้ลงสู่น้ำระหว่างพิธีที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2023 ณ อู่เรือ Nagasaki
Shipyard & Machinery Works ของบริษัท MHI ในจังหวัด Nagasaki
คาดว่าเรือฟริเกต FFM-7 JS Niyodo
จะเข้าประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นในช่วงปีงบประมาณ 2024
หลังขั้นระยะการติดตั้งสิ่งอุปกรณ์ประจำเรือและหลากหลายการทดลองสมรรถนะเรือ
เรือฟริเกต FFM-7 Niyodo ถูกตั้งชื่อตามแม่น้ำ Niyodo ในเกาะ Shikoku
ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น เรือฟริเกตชั้น Mogami
ทุกลำถูกตั้งชื่อตามแม่น้ำสายสำคัญในญี่ปุ่น(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/mogami-ffm-6-agano.html)
Niyodo
เคยถูกตั้งเป็นชื่อเรือของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นมาก่อนหน้าคือเรือพิฆาคุ้มกัน
DE-221 JDS Niyodo ซึ่งเป็นเรือพิฆาตคุ้มกันชั้น Chikugo ลำที่7
โดยถูกปล่อยเรือลงน้ำในเดือนสิงหาคม 1973 เข้าประจำการในเดือนกุมภาพันธ์ 1974
และปลดประจำการในเดือนมิถุนายน 1999
เรือฟริเกต JS Niyodo ถูกสร้างภายใต้การประกาศสัญญาเป็นวงเงินราว 47.4 billion
yen($318 million) ในเดือนมีนาคม 2022
ตามข้อมูลที่ได้รับจากกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นและบริษัท MHI
เช่นเดียวกับเรือฟริเกตชั้น Mogami ลำอื่น เรือฟริเกต FFM-7 Niyodo
มีระวางขับน้ำเต็มที่ประมาณ 5,500tons(ระวางขับน้ำปกติที่ 3,900tons)
มีความยาวเรือ 132.5m ความกว้าง 16.3m และตัวเรือกินน้ำลึก 9m ตามข้อมูลจาก MHI
ญี่ปุ่น
ตัวเรือที่มีขนาดกะทัดรัดทำให้เรือทำความเร็วได้สูงและคล่องแคล่วโดยมีความเร็วสูงสุดมากกว่า
30knots เรือฟริเกตชั้น Mogami มีกำลังพลประจำเรือน้อยที่ราว
90นาย(10นายนี้เป็นทหารเรือหญิง)
บ่งชี้ว่าเรือนำระบบอัตโนมัติมาใช้เป็นระบบบนเรือที่ระดับสูง
กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นเน้นย้ำหลายครั้งว่า เรือฟริเกตชั้น Mogami
เป็นเรือชั้นแรกของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นที่มุ่งเป้าที่การประหยัดกำลังพลและลดค่าใช้จ่ายการสร้างเรือ
โดยคำนึงถึงการขาดแคลนกำลังพลของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น
และสภาพการเงินที่ตึงตัวของญี่ปุ่นที่เป็นผลจากอัตราการเกิดที่ต่ำและจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/jsdf-uav.html)
อ้างอิงจากเรือพิฆาตชั้น Asahi เรือพิฆาต DD-120 JS Shiranui ที่สร้างที่อู่เรือ
Nagasaki ของ MHI ที่เดียวกัน(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/asahi-dd-120-shiranui.html) ที่มีระวางขับน้ำปกติที่ 5,100tons มีความยาวเรือ 151m และกว้าง 18.3m
ซึ่งทั้งหมดแสดงให้เห็นชัดเจนว่าตัวเรือฟริเกต FFM มีขนาดกะทัดรัดแค่ไหน
นอกจากนี้เรือพิฆาตชั้น Asahi ยังมีกำลังพลประจำเรือที่ราว 230นาย
หมายความว่าเรือฟริเกตชั้น Mogami
ต้องการกำลังพลน้อยกว่าครึ่งหนึ่งที่จะปฏิบัติการเรือได้
เหนือสิ่งอื่นใดค่าใช้จ่ายการสร้างของเรือฟริเกตชั้น Mogami
ยังมีราคาเพียงราวสองในสามของเรือพิฆาตชั้น Asahi ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมากกว่า 70
