วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2567

เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ CVN-71 USS Theodore Roosevelt สหรัฐฯเยือนไทย


CVN-71 USS Theodore Roosevelt, the Nimitz-class Aircraft Carrier at Laem Chabang Port, Chonburi Province, Thailand as port visited during 24-28 April 2024, with media visited on 25 Arpil 2024. (Photos: Sukasom Hiranphan)
Destroyer Squadron 23 (DESRON 23)  include the Arleigh Burke-Class Guided-Missile Destroyer DDG-59 USS Russell, DDG-118 USS Daniel K. Inouye, DDG-97 USS Halsey and DDG-83 USS Howard are ported at Sriracha Port.
CARRIER STRIKE GROUP 9 (CSG 9)’s motto "Defending Freedom" also include Carrier Air Wing 11 (CVW 11). 

เปิดดาดฟ้าเยี่ยมชมแสนยานุภาพ แห่งปราการลอยน้ำ USS Theodore Roosevelt  “ T/R Big Stick”
เป็นอีกครั้งในรอบ7ปี ที่เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ ยูเอสเอส ธีโอดอร์ รูสเวลล์ CVN-71ได้กลับมาเยือนประเทศไทย เพื่อทำการเทียบท่า รับการสนับสนุนเสบียงและเปิดโอกาสให้กำลังพลได้พักผ่อน หลังจากปฏิบัติภารกิจมาอย่างต่อเนื่องในทะเลมาเป็นเวลา4เดือน
ภารกิจในครั้งCVN-71มีฐานะเป็นเรือธงของกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่9 CCSG9 ที่ออกเดินทางจากฐานทัพเรือซานดิเอโก้ เพื่อมาปฏิบัติงานในภูมภาคเอเชียแปซิฟิก พร้อมเรือคุ้มกันอีก3ลำ การจอดแวะพักในประเทศไทยสำหรับกองเรือรบสำคัญของสหรัฐ 
จึงเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงระดับความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองประเทศ ด้วยความพร้อมในการรองรับการเข้าจอดของหนึ่งในเรือรบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก พร้อมทั้งการเตรียมอุปกรณ์รองรับการรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน 
ทำให้ท่าเรือC0ของท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ได้ต้อนรับ เรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐลำนี้อีกครั้งหนึ่ง
การแวะมาเยือนครั้งนี้กองทัพเรือและสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนในประเทศไทยได้ขึ้นเยี่ยมชมเรือ พร้อมทั้งสัมภาษณ์ผู้บัญชากองเรือ และผู้บังคับการเรือ พร้อมชมพื้นที่ภายใน และอากาศยานต่างๆที่ออกปฏิบัติงานในภารกิจครั้งนี้
หลังจากผ่านการตรวจสอบความปลอดภัย หลังแนวคอนเทนเนอร์ที่ถูกตั้งเป็นกำแพงตลอดความยาวเรือ คณะสื่อมวลชนได้ขึ้นเรือในพื้นที่ดาดฟ้าใต้ท้องเรือ ส่วนที่2(Hangar2) อันเป็นพื้นที่โถงกลางหลัก ที่ปกติจะเป็นโถงเปิดโล่งยาวตลอดลำเรือ เพื่อใช้เป็นลานจอดและซ่อมบำรุงอากาศยาน 
แต่จะมีประตูเกราะป้องกันความเสียหายที่จะเลื่อนกางออกมาเพื่อแบ่งพื้นของโถงใต้ดาดฟ้านี้ออกเป็นสามส่วน  สำหรับป้องกันความเสียหายโดยรวมหากเรือถูกโจมตีในการรบ หรือ อุบัติเหตุเพลิงไหม้ 
เมื่อถึงเวลาเทียบท่าพื้นที่ส่วนนี้จะเป็นจุดที่ลูกเรือทุกนายต้องทการลงทะเบียนที่นี้เมื่อต้องการลงจากเรือ
จากนั้นจึงเดินขึ้นไปอีกสี่ชั้น เพื่อขึ้นสู่ดาดฟ้าเรือ เพื่อพบกับผู้บัญชาการกองเรือ และผู้บังคับการเรือ ก่อนเยี่ยมชมอากาศยานแบบต่างที่มาปฏิบัติงานในครั้งนี้ในนาม กองบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบินที่11 CAW11 อันประกอบด้วย 9 ฝูงบิน 
โดยมีเครื่องบินรบในตระกูลซุปเปอร์ฮอร์เน็ต F/A-18 E/Fเป็นเครื่องบินรบหลัก จำนวน5ฝูงบิน ฝูงเฮลิคอปเตอร์ซีฮอว์ค 2ฝูงในภารกิจลำเลียงและปราบเรือดำน้ำ  ฝูงบินตรวจการณ์และเตือนภัยล่วงหน้า ที่ใช้งานE-2D แอดวานส์ ฮอว์คอาย และ หนึ่งฝูงบินลำเลียงที่ใช้งานเครื่องC-2เกรย์ฮาวน์ด
ด้วยขนาดของเรือรบขนาดใหญ่ จนสามารถเปรียบได้เป็นเมืองลอยน้ำขนาดย่อม แม้จะเป็นช่วงเวลาการพักผ่อนของลูกเรือ แต่ในทุกพื้นที่ของเรือยังต้องมีการซ่อมบำรุงและปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลา เราจะเห็นลูกเรือที่ยังไม่ได้ออกเวรพัก  ยังทำงานกันอยู่ตั้งแต่การซ่อมสีบนดาดฟ้าเรือ  
ซ่อมบำรุงอากาศยาน ขนส่งเติมเสบียง  โดยมีการรักษาความปลอดภัยด้วยกำลังพลติดอาวุธในทุกพื้นที่ของลำเรือ  และแน่นอนพวกเขาต่างเร่งทำงานในส่วนของตน เพื่อจะได้ลงจากเรือเพื่อพักผ่อนในประเทศไทย หนึ่งในชาติพันธมิตรของพวกเขาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

