วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2560

กองทัพอากาศไทยจะทำการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-5 Super Tigris

Thailand to upgrade F-5 fighter aircraft


The Thai government has cleared a project to upgrade the Royal Thai Air Force’s (RTAF’s) ageing Northrop F-5E Tiger II fighter aircraft, it has been confirmed to Jane’s
(Photos: F-5E Tigris and F-5F Tigris 211st Fighter Squadron Wing 21 with Python-4 Air-to-Air Missile and DASH III Helmet)
http://www.janes.com/article/72841/thailand-to-upgrade-f-5-fighter-aircraft

คณะรัฐมนตรีรัฐบาลไทยได้เห็นชอบการอนุมัติโครงการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ ข/ค Northrop F-5E Tiger II กองทัพอากาศไทย(Royal Thai Air Force) ซึ่งมีอายุการใช้งานมานานได้รับการยืนยันกับ Jane's
โครงการปรับปรุงโครงสร้างอากาศยาน และระบบ Avionic รวมทั้งระบบอาวุธจำนวน ๕รายการ ของเครื่องบินขับไล่ F-5E/F ระยะที่๒ ๔เครื่อง วงเงิน ๓,๒๖๓ล้านบาท($96 million) ได้ถูกส่งเข้าวาระที่ประชุม ครม.โดยกระทรวงกลาโหมเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ที่ผ่านมา
โดยเป็นโครงการต่อเนื่องจากการปรับปรุงโครงสร้างอากาศยาน และระบบ Avionic ของ F-5E/F ระยะที่๑ จำนวน ๑๐เครื่อง วงเงิน ๒,๐๕๐ล้านบาท($62 million) ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) รวมวงเงินทั้งโครงการประมาณ ๕,๓๑๓ล้านบาท($160 million)

โครงการปรับปรุงสมรรถนะเป็นรุ่นเครื่องบินขับไล่ F-5E/F Super Tigris ทั้ง 14 เครื่องของ ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี คาดว่าจะดำเนินการโดยบริษัท อุตสาหกรรมการบิน Thai Aviation Industries(TAI) ของไทย
ร่วมกับการจัดหาอุปกรณ์พร้อมการถ่ายทอด Technology ตามความต้องการจากบริษัทของอิสราเอล ทั้ง Rafael Advanced Defense Systems และ Elbit Systems ซึ่งมีประสบการณ์ในการปรับปรุงโครงการ F-5E/F Tigris ฝูงบิน๒๑๑ มาก่อนแล้วในปี พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๔๖(2002-2003)
ภายใต้โครงการปรับปรุงระยะที่๒ F-5E/F ๔เครื่องจะได้รับการปรับปรุงใหม่เต็มรูปแบบ ขณะที่ ๑๐เครื่องที่ได้รับการเตรียมปรับปรุงล่วงหน้า(Pre-Mod) ไปแล้วจะมีการดำเนินการปรับปรุงเพิ่มเติมโดยเน้นไปที่การปรับปรุงติดตั้ง Radar แบบใหม่

การปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-5 Super Tigris นอกจากการยืดอายุโครงสร้างอากาศยานอีก ๒,๔๐๐ชั่วโมงบิน จากเดิม ๗,๒๐๐ชั่วโมงบินเป็น ๙,๖๐๐ชั่วโมงบิน ซึ่งจะทำให้สามารถประจำการได้ต่อไปอีกไม่ต่ำกว่า ๑๕ปีแล้วยังรวมการปรับปรุงอื่นๆ
ทั้งห้องนักบินที่ติดตั้ง Head Up Display(HUD), Up Front Control Panel(UFCP) และจอแสดงผลสี Multi Function Color Display(MFCD) แทนระบบ HUD/WAC(Head Up Display/Weapons Aiming Computer) ที่ใช้มาตั้งแต่การปรับปรุงครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๓๐-๒๕๓๑(1987-1988)
กับระบบ Avionic ใหม่ทั้ง Mission Computer(MC) ใหม่, เครื่องรับ-ส่งวิทยุที่มีระบบป้องกันการก่อกวน Electronic(ECCM: Electronic Counter-Countermeasures) แบบ AN/ARC-164 HAVE QUICK II, ระบบบันทึกภาพ-เสียง Digital Video and Data Recorder(DVDR) และระบบไฟฟ้าและระบบ Environment Control System(ECS)

F-5 Super Tigris จะได้รับการติดตั้ง Radar ใหม่ซึ่งสามารถตรวจจับเป้าหมายได้ไกลขึ้น เช่น เครื่องบินขับไล่ในระยะ 40-50nmi สามารถสร้างภาพแผนที่ Synthetic Aperture Radar(SAR) ได้และรองรับการใช้งานระบบอาวุธแบบใหม่(คาดว่าเป็น Elta EL/M-2032)
ระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี(TDL: Tactical Data Link) แบบ Link -T ที่กองทัพอากาศไทยพัฒนาเอง ระบบ Embedded GPS/INS แบบ Fiber Optic Gyro พร้อมสายอากาศ GPS เพื่อความแม่นยำในการเดินอากาศ
ระบบสงคราม Electronic ทั้งระบบแจ้งเตือนการถูกตรวจจับด้วย Radar (RWR: Radar Warning Receiver) และระบบเป้าลวง Countermeasure Dispenser System(CMDS) รวมถึงกระเปาะสงคราม Electronic(คาดว่าเป็น Rafael SKY SHIELD)

F-5 Super Tigris ยังจะสามารถติดตั้งกระเป้านำร่องชี้เป้ารุ่นใหม่ที่มีประจำการในกองทัพอากาศไทยแล้วได้(น่าจะเป็น Rafael LITENING III) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีความแม่นยำสูงรุ่นใหม่ เช่น ระเบิดนำวิถี Laser
ระบบอาวุธนอกจากอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Python-4 ที่ทำงานร่วมกับหมวกนักบินติดระบบแสดงผลและศูนย์เล็ง Elbit DASH III(Display and sight helmet) ซึ่งได้รับการติดตั้งให้ใช้งานได้ตั้งแต่การปรับปรุง F-5E/F Tigris แล้ว
F-5 Super Tigris จะติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Python-5 ใหม่และสามารถใช้อาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศระยะยิงเกินสายตา(BVR: Beyond Visual Range) อย่างอาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง Rafael I-Derby ระยะยิง 27nmi ร่วมกับหมวกนักบิน DASH IV รุ่นใหม่ด้วยครับ