วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

กองทัพเรือไทยเปิดตัวระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบเคลื่อนที่ FK-3 จีน

Royal Thai Navy unveils FK-3 air-defence system



The FK-3 air-defence system was unveiled by the Royal Thai Navy's Air and Coastal Defence Command. 
The FK-3 is the export variant of China's HQ-22 medium- to long-range semi-active radar homing/radio command guidance air-defence system. (Royal Thai Navy/AVENGERS FILMMAKING STUDIO)



กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ได้เปิดตัวระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศอัตตาจร FK-3 ที่สร้างโดยจีน ระหว่างการเยือนโดยผู้บัญชาการทหารเรือไทย พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ 
ต่อหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ.(ACDC: Air and Coastal Defense Command) ที่ฐานที่ตั้งในจังหวัดชลบุรี(https://aagth1.blogspot.com/2023/01/fk-3-igla-s.html)

การเผยแพร่ในสื่อสังคม online โดยกองทัพเรือไทยได้เห็น สอ.รฝ.จัดแสดงระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่ FK-3 แก่ ผบ.ทร. พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ 
อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ FK-3 ถูกผลิตโดย China Aerospace Science and Industry Corporation Limited(CASIC) รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตจรวดและอาวุธนำวิถีของสาธารณรัฐประชาชนจีน

FK-3 เป็นรุ่นส่งออกของระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ radar/วิทยุ SARH/RC(Semi-Active Radar Homing/Radio Command) พิสัยกลางถึงพิสัยไกลแบบ HQ-22 ของ CASIC จีน
FK-3 ยังคงมีความเร็วของอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศสูงสุดที่ Mach 6 แม้ว่ามีระยะยิงไกลสุดที่ 100km สั้นกว่าอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศอัตตาจร HQ-22 ของจีนเองที่มีระยะยิงไกลสุด 170km ค่อนข้างมาก

อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่ FK-3 ถูกนำเข้าประจำการในหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือไทยในปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022)
และถูกใช้งานในฐานะอาวุธปล่อยนำวิถีทำการรบเชิงรุกและโล่ป้องกันภัยทางอากาศ(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/fk-3-thairung-4x4-igla-s.html)

ตามข้อมูลจาก Janes Intelligence Review อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศอัตตาจรจรวดเชื้อเพลิงแข็ง CASIC HQ-22 ได้ปรากฏต่อสาธารณชนครั้งแรก ณ งานแสดงการบินนานาชาติ Zhuhai Airshow 2016
ในฐานระบบป้องกันภัยทางอากาศยุคใหม่ที่ทันสมัยแต่ราคาประหยัดกว่า ที่ทดแทนต่ออาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ HQ-2 ในประจำการกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force)

อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศอัตตาจร HQ-22 หนึ่งหน่วยประกอบด้วยแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอัตตาจร(TEL: Transporter Erector Launcher) จำนวน 6-8ระบบ แต่ละแท่นยิงติดตั้งท่อยิง 4ท่อยิงแทนที่รางยิงแบบประจำที่เดี่ยวของ HQ-2
ระบบ HQ-22 บรรลุผลการประหยัดค่าใช้จ่ายโดยพึ่งพาระบบนำวิถี semi-active radar ราคาถูกกว่าที่สามารถเปลี่ยนไปใช้การนำวิถีแบบวิทยุเต็มรูปแบบในสถานการณ์ที่ "มีการรบกวนทาง electronic อย่างรุนแรง" ตามข้อมูล brochure ของ FK-3 ครับ