Russia’s Defense Ministry Discussing Development of VTOL Plane for Aircraft Carrier
A Yak-141 aboard a Soviet Kiev-class aircraft carrier
A Yak-141 in hover mode
http://navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/2017/july-2017-navy-naval-forces-defense-industry-technology-maritime-security-global-news/5406-russia-s-defense-ministry-discussing-development-of-vtol-plane-for-aircraft-carrier.html
กระทรวงกลาโหมรัสเซียขณะนี้กำลังพูดคุยกับกลุ่มผู้ผลิตอากาศยานของรัสเซียในการหารือการพัฒนาอากาศยานขึ้นลงทางดิ่ง(VTOL: Vertical Take-Off and Landing) ที่มีแววว่าจะนำมาใช้กับเรือบรรทุกเครื่องบินใหม่ของกองทัพเรือรัสเซียในอนาคต
ตามที่รองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย Yuri Borisov กล่าวในงานแสดงการบิน MAKS 2017 ที่สนามบินนานาชาติ Zhukovsky นครหลวง Moscow รัสเซียระหว่างวันที่ 18-23 กรกฎาคม โดยเสริมว่า เครื่องบินขับไล่ใหม่จะเป็นการสืบทอดจากอากาศยานขึ้นลงทางดิ่งที่ผลิตโดย Yakolev
"กระทรวงกลาโหมกำลังวางแผนที่จะเริ่มการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินขั้นก้าวหน้าในอนาคตระยะไกลที่ขั้นสุดท้ายของโครงการยุทโธปกรณ์รัฐ 2018-2025 แน่นอนการผลิตอากาศยานยุคใหม่จะเริ่มขึ้นในเวลานั้น
ทุกวันนี้เครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-33(NATO กำหนดรหัส Flanker-D) และ Mikoyan MiG-29K(NATO กำหนดรหัส Fulcrum-D) เป็นอากาศยานพื้นฐานประจำเรือบรรทุกเครื่องบินโดยเฉพาะ Admiral Kuznetsov" รองรัฐมนตรีกลาโหม Borisov กล่าวในงาน
"กระทรวงกลาโหมกำลังวางแผนที่จะพัฒนาที่มีแววการลดการบินขึ้นและลงจอดหรืออาจจะอากาศยานขึ้นลงทางดิ่ง และเรากำลังหารรือประเด็นนี้กับกลุ่มผู้ผลิตอากาศยาน
อากาศยานจะเป็นการสืบทอดจากอากาศยานขึ้นลงทางดิ่งที่ถูกพัฒนาโดยสำนักออกแบบ Yakolev ซึ่งไม่มีการผลิตอีกต่อไปแล้ว มันมีแผนดังกล่าวและเรากำลังหารือกับพวกเขา รากฐานที่วางไว้อาจจะถูกนำมาใช้กับอากาศยานใหม่สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบิน" เขากล่าว
ในอดีตสำนักออกแบบ Yakolev ได้พัฒนาเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่งหลายแบบเช่น เครื่องบินขับไล่ Yak-38(NATO กำหนดรหัส Forger) และเครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์ความเร็วเหนือเสียง Yak-141(NATO กำหนดรหัส Freestyle) ตั้งแต่กลางปี 1970s โดยทำการบินครั้งแรกในปี 1987
เดิม Yak-141 ถูกวางแผนให้เป็นส่วนหนึ่งของอากาศยานประจำเรือรัสเซีย เช่น เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Kiev ที่ปลดประจำการไปแล้วคือ Kiev, Minsk, Novorossiysk, Baku(หรือต่อมาชื่อ Admiral Gorshkov ที่ปรับปรุงใหม่ขายให้กองทัพเรืออินเดียคือ INS Vikramaditya)
และรวมถึงเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Tbilisi(ปัจจุบันคือเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov) และ Riga (ต่อมาชื่อ Varyag ยูเครนขายต่อให้จีนปรับปรุงใหม่เป็น Type 001 CV-16 Liaoning) และเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Ulyanovsk ที่ยกเลิกโครงการไปในปี 1992
เครื่องบินขับไล่ Yak-141 ทดสอบลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Gorshkov ครั้งแรกในปี 1991 โดยมีเครื่องต้นแบบที่สร้างมา 4เครื่อง อย่างไรก็ตามหลังสหภาพโซเวียตล่มสลายโครงการ Yak-141 ถูกระงับมาตั้งแต่ปี 1990s และถูกยกเลิกโดยสมบูรณ์ในปี 2003
เมื่อปี 2016 ศูนย์วิจัยแห่งรัฐ Krylov ได้เสร็จสิ้นการออกแบบแนวคิดแบบเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Project 23000 Shtorm มีระวางขับน้ำ 95,000tons ยาว 330m บรรทุกอากาศยานได้ 65เครื่อง อาจจะใช้ระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์นิวเคลียร์ ทำความเร็วได้ 30knots กำลังพลราว 1,000นาย
เรือบรรทุกเครื่องบิน Project 23000 Shtorm จะถูกนำมาใช้เป็นฐานปฏิบัติการอากาศยานในมหาสมุทรสำหรับการโจมตีเป้าหมายทางทะเลและบนบก ป้องกันภัยทางอากาศ และสนับสนุนปฏิบัติการยกพลขึ้นบก เพื่อการรักษาความมั่นคงของรัสเซียและมิตรประเทศ
อย่างไรก็ตาม Yakolev ในปัจจุบันนั้นมีผลงานพัฒนาออกแบบอากาศยานหลักคือเครื่องบินฝึกไอพ่น Yak-130(NATO กำหนดรหัส Mitten) และเครื่องบินฝึกใบพัด Yak-152 ที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาและทดสอบ โดยไม่มีการพัฒนาและผลิตเครื่องบินรบไอพ่นขึ้นลงทางดิ่งแล้ว
การศึกษาพัฒนาอากาศยานขึ้นลงทางดิ่งใหม่นั้นอาจจะต้องใช้เวลาอีกนานเนื่องจากอาจจะต้องเริ่มออกแบบระบบกันใหม่ตั้งแต่ต้น ซึ่งผู้ผลิตอากาศยานรายอื่นในเครืออุตสาหกรรมอากาศยาน United Aircraft Corporation(UAC) นอกจาก Yakolev ก็ไม่มีบริษัทใดที่มีความชำนาญด้านนี้ครับ