วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

กองทัพเรือไทยจัดพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๖
















Admiral Choengchai Chomchoengphaet, the commander-in-chief of Royal Thai Navy (RTN) was attend to opening ceremony for Naval Exercise Fiscal Year 2023 on 10 February 2023.
The demonstration include FK-3 medium-range air-defence system and Dzhigit launcher with two Igla-S on Thairung Transformer 4x4 short-range air-defence system of Air and Coastal Defense Command (ACDC),
VN16 Tracked Amphibious Assault Vehicles and AAV7A1 RAM/RS amphibious assault vehicles of Royal Thai Marine Corps (RTMC) and Naval Special Warfare Command (NSWC, RTN SEAL), 
Bell 212 helicopter and Sikorsky SH-60B Seahawk anti-submarine helicopter of Royal Thai Naval Air Division (RTNAD). (Royal Thai Navy)



กองทัพเรือ จัดพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๖๖

วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๖๖ ณ กองบัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ค่ายกรมหลวงชุมพรฯ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 
โดยมีผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพเรือ และผู้บังคับบัญชาในกองอำนวยการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๖๖ ให้การต้อนรับ 
ในโอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้มอบโอวาทให้กับกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึก และชมการการสาธิตการปฏิบัติการทางทหาร ซึ่งมีการประกอบกำลังจากหน่วยกำลังรบ และหน่วยสนับสนุนต่าง ๆ ในกองทัพเรือมาเข้าร่วมการปฏิบัติการสาธิตฯ 
โดยเป็นการปฏิบัติการโจมตีจากทะเลต่อที่หมายบนฝั่ง ด้วยกำลังรบยกพลขึ้นบก กำลังปฏิบัติการพิเศษ และอาวุธจากเรือผิวน้ำและอากาศยาน นอกจากนั้น ยังมีการสาธิตการป้องกันพื้นที่สำคัญบนฝั่งด้วยกำลังต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งอีกด้วย
กองทัพเรือได้จัดให้มีการฝึกกองทัพเรือประจำปีมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงความพร้อม ของหน่วยต่าง ๆ ในการปฏิบัติตามแผนป้องกันประเทศ แบ่งการฝึกเป็นวงรอบทุก ๒ ปี ตามสถานการณ์ที่ถูกกำหนดขึ้น 
โดยในปีแรกหรือ Light Year เป็นการฝึกในสถานการณ์ปกติจนถึงสถานการณ์ความขัดแย้งระดับต่ำ ส่วนในปีที่ ๒ หรือ Heavy Year เป็นการฝึกในสถานการณ์วิกฤตจนถึงขั้นการป้องกันประเทศ

การฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๖๖ นี้ จัดขึ้นระหว่าง ๒๘ พ.ย.๖๕ - ๒๒ มิ.ย.๖๖ โดยมีกำลังทางเรือประเภทต่าง ๆ เข้าร่วมการฝึก ได้แก่ เรือผิวน้ำ จำนวน ๒๐ ลำ เครื่องบิน จำนวน ๔ เครื่อง เฮลิคอปเตอร์ จำนวน ๖ เครื่อง อากาศยานไร้คนขับ จำนวน ๒ ระบบ 
กำลังจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กำลังจากหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กำลังจากหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ ตลอดจนหน่วยสนับสนุนต่าง ๆ มีกำลังพลเข้าร่วมการฝึกรวมทั้งสิ้น ๔,๕๐๐ นาย 
มีพื้นที่การฝึกทั้งในทะเลและบนบกโดยแบ่งการฝึกเป็น ๒ ส่วน คือ การฝึกปัญหาที่บังคับการ (Command Post Exercise: CPX) มีระยะเวลาการฝึกรวม ๓ สัปดาห์ ระหว่าง ๒๗ ก.พ.๖๖ - ๑๗ มี.ค.๖๖ เพื่อฝึกการควบคุมบังคับบัญชา 
และทดสอบแนวความคิดในการใช้กำลังและหลักนิยมต่าง ๆ  ของหน่วยบังคับบัญชาในระดับต่าง ๆ และการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล (Field Training Exercise: FTX) ระหว่างวันที่ ๒๐ มีนาคม - ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖ 
ซึ่งเป็นการฝึกปฏิบัติการจริงของหน่วยกำลังรบประเภทต่างๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยและประสบการณ์ให้กับกำลังพล รวมทั้งเป็นการทดสอบขีดความสามารถในการปฏิบัติการต่าง ๆ 
อาทิ การคุ้มครองเส้นทางคมนาคมทางทะเล การโจมตีกำลังทางเรือของฝ่ายตรงข้าม การปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก และการป้องกันฝั่ง ซึ่งกำลังทางเรือต้องฝึกการปฏิบัติทางยุทธวิธีตามสาขาปฏิบัติการต่างๆ ได้แก่ 
การปราบเรือดำน้ำ การต่อต้านเรือผิวน้ำ การป้องกันภัยทางอากาศ การปฏิบัติการพิเศษ การยกพลขึ้นบก รวมทั้งปฏิบัติการข่าวสารและสงครามไซเบอร์ 
ทั้งนี้ จะมีการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น - สู่ - พื้น แบบ Harpoon Block 1C ในทะเลอันดามัน โดย ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่จัดสร้างขึ้นในประเทศไทย การฝึกปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือและอากาศยาน อีกด้วย 

