A submarine attached to a naval submarine flotilla under the PLA Northern
Theater Command steams in the sea during a training exercise recently in
waters of the Yellow Sea. (eng.chinamil.com.cn/Photo by Wu Haodong)
"The type certification test of CHD620V16H6 diesel engine was successfully
completed"
Henan Diesel Engine Co., Ltd (HND) subsidiary of China Shipbuilding Industry
Corporation (CSIC) was passing certification for National Military Standard
(GJB: Guo-jia Jun-yong) of its CHD620V16H6 diesel generator engine on 27 July
2023, HND publish photo of certification ceremony on its website
(http://www.hnd.com.cn) on 8 August 2023.
The CHD620V16H6 is variant of HND's CHD 620 diesel generator engine for
Submarine used, replaced the MTU16V396SE84 that Germany refused to export to
China since 2020 for fitting on export variants of People’s Liberation Army
Navy (PLAN) Type 039B SSK included one of Royal Thai Navy (RTN) S26T submarine
and 8 of Pakistan Navy (PN) Hangor-class submarines.
RTN commanders also said to local media that additional to supporting S26T
Submarine's spare parts for 8 years, China will not compensate any 1st S26T
Submarine delivery delay to 2027, and there are no option for free donation
ex-PLAN Type 039A Yuan or Type 039G Song submarines but will be offer to sell
Type 035 Ming at a friendly price except extra cost to be paid for spares,
support and training.
Royal Thai Navy held delivering ceremony for YTM-859 HTMS Ta Chai, new thrid
Panyi-class Tugboat at Laem Thian Pier, Sattahip Port, Sattahip District,
Chonburi Province, Thailand on 21 August 2023. (Royal Thai Navy)
พิธีรีบมอบเรือหลวงตาชัย วันนี้
ผบ.ทร.รับมอบเรือหลวงตาชัย วันนี้
ภาพที่เผยแพร่ใน website ของ Henan Diesel Engine(HND)
ผู้ผลิตเครื่องยนต์ใช้งานทางเรือในเครือ China Shipbuilding Industry
Corporation(CSIC)
กลุ่มรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมทางเรือจีนได้เผยแพร่ภาพและข่าวเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม
พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ที่ปัจจุบันได้หายไปแล้ว
ระบุจากข่าวและแผ่นป้ายว่าเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้าแบบ CHD620V16H6
ได้ประสบความสำเร็จในการผ่านการรับรองมาตรฐานทางทหารเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๖
โดยเป็นเครื่องยนต์ในตระกูล CHD620 รุ่นสำหรับใช้งานในเรือดำน้ำทดแทน MTU 396
เยอรมนีที่ไม่ส่งออกให้จีน
CHD620V16H6 จะถูกนำมาแทนเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า MTU 16V 396 SE84
เยอรมนีในเรือดำน้ำตามแบบของจีนเอง รวมถึงเรือดำน้ำชั้น Hangor ทั้ง
๘ลำของปากีสถาน และเรือดำน้ำ S26T
ของกองทัพเรือไทยที่ต่างมีความล่าช้าในการสร้างจากประเด็นเครื่องยนต์ MTU เยอรมนี
นี่สอดคล้องกับการอ้างของจีนว่าเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า CHD 620
ได้ถูกใช้งานในเรือผิวน้ำของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนเช่นเรือบรรทุกเครื่องบินที่จีนสร้างเองแล้ว
ซึ่งการพัฒนารุ่นสำหรับใช้งานในเรือดำน้ำทดแทน MTU 396
ได้ดำเนินเป็นเวลาห้าปีแล้ว(ตั้งแต่ปี 2018)
แต่ในกรณีกองทัพเรือไทย
แม้ว่าผลการเจรจาศึกษาและตรวจสอบมายาวนานทำให้มีการยอมรับเครื่องยนต์ CHD620
จีนในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๖ เช่นเดียวกับปากีสถานแล้วก็ตาม
แต่นี่ยังเป็นประเด็นที่จะต้องได้รับการพิจารณาจากรัฐบาลใหม่และรัฐมนตรีกลาโหมใหม่ของไทยอยู่ดี
