วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๗-๓



Royal Thai Navy's FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej; FFG-422 HTMS Taksin, the Naresuan-class missile frigate; FF-457 HTMS Kraburi, the Chao Phraya class frigate at Victoria Harbour, Hong Kong on 9-12 March 2024

Royal Thai Navy's FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej; FFG-422 HTMS Taksin and; FF-457 HTMS Kraburi at Muara port, Brunei on 17 March 2024.
as Royal Thai Naval Academy (RTNA) cadets maritime practical training task group during Academic year 2023 journey on 28 February to 27 March 2024. (Royal Thai Navy) 

Thailand Parliament's Military Committee decided to cut Royal Thai Navy (RTN) 17 billion bath ($485,568,620) of new Frigate programme for Fiscal Year 2024 budget.
The competition was expected to be involved Thai local shipbuilders with foreign partners investment include Republic of Korea's Hanwha Ocean, Germany's TKMS (with Marsun Thailand), Netherlands's Damen, Spain's Navantia, Italy Fincantieri and Turkey's STM, 
to build new Frigate in Thailand now on hold and delayed to FY2026 by majority of the members of the House of Representatives of the Parliament in the Military Committee.
After Thai Minister of Defense Sutin Klungsang, Thai Deputy Minister of Foreign Affairs Jakkapong Sangmanee and Commander-in-Chief of the Royal Thai Navy Admiral Adung Phan-iam completed visit to China on 26-27 March 2024, China Shipbuilding & Offshore International Co. Ltd (CSOC) trade arm of China State Shipbuilding Corporation (CSSC) chinese state owned shipbuilding company also show signs of change in cancelation S26T submarine programme to surface warship likely be new Offshore Patrol Vessel (OPV).
However, Chinese media has articles analyzing the dissatisfaction of China's shipbuilding industries from Thailand's breach of contract and causing losses to Chinese companies.

ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ เป็นประธานในพิธีส่งหมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือ
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 08.30 น. พลเรือโท ประวุฒิ  รอดมณี ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ เป็นประธานในพิธีส่งหมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือ เดินทางไปฝึกภาคปฏิบัติในทะเลต่างประเทศของนักเรียนนายเรือชั้นปีที่ 1 – 4 ประจำปีการศึกษา 2566 ระหว่าง 27 กุมภาพันธ์ ถึง 27 มีนาคม 2567 โดยมีแผนแวะเยี่ยมเมืองท่าฮ่องกงและบรูไน เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับกำลังพลหมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือ ณ ท่าเทียบเรือเสือซ่อนเล็บ โรงเรียนนายเรือ จังหวัดสมุทรปราการ
สำหรับพิธีส่งหมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือในวันนี้ประกอบด้วยการโบกหมวก ซึ่งเป็นประเพณีชาวเรือที่สำคัญ แสดงถึงการอำลาจากเพื่อน พี่ น้อง และผู้เป็นที่รัก ที่กำลังออกเรือเดินทางสู่ น่านน้ำต่างประเทศ  การจัดเรือใบแล่นขนาน และการประดับธงราวและธงประมวลสากลข้อความ “Bon Voyage”

ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ เดินทางไปตรวจเยี่ยมหมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือ ณ อ่าววิคตอเรีย เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2567 พลเรือโท ประวุฒิ  รอดมณี  ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ เดินทางไปตรวจเยี่ยมหมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือ ณ อ่าววิคตอเรีย เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน 
โดยมี พลเรือตรี จักรชัย น้อยหัวหาด เสนาธิการโรงเรียนนายเรือ ปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับหมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือประจำปีการศึกษา 2566  ให้การต้อนรับ และนำคณะตรวจเยี่ยมกำลังพลในหมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือ 
โดยหมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือเดินทางเข้าจอดเยี่ยมเมืองท่าฮ่องกง ระหว่าง 9 - 12 มีนาคม 2567

หมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือได้เปิดให้พี่น้องชาวไทยในบรูไนและครอบครัวเข้าเยี่ยมชมเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช
ในวันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม 2567 เวลา 1000 หมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือได้เปิดให้พี่น้องชาวไทยในบรูไนและครอบครัวเข้าเยี่ยมชมเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชซึ่งมาจอดเทียบ ณ ท่าเรือเมืองมัวรา (MUARA) ในระหว่างการฝึกภาคทะเลต่างประเทศประจำปีการศึกษา 2566

สื่อจีนชี้เหตุ ทร.ไทยเปลี่ยนสัญญาจากเรือดำน้ำเป็นเรือผิวน้ำ ส่อทำเอกชนต่อเรือดำน้ำจีนเสียหายหนัก เพราะต่อเรือไปแล้ว 50% แต่ไม่ได้รับเงินที่เหลือ เผยในอนาคตควรรับเงินเต็มก่อนเริ่มทำงาน...
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานข่าวเกี่ยวกับการจัดซื้อเรือรบของกองทัพเรือไทยที่ถูกนำเสนอในสื่อจีน โดยเว็บไซต์ 163 รายงานข่าวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการจัดหาเรือดำน้ำเป็นเรือผิวน้ำว่าทางประเทศไทยยอมจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนจากเรือดำน้ำเป็นเรือผิวน้ำแทน 
ในทางกลับกันประเทศไทยมีความเชื่อว่าเรือรบมีความเร่งด่วนและใช้งานได้จริงมากกว่าเรือดำน้ำ 
อย่างไรก็ตาม การละเมิดสัญญาของประเทศไทย นำปัญหาบางอย่างกลับมายังประเทศจีน โดยในสัญญาที่จัดทำร่วมกันของสองประเทศระบุว่ากองทัพเรือไทยจะจ่ายเงินแบบผ่อนชำระนาน 6 ปี รวมทั้งสิ้น 8 พันล้านบาท ซึ่งเห็นได้ชัดว่าประเทศไทยไม่เต็มใจจะใช้แผนการชำระเงินดังกล่าว
เมื่อวางแผนจะเปลี่ยนสัญญา ขณะนี้บริษัทจีนชื่อว่า China Shipbuilding Industry Corporation (CSOC) เป็นฝ่ายที่จะต้องกังวลที่สุด เพราะบริษัทแห่งนี้ได้ลงนามในสัญญาสร้างเรือดําน้ำภายใต้ข้อตกลงระหว่างสองประเทศ ตามรายงานพบว่าเรือดำน้ำเสร็จสมบูรณ์ 50% 
แล้วหากไม่มีการลงเงินเพิ่มเติม การก่อสร้างเรือดำชั้นหยวน S 26T ลำแรกของไทยก็จะถูกบังคับให้หยุดหรือปล่อยทิ้งไว้ไม่เสร็จแบบนั้น ซึ่งนี่จะเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่มากสำหรับบริษัทจีน โดยเฉพาะหากเงินที่บริษัทจีนได้รับมาไม่พอที่จะชดเชยความเร็วในการก่อสร้าง 
นี่จะทำให้บริษัทขาดทุน ในระยะสั้นนี้การดำเนินงานของประเทศไทยทำให้จีนเห็นถึงความเสี่ยงด้านตลาดการค้าอาวุธ แม้ว่าไทยจะยังคงรักษาการค้าทางการทหารกับจีนไว้อยู่ 
แต่ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนสัญญาตามอำเภอใจเพราะปัญหาภายในของประเทศไทยเองคือสิ่งที่จีนต้องให้ความสนใจอย่างแน่นอน
ในอนาคต ถ้าหากยังคงมีการค้าทางทหารกันต่อไป ทางจีนเองก็ต้องปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทจีน ในแง่ของทั้งการทำตามสัญญาการส่งออกอาวุธและต้นทุนต่างๆ จีนต้องไม่ปล่อยให้บริษัทแบกรับความเสี่ยงจากการผิดสัญญาของอีกฝ่าย 
หรือพูดโดยสรุปก็คือมันไม่ใช่เรื่องผิดอะไรเลย ถ้าหากการทำงานควรจะเริ่มขึ้นหลักจากที่ได้รับเงินมาเรียบร้อยแล้ว

ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำที่สองวงเงินราว ๑๗,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($485,568,620) ของกองทัพเรือไทยที่เป็นการจัดหาต่อเนื่องจากเรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชที่สร้างโดย DSME สาธารณรัฐเกาหลี(Hanwha Ocean ปัจจุบัน) เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
แม้ว่าคณะรัฐมนตรีไทยชุดปัจจุบันจะเห็นชอบให้อนุมัติการร้องขอการจัดหาเรือฟริเกตลำที่สองของกองทัพเรือไทยในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) อย่างไรก็ตามคณะกรรมาธิการการทหารของรัฐสภาได้ลงมติที่จะตัดโครงการเรือฟริเกตใหม่ออกจากงบประมาณกลาโหมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗(2024)
และคณะกรรมาธิการการทหารมีมติซ้ำไม่รับการยื่นอุทธรณ์ของกองทัพเรือไทยในวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๗ ต่อมารัฐมนตรีกลาโหมไทย สุทิน คลังแสง ได้ตอบคำถามสื่อเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๗ ว่าเหตุผลคือต้องการจำกัดงบประมาณกลาโหมประจำปี ๒๕๖๗ ของกองทัพเรือไทยไม่ให้มากเกินไป

ตามที่ยังมีโครงการเรือดำน้ำ S26T จีนที่มีปัญหาค้างคาอยู่ กระทรวงกลาโหมไทยและคณะกรรมาธิการการทหารของรัฐสภาไทยพยามยามที่จะแก้ไขปัญหาโดยการเสนอทางเลือกเช่นการขอเปลี่ยนเป็นเรือฟริเกตจากจีนหรือปุ๋ยเคมีทางการเกษตร แต่ทั้งกองทัพเรือไทยและจีนผู้สร้างเรือดูจะไม่เห็นด้วย
แม้ว่ากองทัพเรือไทยยอมรับที่จะใช้เครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า HND CHD620 จีนสำหรับเรือดำน้ำ S26T ของตนเช่นเดียวกับเรือดำน้ำชั้น Hangor ทั้ง ๘ลำของปากีสถานเพื่อแทนที่เครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า MTU 396 เยอรมนีที่ปฏิเสธการขายและปิดสายการผลิตไปแล้ว
การอภิปรายงบประมาณประจำปี ๒๕๖๗ ในรัฐสภาไทยเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๗ โครงการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ของกองทัพเรือไทยก็ได้ถูกตัดออกเป็นที่แน่นอน และการจะเสนอกลับเข้ามาในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ก็อาจจะถูกเลื่อนออกไปเป็นปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๙(2026) ด้วย

ความคืบหน้าต่อมาหลังจากรัฐมนตรีกลาโหมไทย สุทิน คลังแสง, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย จักรพงษ์ แสงมณี และผู้บัญชาการทหารเรือไทย พลเรือเอกอะดุง  พันธุ์เอี่ยม เสร็จสิ้่นการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ ๒๖-๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ผ่านมา
ทางจีนโดยเฉพาะ CSOC ผู้สร้างเรือดำน้ำ S26T จากเดิมที่มีท่าทีไม่ต้องการจะให้ไทยยกเลิกโครงการจัดหาเรือดำน้ำที่ตนสร้างไปแล้วมากกว่าร้อยละ๕๐ และรอเพียงการยอมรับการเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์ CHD620 ที่ต้องได้รับความเห็นชอบในการแก้ไขสัญญาแบบรัฐต่อรัฐในระดับรัฐบาล
ก็มีแนวโน้มที่จะยอมตามแนวคิดกระทรวงกลาโหมไทยที่จะยกเลิกโครงการเรือดำน้ำ S26T และเปลี่ยนเป็นเรือรบผิวน้ำอย่างเรือฟริเกตหรือเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งโดยใช้วงเงินที่จ่ายไปในโครงการเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑ แล้วราว ๘,๐๐๖,๐๐๐,๐๐๐บาท($221,650,113) ซึ่งยังต้องมีการเจรจากันอีก

