วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

Leonardo อิตาลีเปิดตัวเครื่องบินฝึกไอพ่น M-346FT รุ่นติดอาวุธ และ T-100 สำหรับกองทัพอากาศสหรัฐฯ

Farnborough 2016: Leonardo unveils armed M-346 FT aircraft
Leonardo debuted their armed M346 FT trainer/strike aircraft at Farnborough 2016. Source: Luca Peruzzi
http://www.janes.com/article/62231/farnborough-2016-leonardo-unveils-armed-m-346-ft-aircraft

บริษัท Leonardo อิตาลี(Finmeccanica เดิม)ได้เปิดตัวเครื่องบินฝึกไอพ่น M-346 รุ่นติดอาวุธในงานแสดงอากาศยานนานาชาติ Farnborough 2016 ที่ Hampshire สหราชอาณาจักร
เครื่องบินขับไล่ฝึกไอพ่น M-346FT(Fighter Trainer) นี้มีขีดความสามารถทวิประสงค์ทั้งการปฏิบัติการรบและการฝึก ทาง Leonardo กล่าวว่าเครื่องบินรุ่นนี้ซึ่งมีพื้นฐานจาก M-346 จะมีราคาถูกพร้อมผลิตส่งมอบได้ภายในสองปีข้างหน้า
โดยเครื่องบินฝึกขั้นก้าวหน้า M-346 (LIFT: lead-in fighter/trainer)มีการสั่งจัดหาจากประเทศต่างๆแล้ว 68เครื่อง ทั้งอิตาลี, สิงคโปร์, อิสราเอล และโปแลนด์ โดยมีการส่งมอบแล้ว 48เครื่อง

"เครื่องรุ่นใหม่นี้ถูกสร้างขึ้นโดยนำข้อได้เปรียบของโอกาสในตลาดเพิ่มเติม ด้วยการเสนอกรอบระยะเวลาสองปีจากตอนนี้ในแนวทางการผลิตเครื่องที่มีขีดความสามารถปฏิบัติการรบ เช่นเดียวกับ M-346AJT(Advanced Jet Trainer) ที่ระบบผ่านการรับรองแล้ว"
Filippo Bagnato หัวหน้าแผนกอากาศยานของบริษัท Leonardo(Alenia Aermacchi เดิมซึ่งถูกรวมเป็นแผนกอากาศยานแล้ว) กล่าวด้วยความคาดหวัง
อย่างไรก็ตามทาง Leonardo จะยังทำการตลาดทั้งรุ่นเครื่องบินฝึกไอพ่น M-346AJT และเครื่องบินขับไล่ฝึก M-346FT เช่นเดียวกับที่เสนอการปรับปรุงขีดความสามารถทวิประสงค์ของเครื่องรุ่น M-346FT ให้กับเครื่องรุ่น M-346AJT ที่มีอยู่และที่จะขายเพิ่มในอนาคตด้วย
"เครื่องรุ่น M-346FT มีขีดความสามารถที่ทำได้ทั้งการฝึกและปฏิบัติการรบ ในพื้นฐานทางเลือกที่มีราคาต่ำบนระบบเดียวกัน ทั้งโครงการอากาศยาน, ระบบ Avionic, ระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ และตำบลอาวุธใต้ปีกและใต้ลำตัวเช่นเดียวกับเครื่องรุ่น AJT"
Enrico Scarabotto หัวหน้านักบินทดสอบของแผนกอากาศยานบริษัท Leonardo กล่าว

Leonardo ได้ระบุภารกิจหลักสามประเภทที่เครื่องบินขับไล่ฝึก M-346FT จะถูกนำมาใช้ปฏิบัติการได้คือ การสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิดในเขตเมืองและสนามรบ, การรักษาความมั่นคงภายใน และการลาดตระเวนทางยุทธวิธี
"ในการขยายระยะปฏิบัติการเพิ่มเติมเครื่องสามารถบรรทุกอาวุธหรืออุปกรณ์ที่ตำบลอาวุธภายนอกลำตัว 5ตำแหน่งเช่นเดียวกับเครื่องรุ่น AJT
M-346 สามารถติดตั้งระบบเครื่องข่าย Datalink ทางยุทธวิธีเช่น Link 16 เช่นเดียวกับระบบย่อยช่วยเหลือป้องกันเพื่อเพิ่มการหยั่งรู้สถานการณ์และการป้องกันตนเอง เช่นเดียวกับระบบวิทยุเข้ารหัสหลายความถี่สำหรับกลุ่มเครือข่าย
M-346FT จะไม่มีระบบ Radar แต่ Leonardo ได้ศึกษาการประยุกต์เพื่อนำใช้กับเครื่องแล้ว ถ้าลูกค้าต้องการ" Lucio Valerio Cioffi หัวหน้าฝ่ายวิศวกรแผนกอากาศยานของบริษัท Leonardo กล่าวครับ