โดยการแก้ไขสัญญาข้อตกลงแบบรัฐต่อรัฐที่ลงนามไว้ตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อนนั้นมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การกดดันให้ยกเลิกสัญญากับจีนมากกว่าด้วย
และแม้ว่าจะแก้ไขสัญญาได้ แต่การสร้างเรือดำน้ำ S26T
สำหรับกองทัพเรือไทยจะยังล่าช้าไม่ต่ำกว่า ๔๐เดือนเป็นถึงราวปี พ.ศ.๒๕๗๐(2027)
อยู่ดี
ทั้งนี้ทางจีนเองก็ไม่ได้คิดว่าตนเองเป็นฝ่ายผิดสัญญากับทั้งกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือปากีสถาน
นอกจากความพยายามของจีนที่จะกีดกันไม่ให้ทางฝ่ายไทยและปากีสถานรวมตัวกันได้เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองแล้ว
ข้อเสนอในการชดเชยความล่าช้าก็นับว่าจีนเอาเปรียบไทยและปากีสถานมาก
ในกรณีของโครงการเรือดำน้ำ S26T ของไทยนั้นนอกจากการสนับสนุนอะไหล่ระยะเวลา ๘ปี
จีนได้ปฏิเสธที่จะมอบเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าแบบให้เปล่าทั้งเรือดำน้ำชั้น Type
039A Yuan และเรือดำน้ำชั้น Type 039G Song
เพราะกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนยังคงต้องใช้ประจำการอยู่
แต่จะเสนอขายเรือดำน้ำชั้น Type 035 Ming
ที่ปลดประจำการแล้วเช่นเดียวกับที่ส่งมอบให้บังคลาเทศและพม่า
โดยจะขายให้ไทยในราคามิตรภาพแต่ไม่รวมค่าอะไหล่การสนับสนุนและการฝึกที่ไทยต้องจ่ายเพิ่มเอง
ทำให้เห็นได้ว่าจีนเป็นชาติมหาอำนาจที่ไม่มีความจริงใจกับประเทศเล็กกว่าอย่างไทย
พิธีรับมอบเรือลากจูงขนาดกลางเรือหลวงตาชัย เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๖
ซึ่งเป็นเรือลำใหม่ล่าสุดของกองทัพเรือไทยที่เข้าประจำการ
ก็ถูกผู้ไม่หวังดีต่อกองทัพเรือเหน็บแนมโยงเข้ากับคุณสมบัติเรือที่ใช้ในการลากจูงดึงและดันเรือดำน้ำได้ว่าไม่มีประโยชน์เพราะกองทัพเรือไม่มีเรือดำน้ำ
รวมถึงโยงเข้ากับกรณีอุบัติเหตุเรือฟริเกตเรือหลวงนเรศวรเกิดอุบัติเหตุชนท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด
จังหวัดระยอง ระหว่างการฝึก Naval Security Port and Ship Map Taphut Excercise
2023(NASMEX 2023) เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๖ จนแท่นยิง torpedo เบา Mk 32
ได้รับความเสียหาย
กองทัพเรือไทยได้ชี้แจงว่าจะมีการสอบสวนสาเหตุและดำเนินการซ่อมแท่นยิง torpedo
ที่เสียหายต่อไป
รวมถึงในกรณีพบว่ามีการนำแพชูชีพของเรือฟริเกตเรือหลวงเจ้าพระยาบน ร.ล.นรศวร
นั้นก็เพราะมีการตรวจสอบว่าแพของ ร.ล.นเรศวรมีบางตัวที่ไม่กางจึงนำแพของ
ร.ล.เจ้าพระยาที่กำลังซ่อมบำรุงอยู่มาติดใช้ก่อนครับ
Royal Thai Navy (RTN) announced Thailand company's Chaiseri metal &
rubber Co. Ltd. is winner of new 7 of Eight-wheel drive (8x8) Amphibious
Armored Personnel Carrier for 448,000,000 Bath ($12,918,115) on 3 August
2023
for Royal Thai Marine Corps (RTMC).
Chaiseri's not yet unveiled 8x8 vehicle wins over R600 8x8 developed by
Thailand company's Panus Assembly Co.,Ltd. and Ministry of Defence of
Thailand's Defence Technology Institute (DTI) Amphibious Armored Personnel
Carrier (AAPC) 8x8 "Sea Tiger".
Royal Thai Marine Corps (RTMC) Headquarters unveiled its new doctrine
concept of Amphibious Assault Ship (AAS) during Navy Quality Award Day 2023
(NQA Day 2023) at Chao Phraya Room, Royal Thai Navy Convention Hall on 3
August 2023. (Royal Thai Navy)
Naval Ordnance Department (NORDD), Royal Thai Navy hand-on and testing new 3
of Aerial Unmanned Targets by QinetiQ Air Affairs (Phoenix) for 49,800,000
Baht ($1,420,665) at naval firing range in Hat Yao beach, Satthahip
district, Chonburi province on 9 August 2023.