หลังจากก่อนหน้าได้เสร็จสิ้นการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐมนตรีกลาโหมไทย สุทิน คลังแสง และคณะได้เดินทางเยือนสาธารณรัฐเกาหลีและเข้าพบรัฐมนตรีกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี Shin Won-sik เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๗ โดยมีการพูดคุยความร่วมมือต่างๆหลายด้าน
รวมถึงการเยี่ยมชมสำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) และบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) ที่กำลังจะส่งมอบเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH สองเครื่องสุดท้ายแก่กองทัพอากาศไทยในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๗ นี้
เดิมทีคาดว่านอกจากโครงการจัดหาเรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชลำที่สองที่ควรจะยังเป็นแบบเรือของ Hanwha Ocean สาธารณรัฐเกาหลี(เดิม DSME) แล้ว กองทัพเรือไทยมองที่จะจัดหาเรือฟริเกตใหม่จำนวน ๔ลำในระยะยาวซึ่งกำหนดการมีส่วนร่วมของภาคอุตสาหกรรมทางเรือของไทย

โดยการแข่งขันที่คาดว่าจะมีขึ้นด้วยการมีส่วนร่วมของผู้สร้างเรือของไทยและหุ้นส่วนต่างประเทศที่จะมาลงทุนในไทยรวมถึง TKMS เยอรมนีกับ Marsun ไทยที่เสนอแบบแบบเรือฟริเกต MEKO A-100(https://aagth1.blogspot.com/2023/11/defense-security-2023-marsun-tkms-meko.html)
Babcock International สหราชอาณาจักรที่เสนอแบบเรือฟริเกต Arrowhead 140, Damen เนเธอร์แลนด์ที่เสนอแบบเรือฟริเกต SIGMA 10514(https://aagth1.blogspot.com/2023/11/defense-security-2023-babcock-damen.html), Navantia สเปนที่เสนอแบบเรือฟริเกต ALFA 4000,
Fincantieri อิตาลีที่เสนอแบบฟริเกต FCx30 และ STM ตุรกีที่เสนอแบบเรือฟริเกต MILGEM TF-100 เรือฟริเกตชั้น Istanbul(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/istanbul.html) รวมถึงบริษัท Loxley ไทยที่ยังไม่เปิดเผยว่าจะมีร่วมมือเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทผู้สร้างเรือต่างประเทศรายใด

การที่คณะกรรมาธิการการทหารรัฐสภาไทยมีความเห็นที่ให้เลื่อนการเสนอโครงการเรือฟริเกตใหม่ออกไปเป็นในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๙ ได้ทำให้กองทัพเรือไทยกำลังจะเผชิญปัญหาที่ว่าตนกำลังจะขาดแคลนกำลังรบเรือรบผิวน้ำหลัก(major surface combatant ships) เมื่อเข้าสู่ทศวรรษปี 2030s
ตามที่เรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ลำแรก ร.ล.รัตนโกสินทร์ และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยาทั้งสี่ลำ สองลำแรก ร.ล.เจ้าพระยา และเรือหลวงบางปะกง จะปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๕๖๙ และสองลำหลังเรือหลวงกระบุรี และเรือหลวงสายบุรี จะปลดประจำการตามหลังใน ๑-๒ปีขึ้นไป
เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวรทั้งสองลำ ร.ล.นเรศวร และเรือหลวงตากสิน จะปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๕๗๗(2034) และพ.ศ.๒๕๗๘(2035) ตามลำดับ ที่อาจนำไปสู่การปรับโครงสร้างกองเรือฟริเกตที่๑ กฟก.๑ และกองเรือฟริเกตที่๒ กฟก.๒ ใหม่ถ้าจัดหาเรือใหม่ทดแทนไม่ได้ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/01/blog-post_03.html)




