วันอังคารที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๐-๗


First batch of NORINCO VT4(MBT-3000) Main Battle Tank with Woodland camouflage for Royal Thai Army in Testing on terrain and firing range at Norinco factory to be delivery about end this year factory(https://www.youtube.com/watch?v=k3UTph867CI)

โครงการจัดหารถถังหลัก VT4(MBT-3000) จาก NORINCO สาธารณรัฐประชาชนจีนระยะที่๑ จำนวน ๒๘คัน วงเงิน ๔,๙๘๔ล้านบาทที่ลงนามสัญญาในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) และระยะที่๒ อีก ๑๑คันในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) วงเงินประมาณ ๒พันล้านบาทนั้นเป็นไปได้มากว่า
กองทัพบกไทยน่าจะได้รับมอบรถถังหลัก VT4 ชุดแรกภายในปลายปีนี้(2017) ซึ่งคาดว่าจะเข้าประจำการใน กองพันทหารม้าที่๖ กรมทหารม้าที่๖ กองพลทหารม้าที่๓ เป็นหน่วยแรก จากรายงานของสถานีโทรทัศน์ CCTV จีนล่าสุดที่แสดงสายการผลิตและทดสอบรถที่โรงงาน Norinco ในจีน(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/vt4-norinco.html)
จากนั้นที่มีการโอนย้ายรถถังเบาแบบ๓๒ Stingray จาก ม.พัน.๖ ไป กองพันทหารม้าที่๙ กองพลทหารราบที่๔ แทน (กองพันทหารม้าที่๒๖ ยังคงใช้ ถ.เบา.๓๒ Stingray เช่นเดิม)

โดยกองทัพบกมีความต้องการในการจัดหารถถังหลักใหม่เพื่อทดแทนรถถังเบา M41A3 ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๕(1962) ที่ได้ปลดประจำการลงทั้งหมด ซึ่งมีบางส่วนได้ถูกนำไปอนุรักษ์เพื่อการตั้งจัดแสดงเป็นอนุสรณ์แล้ว
การทดแทนในส่วนกองพันรถถังประจำกองพลทหารราบ ยังมีแผนการโอนย้าย M48A5 ของ ม.พัน.๒ พล.ร.๒ รอ. ไป กองพันทหารม้าที่๘ กองพลทหารราบที่๓ และ กองพันทหารม้าทหารม้าที่๒๑ กองพลทหารราบที่๖ ไป กองพันทหารม้าที่๑๖ กองพลทหารราบที่๕ แทน ถ.เบา M41A3
ยังมีความต้องการอีกอย่างน้อยหนึ่งกองพันคือ กองพันทหารม้าที่๔ รักษาพระองค์ แทน M41A3 ยังไม่นับในส่วนของหน่วยขึ้นตรงของ ม.๓ ที่ต้องจัดหาใน พัน.ถ.ที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่อีกอย่างน้อยสองกองพันครับ

Oplot-T Main Battle Tanks of 2nd Cavalry Battalion, 2nd Infantry Division, Queen's Guard, Royal Thai Army on November 2016

Cats at Ukrainian Malyshev Plant Tank Factory(https://www.youtube.com/watch?v=wl-VEHqhw0I)