new three of QinetiQ Aerial Unmanned Targets can be launching from Catapult
Launcher same to Snipe Mk.5, Phoenix and Banshee Jet which already in RTN
serviced, NO need to acquire new Catapult Launcher for 17,000,000 Baht
($483,222). (Royal Thai Navy)
โฆษก ทร. เผย กรมสรรพาวุธทหารเรือ ทำการทดสอบการบินของเป้าบิน
พิสัยกลางแบบไอพ่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจรับแล้ว โดยเป้าบิน
สามารถใช้งานได้โดยสมบูรณ์
พลเรือเอก ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 9
สิงหาคม 2566 กองทัพเรือ โดย กรมสรรพาวุธทหารเรือ
ได้ดำเนินการตรวจรับเป้าบินพิสัยกลางแบบไอพ่นในขั้นตอนการบินทดสอบทดลองเป้าบินพิสัยกลาง
ณ หาดยาว สนามฝึกกองทัพเรือหมายเลข 15 อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ซึ่งผลการดำเนินการทดสอบทดลองเป้าบินเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามสัญญา
โดยรางปล่อยและเป้าบินสามารถใช้งานได้โดยสมบูรณ์
สำหรับการทดสอบทดลองการบินจริง (Setting to Work) ในครั้งนี้
ทางบริษัทผู้ผลิต
ได้ส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญการบินเป้าบินไอพ่นเข้ามาทดสอบทดลองด้วยการบินจริงร่วมกับพลเรือโท
เกรียง ชุณหชาติ เจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือ
และเจ้าหน้าที่ของกองทัพเรือ
ซึ่งเป็นไปตามสัญญา ซึ่งกรมสรรพาวุธทหารเรือ
ได้ดำเนินการตามระเบียบของทางราชการอย่างเคร่งครัด
โฆษกกองทัพเรือกล่าวว่า โครงการจัดซื้อเป้าบินพิสัยกลางแบบไอพ่น
เป็นการจัดหาเป้าบินฯ จำนวน 3 ระบบ พร้อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งก่อนหน้านี้มีความพยายาม ในการกล่าวหากองทัพเรือ
ในส่วนของการจัดหารางปล่อยเป้าบินว่า
ที่เป้าบินฯ บินไม่ได้ เพราะไม่ได้ซื้อรางส่งบินมาด้วย
ไม่ต่างอะไรกับการซื้อจรวดโดยไม่ซื้อแท่นปล่อยจรวด
ซึ่งกองทัพเรือได้ชี้แจงมาโดยตลอดว่า รางปล่อยเดิมของ กองทัพเรือ
ที่มีใช้ราชการอยู่สามารถใช้งานกับเป้าบินที่จะจัดหาใหม่
และสามารถใช้กับเป้าบินของเดิมที่ กองทัพเรือ มีประจำการอยู่แล้วได้
เพียงแค่ปรับปรุงเล็กน้อย ซึ่งหาก กองทัพเรือ
จัดหารางปล่อยด้วยจะต้องใช้งบประมาณถึง 17 ล้านบาท หรือประมาณ 1 ใน 3
ของมูลค่าโครงการในภาพรวม
ซึ่ง กองทัพเรือ พิจารณาแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องจัดหารางปล่อยใหม่
และเป็นการใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุดในทรัพยากรที่กองทัพเรือมีอยู่จริง
ซึ่งการทดสอบในครั้งนี้เป็นการยืนยันว่ากองทัพเรือดำเนินการด้วยความโปร่งใสมิได้มีผลประโยชน์หรือการทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
โดยกองทัพเรือขอเน้นย้ำว่า
ในการจัดหายุทโธปกรณ์ต่างๆของกองทัพเรือนั้น
กองทัพเรือจะคำนึงถึงการใช้งบประมาณให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด
และสามารถตรวจสอบได้
สำนักงานโฆษกกองทัพเรือ
ตามที่กองทัพเรือไทยได้ประกาศว่าบริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์
จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ไทย
เป็นผู้ชนะโครงการจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง(8x8) ชนิดลำเลียงพล จำนวน ๗คัน
วงเงิน ๔๔๘,๐๐๐,๐๐๐บาท($12,918,115) เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๖ นั้น
ได้มีสื่อไร้จรรยาบรรณและผู้ไม่หวังดีต่อชาติเชื่อมโยงว่าเป็นการทุจริตอีกกรณีหนึ่งของกองทัพเรือ
ที่ไม่เลือกจัดหารถหุ้มเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบกลำเลียงพลแบบ Panus R600
8x8 ของบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด(Panus Assembly Co.,Ltd.) ไทย
เพิ่มเติมจากที่ส่งมอบแล้ว ๒คัน
รวมถึงยานเกราะล้อยาง 8X8 พยัคฆ์ทะเล(Sea Tiger) Amphibious Armored Personnel