billion yen($470 million) ต่อลำ(https://aagth1.blogspot.com/2017/10/asahi-dd-120-shiranui.html)
เรือฟริเกตชั้น Mogami ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบ CODAG(Combined Diesel and Gas)
ประกอบด้วยเครื่องยนต์ดีเซล MAN 12V28/33D STC สองเครื่องและเครื่องยนต์ gas
turbine แบบ Rolls-Royce MT30 ซึ่งให้กำลังขับทั้งหมด 70,000hp
เป็นเรือชั้นแรกของ JMSDF ที่นำระบบ CODAG มาใช้
ระบบอาวุธของเรือฟริเกตชั้น Mogami ประกอบด้วย ปืนเรือ BAE Systems
5inch(127mm)/62caliber ที่ด้านหน้าเรือ,
อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ MHI Type 17 หรือ SSM-2
สองแท่นยิงจำนวน 8นัด,
ระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System) แบบ Raytheon SeaRAM ความจุ
11ท่อยิง ซึ่งรองรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ RIM-116C Block 2 RAM(Rolling
Airframe Missile)
เรือฟริเกตชั้น Mogami ยังติดตั้ง sonar ลากท้าย VDS/TASS(Variable Depth
Sonar/Towed Array Sonar System) แบบ OQQ-25 สำหรับสงครามปราบเรือดำน้ำ(ASW:
Anti-Submarine Warfare) และยังติดแท่นยิงแนวดิ่ง Mk41 VLS(Vertical Launch
System)
นอกจากสงครามต่อต้านอากาศยาน, สงครามต่อต้านเรือผิวน้ำ และสงครามปราบเรือดำน้ำ
เรือฟริเกตชั้น Mogami ยังได้รับการออกแบบเพื่อดำเนินการปฏิบัติการเป็น "เรือแม่"
สำหรับยานใต้น้ำไร้คนขับ UUV(Unmanned Underwater Vehicle)
และยานผิวน้ำไร้คนขับ USV(Unmanned Surface Vessel)
ซึ่งทั้งสองระบบเป็นครั้งที่ถูกติดตั้งในเรือฟริเกตญี่ปุ่น
นี่มุ่งเป้าที่การเพิ่มขยายการทำงานต่อต้านทุ่นระเบิด(MCM: mine countermeasure)
ของ UUV
สำนักงานจัดซื้อจัดจ้าง, วิทยาการ และการส่งกำลังบำรุง(ATLA: Acquisition,
Technology & Logistics Agency)
กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้กล่าวว่าเรือฟริเกตชั้น Mogami จะติดตั้ง MHI OZZ-5 UUV
ที่ถูกใช้ในปฏิบัติการต่อต้านทุ่นระเบิด
ระบบ UUV
ได้ใช้การทำงานการตรวจจับและพิสูจน์ทราบอัตโนมัติเพื่อลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่รวบรวมได้
OZZ-5 UUV มีความยาว 4m และกว้าง 0.5m โดยมีระวางขับน้ำ 950kg
ติดตั้ง Synthetic Aperture Sonar (SAS) ความถี่ต่ำที่สร้างโดยบริษัท NEC ญี่ปุ่น
และ SAS ความถี่สูงที่สร้างโดยบริษัท Thales ฝรั่งเศส
ซึ่งออกแบบผสมผสานที่ทำให้มั่นใจถึงความแข็งแกร่งของขีดความสามารถการต่อต้านทุ่นระเบิด
สำหรับการตรวจจับและพิสูจน์ทราบภัยคุกคามทุ่นระเบิดต่างๆที่แตกต่างกันในหลากหลายสภาพแวดล้อม
UUV ใช้พลังงานจาก lithium-ion battery แบบประจุไฟฟ้าใหม่ได้
ตามข้อมูลจากกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น เรือฟริเกตชั้น Mogami
มีวัตถุประสงค์สำหรับภารกิจตรวจการณ์ในน่านน้ำโดยรอบหมู่เกาะญี่ปุ่นรวมถึงทะเลจีนตะวันออก
ได้รับการติดตั้งขีดความสามารถอเนกประสงค์ที่เพิ่มขยาย
รวมถึงความสามารถการทำปฏิบัติการสงครามต่อต้านทุ่นระเบิด
ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ได้ถูกดำเนินการปฏิบัติโดยเรือล่าทำลายทุ่นระเบิดเดินสมุทรของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น