ทางด้านโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot-T ของกองทัพบกไทยซึ่งมีความล่าช้ามากนั้น ทาง Ukroboronprom ก็แถลงมาหลายรอบว่าจะดำเนินการผลิตและส่งมอบรถให้ไทยได้ตามสัญญาในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) ซึ่งการดำเนินการตามสัญญาที่ว่ายูเครนก็ผลัดผ่อนมาเรื่อยหลายปีแล้ว
แต่ในความเป็นจริงนั้นตั้งแต่การส่งมอบรถชุดแรกในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) ยูเครนจะสามารถส่งมอบรถให้ไทยได้เฉลี่ยเพียงปีละ ๑-๒ชุด ราว ๕-๑๐คันเท่านั้น ทางกองทัพบกไทยก็มีการตรวจรับมอบรถและจ่ายวงเงินตามที่มีจำนวนรถมาส่งให้
ทำให้จนถึงปัจจุบัน กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ มีรถถังหลัก Oplot ประจำการอยู่ ๒๕คัน ที่เหลืออีก ๒๔คันนั้นคาดว่าจะใช้เวลาส่งมอบจนกว่าจะครบไม่ต่ำกว่า ๒-๓ปี
ทั้งนี้ทางโรงงาน Malyshev ยูเครนเองก็มีแผนที่จะเพิ่มจำนวนพนักงานในโรงงานอีกร้อยละ๓๐ ซึ่งน่าจะทำให้สายการผลิตเร็วและดีขึ้นครับ(ก็ควรจะเป็นเช่นนั้นเพราะจากภาพพนักงานในโรงงานที่เป็น 'แมว' บางตัวไม่ค่อยจะกระตื้อรือร้นในการทำงาน วันๆเดินไปเดินมา)

โดยตามรายงานการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของยูเครนในปีที่แล้ว(2016) นั้น(http://dsecu.gov.ua/control/uk/publish/article?art_id=53195&cat_id=51343) มีจำนวนอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ส่งมอบให้ไทยแล้วดังนั้นคือ
รถถังหลัก BM Oplot(Oplot-T) จำนวน ๑๐คัน
รถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-3E1 ๑๕คัน, รถหุ้มเกราะล้อยางที่บังคับการ BTR-3K ๕คัน, รถหุ้มเกราะล้อยางกู้ซ่อม BTR-3BR ๔คัน, รถหุ้มเกราะล้อยางพยาบาล BTR-3S ๒คัน,
รถหุ้มเกราะล้อยางติดเครื่องยิงลูกระเบิด 81mm BTR-3M1 ๗คัน และรถหุ้มเกราะล้อยางติดเครื่องยิงลูกระเบิด 120mm BTR-3M2 ๑คัน
จะเห็นได้ว่ามียูเครนมีการผลิตรถถังและยานเกราะล้อยางที่ล่าช้าและส่งมอบให้กองทัพบกไทยในจำนวนที่น้อยมากคือเพียงไม่กี่สิบคันในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016)ครับ

AgustaWestland AW149 Royal Thai Army Delivered

กรณีกองทัพบกจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๓๙ AgustaWestland AW139 และ ฮ.ท.๑๔๙ AgustaWestland AW149 ก็ยังคงเป็นประเด็นที่มีการสร้างข่าวเท็จขึ้นมาโจมตีกองทัพบกอย่างต่อเนื่อง
โดยเมื่อสื่อไม่สามารถโจมตีประเด็นที่ว่า ฮ.ทั้งหมดไม่สามารถทำการบินได้เพราะไม่มีอะไหล่ซึ่งไม่เป็นความจริงเพราะกองทัพบกก็ได้ชี้แจงและมีหลักฐานชัดเจนว่า ฮ.ท.๑๓๙ AW139 ทุกเครื่องที่จัดหามาอยู่ในสภาพทำการบินได้
ก็มีการสร้างข่าวปลอมขึ้นมาใหม่ว่าการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ AW139 และ AW149 เป็นไปเพื่อการใช้งานส่วนตัวโดยบุคคลในรัฐบาลและกองทัพที่เป็นกระบวนการจัดหาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายผลาญภาษีประชาชน
ซึ่งใช้วิธีการที่น่ารังเกียจมากคือนำภาพมาจาก Website ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานนั้นๆ แต่ไม่ระบุแหล่งที่มาดั้งเดิม และมีการพิมพ์ข้อความทับภาพที่เป็นจงใจว่าภาพนี้เป็นของสำนักข่าวเอง พร้อมลงเนื้อหาโจมตีหน่วยงานที่ไม่ตรงกับเนื้อหาประกอบที่เป็นจริง