the Commander-in-Chief of the Royal Thai Navy visited the search and demilitarization operations for hazardous materials of the HTMS Sukhothai 
and assigned the Commander-in-Chief of the Royal Thai Fleet to present the operational results before completing the operation. 
At 1400 hrs on March 11, 2024 which marked as the day 19 of the operation. Admiral Adoong  Pan-Iam, the Commander-in-Chief of the Royal Thai Navy, accompanied by His Excellency the United States Ambassador to Thailand, 
visited the search and demilitarization operations for hazardous materials of HTMS Sukhothai aboard the Ocean Valor ship where Admiral Chatchai Thongsaard, the Commander-in-Chief of the Royal Thai Fleet, welcomed them on the arrival. 
Following the observation, Admiral Chatchai Thongsaard, acting as the Director of the Search and demilitarization operations for HTMS Sukhothai, delivered the closing statement onboard HTMS Ang Thong. 
Also present at the briefing were Rear Admiral Vitchu Bamrung, the Head of the Search and Demilitarization operations for HTMS Sukhothai, Lieutenant Will Rittenhouse, the Mission Commander of the combined diving team of RTN and US navies 
and Sub Lieutenant Thongboon Pengkaew, the Royal Thai Navy diver/the Liaison officer for the combined diving team.
The search and demilitarization operation for hazardous materials of HTMS Sukhothai was a collaborative effort between the Royal Thai Navy and United States Navy. 
With the support from The U.S. Pacific Fleet, this mission utilised the Ocean Valor salvage vessel as the main operational base and the team of U.S. Navy divers participating in the joint training exercise Cobra Gold 2024 from February 22 to March 11, 2024. 
This operation lasted for 19 days with the missions undertaken included:
1. Search for five missing sailors who may be trapped inside the ship.
2. Examination of evidence onboard to investigate the cause of HTMS Sukhothai capsize accident.
3. Demilitarisation and neutralisation for hazardous materials of the critical U.S. military equipment.
4. Retrieval of sentimental valued items from HTMS Sukhothai for preservation.
HTMS Sukhothai is located at a depth of 50 meters, approximately 22 nautical miles (39.6 kilometers) east of Prachuap Pier, Bang Saphan District, Prachuap Khiri Khan Province. No oil or chemical leaks were found.
The Royal Thai Navy has established the Search and demilitarization operations Command Center for HTMS Sukhothai at the Port Office Building of Prachuap Pier, Bang Saphan District, Prachuap Khiri Khan Province. 
The command center comprises 7 RTN ships, 2 helicopters, and the Ocean Valor ship from the United States. Additionally, there are two team of diving team, consisting of 7 divers each from the Thai and U.S. navies, with a total of 14 divers. 
The operations have been conducted onboard the Ocean Valor ship, serving as the operational base. The diving equipment utilises Surface Supply Air Equipment to deliver air to divers underwater. 
Along with SCUBA diving equipment, involving a total of 40 RTN personnel operating onboard HTMS Munnai.
In summary, the search and demilitarization operations for hazardous materials of HTMS Sukhothai have successfully achieved their objectives. These include the search for missing sailors, the examination of evidence, demilitarisation of hazardous materials, 
and the retrieval of valuable items from HTMS Sukhothai. Throughout the 19-day operation, all divers remained safe, signifying the successful collaboration between the Royal Thai Navy and the United States Navy. 
Presently, the status of HTMS Sukhothai has no impact on marine navigation, environmental factors, or threats to marine life and humans, including military capabilities.
Following the completion of search and demilitarization operations today, the Royal Thai Navy will proceed with the collection of equipment and belongings salvaged from HTMS Sukhothai, 
delivering them to responsible authorities for further examination and processing. The Ocean Valor will transport these items to Juk Samet port, Sattahip naval base, tomorrow on March 12, 2024.
Additionally, regarding the investigative committee's findings on HTMS Sukhothai incident, conclusions will be drawn from the information, evidence, and recovered items obtained during this operation. 
The Royal Thai Navy will hold a press briefing on this matter in due course.
Lastly, the Royal Thai Navy will embark on the construction of a memorial site for HTMS Sukhothai, utilizing salvaged equipment and components from the vessel, to commemorate the bravery and sacrifices of the personnel who lost their lives and went missing.
Public Affairs Division, Naval Secretariat