ตามที่จีนประเทศเพื่อนบ้านขยายขนาดและขีดความสามารถกองทัพเรือของตน
เรือฟริเกตชั้น Mogami
มีวัตถุประสงค์สำหรับภารกิจตรวจการณ์ในน่านน้ำโดยรอบหมู่เกาะญี่ปุ่น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นที่จะขยายความมั่นคงทางทะเลเพื่อป้องกันทางตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะ
Nansei
รวมถึงหมู่เกาะ Senkaku/Diaoyu ในทะเลจีนตะวันออก
โดยเสริมสร้างกิจกรรมการลาดตระเวนโดยการใช้เรือฟริเกตอเนกประสงค์ FFM
ที่มีขนาดกะทัดรัด หมู่เกาะ Senkaku/Diaoyu ถูกควบคุมโดยญี่ปุ่น
แต่ยังถูกอ้างสิทธิ์โดยจีนและไต้หวัน
กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นเดิมมีแผนที่จะสร้างเรือฟริเกตชั้น Mogami
ทั้งหมด 22ลำ ตามที่รัฐบาลญี่ปุ่นใน Tokyo
เร่งความพยายามที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งกำลังรบทางเรือของญี่ปุ่นภายใต้โครงการกลาโหมระยะกลาง(MTDP:
Mid-Term Defense Program)
สำหรับปีงบประมาณ 2019-2023 ซึ่งได้รับการอนุมัติในเดือนธันวาคม 2018
อย่างไรก็ตามในปลายเดือนสิงหาคม 2023
กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้อธิบายเป็นครั้งแรกที่การร้องของบประมาณสำหรับปีงบประมาณ
2024
ที่ตนได้ตัดสินใจล่าสุดในการจัดซื้อเรือฟริเกตชั้น Mogami ทั้งหมดเพียง 12ลำ
จนถึงปี 2023 โดยวางแผนที่จะสร้างเรือฟริเกต FFM ชั้นใหม่ 12ลำตั้งแต่ปีงบประมาณ
2024(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/mogami.html)
เรือฟริเกต FFM ชั้นใหม่จะเป็นการเพิ่มพูนจากเรือฟริเกตชั้น Mogami อย่างมาก
ตามรายงานก่อนหน้านี้โดย Naval News เรือ FFM
ชั้นใหม่จะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยไกล,
ขีดความสามารการปราบเรือดำน้ำที่เพิ่มขยาย
และเพิ่มขีดความสามารถสำหรับการปฏิบัติการทางทะเลที่หลากหลาย
โดยเฉพาะอาวุธปล่อยนำวิถีที่ยิงจากเรือที่เป็นรุ่นปรับปรุงจากอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ
Type 12 SSM และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศยิงจากเรือใหม่(A-SAM)
จะติดตั้งบนเรือ FFM ชั้นใหม่ เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าว
เอกสารของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นที่เผยแพร่ในวันที่ 31 สิงหาคม 2023 กล่าวว่า
เรือฟริเกต FFM ชั้นใหม่ จะมีระวางขับน้ำปกติ 4,500tons ขณะเดียวกันข้อเสนอของ
MHI ของเรือ FFM ชั้นใหม่ ซึ่งเผยแพร่โดย ATLA เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2023
ระบุว่า
เรือฟริเกต FFM ชั้นใหม่จะมีระวางขับน้ำปกติ 4,880tons ความยาวเรือราว 142m
และกว้าง 17m เรือ FFM ชั้นใหม่จะมีความเร็วสูงสุดมากกว่า 30knots
แม้ว่าข้อเท็จจริงเรือชั้นใหม่จะใหญ่กว่าเรือชั้น Mogami
แต่เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวว่า
เรือฟริเกต FFM ชั้นใหม่จะมีกำลังพลประจำเรือเพียง 90นายเท่ากับเรือฟริเกตชั้น
Mogami เพื่อบรรลุจุดประสงค์นี้
นักวางแผนทางเรือญี่ปุ่นน่าจะมีการนำระบบอัตโนมัติระดับสูงมาใช้บนเรือชั้นใหม่
และนำแนวคิดการจำกัดขนาดกำลังพลอย่างมากมาใช้ตลอดทั้งเรือครับ