Carrier(AAPC) ที่พัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI
ที่ส่งมอบรถให้แล้วเช่นกัน
ทำให้นาวิกโยธินไทยมียุทโธปกรณ์ที่ซ้ำซ้อนต่างกันสามแบบ อีกทั้ง Chaiseri
ยังไม่มีรถต้นแบบด้วย
ในข้อเท็จจริงนั้น บริษัท Chaiseri ไทยได้มองที่จะพัฒนายานเกราะล้อยาง 8x8
ของตนเองมานานแล้ว โดยในงานนิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ Defense &
Security 2022 ระหว่างวันที่ ๒๙ สิงหาคม-๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022)
ที่ผ่านมาก็มีการกล่าวถึงเรื่องนี้แต่ไม่ได้ให้รายละเอียด
Chaiseri ไทยน่าเปิดตัวรถหุ้มเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก 8x8
ที่น่าจะนำเสนอคุณลักษณะที่โดดเด่นจนเป็นผู้ชนะโครงการ ในงาน Defense &
Security 2023 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๖-๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ นี้
ซึ่งการแข่งขันนี้เป็นการแสดงถึงการสนับสนุนภาคเอกชนของกองทัพเรือไทย
อย่างไรก็ตามผู้ไม่หวังดีมักจะใช้วิธีเดิมๆอย่างบัตรสนเท่ห์จนถึงการให้ข่าวกับสื่อเพื่อสร้างภาพโจมตีกองทัพเรือว่าซื้อแต่อาวุธต่างประเทศเพราะหวังเงินทอน
แต่พอซื้ออาวุธที่เอกชนไทยทำก็หาว่ารับสินบนและกล่าวหาว่าทั้ง Chaiseri, Panus
และ DTI ทำผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพมีปัญหาการใช้งาน
อย่างเช่นรถเกราะล้อยางตระกูล First Win 4x4 ของ Chaiseri
ที่ส่งออกได้หลายต่างประเทศเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ภูฏาน
สำหรับรถที่ใช้ในกองทัพไทย ตำรวจไทย และหน่วยงานรักษากฏหมายของไทย
ก็มีข้อวิจารณ์จากเจ้าหน้าที่ว่ามีความไม่ปลอดภัยในบางจุดเช่นการควบคุมและตัวรถ
หรือผลิตภัณฑ์รถหุ้มเกราะล้อยางก่อนหน้าของ Panus
ไทยที่ส่งมอบให้นาวิกโยธินไทยไปทดลองใช้ที่ชายแดนภาคใต้เช่น Phantom 380-X1
4x4, HMV-150 4x4, HMV-420 4x4 และ AMV-420P 4x4
เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานจริงก็วิจารณ์เรื่องปัญหาระบบตัวรถเช่นคานช่วงล่างและบริการหลังการขาย
หรือ DTI เองก็ถูกวิจารณ์ว่าพัฒนายานเกราะล้อยาง 8x8 ที่มีเพียงต้นแบบไม่กี่คัน
เป็นรถจดประกอบจากต่างประเทศไม่ได้คิดเองทั้งที่เป็นการสนับสนุนเอกชนในการเข้าถึงการถ่ายทอดวิทยาการจากต่างประเทศ
หรือแย่งผลงานเอกชนเอาหน้าทั้งที่เป็นการเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการส่งออก
กรณีนี้ยังได้ถูกรวมเข้ากับการจัดหาเป้าบินพิสัยกลางแบบไอพ่นจำนวน ๓ระบบ วงเงิน
๔๙,๘๐๐,๐๐๐บาท($1,420,665) จากบริษัท QinetiQ Air Affairs ออสเตรเลีย
ซึ่งมีการให้ข่าวกับสื่อในช่วงปลายเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖
ว่าเป็นการทุจริตเพราะไม่มีการจัดหารางดีดส่งอากาศยานจึงทำการบินไม่ได้
โฆษกกองทัพเรือไทยได้ชี้แจงตามมาว่า
กรมสรรพาวุธทหารเรือมีเป้าบินที่ผลิตโดย QinetiQ อยู่แล้วทั้งเป้าบิน Snipe
Mk.5 แบบใบพัด และเป้าบิน Phoenix และเป้าบิน Banshee Jet แบบไอพ่น ซึ่งเป้าบิน
Phoenix
รุ่นใหม่ที่เป็นเครื่องยนต์ไอพ่นเดี่ยวสามารถใช้กับรางดีดส่งเดิมที่ปรับปรุงแล้วได้
โดยในวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๖
ก็ได้มีการทดสอบการบินขึ้นและรับกลับของเป้าบินพิสัยกลางแบบไอพ่นใหม่อย่างชัดเจน
ทว่าการนำเสนอของสื่อไร้จรรยาบบรรณเหล่านี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อจะใส่ร้ายทำลายกองทัพเรือ
โดยไม่ได้หวังดีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศแต่อย่างใด
(ซื้อของต่างประเทศก็ว่า ซื้อของไทยก็ว่า ไม่ซื้ออะไรเลยก็ว่า
ว่าง่ายๆคือกองทัพเรือจะทำหรือไม่ทำอะไรก็ต้องผิด
เป็นการตอกย้ำว่าพวกนี้แค่อยากให้ทหารเรือไทยทุกนายไปตาย!
ไม่ได้ตำหนิด้วยความหวังดีอยากเห็นการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงดีขึ้นอะไรทั้งทั้งนั้น
ย้ำชัดๆพวกมันอยากให้เราตาย!)