โถงทางขึ้นเรือ เป็นจุดต้อนรบผู้มาเยี่ยมชมเรือ มีการตกแต่งตราสัญลักษณ์ประจำเรือ และธงชาติของมิตรประเทศที่เรือแวะเยือนคู่กับธงชาติสหรัฐ

โถงใต้ดาดฟ้าที่2(Hangar2) พื้นที่หลักใต้ท้องเรือ หากเรือบรรทุกเครื่องบินในชั้นนิมิทซ์ไม่ได้บรรจุเครื่องบินรบเต็มพิกัดที่ราว90ลำ พื้นที่โถงใต้ดาดฟ้านี้จึงมีพื้นที่ว่างสามารถใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ จัดพิธีต่างๆ รวมไปถึงการเป็นพื้นที่ลงทะเบียนสำหรับลูกเรือทุกนายที่ต้องทำการลงสู่เมืองท่าต่างๆที่เรือทำการแวะพัก

F/A-18E ที่จอดรอการซ่อมบำรุงระดับรองในพื้นที่ของแฮงการ์2

EA-18G โกลว์เลอร์ เครื่องบินรบสงครามอีเล็คทรอนิคส์ที่พัฒนาต่อจากF/A-18F ซุปเปอร์ฮอร์เน็ต์

พื้นที่แฮงการ์1 เป็นพื้นที่จัดเก็บเฮลิคอปเตอร์ และE-2D ที่เพดานของพื้นที่ส่วนหน้านี้ถูกใช้เป็นที่จัดเก็บถังน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองของเครื่องตระกูลซุปเปอร์ฮอร์เน็ตประจำเรือ

