Su-35 fighter jet
Contractual negotiations are expected to begin, according to the press office of Russia’s state hi-tech corporation Rostec
http://tass.com/defense/961547
Indonesia clinches delivery contract for Russian Su-35 fighter jets
The Indonesian defense minister is set to invite a Russian representative to sign the contract
http://tass.com/defense/961600
Indonesia outlines details of Su-35 offset programme
http://www.janes.com/article/73295/indonesia-outlines-details-of-su-35-offset-programme
อินโดนีเซียมีความต้องการจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-35(NATO กำหนดรหัส Flanker-E) 11เครื่องจากรัสเซีย แต่ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายยังไม่มีการสรุปสัญญาที่เกี่ยวข้อง ตามที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ Rostec กลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซียกล่าวเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม
"ข้อเสนอทางการค้าได้อยู่ในมือแล้ว การเจรจาทางสัญญากำลังคาดว่าจะเริ่มต้นในการจัดหาประมาณ 11เครื่อง" ฝ่ายประชาสัมพันธ์ Rostec กล่าว
นาย Wahid Supriyadi ทูตอินโดนีเซียประจำรัสเซียได้กล่าวก่อนหน้านี้ว่าแต่ละฝ่ายได้เห็นชอบในรายละเอียดทั้งหมดของสัญญาสำหรับการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Su-35
ทางด้านกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับโครงการการค้าต่างตอบแทนและและการค้าชดเชยกับรัสเซียเพื่อสนับสนุนแผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-35 จำนวน 11เครื่อง
เอกสารประชาสัมพันธ์ที่ออกมาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียยืนยันโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 วงเงิน $1.14 billion และครึ่งหนึ่งของมูลค่าสัญญาราว $570 million นั้นจะได้รับการลงทุนผ่านทางโครงการการค้าต่างตอบแทน(countertrade)
กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียเสริมว่า วงเงินเพิ่มเติมอีกร้อยละ35 ราว $400 million จะมีแหล่งที่มาจากโครงการการค้าชดเชย(offset) รัฐบาลอินโดนีเซียจะจ่ายวงเงินที่เหลืออีกประมาณ $170 million แบบเงินสด
รายละเอียดของโครงการการค้าชดเชยยังไม่มีการเปิดเผย แม้ว่า Jane's จะเข้าใจว่านี่จะมีการตั้งศูนย์กลางการบนการอำนวยความสะดวกการถ่ายทอด Technology จากรัสเซีย
เพื่อสนับสนุนปรนนิบัติ, ซ่อมบำรุง และยกเครื่อง(MRO: Maintenance Repair Overhaul) ของ Su-35 ในอินโดนีเซีย ซึ่งงานดังกล่าวจะถูกดำเนินการโดยรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมของรัฐบาลอินโดนีเซียคือ PT Dirgantara
กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้ให้รายละะเอียดเพิ่มเติมของสินค้าที่คาดว่าจะส่งออกให้รัสเซียในฐานะข้อตกลงผูกพันการค้าต่างตอบแทน ตามข้อมูลมีเช่น น้ำมันปาล์ม, ยางพารา, เครื่องจักร, กาแฟ, โกโก้, สิ่งทอ, ชา, รองเท้า, ปลาแปรรูป, เครื่องเรือน, เนื้อมะพร้าวแห้ง, กระดาษ และเครื่องเทศ
กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียกล่าวว่าจำนวนของผลิตภัณฑ์กลาโหมที่ยังไม่ได้ระบุจะมีการเพิ่มเติมการจะส่งออกไปรัสเซีย แถลงการณ์ได้เพิ่มเติมรายละเอียดที่เกี่ยวข้องในการค้าต่างตอบแทนและการค้าชดเชยที่คาดว่าจะบรรลุผลในอนาคตอันใกล้
ตามที่ได้ลงนามสัญญาไปเมื่อต้นเดือนสิงหาคมนี้ระหว่าง Rostec รัสเซียและ PT Perusahaan Perdagangan Indonesia(PT PPI) รัฐวิสาหกิจการค้าของรัฐบาลอินโดนีเซีย
สัญญาการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 คาดว่าจะมีการลงนามโดยทั้งสองประเทศตามมาภายหลังตามข้อตกลงนี้(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/su-35.html)
ล่าสุดสัญญาการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 ของอินโดนีเซียได้รับความเห็นชอบอย่างเต็มอัตราแล้วตามที่ Wahid Supriyadi ทูตอินโดนีเซียประจำรัสเซียกล่าวในวันที่ 23 สิงหาคม
"รายละเอียดของสัญญาทั้งหมดได้รับการเห็นชอบแล้ว รัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซียมีกำหนดจะเชิญตัวแทนของรัสเซียเพื่อลงนามสัญญา นี่เป็นเรื่องของเวลา"
ทูตอินโดนีเซียกล่าวโดยให้ข้อสังเกตว่าข้อตกลงควรจะมีการสรุปผลได้ก่อนที่จะถึงสิ้นปีนี้
Su-35 เป็นเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจยุคที่ 4++ ที่สร้างโดยรัสเซีย ซึ่งมีความคล่องแคล่วทางการบินสูงสุด ติดตั้ง Phased Arry Radar และเครื่องยนตฺปรับทิศทางแรงขับได้ ทำความเร็วได้สูงสุด 2,500km/h มีพิสัยการบินไกลสุด 3,400km และรัศมีการรบ 1,600km
ระบบอาวุธของ Su-35 ติดตั้งปืนใหญ่อากาศ 30mm ความจุ 150นัดในลำตัวเครื่อง พร้อมตำบลอาวุธที่ปีกและใต้ลำตัวร่วม 12จุดแข็ง ซึ่งสามารถติดตั้งระเบิดและอาวุธปล่อยนำวิถีได้หลายแบบครับ
Peru, Myanmar, Bangladesh interested in purchasing MiG-35s
MiG-35 Plane
The talks are currently underway and the MiG aircraft corporation expects them to be successful
http://tass.com/defense/961399
พม่าได้แสดงความสนใจในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ MiG-35 เช่นเดียวกับ เปรู และบังคลาเทศ โดยการเจรจากับตัวแทนของประเทศเหล่านี้กำลังมีขึ้นในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Army-2017 ที่ Patriot Park ใน Moscow ระหว่างวันที่ 22-27 สิงหาคม
ตามที่ผู้อำนวยการบริหารของบริษัทอากาศยาน MiG Corporation นาย Ilya Tarasenko กล่าวในงานเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ที่ผ่านมา
"เราวางแผนเพื่อหารือการส่งมอบเครื่อง MiG-35 เรามีการเจรจาหลายวาระมาก พวกเขาเหล่านั้นเป็นลูกค้าภูมิภาคประจำของเรา ทั้งเครือจักรภพรัฐอิสระ(CIS), กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, พม่า, บังคลาเทศ และเปรู" เขากล่าว
นาย Tarasenko ย้ำว่าการเจรจากำลังดำเนินการอยู๋ในขณะนี้และทางบริษัทคาดว่าการเจรจากับประเทศเหล่านั้นจะประสบความสำเร็จ
กองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lei) ปัจจุบันประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ MiG-29 ราว 30เครื่องซึ่งเป็นเครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศรัสเซีย แบ่งเป็นรุ่นที่นั่งเดี่ยว MiG-29B 10เครื่อง กับ MiG-29SE 6เครื่อง และรุ่นสองที่นั่ง MiG-29UB 4เครื่อง(สูญเสียไป 1เครื่องในปี 2014)
เช่นเดียวกับกองทัพอากาศบังคลาเทศที่มีเครื่องบินขับไล่ MiG-29 จากรัสเซีย 8เครื่อง และกองทัพอากาศเปรูที่มีเครื่องบินขับไล่ MiG-29S/SE/SMP/UBP รวม 19เครื่อง
MiG-35 เป็นเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจยุคที่ 4++ ที่มีพื้นฐานพัฒนาจากเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน MiG-29K/KUB และเครื่องบินขับไล่ MiG-29M/M2
โดย MiG-35 เครื่องต้นแบบได้เริ่มทำการบินครั้งแรกเมื่อ 26 มกราคม 2017 และเปิดตัวต่อนานาชาติเป็นครั้งแรกเมื่อ 27 มกราคม 2017 ที่ Moscow ตามที่ได้รายงานไปครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/01/mig-35.html)