อีกด้านหนึ่งในวันรางวัลคุณภาพกองทัพเรือ Navy Quality Award Day 2023 ณ
หอประชุมกองทัพเรือ เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๖
หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินไทยได้เปิดตัวแนวคิดหลักนิยมการยุทธฯแบบใหม่
รวมถึงแนวคิด เรือโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก Amphibious Assault Ship(AAS)
คุณลักษณะของเรือโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก AAS
ที่ภาพแสดงรูปแบบเหมือนเรือระบายพล(Landing Craft)
นั้นน่าทึ่งคือมีความยาวเรือไม่เกิน 30m ความเร็วสูงสุด
30knots(เรือระบายพลที่กองทัพเรือไทยมีในปัจจุบันมีความเร็วไม่เกิน 12knots)
ติดตั้งระบบป้องกันตัวและระบบสื่อสารทุกมิติ
บรรทุกกำลังพลได้หนึ่งหมวด(๑๑นายขึ้นไป) หรือรถถัง, ยานเกราะล้อยาง,
รถสะเทินน้ำสะเทินบก, ปืนใหญ่อัตตาจร และรถยนต์บรรทุกมากกว่า ๒คัน ติดปืนเรือ
ปืนกล อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นและอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศและแท่นยิง
Torpedo ระบบยานไร้คนขับ UAV, UCAV และ UUV ครับ
Royal Thai Air Force (RTAF) signed contract to modernization programme phase 2 of its 12 Lockheed Martin C-130H Hercules transport aircrafts 601st Squadron, Wing 6 on 8 August 2023. (Royal Thai Air Force)
เครื่องบินที่เปรียบเสมือนความหวัง ความภาคภูมิใจ และความสุขของคนไทยทั้งประเทศ กว่า 43 ปีที่เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 (C-130H) เข้าประจำการในกองทัพอากาศ ได้อยู่เคียงข้างคนไทยในทุกเหตุการณ์ตลอดมา
ทั้งการนำคนไทยกลับมายังแผ่นดินเกิดจากเหตุการณ์ความไม่สงบ การช่วยเหลือประชาชนจากภัยพิบัติต่างๆ การบินควบคุมไฟป่า และภารกิจอื่นๆอีกมากมาย อีกทั้งยังได้เข้าร่วมการฝึกทางทหารที่สำคัญต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
โครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินลำเลียง แบบที่ 8 (C-130H) ระยะที่ 2 ของกองทัพอากาศ เพื่อให้ดำรงขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจทางยุทธการ และภารกิจช่วยเหลือประชาชนและบรรเทาสาธารณภัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความปลอดภัยสูงสุด
รวมทั้งมีความสมควรเดินอากาศตามมาตรฐานสากล ซึ่งโครงการนี้ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต ให้เข้าร่วมโครงการข้อตกลงคุณธรรม ภายใต้กระบวนการที่กำหนดตามกฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
ให้การใช้งบประมาณเป็นไปอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิผล เป็นไปด้วยความสุจริต โปร่งใส และเป็นธรรม
โครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ Lockheed Martin C-130H Hercules ระยะที่๒ ที่มีการลงนามสัญญาจ้างเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๖ เป็นโครงการที่ต่อเนื่องจากโครงการปรับปรุงขีดความสามารถ ระยะที่๑ ที่เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022)
โดยมีเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H ๘เครื่อง จากทั้งหมด ๑๒เครื่องในฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ที่ผ่านการปรับปรุงในระยะที่๑ แล้ว และอีก ๔เครื่องจะทำการปรับปรุงในระยะที่๒ ล่าสุดนี้ ทำให้สามารถที่จะปฏิบัติการต่อไปได้ไม่ต่ำกว่า ๑๐ปีข้างหน้า(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/blog-post.html)
เครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H ที่เครื่องแรกเข้าประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๓(1980) ที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยเพื่อรองรับการปฏิบัติงานในยุคปัจจุบันและยืดอายุการใช้งานออกไป ตามที่กองทัพอากาศไทยยังไม่ได้เริ่มต้นโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่ทดแทนในเร็วๆนี้ครับ
Royal Thai Air Force held commissioning ceremony for its twelve T-6TH (Beachcraft T-6C Texan II) trainer aircrafts at RTAF Flying Training School Kamphaeng Saen in Nakhon Pathom Province, Thailand on 22 August 2023. (Royal Thai Air Force)
RTAF commissions 12 T-6C trainers
The Royal Thai Air Force's new Beechcraft T-6C Texan II aircraft will be used to train student pilots for fighter and attack aircraft.