ทั้งที่ในความเป็นจริงเอกสารการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ทั้งหมดมีการเปิดเผยเผยแพร่ให้สามารถตรวจสอบได้ และการจัดหา ฮ.ท.๑๓๙ AW139 ชุดล่าสุดที่เข้าประจำการใน กองพันบินที่๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบกนั้น ก็เพื่อทดแทน ฮ.ท.๑ UH-1H ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า๔๐ปี
ดังนั้นจึงเห็นได้ชัดเจนว่าเจตนาของสื่อกระแสหลักเหล่านั้นไม่ได้ต้องการจะตีแผ่ความจริงให้สังคมรับทราบถึงความไม่ถูกต้องของการจัดหาอาวุธของกองทัพให้ประชาชนรับทราบ แต่มีเบื้องหลังจากกลุ่มที่ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมืองให้ทำลายความน่าเชื่อถือของกองทัพไทยทุกวิถีทาง
คำถามคือทำไมเราคนไทยต้องเชื่อสื่อปลอมพวกนี้ด้วย กรณีที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอดนี้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาความมั่นคงยุคใหม่ของไทย ที่กองทัพไทย-ตำรวจไทย และหน่วยงานด้านความมั่นคงไทยกำลังเผชิญหน้าและต้องแก้ไขให้ได้ครับ

Chaiseri metal & rubber Co. Ltd delivered First Win II 4x4 to Royal Thai Marine Corps Division Headquarters for 60days trial evaluation, 3 July 2017
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1361399860595273.1073742477.439080726160529
https://www.facebook.com/กองพลนาวิกโยธิน-439080726160529/

เรื่องที่น่าสนใจในด้านการพัฒนากำลังของ นาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย คือการที่บริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd) ได้ส่งมอบรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win II 4x4 รุ่นใหม่ให้ กองพลนาวิกโยธิน ทดลองใช้ ๖๐วันเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคมที่ผ่านมา
นอกจากการทดสอบประเมินค่ารถหุ้มเกราะล้อยาง HMV-150 4x4 โดยบริษัทพนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด(Panus Assembly Co Ltd. ซึ่งพัฒนาปรับปรุงจากรถหุ้มเกราะล้อยาง V-150 Commando 4x4 ที่ประจำการใน กองร้อยยานเกราะ กองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน ๒๔คันแล้ว
ยังรวมถึงการจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง Phantom 380-X1 ของบริษัทพนัสเพิ่มเติมจากที่ นาวิกโยธิน กองทัพเรือไทยได้จัดหาไปทดลองใช้งานในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ก่อนหน้านี้แล้ว ๒คัน(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/hmv-150-first-win-ii.html)
โดยแผนการจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง 4x4 แบบต่างๆของกองทัพเรือไทยนี้ เป็นเพื่อเสริมขีดความสามารถในการป้องกันตนเองในภารกิจรักษาความปลอดภัยประชาชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในประเทศด้วยครับ