ทางเดินภายในเรือ เพื่อเดินขึ้นสู่พื้นที่ดาดฟ้าเรือ

แพนหางดิ่งสีสันสดใส เป็นสัญลักษณ์ของอากาศยานประจำตัวผู้บังคับฝูงบิน(CAG's bird) กับสัญลักษ์ของฝูงVFA-25 กับสัญลักษณ์"หมัดเหล็กแห่งกองเรือ" ที่อาจคุ้นตาผู้ชบภาพยนต์ท๊อปกันภาคแรก เพราะนี้คือสัญลักษณ์เดียวกับเครื่องF-14ทอมแค๊ท ของ"ไอซ์แมน" สหายศึกของมาเวริก บทบาทนักบินรบที่หลายคนประทับใจ

พลเรือตรี คริสโตเฟอร์ อเล็กซานเดอร์ ผู้บัญชาการกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 9 (CCSG9) ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนและกล่าวขอบคุณประเทศไทยในการแวะพักเทียบท่าครั้งนี้

แม้จะแวะจอดเทียบท่า แต่การรักษาความปลอดภัยบนเรือCVN-71ยังมีการเข้าเวรยามอย่างเข้มงวด โดยมีอุปกรณ์ต่อต้านโดรนแบบDRAKE ใช้งานร่วมกับอาวุธประจำกายของกำลังพลบนเรือที่ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยบนดาดฟ้าเรือ

พื้นที่ดาดฟ้าส่วนหัวเรือ และรางดีดปล่อยอากาศยานประจำเรือที่ปิดการใช้งานเมื่อเรือจอดเทียบท่า จะมีแต่การใช้งานเฮลิคอปเตอร์เพื่อการบินขึ้นลงในจุดนี้

เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ แบบซีฮอว์ค

F/A-18E ซุปเปอร์ฮอร์เน็ตของฝูงบินVFA-211 "ไฟท์ติ้ง เช๊คเมท" ในภาพเป็นการโหลดติดตั้งถังเชื้อเพลิง และอุปกรณ์เติมเชื้อเพลิงแบบบัดดี้แพ๊ค เพื่อปฏิบัติภารกิจเป็นเครื่องเติมเชื้อเพลิงในอากาศให้กับเครื่องในหมู่บินเดียวกัน


แพนหางของฝูงบินรบต่างๆของเครื่องซุปเปอร์ฮอร์เน็ต บนเรือธีโอดอร์ รูสเวลล์

CAG's bird ของฝูงบินVFA-34 "บลูบลาสท์"ฝูงบินโจมตีประจำเรือบรรทุกเครื่องบินที่เดิมใช้เครื่องบินโจมตีแบบA-6 อินทรูเดอร์ ก่อนเปลี่ยนแบบเป็นF/A-18 Cในปีพ.ศ.2541 และเป็นF/A-18E ในปัจจุบัน

การซ่อมทำสีแนวทางวิ่งกลางลำเรือ

ลิฟท์ลำเลียงเสบียงจากโถงกลางเรือลงไปยังใต้ท้องเรือ

กำลังพลประจำเรือ ขณะซ่อมบำรุงระบบแท่นอาวุธปืนป้องกันเรือระยะประชิด ฟาแล๊งซ์ CIWS และ แท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิธีต่อสู้อากาศยานแบบซีสแปร์โรว์

หอบังคับการเรือ ของเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิทซ์ มีความสูงเท่ากับตึก7ชั้น



กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ได้นำเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Nimitz ลำที่สี่ เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ CVN-71 USS Theodore Roosevelt เรือธง(Flag Ship) ของกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่9(CSG9: CARRIER STRIKE GROUP 9)  
ร่วมกับกองเรือพิฆาตที่23(DESRON23: Destroyer Squadron 23) ประกอบด้วยเรือพิฆาตชั้น Arleigh Burke สี่ลำคือเรือพิฆาต DDG-59 USS Russell, เรือพิฆาต DDG-118 USS Daniel K. Inouye, เรือพิฆาต DDG-97 USS Halsey และเรือพิฆาต DDG-83 USS Howard
เรือบรรทุกเครื่องบิน USS Theodore Roosevelt เดินทางมาเทียบท่าที่ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ในอ่าวไทย ขณะที่เรือพิฆาตทั้งสี่ลำเทียบท่าที่ท่าเรือศรีราชา ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗(2024) เพื่อเป็นการพักผ่อนหลังวางกำลังฝึกในอินโด-แปซิฟิกอย่างต่อเนื่องมาสี่เดือน

ปัจจุบันเรือบรรทุกเครื่องบิน CVN-71 USS Theodore Roosevelt วางกำลังด้วยกองบินเรือบรรทุกเครื่องบินที่11 (CVW-11: Carrier Air Wing Eleven) ซึ่งมีอากาศยานแบบต่างในแต่ฝูงบินประกอบด้วย
ฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-25 (Strike Fighter Squadron 25) "Fist of the Fleet" ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Boeing F/A-18E Super Hornet 
ฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-34 (Strike Fighter Squadron 34) "Blue Blasters" ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Boeing F/A-18E Super Hornet 
และฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-211 (Strike Fighter Squadron 211) "Fighting Checkmates" ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Boeing F/A-18E Super Hornet 
ฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-154 (Strike Fighter Squadron 154) "Black Knights"  ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง F/A-18F Super Hornet 
ฝูงบินโจมตี Electronic VAQ-137 (Electronic Attack Squadron 137) (VAQ-137) "Rooks"  ประจำการด้วยเครื่องบินโจมตีสงคราม Electronic แบบ Boeing EA-18G Growler 
ฝูงบินแจ้งเตือนทางอากาศประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน VAW-115 "Liberty Bells" ประจำการด้วยเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม Northrop Grumman E-2D Advanced Hawkeye
ฝูงบินพหุภารกิจส่งกำลังบำรุงกองเรือ VRM-30 (Fleet Logistics Multi-Mission Squadron 30)  "Titans" Detachment 3  เดิมประจำการด้วยอากาศยานใบพัดกระดกลำเลียง Bell Boeing CMV-22B Osprey 
แต่ช่วงที่ V-22 ทั่วโลกถูกสั่งงดบินหลักเกิดอุบัติเหตุตกที่ญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายน 2023 จึงใช้เครื่องบินลำเลียง Northrop Grumman C-2A Greyhound ไปก่อน
ฝูงบินเฮลิคอปเตอร์รบทางทะเล HSC-8 (Helicopter Sea Combat Squadron 8) "Eightballers" ประจำการด้วยเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปประจำเรือ Sikorsky MH-60S Knightwak 
และฝูงบินเฮลิคอปเตอร์โจมตีทางทะเล HSM-75 (Helicopter Maritime Strike Squadron 75) "Wolfpack" ประจำการด้วยเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ Sikorsky MH-60R Seahawk 

ฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-25 ที่เคยปรากฎ patch ว่าเป็นฝูงบินของ "Ice Man" ที่แสดงโดย Val Kimmer ในภาพยนตร์ Top Gun (1986) นั้น ที่จริงฝูงบินนี้ไม่เคยถูกกำหนดชื่อเป็นฝูงบินขับไล่ VF-213 และไม่เคยมีเครื่องบินขับไล่ Grumman F-14A Tomcat ประจำการในฝูงบินเลย
โดยในทศวรรษปี 1980s นั้นฝูงบินโจมตี VA-25 ได้เปลี่ยนผ่านจากเครื่องบินโจมตี A-7 Corsair มาเป็นฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-25 ใช้เครื่องบินขับไล่โจมตี McDonnell Douglas F/A-18A Hornet ในปี 1984 และต่อมาเป็นรุ่นเครื่องบินขับไล่โจมตี F/A-18C Hornet ในปี 1989
ก่อนที่ฝูงบิน VFA-25 จะเปลี่ยนแบบเป็นเครื่องบินขับไล่ F/A-18E ในปี 2013 โดยฝูงบินขับไล่ VF-213 "Blacklions" จริงๆนั้นเคยประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ F-14A ในปี 1976 ต่อมาเครื่องบินขับไล่ F-14D ในปี 1997 และเปลี่ยนเป็นฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-213 ใช้เครื่องบินขับไล่ F/A-18F ในปี 2006 ครับ