พิธีบรรจุเครื่องบินฝึกแบบที่ ๒๒ ( T-6C ) และเปิดอาคารเครื่องฝึกบินจำลอง
วันอังคารที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๒๐ น. พลอากาศเอก อลงกรณ์ วัณณรถ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธาน พิธีบรรจุเครื่องบินฝึกแบบที่ ๒๒ ( T-6C ) จำนวน ๑๒ เครื่อง
เข้าประจำการเพื่อปฏิบัติภารกิจการฝึกศิษย์การบินชั้นมัธยม ฝูงฝึกขั้นปลาย กองฝึกการบิน โรงเรียนการบิน โดยใช้เป็นเครื่องบินฝึกทดแทน เครื่องบินฝึกแบบที่ ๑๙ และเปิดอาคารเครื่องฝึกบินจำลอง
ในการนี้ มีผู้แทนเอกอัครราชทูต สหรัฐอเมริการประจำประเทศไทย คณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีฯ โดยมี พลอากาศตรี พิทูร เจริญยิ่ง ผู้บัญชาการโรงเรียนการบิน ให้การต้อนรับ ณ บริเวณลานจอดเฉลิมอากาศ โรงเรียนการบิน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
กองทัพอากาศไทยได้ทำพิธีบรรจุเครื่องบินฝึกแบบที่๒๒ บ.ฝ.๒๒ Beechcraft T-6TH(T-6C) Texan II จำนวน ๑๒เครื่อง เข้าประจำการ ณ ฝูงฝึกขั้นปลาย กองฝึกการบิน โรงเรียนการบิน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๖ พร้อมพิธีเปิดอาคารฝึกบินจำลองใหม่
เป็นเหตุการณ์สำคัญของโครงการจัดหาเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH ๑๒เครื่อง วงเงิน ๕,๑๙๔,๙๙๔,๒๑๖.๔๐บาท($162 million) พร้อมการถ่ายทอดวิทยาการในปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ซึ่งจะแทนที่เครื่องบินฝึกแบบที่๑๙ บ.ฝ.๑๙ Pilatus PC-9 Mustang ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๔(1991)
โดยเครื่องบินฝึกแบบที่๑๙ บ.ฝ.๑๙ PC-9 จะปลดประจำการลงทั้งหมดระหว่างปี พ.ศ.๒๕๖๔-๒๕๖๖(2021-2023) นี้ บ.ฝ.๒๒ T-6TH ยังมีพื้นฐานร่วมกับเครื่องบินโจมตีและฝึกแบบที่๒๒ บ.จฝ.๒๒ Beechcraft AT-6TH Wolverine จำนวน ๘เครื่อง ที่จะเข้าประจำการใน พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ด้วยครับ
40th Anniversary of Royal Thai Air Force and Republic of Singapore Air Force Air Combined Exercise (ACE) 1983-2023 at Wing 1 Korat RTAF base, Thailand on 17 August 2023
flypast comprising RTAF Northrop F-5E/F TH Super Tigris of 211th Squadron Wing 21 Ubon Ratchathani, Lockheed Matin F-16AM/BM EMLU of 403rd Squadron of Wing 4 Takhli and Saab Gripen C/D of 701st Squadron Wing 7 Surat Thani. (Royal Thai Air Force)
The F/A-18F Super Hornet aircrafts from No.1 Squadron prior to departing on a sortie during Exercise Thai Boomerang 23 at Korat Royal Thai Air Force Base, Thailand. (Commonwealth of Australia)
A Royal Australian Air Force F/A-18F Super Hornet aircraft from No.1 Squadron, conducting a practice arrested landing during Exercise Thai Boomerang 23 at the Korat Royal Thai Air Force Base, Thailand. (Commonwealth of Australia)
The Exercise THAI BOOMERANG 2023 between Royal Thai Air Force and Royal Australian Air Force (RAAF) at Wing 1 Korat in Thailand on 20-31 August 2023 involved
RTAF 4 F-16A/B Block 15 ADF of 103rd Squadron Wing 1, 4 F-16AM/BM EMLU of 403rd Squadron Wing 4 Takhli and 4 Saab Gripen C/D of 701st Squadron Wing 7 Surat Thani;
and RAAF 6 F/A-18F Super Hornet of No. 1 Squadron from RAAF Base Amberley.
On this week in history, we celebrate Airborne Day, commemorating the establishment of the first Airborne unit Aug. 16, 1940.
Though the technology to support Airborne operations has evolved over the years, the key requirements remain the same a highly trained group of individuals, under canopy, landing with purpose and effect.
On Aug. 17, 2023, U.S. Special Operations Command-Korea personnel conducted static-line and free-fall jumps with their counterparts from the Republic of Korea’s Special Warfare Command, United Nations Command, as well as senior SOF representatives from Thailand and the Philippines.
SOCKOR contributes to a free and open Indo-Pacific region through regular engagement. Additionally, we continue to demonstrate our ironclad commitment to the 70 year ROK-U.S. Alliance and interoperability through consistent and realistic training.
The Royal Thai Army (RTA) and the Australian Army concluded the combined exercise Chapel Gold 2023 with held closing ceremony at Ban Tham Thong School, Pathio District, Chumphon Province, Thailand on 13 August 2023. (Royal Thai Army)
วันที่ 13 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00 น.
พลตรี วรเดช เดชรักษา ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 ร่วมพิธีปิดการฝึกผสม ทบ.ไทย - ทบ.ออสเตรเลีย ประจำปี 2566 รหัส Chapel Gold 2023 โดยเป็นการฝึกตามโครงการฝึกผสมระหว่างกองทัพบกไทย กับกองทัพมิตรประเทศ
เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ และเพิ่มพูนทักษะในการปฏิบัติการทางทหารร่วมกัน แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การฝึกทางทหารตามหลักนิยมของทั้ง สองประเทศ รวมถึงเพื่อกระชับความสัมพันธ์และเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านความมั่นคงระหว่างกองทัพบกไทยและกองทัพบกออสเตรเลีย
โดยมี พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 และ พลตรี สก๊อต วินเทอ ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ออสเตรเลีย ร่วมเป็นประธานในพิธี ณ สนามโรงเรียนบ้านถ้ำธง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
The Royal Thai Army (RTA) and the Malaysian Army concluded the exercise LAND EX THAMAL 26/2023 with held closing ceremony at Maha Chakri Sirindhorn Camp, Na Thawi District, Songkhla Province, Thailand on 14 August 2023. (Royal Thai Army)
วันที่ 14 สิงหาคม 2566 เวลา 08.00 น.
พลตรี วรเดช เดชรักษา ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 ร่วมพิธีปิดการฝึกผสมทางบกไทย - มาเลเซีย ภายใต้รหัส LAND EX THAMAL ครั้งที่ 26/2023 โดยมี พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 ประธานคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (กชภ.) ฝ่ายไทย เป็นประธานร่วมกับ
พลโท ดาโต๊ะ เต็งกู มูฮัมหมัด เฟาซี บินเต็งกู อิบราฮิม ผู้บัญชาการกองกำลัง (กองทัพบกสนาม) ภาคตะวันตกมาเลเซีย ในการฝึกผสมระหว่างกองทัพบกไทย - กองทัพบกมาเลเซีย LAND EX THAMAL เป็นการฝึกเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถ
ในการดูแลความมั่นคงตลอดแนวชายแดนไทย - มาเลเซีย ให้พร้อมที่จะร่วมกันปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายในทุกรูปแบบตามแนวชายแดน เพื่อให้เป็นไปตามยุทธวิธีและหลักนิยมของทั้งสองประเทศ
รวมถึงเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ณ ค่ายมหาจักรีสิรินธร อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
Royal Thai Army's 4th Special Forces Regiment, 1st Special Forces Division, Special Warfare Center (SWC) and People's Liberation Army (PLA) Special Forces coducted exercise STRIKE 2023 during 18 August to 2 September 2023. (SMART Soldiers Strong ARMY)
การฝึก Strike 2023 ในวันนี้ สนามฝึกยุทธวิธีที่กรมรบพิเศษที่ 4 ก็จะคึกคักกันมากกว่าปกติหน่อย เพราะมีแขกรับเชิญพิเศษเดินทางมาเข้าร่วมแจมการฝึก และยังมาเป็นวิทยากรสอนศิลปะแม่ไม้มวยไทยให้กับทหารจีนเพื่อสานสัมพันธ์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่าง 2 ประเทศด้วย
งานนี้ได้ทั้งมิตรภาพและแจกลายเซ็นกันไปเต็มที่ครับ Banchamek Gym (Buakaw Banchamek, บัวขาว บัญชาเมฆ)
Royal Thai Army, US Soldiers Participate in Historic All-Female Airborne Course
By Master Sgt. Theanne Tangen, U.S. Special Operations Command Pacific LOP BURI, Thailand –
The Royal Thai Army invited U.S. Soldiers to participate in their first all-female Basic Airborne Course conducted by the Special Warfare School at Camp Erawan, Lop Buri, Thailand, July 18 – Aug. 9.
Visit Broad Search and Seizure (VBSS) for anti- Weapon s Of Mass Destruction (WMD) during exercise South-EAST Asia Cooperation And Training 2023 (SEACAT 2023) with Information Fusion Center (IFC) in Singaopre
involved Royal Thai Navy's Naval Special Warfare Command (NSWC) RTN SEALs with FFG-458 HTMS Saiburi under Thailand Maritime Enforcement Command Center (TMECC) and US Navy SEAL operators at Andaman sea on 21-25 August 2023. (TMECC)
ศรชล.ภาค 3 ปฏิบัติการ VBSS เรือต้องสงสัยกระทำความผิด (ฝึก ฝึก ฝึก)
21-25 ส.ค.66 ศรชล.ภาค 3 ฝึกปฏิบัติการ VBSS กับเรือต้องสงสัยบรรทุกอาวุธที่มีพลังอำนาจการทำลายล้างสูง (WMD) และเรือต้องสงสัยลำเลียงบุคคลต่างชาติลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ในการฝึก SEACAT 2023 ในพื้นที่ทางทะเลฝั่งอันดามัน ในปีนี้ได้สถาปนากองอำนวยการฝึก SEACAT 2023 ขึ้น ณ IFC ประเทศสิงคโปร์
การฝึก SEACAT 2023 คือการฝึกผสมทางเรือในลักษณะพหุภาคีระหว่างประเทศของหน่วยงานรักษากฎหมายทางทะเลนานาชาติ ประจำปี 2023 โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการจากกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาเป็น Trainer
มีประเทศที่เข้าร่วมการฝึกได้แก่ ประเทศไทย ออสเตรเลีย บังคลาเทศ บรูไน แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมัน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย มัลดีฟส์ นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ศรีลังกา สหราชอาณาจักร และ เวียดนาม
มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อสร้างความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาค และป้องกันการกระทำผิดกฎหมายในทะเล เช่น การกระทำอันเป็นโจรสลัด การลักลอบค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ การลำเลียงสินค้า 2 วัตถุประสงค์ ฯลฯ
ซึ่ง ศรชล. ได้เข้าร่วมการฝึก SEACAT ตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา โดยการฝึกครั้งนี้มุ้งเน้นในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. การตรวจสอบและเตรียมความพร้อมด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ ที่ใช้ในการปฏิบัติการ
2. การทบทวนความรู้ ทบทวนยุทธวิธี ทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติ ให้กับเจ้าหน้าที่
3. ทดสอบระบบการสื่อสารระหว่างประเทศ ทดสอบการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศ
4. การเตรียมความพร้อมร่างกายของเจ้าหน้าที่
5. การฝึกปฏิบัติจริงในหัวข้อ VBSS
ตั้งแต่ห้วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ๒๕๖๖ กองทัพไทยมีการฝึกร่วมกับนานาชาติหลายการฝึกอย่างมากเช่นการฝึกผสม Panther Gold 2023 กองทัพบกไทยและกองทัพบกสหราชอาณาจักร, การฝึกผสมทางอากาศ FALCON STRIKE 2023 กองทัพอากาศไทย-กองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน
การฝึกผสม Chapel Gold 2023 กองทัพบกไทยและกองทัพบกออสเตรเลีย, การฝึกผสม LAND EX THAMAL 2023 กองทัพบกไทยและกองทัพบกมาเลเซีย, การฝึกผสมStrike 2023 องทัพบกไทย-กองทัพบกปลดปล่อยประชาชนจีน, การฝึกผสม Thai Boomerang 2023 กองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศออสเตรเลีย
การฝึก SEACAT 2023 ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ศรชล.สนับสนุนโดยกองทัพเรือไทยร่วมกับสหรัฐฯ ออสเตรเลีย บังคลาเทศ บรูไน แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมัน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย มัลดีฟส์ นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐเกาหลี สิงคโปร์ ศรีลังกา สหราชอาณาจักร และเวียดนาม และหลักสูตรส่งทางอากาศรุ่นที่๓๔๕ กองทัพบกไทย ที่เป็นนักโดดร่มหญิงล้วนรุ่นแรกกับหน่วยรบพิเศษหญิงกองทัพบกสหรัฐฯ
เดือนกันยายน ๒๕๖๖ ที่จะถึงนี้จะมีการฝึก Balance/Teak Torch 2023-2 ระหว่างกองทัพอากาศไทยกับ Air Natinal Guard กองทัพอากาศสหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2023/07/f-15c.html) กับการฝึก Blue Strike 2023 กองทัพเรือไทย-กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนอีก
จะเห็นได้ว่ากองทัพไทยทั้งสามเหล่าในช่วงเดือนที่ผ่านมาฝึกกับมิตรประเทศเยอะมาก และเป็นมิตรประเทศที่ต่างขั้วกันกันด้วยทั้งกลุ่มชาติตะวันตกทั้งสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ประเทศเป็นกลางเช่นอินเดีย และชาติคู่แข่งโลกเสรีตะวันตกเช่นจีน
ในทางการศึกษาของต่างประเทศจะมองว่าไทยเป็นตัวอย่างที่ดีว่าสามารถเลือกวางตัวอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ถูกต้อง แต่ในกลับกันการไม่ได้เลือกอยู่ฝ่ายใดอย่างเต็มตัวเวลาที่ไทยมีปัญหาก็ไม่มีใครมาช่วยอย่างเต็มที่เช่นกัน การตัดสินใจด้านนโยบายต่างประเทศของไทยหลังจากนี้จะมีผลอย่างมากครับ