Farnborough 2016: T-X bids take shape, in the open and behind closed doors
The M-346-based T-100, which the team led by Raytheon is bidding for the US Air Force's T-X future trainer requirement, was the only T-X contender on the official briefing schedule at this year's Farnborough. Source: IHS/Peter Felstead
http://www.janes.com/article/62308/farnborough-2016-t-x-bids-take-shape-in-the-open-and-behind-closed-doors

ในงานแสดงอากาศยานนานาชาติ Farnborough 2016 เช่นกัน Leonardo ยังได้เปิดตัวเครื่องบินฝึกไอพ่น T-100 สำหรับเข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น T-X ของกองทัพอากาศสหรัฐฯเพื่อทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่น T-38 Talon ที่ใช้งานมานานหลายสิบปีด้วย
โดยบริษัท Leonardo อิตาลี และบริษัท Raytheon สหรัฐฯได้ร่วมเป็นหุ้นส่วนในการนำเสนอเครื่องบินฝึกไอพ่น T-100 ซึ่งพัฒนามาจากเครื่องบินฝึกไอพ่น M-346 Advanced Jet Trainer
ยังมี CAE ร่วมทีมกับ Raytheon ในการเสนอระบบเครื่องฝึกจำลองการบินภาคพื้นดิน และบริษัท Honeywell Aerospace ผู้ผลิตเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ F124 สองเครื่องที่ติดตั้งกับ T-100 ด้วย(เช่นเดียวกับที่ติดตั้งกับ M-346 ที่เป็นแบบพื้นฐาน)

แม้ว่า T-100 จะไม่ใช้เครื่องบินที่ทำความเร็วเหนือเสียงได้ แต่ทาง Raytheon เชื่อว่ามันจะมีคุณลักษณะทางประสิทธิภาพที่สำคัญ(KPP: Key Performance Parameter) เช่นที่กองทัพอากาศสหรัฐระบุไว้
โดย KPP ได้ระบุความต้องการความคล่องแคล่วทางการบินในมุมปะทะสูงซึ่งรวมถึงการรับแรง G ได้ต่ำสุด 6.5G อีกทั้งกองทัพอากาศสหรัฐฯยังต้องการเครื่องที่มีระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ(AAR: Air to Air Refuelling)แบบ Boom ซึ่งนั่นหมายความว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนจาก M-346 ที่ใช้ระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบ Probe and Drogue

ในการบรรยายสรุปแก่สื่อมวลชนในงาน Farnborough 2016 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา Dan Darnell รองประธานฝ่ายความริเริ่มทางยุทธศาสตร์ในแผนกธุรกิจระบบทางอวกาศและอากาศยานของ Raytheon กล่าวว่า
สำหรับโครงการ T-X บริษัทมีข้อเสนอ "ทางเลือกแบบบูรรณาการครบวงจรที่สามารถนำศิษย์การบินผ่านทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอากาศได้"
หลักสำคัญของระบบบูรณาการดังกล่าวของ Raytheon คือระบบการฝึก Blended Live Virtual Constructive(BLVC) ที่เป็นการอำนวยการรวมทั้งการฝึกบินจริงและการฝึกบินจำลอง
ที่จะทำให้ในแต่ละเที่ยวบินฝึกนั้น ศิษย์การบินที่ทำการบินในเครื่องจริงจะได้เห็นและมีปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงกับศิษย์การบินคนอื่นๆที่ทำการฝึกบินกับเครื่องจำลองการบินด้วย

ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนธันวาคมปี 2015 บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ และบริษัท Korea Aerospace Industries สาธารณรัฐเกาหลีก็ได้เปิดตัวเครื่องบินฝึกไอพ่น T-50A สำหรับเข้าแข่งขันในโครงการ T-X ของกองทัพอากาศสหรัฐฯเช่นกัน โดย T-50A ได้ทำการบินทดสอบเที่ยวแรกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ที่ผ่านมา
ทำให้ขณะนี้ผู้เข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น T-X ที่คาดว่าจะเปิดการยื่นเอกสารขอข้อเสนอ(RFP: Request for Proposals) ภายในสิ้นปีนี้นั้น มีผู้เข้าแข่งขันที่มีเครื่องต้นแบบจริงแล้วสองรายคือ Lockheed Martin T-50A และ Raytheon T-100 ครับ