นอกจากนั้น ยังมีการฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก การยิงอาวุธประจำหน่วย และการฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง ของกำลังภาคพื้นดิน 
ทั้งกำลังจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน  หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง รวมทั้งกองทัพบกและกองทัพอากาศที่ได้จัดกำลังเข้าร่วมการฝึกในครั้งนี้ด้วย 
ในขณะเดียวกัน ได้มีการฝึกด้านการส่งกำลังบำรุง (Logistics Exercise: LOGEX) เพื่อทดสอบขีดความสามารถด้านการส่งกำลังบำรุงและการปฏิบัติของหน่วยสนับสนุนต่างๆ พร้อมกันไปด้วย 
และที่สำคัญ คือ การฝึกในครั้งนี้ ได้มีการเชิญ ศรชล. กองทัพบก และกองทัพอากาศ จัดกำลังเข้าร่วมการฝึกในหัวข้อการฝึกต่างๆ อีกด้วย เช่น กำลังของ ศรชล. ในการฝึกป้องกันพื้นที่สำคัญ 
กำลังของกองทัพอากาศ อาทิเครื่องบินขับไล่แบบ JAS-39 Gripen (บข.20) และเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางภัยอากาศ SAAB 340 AEW (บ.ค.๑) ในการฝึกป้องกันภัยทางอากาศให้กับกองเรือและการโจมตีเรือในทะเล 
กำลังของกองทัพบก อาทิ รถถังแบบ T – 84 Oplot-M ในการฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง เป็นต้น

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๖ นั้น นอกจากกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกจะได้รับความรู้ ความชำนาญเพิ่มขึ้นจากการฝึกแล้ว ยังทำให้กองทัพเรือได้รับทราบถึงขีดความสามารถและข้อจำกัดของกำลังทางเรือที่มีอยู่ในปัจจุบัน 
รวมทั้งการปฏิบัติการร่วมกันกับ ศรชล. และ เหล่าทัพ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาขีดความสามารถสำหรับการปฏิบัติภารกิจ โดยเฉพาะในการป้องกันประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
โดยขีดความสามารถของกำลังทางเรือที่เตรียมไว้สำหรับการทำสงคราม ยังสามารถนำมาใช้ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ ในยามปกติได้อีกด้วย

การฝึกกองทัพเรือประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ของกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ถูกกำหนดให้มีการดำเนินการฝึกระหว่างวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022) จนถึงวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๖ ก่อนจะมีพิธีเปิดการฝึกในวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ นั้น
หน่วยต่างๆของก็ได้มีการฝึกต่างๆไปบ้างแล้วเช่น การฝึกความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ(HADR: Humanitarian Assistance and Disaster Relief) ของกองทัพเรือภาคที่๓(3rd NAC: Third Naval Area Command)(https://aagth1.blogspot.com/2023/01/hadr.html)
การฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธีด้วยกระสุนจริง ของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ.(ACDC: Air and Coastal Defence Command)(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/fk-3.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/01/fk-3-igla-s.html)

การสาธิตการปฏิบัติการทางทหารในพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๖ ได้มีการจัดแสดงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่ FK-3 และอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ Igla-S ของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งต่อสื่อสาธารณะเป็นครั้งแรก
นอกจากการสาธิตปฏิบัติการยกพลขึ้นบกของยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 และรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 RAM/RS กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก พัน.รยบ. กองพลนาวิกโยธิน พล.นย.(RTMC) และชุดปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ นสร.(RTN SEAL),
เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบที่๑ ฮ.ปด.๑ Sikorsky SH-60B Seahawk ฝูงบิน๒ หน่วยบินเรือหลวงจักรีนฤเบศร และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่๒ ฮ.ลล.๒ Bell 212 ฝูงบิน๒๐๒ กองบิน๒ กองการบินทหารเรือ กบร. (RTNAD: Royal Thai Naval Air Division)

การฝึกขั้นต่อไปในภาคสนาม/ภาคทะเล (Field Training Exercise: FTX) ระหว่างวันที่ ๒๐ มีนาคม-๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖ จะรวมถึงการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น RGM-84D Harpoon Block 1C จากเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ในทะเลอันดามัน 
และการฝึกสนามร่วมกับศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ศรชล., รถถังหลัก Oplot-T กองพันทหารม้าที่๒( 2nd Cavalry Battalion) กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ฯ(2nd Infantry Division Royal Guard) กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) 
และเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐/ก บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ และเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางภัยอากาศแบบที่๑ บ.ค.๑ Saab 340 ERIEYE AEW ฝูงบิน๗๐๒ กองบิน๗ กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) เป็นต้นด้วย 

ผู้บัญชาการทหารเรือยังได้ตอบคำถามจากสื่อมวลชนเกี่ยวกับเหตุอับปางของเรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ เรือหลวงสุโขทัยในเดือนธันวาคม ๒๕๖๕ ว่า การค้นหาลูกเรือที่ยังสูญหาย ๕นายยังคงมีต่อไป โดยได้มีการชดเชยเยียวยากำลังพลที่รอดชีวิต ๗๕นาย และเสียชีวิต ๒๔นายแล้ว
และการกู้ ร.ล.สุโขทัย ที่จมในอ่าวไทยลึกราว 40m ได้ประเมินว่าจะใช้วงเงินเกิน ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($5,925,224) ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการคัดเลือกบริษัทที่จะรับดำเนินงาน โดยกองทัพเรือต้องการกู้เรือในสภาพที่สมบูรณ์เพื่อเป็นหลักฐานค้นหาสาเหตุ และมองที่จะนำเรือกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง
การสอบสวนสาเหตุการอับปางของเรือจากผู้เกี่ยวข้อง ๒๘๙ปากคำ เบื้องต้นขณะเกิดเหตุ ร.ล.สุโขทัยมีเสื้อชูชีพในเรือ ๑๒๐-๑๓๐ ตัวเกิดกำลังพลประจำเรือและกำลังจาก นย.และ สอ.รฝ.ที่อยู่บนเรือขณะนั้น ๑๐๕นาย และสาเหตุการจมเกิดจากน้ำเข้าเรือและไม่สามารถสูบน้ำระบายออกได้ครับ