มีข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่าในส่วนอัตราจัดนาวิกโยธินกองทัพเรือไทยนั้นกำลังมีการเปลี่ยนแปลงอัตราโครงการสร้างใหม่หลายๆอย่าง เช่น ในส่วนกองร้อยปืนเล็กนาวิกโยธินมีการปรับอัตราจัดใหม่
จากเดิม หมู่ปืนเล็กนาวิกโยธินจะมี ๓พวกยิง พวกยิง๔นาย ประกอบด้วย นายพวกยิงใช้ปืนเล็กยาวM16ติดเครื่องยิงลูกระเบิด M203, พลปืนเล็กใช้ ปลย.M16, พลปืนเล็กกลใช้ปืนเล็กกล M249, พลผู้ช่วย ปลก.ใช้ M16+ผู้บังคับหมู่ ๑นายรวม ๑๓นาย
แต่ล่าสุดเห็นว่า หมู่ ปล.นย.ปรับอัตราจัดใหม่คือ หมู่ ปล.มี ๒พวกยิงพวกยิงละ ๕นาย ประกอบด้วย นายพวกยิง, พลปืนเล็ก, พลปืนเล็กกล, พลผู้ช่วย ปลก.(พล ปล.), พลเครื่องยิงลูกระเบิด+ ผบ.หมู่เป็น ๑๑นาย ซึ่งเป็นอัตราจัดรูปแบบเดียวกับหมู่ปืนเล็กกองทัพบกไทย
โดยในส่วนกองทัพบกไทยเองก็มีอัตราจัดในส่วนกองพลทหารราบเบา เช่น กองพลทหารราบที่๙ และกองพลทหารราบที่๑๑ ที่มีแผนจะแปรสภาพ ที่หมู่ปืนเล็กมีกำลังพล ๙นาย ประกอบด้วย ๒ชุดยิง ชุดยิงละ๔นาย(หัวหน้าชุดยิง, พล ปล., พล ค., พล ปลก.)+ผบ.หมู่ ๑นายครับ

Royal Thai Air Force presentation Korea Aerospace Industries T-50TH program second batch to public press

สำหรับกองทัพอากาศไทยกับโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50TH ระยะที่๒ จำนวน ๘เครื่อง วงเงินประมาณ ๘,๘๐๐ล้านบาท($258 million) จาก Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี ที่คณะรัฐมนตรีรัฐบาลไทยอนุมัติไปเมื่อ ๑๑ กรกฎาคมนั้น
ก็เป็นโครงการต่อเนื่องจากการจัดหาเครื่องบินฝึก T-50TH ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่อง วงเงิน ๓,๗๐๐ล้านบาท($108 million) เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๘(2015) ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งกองทัพอากาศถูกสื่อกระแสหลักและผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมืองออกมาโจมตี

ในความเป็นจริงแล้วโครงการนี้เป็นความจำเป็นต่อเนื่องในการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นแบบใหม่เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๑ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ที่จัดหาจากสาธารณรัฐเชค ๓๖เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) 
ซึ่ง L-39ZA/ART นั้นแม้จะได้รับการปรับปรุงให้เป็นมาตรฐานตะวันตกโดย Elbit และ IAI อิสราเอลแล้วก็ตาม แต่โครงสร้างอากาศยานและเครื่องยนต์นั้นจะเป็นแบบเดิมที่ใช้ในรัสเซียและกลุ่มยุโรปตะวันออก ทำให้มีอายุการใช้งานจำกัดเพียงไม่เกิน ๒๐-๒๕ปี 
ตามแผนที่กองทัพอากาศไทยวางไว้ปัจจุบัน บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ส่วนหนึ่งได้ถูกปลดประจำการจากฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี แล้ว เครื่องที่ยังเหลือทั้งหมดจะยุบไปรวมฝูงที่ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ เป็นฝูงสุดท้ายก่อนปลดประจำการและแปรสภาพกองบิน๔๑ เป็นฐานบินส่วนหน้า

ดังนั้นการที่โครงการจัดหา บ.ฝึกขับไล่ T-50TH ถูกโจมตีว่าเป็นความสิ้นเปลืองภาษีประชาชนในราคาแพงเกินจริงโดยไม่มีความจำเป็นในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันนั้นจึงไม่ยุติธรรมต่อกองทัพอากาศมาก 
เพราะเป็นโครงการต่อเนื่องที่มีมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๘(2015) แล้ว ที่มีความจำเป็นในการจักหาเครื่องบินฝึกใหม่ทดแทนในการฝึกนักบินขับไล่พร้อมรบของกองทัพอากาศไทย

Korea Aerospace Industries T-50TH(FA-50) model at Defense & Security 2015(MY OWN PHOTO)

