Royal Thai Navy (RTN)'s held Welcoming Ceremony for its new Type 071ET Landing
Platform Dock (LPD) "LPD-792 HTMS Chang(III)" at Chuk Samet Pier, Sattahip
Naval Base, Chonburi Province, Thailand on 25 April 2023.
Commander-in-chief of Royal Thai Navy (RTN) Admiral Choengchai Chomchoengpaet
was attended to Welcoming Ceremony for LPD-792 HTMS Chang(III) answered
questions from the media that It was requested in the draft budget for fiscal
year 2024 (FY2024) for fitting LPD-792 HTMS Chang(III) with one Leonardo 76/62
main gun, two MSI-Defence Systems DS30M (Seahawk) 30mm naval guns, four M2
.50cal heavy machineguns and Combat Information Center (CIC) and air/surface
search radar for 950 million Baht ($27,600,236), It will take about two years
to complete the work.
Royal Thai Navy commander also reveal to the media that decision on CHD 620
diesel electric generator engine for S26T Submarine to be made in June 2023
China cite that domestic CHD 620 generator engine already used on its People's
Liberation Army Navy (PLAN)'s surface vessels include Aircraft Carriers (Type
002 CV-17 Shandong and Type 003 CV-18 Fujian?) and ongoing construction PLAN
diesel-electric Submarines are equipped with CHD 620 to replaced German MTU
396 that Germany no longer allows exports to China in line with stricter
European Union (EU) sanctions on dual-use equipment.
Royal Thai Navy also will be talk with China on two used PLAN's Type 039A Yuan
submarine for delay compensation of S26T Submarine, which if RTN accepted
engine construction and delivery of 1st S26T submarine to be delay for 40
months by 2026.
However, it's all depending on new Thailand government after grand election in
14 May 2023. (Royal Thai Navy)
กองทัพเรือไทยรับมอบเรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071E LPD เรือหลวงช้างจากจีน
พิธีรับมอบเรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071ET LPD เรือหลวงช้างกองทัพเรือไทยที่จีน
เรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071ET LPD เรือหลวงช้างกองทัพเรือไทยออกจาก Shanghai
จีนเพื่อกลับไทย
กองทัพเรือไทยส่งเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเรือหลวงนราธิวาสรับเรืออู่ยกพลขึ้นบก
Type 071ET LPD เรือหลวงช้างใกล้เกาะ Hainan ทะเลจีนใต้
พิธีต้อนรับเรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071ET LPD
เรือหลวงช้างมาถึงฐานทัพเรือสัตหีบกองทัพเรือไทย
ประมวลภาพพิธีรับเรือหลวงช้าง ซึ่งหลังจากเสร็จพิธีญาติและกำลังพลเรือหลวงช้าง
ต่างโผกอดกันด้วยความดีใจ หลังต้องห่างกันเป็นเวลากว่า 4 เดือน
เรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่สนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ
เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) ได้เดินทางจากจีนเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
เป็นเวลา ๗วันมาถึงท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๖
เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ร.ล.ช้าง(ลำที่๓) แบบเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071ET
LPD(Landing Platform Dock) ที่ลงนามจัดหากับบริษัท China Shipbuilding Trading
Co., Ltd.(CSTC) จีนเมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) เป็นวงเงินราว
๖,๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($200 million)
ใช้ระยะเวลาการสร้างที่อู่เรือ Hudong-Zhonghua Shipbuilding Group(HZ)
ใกล้มหานคร Shanghai
สาธารณรัฐประชาชนจีนจนมีพิธีปล่อยเรือลงน้ำอย่างเป็นทางการในวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๖
และมีพิธีรับมอบเรือในวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖ และเดินทางกลับไทยรวมราว ๔ปี
เรือยกพลขึ้นบกอู่ เรือหลวงช้าง(ลำที่๓)
ที่จะเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประจำการของกองทัพเรือไทย
และเป็นเรือที่สั่งสร้างจากต่างประเทศลำล่าสุดหลังเรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชในปี
พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
จะได้รับการดำเนินการติดตั้งระบบอาวุธและอุปกรณ์ประจำเรือต่างๆเพิ่มเติม
ระบบที่จะติดตั้งในไทยรวมถึงเรือระบายพลขนาดกลาง(LCM: Landing Craft
Mechanized) และเรือระบายพลขนาดเล็ก(LCVP: Landing Craft Vehicle Personnel)
ที่ไทยสร้างเองได้ในประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/marsun.html) ขณะที่ยานเบาะอากาศ LCAC(Landing Craft Air Cushion)
การจัดหาจากต่างประเทศจะมีราคาถูกกว่า
การร้องของบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024) วงเงิน ๙๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($27.6 million)
ในการติดตั้งปืนเรือ Leonardo 76/62, ปืนกล MSI DS30M 30mm สองแท่น, ปืนกลหนัก M2
.50cal สี่แท่น และศูนย์ยุทธการ(CIC: Combat Information Center) และ radar
ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ จะใช้ระเวลาดำเนินการราวสองปี
ผู้บัญชาการทหารเรือไทยยังได้ตอบคำถามต่อสื่อเกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการจัดหาเรือดำน้ำ
S26T ระยะที่๑
จากจีนที่มีปัญหาเยอรมนีไม่อนุญาตส่งออกเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า MTU
396
แก่จีนตามที่สหภาพยุโรปเข้มงวดการคว่ำบาตรการส่งออกสิ่งอุปกรณ์ใช้งานสองทางแก่จีนนั้น
ว่ากองทัพเรือไทยน่าจะมีการตัดสินใจว่าจะยอมรับเครื่องยนต์กำเนิดพลังงานไฟฟ้า CHD
620 หรือไม่ในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ นี้ ตามเงื่อนไข ๑.ต้องมีความปลอดภัยน่าเชื่อถือ
๒.จีนต้องรับรองและรับประกันสนับสนุนอะไหล่และบริการตลอดอายุการใช้งาน
๓.จีนต้องทดแทนค่าเสียโอกาสให้ไทย
จีนอ้างว่าเครื่องยนต์ CHD 620
ได้ถูกนำไปใช้งานจริงบนเรือบรรทุกเครื่องบินที่จีนสร้างเองแล้ว(อย่าง Type 002
CV-17 Shandong และ Type 003 CV-18 Fujian) และจีนพัฒนาเครื่องยนต์ CHD 620
เพื่อใช้งานในเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบที่กำลังต่ออยู่ทุกลำแทน MTU 396 แล้ว
อย่างไรก็ตามถ้ากองทัพเรือไทยจะตัดสินใจยอมรับเครื่องยนต์ CHD 620
การสร้างเรือดำน้ำ S26T ลำแรกจะใช้เวลาอีก ๔๐เดือน หรือราว ๓ปี ๔เดือน ถึงปี
พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๖๙(2025-2026)
โดยการชดเชยดูเหมือนได้มองที่จะเจรจากับจีนสำหรับเรือดำน้ำชั้น Type 039A Yuan มือสอง
๒ลำ
แต่ก็เป็นเรื่องระดับที่เหนือกว่ากองทัพเรือไทยขึ้นไป(เห็นได้จากพิธีต้อนรับ
ร.ล.ช้าง
ว่ามีนายทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนยศพันเอกอาวุโสที่พูดภาษาไทยได้เป็นล่ามให้ระหว่างนายพลเรือตรีกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนกับ
ผบ.ทร. แสดงว่าระดับกองทัพเรือทั้งสองมีการพูดคุยกันแล้ว)
รวมถึงโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูงที่จะต่อในไทย(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/dsme.html) ตามที่ยังไม่มีการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ลำที่๒ และ๓
แต่ทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับรัฐบาลไทยชุดใหม่หลังการเลือกตั้งใหญ่ของไทยในวันที่ ๑๔
พฤษภาคม ๒๕๖๖ จะเป็นผู้พิจารณาตัดสินใจครับ
Royal Thai Navy's CVH-911 HTMS Chakri Naruebet helicopter carrier, FFG-472
HTMS Bhumibol Adulyadej guided missile frigate and AOR-871 HTMS Similan
replenishment ship were formation sailing during Naval Exercise Fiscal Year
2023 on 4 April 2023.
(Royal Thai Navy)
ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการตรวจเยี่ยมการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๖
วันที่ ๔ เม.ย.๖๖ พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
เดินทางไปตรวจเยี่ยมการฝึกภาคทะเลและให้โอวาทแก่กำลังพลที่เข้าร่วมการฝึก
ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๖๖
โดยการฝึกเน้นสิ่งสำคัญในการเตรียมความพร้อมทั้งองค์บุคคล องค์วัตถุ
องค์ยุทธวิธี ความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจของกำลังพล
เพื่อให้กองทัพเรือมีความพร้อมที่จะรองรับสถานการณ์ต่างๆ
ได้อย่างเหมาะสม
ถึงแม้ว่าในสภาวะปัจจุบันประเทศไทยเราอาจจะไม่ได้มีความขัดแย้ง
หรือจะต้องใช้กำลังทางทหารเข้าต่อสู้ รบราฆ่าฟันกับใครก็ตาม
แต่ก็ต้องเตรียมกำลัง
และความพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นในสภาวะเช่นนี้จึงให้ความสำคัญกับการฝึกเป็นอย่างมาก ดังคำที่ว่า
"รบอย่างไร ฝึกอย่างนั้น"
การฝึกกองทัพเรือประจำปี พ.ศ.๒๕๖๖ ในวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๖
หมู่เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เรือหลวงจักรีนฤเบศร
เรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และเรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่เรือหลวงสิมิลัน
ได้แสดงให้เห็นว่าเรือรบหลักขนาดใหญ่ของกองทัพเรือไทยมีความพร้อมปฏิบัติการตลอดเวลา
การฝึกการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก สนามฝึกกองทัพเรือ หมายเลข๑๕ หาดยาว
เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๖
เป็นการฝึกยกพลขึ้นบกหลักครั้งที่สองในช่วงหกสัปดาห์(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/amphibex.html) ที่มีรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV-7A1 RAM/RS ยานเกราะจู่โจม VN16
และยานเกราะล้อยาง BTR-31E1 เข้าร่วมหลังการฝึกร่วมผสม Cobra Gold 2023
เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๖(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/amphibex-cobra-gold-2023.html)
แสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่สูงของนาวิกโยธินไทยและปฏิบัติการร่วมของกองทัพเรือไทยได้อย่างดีครับ
CVN-68 USS Nimitz, the lead ship of Nimitz-class Aircraft Carrier at Laem
Chabang Port, Chonburi Province, Thailand as port visited during 24-29 April
2023. (Kittidej Sanguantongkam)
กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี Nimitz (CSG 11) แห่งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา
มาเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 24-29 เมษายน 2566 ณ
ท่าเทียบเรือน้ำลึกแหลมฉบัง จ.ชลบุรี
การเข้าเยี่ยมท่าของกองทัพเรือสหรัฐฯ
เป็นโอกาสในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ-ไทย
ตลอดจนกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ
ในระหว่างการเยือนครั้งนี้ เรือ USS Nimitz (CVN 68)
ซึ่งเป็นเรือธงของกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 11 (Carrier Strike Group
11) จะจัดงานเลี้ยงรับรองเพื่อฉลองวาระครบรอบ 190
ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูตสหรัฐฯ-ไทย
การเข้าเยี่ยมท่ายังเปิดโอกาสให้ทหารเรือสหรัฐฯ
ได้สัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่นและเข้าร่วมการประชุมหารือต่าง ๆ
ตลอดจนมีส่วนร่วมในโครงการชุมชนสัมพันธ์ด้วย
กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี Nimitz ออกเดินทางจากเมืองเบรเมอร์ตัน
รัฐวอชิงตัน เพื่อปฏิบัติการทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน 2565 ตั้งแต่นั้นมา
กองเรือได้เข้าร่วมฝึกร่วมผสมหลายครั้ง
รวมทั้งเข้าเยี่ยมท่าเรือของภาคีและพันธมิตรหลายแห่งทั่วภูมิภาค
กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 11 (Carrier Strike Group 11)
มีการประกอบกำลัง จำนวนรวมทั้งสิ้น 5 ลำ ประกอบด้วย เรือบรรทุกเครื่องบิน
จำนวน 1 ลำ (USS Nimitz) เรือลาดตระเวนจำนวน 1 ลำ (USS Bunker Hill)
เรือพิฆาต จำนวน 2 ลำ (USS Decatur และ USS Wayne E. Meyer)
และหมวดบินเฉพาะกิจ โดยมี พลเรือตรี Chirstopher J. Sweeney เป็น
ผู้บัญชาการกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 11 และมี นาวาเอก Craig C.
Sicola เป็น ผู้บังคับการเรือ USS NIMITZ โดยกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่
11
ได้ปฏิบัติภารกิจการลาดตระเวนและฝึกร่วมกับชาติพันธมิตรในพื้นที่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก
ก่อนที่จะเดินทางเข้าเยี่ยมเยือนเมืองท่าประเทศไทย
โดยมีกำหนดการเดินทางกลับในวันที่ 29 เมษายน 2566
เพื่อปฏิบัติภารกิจภายใต้กองเรือที่ 7 ต่อไป
ภาพถ่ายโดย กิตติเดช สงวนทองคำ Airlinesweek
เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ CVN-68 USS Nimitz
เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Nimitz ลำแรก
สังกัดกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่11(CSG11: Carrier Strike Group 11)
กองเรือที่7(7th Fleet) กองเรือแปซิฟิก(USPACFLT: Pacific Fleet)
กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy)
ได้เสร็จสิ้นการเดินทางเยือนไทยโดยเทียบท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๖ ตรงกับโอกาสครบรอบ
๑๙๐ปีความพันธ์ทางการทูตไทย-สหรัฐฯ
ซึ่งผู้บัญชาการทหารเรือไทยและสื่อมวลชนไทยได้รับเชิญเข้าชมเรือ
ก่อนจะกลับไปวางกำลังในอินโด-แปซิฟิก
การเดินทางเยือนไทยครั้งล่าสุดของเรือบรรทุกเครื่องบิน CVN-68 USS Nimitz
ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1975 อาจจะเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว
ตามที่กองทัพเรือสหรัฐวางแผนจะปลดประจำการในปี 2026 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/nimitz-lcs-independence.html)
Air and Coastal Defence Command (ACDC), Royal Thai Navy (RTN) has training
and testing its FK-3 medium-range surface-to-air missile system to linked
situation data from Leonardo KRONOS mobile multifunctional radar system (air
serach) and Royal Thai Air Force (RTAF)'s Air Command and Control System
(ACCS) on 10 April 2023. no further details provided at time published.
(Royal Thai Navy)
เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๖ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
สอ.รฝ.
กองทัพเรือไทยได้ทำการฝึกและทดลองระบบอาวุธนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลาง FK-3
ในการเชื่อมโยงกับระบบ radar ตรวจการณ์ทางอากาศแบบเคลื่อนที่ Leonardo KRONOS
LAND
และระบบบัญชาการและควบคุมทางอากาศ(ACCS: Air Command and Control System)
ร่วมกับกองทัพอากาศไทย ที่มีพื้นฐานจากระบบ 9AIR C4I ของบริษัท Saab สวีเดน
ซึ่งได้ถูกใช้งานโดยกองทัพอากาศไทยและกองทัพเรือไทยเป็นเวลามากกว่า ๑๐ปี
และกองทัพบกไทยมองที่จะเข้าร่วมด้วย
แม้ว่าจะไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมในการอธิบายว่าทำงานการเชื่อมโยงระบบเข้าด้วยกันอย่างไร
แต่ก็ได้แสดงให้เห็นว่าระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศอัตตาจร
FK-3 ระยะยิง 100km
สามารถนำมาบูรณาการใช้งานร่วมกับระบบที่กองทัพเรือไทยและเหล่าทัพอื่นใช้อยู่ได้ครับ
Royal Thai Air Force (RTAF)'s Airbus A340-500 of 602nd Squadron and Lockheed
Martin C-130H serial 60107 and serial 60112 of 601st Squadron and RTAF
Special Operation Regiment (SOR), Security Force Command (SFC) conducted mission to evacuate Thai nationals from the civil war in Sudan
during 26 April to 1 May 2023 with assistance from Saudi Arabia. (Royal Thai
Air Force)
RTAF's Lockheed Martin C-130H serial 60109 transport aircraft of 601st
Squadron with Thai passengers who evacuated from Sudan to Thailand, flight
from Wing 6 Don Muang in Bangkok to Bo Thong Airport Pattani Province on 28
April 2023. (Royal Thai Air Force)
Safe flight. See you soon.
เครื่องบิน Airbus A340-500 และ C-130H
วิ่งขึ้นจากกองทัพอากาศเพื่อไปรับพี่น้องชาวไทย
หน้าที่ของเราคือนำทุกท่านกลับสู่มาตุภูมิอย่างปลอดภัย
See you Soon
RTAF at King Abdulaziz International Airport
Welcome home
ยินดีต้อนรับพี่น้องชาวไทยชุดแรกสู่มาตุภูมิ
ภารกิจรับคนไทยกลับจาก สาธารณรัฐซูดาน เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566
Passenger on Board. Ready for Departure.
พี่น้องชาวไทยชุดแรกพร้อมเดินทางกลับสู่มาตุภูมิ
หลังจากพบพี่น้องชาวไทยทีมแพทย์ของ ทอ.
ได้ตรวจและประเมินสุขภาพก่อนเข้าที่พัก
พร้อมทั้งให้คำแนะนำการเตรียมความพร้อมก่อนเดินทางกลับประเทศไทย
โดยพี่น้องชาวไทยทุกคนมีขวัญและกำลังใจที่ดีก่อนเดินทางกลับสู่มาตุภูมิ...See
you soon
นายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้อนรับ 78
คนไทยจากสาธารณรัฐซูดาน
ซึ่งเดินทางกลับถึงประเทศไทยด้วยเครื่องบินของกองทัพอากาศ
วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2566 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย นายดอน
ปรมัตถ์วินัย
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ,
พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม, พลเอก
เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ พลอากาศเอก
อลงกรณ์ วัณณรถ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เดินทางมายังท่าอากาศยานทหาร 2
กองบิน 6 ดอนเมือง
เพื่อต้อนรับคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การสู้รบในสาธารณรัฐซูดาน
ที่เดินทางกลับมายังประเทศไทยด้วยเครื่องบินของกองทัพอากาศ เป็นชุดแรก จำนวน
78 คน แบ่งออกเป็นผู้ชาย 38 คน และผู้หญิง 40 คน
โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ
เมื่อเดินทางถึงท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ดอนเมือง แล้ว คนไทยทั้ง 78 คน
จะได้รับบริการตรวจสุขภาพ โดยกรมควบคุมโรค และกรมสุขภาพจิต,
การอำนวยความสะดวกด้านการตรวจเอกสารการเดินทาง
โดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง,
การตรวจสอบสิทธิ์และให้คำแนะนำด้านต่าง ๆ โดยกระทรวงแรงงาน
และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น
เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมดแล้ว กลุ่มแรกจำนวน 5 คน
จะเข้าพักในที่พักที่กระทรวงการต่างประเทศจัดหาให้ส่วนอีก 73 คน
ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ จะอยู่ภายใต้การดูแลของ ศอ.บต.
(ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้) ซึ่งจัดที่พักรับรองไว้ให้ 1
คืน
จากนั้นช่วงเช้าของวันที่ 28 เมษายน 2566 กองทัพอากาศจะจัดเครื่องบิน C-130
ไปส่งที่สนามบินบ่อทอง จังหวัดปัตตานี ต่อไป
สำหรับแผนการช่วยเหลือในห้วงต่อไป ขณะนี้ได้รับรายงานว่า
มีคนไทยรอเดินทางกลับด้วยเครื่องบินของกองทัพอากาศอีก 132 คน แบ่งออกเป็น
ชุดแรกจำนวน 66 คน ขณะนี้เดินทางด้วยเครื่องบิน C-130
ของกองทัพอากาศซาอุดีอาระเบียจากสาธารณรัฐซูดาน
ถึงเมืองเจดดาห์ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียแล้ว และได้พบกับ นายดามพ์
บุญธร เอกอัครราชทูต ณ กรุงริยาด และ นาวาอากาศเอก อนุรักษ์ รมณารักษ์
หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายอำนวยการภารกิจรับคนไทยกลับจากพื้นที่ขัดแย้งในสาธารณรัฐซูดาน
(ในส่วนของกองทัพอากาศ)
ที่ยังคงเตรียมความพร้อมและประสานงานอยู่ที่เมืองเจดดาห์ ส่วนชุดที่ 2 จำนวน
66 คน จะเดินทางข้ามจาก Port of Sudan ไปยังเมืองเจดดาห์โดยทางเรือ
และอาจมีผู้เดินทางมาสมทบเพิ่มเติม
ทั้งนี้กองทัพอากาศจะประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศอย่างใกล้ชิด
เพื่อช่วยเหลือคนไทยกลับมาได้ทั้งหมด
โดยเบื้องต้นคาดว่าจะใช้เครื่องบิน Airbus A340-500
กลับไปรับคนไทยเป็นเที่ยวบินที่สอง และยังมีเครื่องบิน C-130 อีก 2
เครื่องซึ่งเตรียมความพร้อมอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติ คิง อับดุลลาซิซ
ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
สำหรับกำหนดการและรายละเอียดอื่น ๆ กองทัพอากาศจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ส่งพี่น้องชาวไทยกลับบ้าน
เครื่องบิน C-130 นำพี่น้องชาวไทยที่มาจากซูดานส่งกลับบ้าน
โดยวิ่งขึ้นจากดอนเมืองไปลงที่สนามบินบ่อทอง จว.ปัตตานี
คนไทยจากสาธารณรัฐซูดาน ชุดที่ 2 เดินทางกลับถึงท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน
6 ดอนเมือง
วันเสาร์ที่ 29 เมษายน 2566 นายดอน ปรมัตถ์วินัย
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ พลอากาศเอก
อลงกรณ์ วัณณรถ ผู้บัญชาการทหารอากาศ พร้อมด้วย นาวาอากาศเอกหญิง
พรรณประภา วัณณรถ นายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ
ตลอดจนผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ให้การต้อนรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การสู้รบในสาธารณรัฐซูดาน
ซึ่งเดินทางกลับมายังประเทศไทยด้วยเครื่องบิน Airbus A340-500 ของกองทัพอากาศ
เป็นเที่ยวบินที่ 2 จำนวน 135 คน แบ่งออกเป็นผู้ชาย 73 คน และผู้หญิง 62
คน
ในจำนวนนี้เป็นสัญชาติไทย 132 คน สัญชาติอินโดนีเซีย 1 คน และสัญชาติจีน 2
คน โดยในส่วนของชาวต่างชาติที่เดินทางกลับมาด้วยนั้น
เป็นครอบครัวของคนไทย
เมื่อเดินทางถึงท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ดอนเมือง แล้ว
ผู้โดยสารจะได้รับบริการตรวจสุขภาพ โดยกรมควบคุมโรค และกรมสุขภาพจิต,
การอำนวยความสะดวกด้านการตรวจเอกสารการเดินทาง โดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง,
การตรวจสอบสิทธิ์และให้คำแนะนำด้านต่าง ๆ
โดยกระทรวงแรงงาน และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รวมถึงการจัดรถบริการไปยังที่พัก โดยกระทรวงคมนาคม
ทั้งนี้ ในช่วงเช้าของวันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน 2566
กองทัพอากาศจะจัดเครื่องบิน C-130
ไปส่งผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สนามบินบ่อทอง
จังหวัดปัตตานี โดยมีผู้แจ้งความประสงค์จะเดินทางประมาณ 40 คน
สำหรับแผนการปฏิบัติในห้วงต่อไป
ขณะนี้ได้รับรายงานว่ามีคนไทยที่ตกค้างอีกจำนวน 5 คน
ได้เดินทางมาสมทบกับคณะของกองทัพอากาศ
ที่ยังคงเตรียมความพร้อมอยู่ที่เมืองเจดดาห์ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
และจะเดินทางกลับมาพร้อมเครื่องบิน C-130
ซึ่งมีกำหนดเดินทางกลับถึงเมืองไทยในวันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม 2566
สงครามกลางเมืองในสาธารณรัฐซูดานระหว่างกองทัพซูดาน(Sudanese Armed Forces)
และกองกำลังสนับสนุนเคลื่อนที่เร็ว Rapid Support Forces(RSF)
ที่เริ่มขึ้นในเมืองหลวง Khartoum ตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๖
ที่มีคนไทยที่อยู่ในซูดานได้รับผลกระทบและต้องเดินทางกลับไทยนั้น
ก็น่าเหนื่อยใจสำหรับเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศไทยที่เกี่ยวข้องที่มีผู้ไม่หวังดีต่อชาติคอยโจมตี
อย่างตอนแรกก็บอกว่าทำไมไปส่งกองร้อยทหารช่างเฉพาะกิจไทย/South Sudan
กองกำลังรักษาสันติภาพสหประชาติ ไปช่วย
เหตุผลคือเป็นคนละประเทศกันและห่างกันถึง 1,600km ไกลและอันตรายมาก
พอส่งเครื่องบินไปรับโดยความช่วยเหลือจากซาอุดีอาระเบียก็บอกว่าทำไมไม่รีบไปแต่แรก
พอรับคนไทยกลับมาไทยอย่างปลอดภัยได้และพาไปส่งถึงสนามบินบ่อทองปัตตานีก็ตำหนิว่าจะสิ้นเปลืองกับคนใต้ไปทำไม
แต่พวกที่มาต่อว่าคนใต้ก็สนับสนุนแนวคิดการก่อความไม่สงบ ซึ่งประหลาดมากครับ
Rest In Peace, CT-4E Airtrainer trainer aircraft (pictured) of Royal Thai Air Force (RTAF) Flying Training School Kamphaeng Saen in Nakhon Pathom Province, Thailand, was crash during landing to airfield on 29 April 2023 at local time 1152, flight instructor has been killed in action and flight student has seriously injured and recovered by RTAF's EC725(Airbus Helicopters H225M) search and rescue helicopter of 203rd Squadron, Wing 2 to hospital immediately. (Royal Thai Air Force)
โฆษกกองทัพอากาศเปิดเผย เครื่องบินฝึกแบบ CT-4E ของกองทัพอากาศ ประสบอุบัติเหตุระหว่างฝึกบิน
พลอากาศตรี ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยว่าวันนี้ (วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2566) เวลาประมาณ 11.52 น. เครื่องบินฝึกแบบที่ 16 ก หรือ CT-4E ของกองทัพอากาศ เกิดอุบัติเหตุระหว่างทำการฝึกบินวัฏภาคเกาะภูมิประเทศก่อนปล่อยเดี่ยว ขณะทำการบินลงสนาม (Landing) ณ โรงเรียนการบิน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ส่งผลให้มีครูการบิน เสียชีวิต 1 คน คือ เรืออากาศเอก ศุภกิจ อินทชัย และศิษย์การบิน ได้รับบาดเจ็บสาหัส 1 คน คือ เรืออากาศตรี ภูรินทร์ ชนะ
พลอากาศเอก อลงกรณ์ วัณณรถ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้สั่งการให้ดำเนินการส่งทีมแพทย์ทหารอากาศ และเฮลิคอปเตอร์แบบ EC725 เข้ารับศิษย์การบินที่ได้รับบาดเจ็บไปทำการรักษาโดยเร่งด่วนที่สุด
และสั่งการให้ผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานนิรภัยกองทัพอากาศ เดินทางไปยังพื้นที่เกิดเหตุเพื่อตรวจสอบหาสาเหตุ ตามกระบวนการตรวจสอบอากาศยานอุบัติเหตุในระดับสากล
พร้อมทั้งให้งดทำการปฏิบัติภารกิจการบินของเครื่องบินฝึกแบบที่ 16 ก หรือ CT-4E จนกว่าจะได้รับการยืนยันผลการตรวจสอบสาเหตุที่แท้จริง รวมทั้ง สั่งการให้ดำเนินการด้านสิทธิกำลังพลที่สมเกียรติที่สุด ให้แก่ เรืออากาศเอก ศุภกิจ อินทชัย และครอบครัว
กองทัพอากาศขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ต่อครอบครัวและทุกคนที่เกี่ยวข้อง จากการสูญเสียครูการบินของกองทัพอากาศ ผู้เป็นบุคลากรที่มีความสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ฝึกสอนและผลิตนักบินให้แก่กองทัพอากาศและประเทศชาติ ทั้งนี้หากมีรายละเอียดที่สำคัญเพิ่มเติมจะเรียนให้ทราบต่อไป
อุบัติเหตุการตกของเครื่องบินฝึกแบบที่๑๖ก CT-4E ฝูงฝึกขั้นต้น กองฝึกการบิน โรงเรียนการบินกำแพงแสน ระหว่างการลงจอดในการฝึกบินวัฏภาคการบินเกาะภูมิประเทศก่อนปล่อยเดี่ยว เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๖ ทำให้ครูการบินเสียชีวิตหนึ่งนาย และศิษย์การบินหนึ่งนายได้รับบาดเจ็บสาหัส
บ.ฝ.๑๖ก CT-4E ๒๔เครื่องที่จัดหาในปี พ.ศ.๒๕๔๒-๒๕๔๘(1999-2005) นั้น(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/ct-4a.html) มีรายงานอุบัติเหตุก่อนหน้าอย่างน้อย ๑ครั้งคือเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๙(2006) ที่สุพรรณบุรี นักบินคือ เรืออากาศเอก นาวิน ปิ่นประเสริฐ เสียชีวิต
ตามที่กองทัพอากาศไทยได้สั่งงดบินเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๑๖ก CT-4E ที่โรงเรียการบินมีอยู่เพื่อสอบสวนสาเหตุ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีผู้ไม่หวังดีต่อชาติคอยซ้ำเติมนักบินทหารอากาศไทยที่เสียชีวิตและบาดเจ็บว่าใช้เครื่องเก่าสมควรตาย ซึ่งไม่ตรงกับความจริงและไร้ความรับผิดชอบในฐานะมนุษย์ครับ
Both RV Cobnnex PATHUM 4 local prodution based-on Aeronautics Orbiter 4 small tactical unmanned aerial system (UAS) with vertical take-off and landing (VTOL) configuration and ATIL DP-6 DP6 VTOL UAV (Unmanned Aerial Vehicle) are competing for Royal Thai Army (RTA) requirements. (My Own Photo/Aeronautics/TV5)
ทั้งอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง Pathum 4 โดบริษัท RV Connex ไทย ซึ่งมีพื้นฐานจากอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธีขนาดเล็ก Aeronautics Orbiter 4 VTOL อิสราเอล ซึ่งมีการลงนามข้อตกลงการเป็นทีมในการผลิตภายในไทยในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๖ ที่มผ่านมา
และอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง DP6 โดยบริษัท ATIL ไทยซึ่งเป็นการพัฒนาร่วมระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI(Defence Technology Institute) ไทยและบริษัท Beihang UAS Technology จีน ที่มีการทดสอบไปแล้วในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เช่นกัน
ถูกระบุว่ากำลังเข้าแข่งขันตามความต้องการโครงการจัดหาอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่งสำหรับเหล่าทหารปืนใหญ่ กองทัพบกไทย ซึ่ง UAV ทั้งสองแบบเป็นต่างเป็นการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมการบินของไทย ตามที่กองทัพบกไทยให้ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยครับ
The eleven cadets from the Royal Thai Army’s Chulachomklao Royal Military Academy compete in the Sandhurst Military Skills Competition at US Military Academy West Point, New York, USA during 28-29 April 2023. (US Army/Royal Thai Army)
ทีมนักเรียนนายร้อยไทย ลำดับที่ 12 จาก 48 ทีม จากนานาชาติ
กับการแข่งขันทักษะทางทหาร Sandhurst Military Skills Competition 2023 การแข่งขันทักษะทางทหาร
นนร. เดินทางไปสหรัฐฯ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน Sandhurst Compettition ในห้วง 21 เม.ย. - 2 พ.ค. 66 หลังทำการทดสอบเพื่อจัดลำดับทีม ทีม นนร. ไทย ได้ลำดับที่ 12 จาก 48 ทีม จากนานาชาติ
(West Point, หน่วย ROTC ทั่วสหรัฐอเมริกา, โรงเรียนเหล่าอื่นๆของกองทัพสหรัฐฯ และทีม รร.นายร้อยฯ นานาชาติ จำนวน 14 ทีม)
โดยในห้วงต่อไปจะเป็นเข้าไปสร้างความคุ้นเคยในสนามแข่งขันจริง ที่จะเป็นการแข่งขันต่อเนื่องยาวนานถึง 36 ชม. ในวันที่ 28-29 เม.ย. 66
มาร่วมติดตามให้กำลังใจ และ ร่วมส่งแรงใจ อีก 1 วัน เริ่มแข่งสนามจริง
Day ONE First 24 hr. Sandhurst Competition 2023
ทีมนักเรียนนายร้อยไทย ที่ร่วมการแข่งขันทักษะทางทหาร Sandcom 23 ณ ประเทศสหรัฐฯ ในวันที่ 28 เม.ย. 66 (ตามเวลานิวยอร์ค) เป็นการแข่งขัน ในวันที่ 1 ในปีนี้ การแข่งขันวันแรก จัดให้มีทั้งหมด 8 + 1 Lanes
Lane 1 TCCC (การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บทางยุทธวิธีในสนามรบ)
Lane 2 Grenade (ระเบิดขว้าง)
Lane 3 Zodiac (การใช้เรือ Zodiac)
Lane 4 CBRN (คชรน)
Lane 5 One rope Bridge (สะพานเชือกเส้นเดียว)
Lane 6 COMMS(การติดต่อสื่สาร)
Lane 7 Wpn Assembly (การถอดประกอบอาวุธ)
Lane 8 FUNC FITNESS (การทดสอบร่างกายแบบจำลองจากกิจกรรมการทำงาน)
Lane 9 Ruck (การเดินเร่งรีบ) จับเวลา
มาร่วมติดตามให้กำลังใจ และ ร่วมส่งแรงใจ โดยยังเหลือการแข่งขันอีก 1 วัน 29 เม.ย. นี้ใน