Update: KAI proposes T-50 for RTAF fighter requirement
The RTAF T-50TH during ATOC 2024 at Chandy Range, Lopburi, Thailand. (Royal Thai Air Force, Airlinesweek, ASTH)
The KAI T-50 is a tandem-seat multirole trainer aircraft that is in service with Indonesia, South Korea, and Thailand. (KAI)
https://www.janes.com/defence-news/news-detail/update-kai-proposes-t-50-for-rtaf-fighter-requirement
บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีได้เสนอการขายเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle แก่กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)
ซึ่งมองที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘(2025)(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/kai-fa-50.html)
โฆษกบริษัท KAI กล่าวกับ Janes เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ว่า ข้อเสนอสำหรับรุ่นเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH ได้ถูกยื่นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
บ.ขฝ.๒ T-50TH กำลังเข้าแข่งขันสำหรับโครงการการจัดหาที่เป็นไปได้ ตามที่กองทัพอากาศไทย "ได้จัดซื้อและใช้งาน(เครื่องบิน)ในรุ่นเดียวกันแล้ว" โฆษกบริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลีกล่าว
โฆษก KAI เสริมว่าเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH กำลังได้รับการเสนอในฐานะที่มันเป็นเครื่องบินรบพหุภารกิจที่ "ไม่เพียงแต่เหมาะสมสำหรับการฝึกขั้นก้าวหน้า แต่ยังมีขีดสามารถในการรบจริงในสถานการณ์เร่งด่วนต่างๆได้"
Janes เข้าใจว่าข้อเสนอของ KAI สาธารณรัฐเกาหลีเป็นการตอบสนองต่อเอกสารขอข้อเสนอ(RFP: Request for Proposals) อย่างไม่เป็นทางการที่ออกโดยกองทัพอากาศไทยในครึ่งหลังของปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
สมุดปกขาวของกองทัพอากาศไทย พ.ศ.๒๕๖๗ RTAF White Paper 2024(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/rtaf-white-paper-2024.html) ได้ให้รายละเอียดแผนที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่จำนวน ๑๒-๑๔เครื่อง
เพื่อที่จะทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B ADF ของฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช ที่มีอายุการใช้งานมานานระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๗(2025-2034)(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/f-16ab.html)
แผนการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ของกองทัพอากาศไทยได้ถูกนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีรัฐบาลไทยในวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวในกองทัพอากาศไทยกล่าวกับ Janes เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ ว่า
รัฐบาลไทยไม่ได้อนุมัติการร้องของบประมาณที่กองทัพอากาศไทยเสนอแต่อย่างใด "กองทัพอากาศไทยจะพยายามอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม (พ.ศ.๒๕๖๗)" แหล่งข่าวเสริม
กองทัพอากาศไทยมองที่จะได้รับการจัดสรรงบประมาณระยะที่๑ เป็นวงเงิน ๒,๘๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($76.3 million) เพื่อจะจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่อง แหล่งข่าวในกองทัพอากาศไทยกล่าวว่า
กำลังมีการพิจารณาการจัดหาระหว่างเครื่องบินขับไล่ SAAB Gripen E/F สวีเดน(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/saab-gripen-e.html) และเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70/72 สหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/f-16cd-block-70.html)
"อย่างไรก็ตามการตัดสินใจจะมีขึ้นโดยรัฐบาล" แหล่งข่าวในกองทัพอากาศไทยกล่าว Janes ประเมินว่าการนำเสนอเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH แสดงถึงการประหยัดราคาอย่างมีนัยสำคัญสำหรับไทย
ตามข้อมูลจาก Janes Markets Forecast ราคาต่อเครื่องของเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 อยู่ที่เครื่องละ $30 million ซึ่งมีพื้นฐานร่วมกับเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH ของกองทัพอากาศไทย
เครื่องบินขับไล่ Gripen E/F สวีเดนมีราคาต่อเครื่องที่เครื่องละ $65 million ขณะที่เครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70/72 สหรัฐฯมีราคาต่อเครื่องที่เครื่องละ $73 million
Janes เข้าใจว่าด้วยงบประมาณที่กองทัพอากาศไทยร้องขอสำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ระยะที่๑ จะสามารถจัดหา บ.ขฝ.๒ T-50TH ได้ถึง ๘เครื่อง ขณะที่จะจัดหา Gripen E/F หรือ F-16C/D Block 70/72 ได้เพียง ๔เครื่องเท่านั้น
ความเห็นวิเคราะห์
ปัจจุบันกองทัพอากาศไทยมีเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH ประจำการในฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี แล้ว ๑๒เครื่อง โดยสั่งจัดหาเพิ่มแล้ว ๒เครื่องที่มีกำหนดจะส่งมอบในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ นี้ซึ่งจะทำให้จำนวนเพิ่มเป็นรวม ๑๔เครื่อง
สมุดปกขาว RTAF White Paper 2024 ยังได้ให้รายละเอียดถึงแผนการจัดหา บ.ขฝ.๒ T-50TH เพิ่มเติมจำนวน ๒เครื่องระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๑(2025-2028) ซึ่งจะทำให้จำนวนเครื่องในฝูงบิน๔๐๑ จะรวมเป็นทั้งหมด ๑๖เครื่อง
เครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH เป็นรุ่นสำหรับกองทัพอากาศไทยซึ่งมีพื้นฐานร่วมกับตระกูลเครื่องบินไอพ่น T-50 Golden Eagle ที่ประจำการในกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(RoKAF: Republic of Korea Air Force) และอินโดนีเซีย
บ.ขฝ.๒ T-50TH กองทัพอากาศไทยยังได้รับการปรับปรุงขีดความสามารถมาตรฐานเครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 Block 10 รวมถึงกระเปาะชี้เป้า Sniper ATP แล้ว การยืนยันของโฆษก KAI ต่อ Janes ดูจะเป็นการมองการตลาดของตนว่าขณะนี้ไทยดูจะเหมาะกับเครื่องบินรบราคาประหยัดมากกว่า
เครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 Block 20 มาตรฐานใหม่ล่าสุดที่ได้รับการสั่งจัดหาโดยโปแลนด์และมาเลเซียจะมีขีดความสามารถการรบที่สูงยิ่งขึ้นรวมถึงการติดตั้งระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ, ห้องนักบินแบบ glass cockpit พร้อมจอแสดงผลขนาดใหญ่(LAD: Large Area Display),
หมวกนักบินติดจอแสดงผล(HMD: Helmet-Mounted Display) และ AESA(Active Electronically Scanned Array) radar แบบ PhantomStrike รองรับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศระยะไกลกว่าสายตา(BVRAAM: Beyond Visual Range Air-to-Air Missile) เช่น AIM-120 AMRAAM
อย่างไรก็ตามความต้องการในสมุดปกขาว RTAF White Paper 2024 ของกองทัพอากาศไทยได้ระบุว่าเป็นการทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ซึ่งเป็นฝูงบินขับไล่สกัดกั้น(FIS: Fighter Interceptor Squadron) ที่เน้นการรบอากาศสู่อากาศ(air-to-air) เป็นหลัก
ทำให้ควรต้องเป็นเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ(multirole fighter) สมรรถนะสูง เช่น Gripen E/F หรือ F-16C/D Block 70/72 มากกว่าเครื่องบินฝึกพหุภารกิจ(multirole trainer) อย่าง บ.ขฝ.๒ T-50TH(FA-50) ที่ขณะนี้ยังไม่มีการทดสอบการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-120 จริงครับ