South Korea Pitches KSS-III Submarine to Poland
Model of KSS-III Batch II submarine showcased during MSPO 2023. Cutaway of
KSS-III submarine’s astern part showing vertical launching tubes and
machinery. (Photo: Tomasz Grotnik)
ระหว่างงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ MSPO 2023 ใน Kielce โปแลนด์ระหว่างวันที่
5-8 กันยายน 2023 บริษัท Hanwha Group สาธารณรัฐเกาหลีได้เสนอเรือดำน้ำ KSS-III
Batch II ของตน
ในฐานะข้อเสนอสำหรับโครงการเรือดำน้ำ Orka
ซึ่งเป็นการจัดซื้อจัดจ้างเรือดำน้ำใหม่สำหรับกองทัพเรือโปแลนด์(Polish Navy)(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/hanwha-ocean-1400-kss-iii.html)
บริษัท Hanwha Ocean สาธารณรัฐเกาหลีในเครือ Hanwha Group
ได้จัดแสดงแบบจำลองของเรือดำน้ำ KSS-III หรือเรือดำน้ำชั้น Dosan An Chang-ho
ของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(RoKN: Republic of Korea Navy) ในรุ่น Batch II
ล่าสุดเป็นครั้งแรกในยุโรป
การสร้างเรือดำน้ำชั้น KSS-III Batch II ลำแรกได้เริ่มต้นในเดือนมีนาคม 2023
นี่เป็นการตอบสนองของบริษัท Hanwha Ocean ต่อโครงการ Orka
ซึ่งภายใต้โครงการนี้กองทัพเรือโปแลนด์จะได้รับเรือดำน้ำใหม่ซึ่งจำนวนเรือยังไม่ได้ถูกประกาศในเวลานี้
บริษัท Hanwha Aerospace
สาธารณรัฐเกาหลีได้รับสัญญาสำหรับการจัดส่งปืนใหญ่อัตตาจร K9
และครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง K239 Chunmoo MRL(Multiple Rocket Launcher) แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/k239-chunmoo-k2-k9.html)
ความสำเร็จเหล่านี้โน้มน้าวฝ่ายบริหารของบริษัทว่าโอกาสของ Hanwha Ocean มีสูง
"ตามที่เรามีการสร้างความสัมพันธ์ของความเชื่อถือตั้งแต่ปีที่แล้ว(2022)
เราเชื่อว่าการเข้าถึงของ Hanwha Ocean (ต่อกองทัพเรือโปแลนด์) จะง่ายขึ้น
ในแง่ของวิทยาการโปแลนด์ได้สร้างความต้องการจำนวนมาก
แต่ผมคิดว่าแนวทางของเกาหลีใต้จะตรงกับสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด
ความต้องการหลักคือความสามารถในการมอบขีดความสามารถการบำรุงรักษาซึ่งเราสามารถให้ได้อย่างเพียงพอ"
Kim Dong-kwan รองประธาน Hanwha Group กล่าว
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2023
สำนักงานยุทโธปกรณ์ของโปแลนด์ได้ออกเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request for Information)
สำหรับโครงการเรือดำน้ำ Orka ใหม่ เอกสาร RFI ระบุว่า
เรือดำน้ำ Orka
ในอนาคตจะต้องมีความสามารถในการปฏิบัติการเป็นเอกเทศได้ไม่น้อยกว่า 30วัน
และมีขีดความสามารถที่จะดำใต้น้ำได้ลึกมากกว่า 200m เช่นเดียวกับที่สามารถที่จะ
-โจมตีเป้ามายผิวน้ำและใต้น้ำด้วย Torpedo และอาวุธปล่อยนำวิถี
-โจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินระยะไกลด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน
-โจมตีเป้าหมายทางอากาศด้วยอาวุธปล่อยนำวิถี(เฮลิคอปเตอร์ที่กำลังบินและกำลังลอยตัว
และเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล)
-ติดตั้งระบบต่อต้าน torpedo แบบ hard kill และ soft kill
-รองรับการวางกำลังหน่วยรบพิเศษ
-มีความเข้ากันได้กับยานกู้ภัยใต้น้ำ
-วางทุ่นระเบิดได้
-ปฏิบัติการยานใต้น้ำควบคุมจากระยะไกล(ROV: Remotely Operated Vehicle)
และยานใต้น้ำไร้คนขับอัตโนมัติ(AUV: Autonomous Underwater Vehicle) ได้
นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาตามมาถึง การใช้ระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air
Independent Propulsion), ชุดการส่งกำลังบำรุง,
ชุดการฝึกกำลังพลประจำเรือและเจ้าหน้าที่อู่เรือ และกำหนดการส่งมอบเรือดำน้ำ
มีทั้งหมด 11บริษัทที่ยื่นข้อเสนอในการตอบสนองต่อเอกสาร RFI บริษัท Hyundai Heavy
Industries สาธารณรัฐเกาหลี, บริษัท Saab สวีเดน(https://aagth1.blogspot.com/2023/07/saab-c718.html) โดย Saab Technologies Poland Sp. z o.o, บริษัท Aycomm Sp. z o.o. โปแลนด์
บริษัท Navantia สเปน(https://aagth1.blogspot.com/2023/07/l-navantia-s80-p-75i.html), บริษัท Naval Group ฝรั่งเศส(https://aagth1.blogspot.com/2023/07/kalvari-3.html), บริษัท Hanwha Ocean สาธารณรัฐเกาหลี, บริษัท Volue Industrial IoT นอร์เวย์,
บริษัท Thyssenkrupp Marine Systems(TKMS) เยอรมนี(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/walrus.html), บริษัท Fincantieri อิตาลี(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/type-212-nfs.html), บริษัท Babcock International Group plc สหราชอาณาจักร และบริษัท JFD
สหราชอาณาจักร
ในรายชื่อเหล่านี้รวมถึงบริษัทผู้สร้างเรือดำน้ำที่มีชื่อเสียง(Hanwha Ocean,
HHI, Saab, Navantia, Naval Group, TKMS และ Fincantieri)
นอกจากนี้บริษัทผู้จัดส่งระบบไฟฟ้าต่าง รวมถึงระบบระบบสื่อสาร ระบบอำนวยการรบ และ
sonar(Volue Industrial),
เสนอการบริการและการบำรุงรักษาตลอดอายุการใช้งาน(Babcock)
หรือผลิตระบบกู้ภัยน้ำลึกและยานใต้น้ำสำหรับหน่วยรบพิเศษ(JFD)
ได้มีส่วนร่วมในการเจรจาด้วย สำหรับตอนนี้การแข่งขันแบบเฉพาะเจาะจงยังไม่มีขึ้น
สิ่งเหล่านี้จะมีขึ้นในระยะต่อไปของโครงการ Orka
ข้อเสนอเรือดำน้ำ KSS-III ของสาธารณรัฐเกาหลี "บนกระดาษ"
ตรงความต้องการขั้นต้นส่วนใหญ่ของกระทรวงกลาโหมโปแลนด์ KSS-III
ยังเป็นผู้เข้าแข่งขันที่เป็นไปได้รายเดียวที่พร้อมบูรณาการแท่นยิงแนวดิ่ง(VLS:
Vertical Launching System) ติดอาวุธปล่อยนำวิถีในเรือดำน้ำ
(เรือดำน้ำชั้น KSS-III Batch I ติดตั้งท่อยิง VLS 6ท่อยิง ขณะที่เรือดำน้ำชั้น
KSS-III Batch II มีท่อยิง VLS 10ท่อยิง)
อย่างไรก็ตามบริษัทของสาธารรัฐเกาหลีสามารถจะเผชิญความยากลำบากที่เป็นไปได้บางอย่าง
แม้ว่าจะใช้ระบบของสาธารณรัฐเกาหลีเป็นอย่างมาก ระบบบางอย่างบนเรือดำน้ำ KSS-III
มีที่มาจากบริษัทต่างๆของยุโรปที่จะต้องได้รับความเห็นชอบในการส่งออกผลิตภัณฑ์เหล่านี้ใหม่
นอกจากนี้มีการกล่าวอย่างไม่เป็นทางการว่า
KSS-III
ไม่ได้เป็นที่ชื่นชอบมากที่สุดในหมู่นักดำเรือดำน้ำโปแลนด์ผู้ซึ่งพิจารณาว่าเรือดำน้ำมีขนาดใหญ่เกินไปสำหรับทะเล
Baltic
ในอีกด้านหนึ่งมันจำเป็นต้องจำไว้ว่าการจัดซื้อเรือดำน้ำจะเป็นเรื่องทางการเมืองด้วยครับ