เช่นที่เห็นได้จากชุดภาพประชาสัมพันธ์โครงการของกองทัพอากาศไทยที่เผยแพร่สู่สาธารณชนเพื่อทำความเข้าใจโครงการต่อประชาชน ที่มีการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมส่วนหนึ่งของรูปแบบเครื่อง T-50TH ที่จัดหามามากขึ้น
เดิมเข้าใจว่า T-50TH ของไทยนั้นจะมีพื้นฐานจากเครื่องบินฝึกโจมตีเบา TA-50 โดยมีคุณสมบัติคือมีปืนใหญ่อากาศ A-50 สามลำกล้องหมุน 20mm ความจุ ๒๐๕นัด และติดตั้งอาวุธพื้นฐานเช่น AIM-9 Sidewinder, จรวด Hydra 2.75", ระเบิดธรรมดา Mk80s และ AGM-65 Maverick
โดยการสอบถามตัวแทนของ KAI เกาหลีใต้ในงาน Defense & Security 2015 ทางตัวแทนก็ไม่ได้เปิดเผยคุณสมบัติที่กองทัพอากาศไทยจะจัดหามาใช้กับ T-50TH มากนัก อกจากแบบจำลองที่จัดแสดงเป็นรุ่นเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 ที่มีสมรรถนะสูงสุดในรุ่น

ข้อมูลของกองทัพอากาศในสื่อประชาสัมพันธ์นั้นแสดงข้อมูลใหม่ๆหลายส่วนทั้ง ระบบฝึกการบินทางยุทธวิธี(ETTS: Embedded Tactical Training System), ระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี(TDL: Tactical Data Link) แบบ Link 16, ระบบพิสูจน์ฝ่าย (IFF: Identification Friend or Foe)
ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์(EW: Electronic Warfare) ประกอบด้วย Radar Warning Receiver(RWR) และ Counter Measure Dispenser System(CMDS) รวมถึง Radar ควบคุมการยิงแบบ Elta EL/M-2032 จาก Israel Aerospace Industries อิสราเอล
ซึ่ง EL/M-2032 เป็น Pulse Dopper Radar เอนกประสงค์สมรรถนะสูงมีระยะตรวจจับอากาศยานที่มีภาคตัดขวาง Radar(RCS: Radar Cross Section) ขนาด 1 square meter ที่ 37-50nmi(70-100km) โดยตรวจจับเป้าหมายได้ไกลสุด 80nmi(150km)ใน Air-to-Air mode
มี Air-to-Ground mode สำหรับเป้าหมายตรึงประจำที่(GM Ground Map) และเป้าหมายเคลื่อนที่(GMT: Ground Moving Target) และ Air-to-Sea mode สามารถตรวจจับเป้าหมายเรือผิวน้ำได้ไกลถึง 160nmi(300km)

ถ้าเป็นความจริงนั่นจะทำให้ T-50TH กองทัพอากาศไทยติดตั้ง Radar ที่มีสมรรถนะสูงสุดในรุ่นส่งออก โดยขณะที่เครื่องรุ่นส่งออกทั้ง T-50I อินโดนีเซีย, FA-50PH ฟิลิปปินส์ และ T-50IQ อิรักส่วนใหญ่จะติด radar แบบ Lockheed Martin AN/APG-67(V)4 ที่มีสมรรถนะน้อยกว่า 
ทำให้มีความเป็นไปได้มากว่านอกจากอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9 Sidewinder แล้ว KAI T-50TH กองทัพอากาศไทยอาจจะสามารถปรับปรุงให้สามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-120 AMRAAM ได้ถ้าต้องการ
หรือปรับปรุงให้สามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง I-Derby ER ของ Rafael อิสราเอลที่จะถูกนำมาติดตั้งร่วมกับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Python-5 ในโครงการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ ข/ค F-5E/F Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี

Royal Thai Air Force F-5E Tigris with Python-4

โดยล่าสุดเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๐(2017) กระทรวงกลาโหมมีการเสนอวาระเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในการอนุมัติโครงการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-5E/F Super Tigris ระยะที่๒ ๔เครื่องพร้อมระบบ Avionic, Radar และอาวุธใหม่จำนวน ๕รายการ วงเงิน ๓,๒๖๓ล้านบาท($98 million)
ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการปรับปรุง บ.ข.๑๘ ข/ค F-5E/F ระยะที่๑ จำนวน ๑๐เครื่อง วงเงิน ๒,๐๕๐ล้านบาท($62 million) ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) รวมวงเงินทั้งโครงการประมาณ ๕,๓๑๓ล้านบาท($160 million)
การปรับปรุง F-5E/F โดยบริษัท Elbit Systems อิสราเอลนี้นับว่าเป็นการปรับปรุงครั้งที่๓แล้ว นับตั้งปี ๒๕๓๐-๒๕๓๑(1987-1988) และปี ๒๕๔๕-๒๕๔๖(2002-2003) ซึ่งจะทำให้กองทัพอากาศไทยประจำการ F-5E/F ทั้ง ๑๔เครื่องไปได้อีกราว ๑๕ปี

กรณีจำนวนเครื่องที่มีการปรับปรุงตั้งแต่ระดับ Pre-Mod เพียง ๑๐เครื่องนั้นน่าจะเป็นการคัดเลือกจากเครื่องที่อายุการใช้งานน้อยที่สุดในฝูง๒๑๑ ที่ปัจจุบันเป็นฝูงบิน F-5 ฝูงสุดท้ายของกองทัพอากาศไทย หลังจากรวม F-5E/F ฝูง๗๐๑ หลังการรับมอบ บ.ข.๒๐ Gripen ครบในปี ๒๕๕๗(2014)
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรุ่น F-5E/F Shark Nose ที่เป็นชุดสุดท้ายที่เริ่มจัดหาในช่วงปี พ.ศ.๒๕๒๔(1981) ประจำฝูงบิน๔๐๓ เป็นฝูงแรก และอาจจะมี F-5E/F Round Nose รุ่นแรกที่จัดหาในปี พ.ศ.๒๕๒๑(1978) ประจำฝูงบิน๑๐๒ เป็นฝูงแรกก่อนย้ายมาฝูงบิน๗๑๑ ที่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นฝูงบิน๗๐๑
ทั้งนี้กองทัพอากาศไทยอาจจะเป็นชาติ ASEAN ประเทศสุดท้ายที่มี F-5 ประจำการ หลังจากที่กองทัพอากาศมาเลเซียปลดประจำการไปแล้ว รวมถึงกองทัพอากาศอินโดนีเซียที่จะนำ Su-35 มาทดแทน และ F-5S/T กองทัพอากาศสิงคโปร์ที่จะปลดในอนาคตอันใกล้ครับ

ยังไม่นับรวมการถ่ายทอด Technology และตัวเลือกอื่นๆทั้ง ณ สาธารณรัฐเกาหลี ตามที่ได้รายงานไป รวมถึงเป็นโครงการที่มีกระบวนการจัดหาที่ถูกต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ เป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าสูงที่สุดแบบหนึ่งของกองทัพอากาศไทย
เช่นเดียวกับโครงการปรับปรุง F-5E/F ฝูงบิน๒๑๑ นั้นก็เป็นโครงกาที่ราคาประหยัดกว่าซื้อเครื่องบินขับไล่ใหม่จากโรงงานที่มีราคาแพง อีกทั้งมีประสิทธิภาพต่อราคาที่คุ้มค่ามาก และประหยัดงบประมาณรัฐที่มีจำกัด
ด้วยเหตุนี้การโจมตีโครงการจัดหา T-50TH และโครงการปรับปรุง F-5E/F ในสื่อต่างๆที่ผ่านจึงดูจะไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดค้านการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ไม่ถูกต้อง แต่มีวัตถุประสงค์ร้ายเพื่อทำความน่าเชื่อถือของกองทัพไทยและบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติในระยะยาวครับ