วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

กองทัพเรืออินเดียรายงานปัญหาเรือบรรทุกเครื่องบิน Vikramaditya และเครื่องบินขับไล่ MiG-29K ที่จัดหาจากรัสเซีย

Indian Navy reports problems with Russian carrier, aircraft
The Indian Navy maintains that the MiG-29Ks it has received from Russia have been delivered in a substandard configuration. Source: Indian Navy
http://www.janes.com/article/62063/indian-navy-reports-problems-with-russian-carrier-aircraft

แหล่งข่าวอินเดียได้ให้ข้อมูลกับ Jane's ว่า กองทัพเรืออินเดียประสบปัญหาจำนวนมากกับเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน MiG-29K/MiG-29KUB
เช่นเดียวกับเรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikramaditya ที่เข้าประจำการในกองทัพเรืออินเดียตั้งแต่ปี 2013 หรือเดิมคือเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Gorshkov ซึ่งทั้งหมดจัดหาจากรัสเซีย

ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับเครื่องบินขับไล่ MiG-29K รุ่นที่นั่งเดี่ยว และ MiG-29KUB รุ่นฝึกสองที่นั่ง โดยทั่วไปนั้นเกิดจากการที่บริษัท RKS-MiG รัสเซียไร้ความสามารถในการส่งมอบอากาศยานที่สมบูรณ์โดยมีคุณสมบัติตรงตามสัญญาในเอกสารที่ทั้งสองประเทศลงนามไว้
ผู้เชี่ยวชาญชาวอินเดียซึ่งเคยเยี่ยมชมการทดสอบที่ฐานทัพเรือ Goa ซึ่งเป็นที่ตั้งสถานีอากาศนาวี INS Hansa ฐานบินฝึกทดสอบของเครื่องได้รายงานว่า MiG-29K ที่ส่งมอบให้กองทัพเรืออินเดียนั้นมีคุณลักษณะที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
"เป็นอย่างแท้จริงว่าเครื่องได้รับการปรับปรุงและนำมาดูแลให้เป็นตามคุณสมบัติขณะที่อยู่ในเส้นทางการบิน" ผู้เชี่ยวชาญที่เคยเยี่ยมชมฐานทัพเรือ Goa กล่าว

เครื่องบินขับไล่ MiG-29K ของกองทัพเรืออินเดียนั้นแตกต่างจากเครื่องบินขับไล่ MiG-29KR ที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับกองทัพเรือรัสเซีย(VMF)เพื่อปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov ที่ได้รับการปรับปรุงเรือใหม่แล้ว
โดย MiG-29K ได้ถูกรวมอยู่ในกฎหมายการคว่ำบาตของรัฐบาลยูเครนที่ห้ามการส่งออกชิ้นส่วนทางทหารต่อรัสเซีย เช่นเดียวกับที่สหภาพยุโรปและสหรัฐฯที่ระงับการส่งออกส่วนประกอบทางทหารของตะวันตกต่อรัสเซีย
การหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวทำให้ส่วนประกอบที่มาจากยูเครนหรือของตะวันตกสำหรับ MiG-29K นั่น ถูกนำเข้าโดยอินเดียโดยตรงและนำมาบูรณาการติดตั้งกับเครื่องที่ฐานทัพเรือ Goa

เรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikramaditya ของกองทัพเรืออินเดียนั้น เป็นการดัดแปลงเรือลาดตระเวนบรรทุกเครื่องบินชั้น Kiev ซึ่งเดิมปฏิบัติการด้วยอากาศขึ้นลงทางดิ่งเช่นเฮลิคอปเตอร์และเครื่องบินขับไล่ขึ้นลงทางดิ่ง Yak-38
ให้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน STOBAR(Short Take-Off But Arrested Recovery) เช่นเดียวกับเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov ซึ่งดำเนินการโดยอู่ต่อเรือ Sevmash รัสเซีย ซึ่งเรือมีข้อบกพร่องที่ยังไม่ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการปฏิบัติการของเรือบรรทุกเครื่องบินเต็มที่
"หนึ่งในอุปกรณ์ที่ขาดคือแท่นกั้นการลงจอดฉุกเฉินที่เหมาะสมที่นอกเหนือจากการลงจอดตามปกติของเรือ" ผู้เชี่ยวชาญชาวอินเดียรายหนึ่งกล่าวครับ