พลเรือเอก ชาติชาย ทองสะอาด ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ในฐานะ ผู้อำนวยการกองอำนวยการค้นหาและปลดวัตถุอันตราย ร.ล.สุโขทัย แถลงข่าวผลการปฏิบัติการร่วมระหว่าง ทร.และ ทร.สหรัฐอเมริกา ในการค้นหาและปลดวัตถุอันตราย ร.ล.สุโขทัย 
ผลการปฏิบัติในแต่ละภารกิจประกอบด้วย
๑. ผลการค้นหาผู้สูญหายที่อาจติดอยู่ภายในเรือ
 ชุดประดาน้ำผสมฯ และชุดประดาน้ำ ทร. ได้ทำการค้นหาและตรวจสอบ ร.ล.สุโขทัย ทั้งภายนอกตัวเรือและภายในตัวเรือในทุกห้องที่สามารถเข้าไปได้รวมทั้งห้องที่มีความเป็นไปได้ที่คนจะติดอยู่ทั้งหมดทุกห้อง 
เนื่องจากระดับความลึกของน้ำและข้อจำกัดในการเข้าถึงห้องต่างๆ ภายในตัวเรือในชั้นที่ต่ำกว่าชั้นดาดฟ้าหลัก (Main Deck) รวมทั้งความเสี่ยงในระดับสูงต่อนักดำ ทำให้เราไม่สามารถเข้าไปได้ทุกห้อง โดยห้องที่ได้เข้าไปทำการค้นหามีดังนี้
 - สะพานเดินเรือ
 - ห้องศูนย์ยุทธการ
 - ห้องผู้บังคับการเรือ
 - ห้องวิทยุ
 - ห้องโถงนายทหาร
 - ห้องเมสจ่า
 - ห้องเครื่องจักรใหญ่
 - ห้องเสมียนพลาธิการ
 - ห้องเรดาร์ ๒
 - ห้องเก็บแผนที่
 - ช่องทางเดิน
 ผลปรากฏว่าไม่พบผู้สูญหายในทุกห้อง ทุกสถานที่ที่เราเข้าไปได้ และสถานที่ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะมีคนอยู่ รวมถึงค้นหาบริเวณรอบนอกตัวเรือ และพื้นท้องทะเลใกล้ตัวเรือ ก็ไม่พบร่างหรือชิ้นส่วนกระดูกของคน
 ๒. ผลการเก็บพยานวัตถุ
 ได้ทำการสำรวจจุดต่าง ๆ ที่สันนิษฐานว่า เป็นจุดที่น้ำเข้าเรือ โดยได้บันทึกทั้งภาพถ่ายและวิดีโอ ได้แก่
 - บริเวณแผ่นกันคลื่น (Wave Breaker) หน้าป้อมปืน ๗๖/๖๒ มม.
 - ป้อมปืน ๗๖/๖๒ มม.
 - ฝา Hatch ลงห้องกระซับหัวเรือ 
 - ฝา Hatch ทางลงห้อง Gun Bay ปืน ๗๖/๖๒ มม.
 - ประตูผนึกน้ำรอบตัวเรือ
 - รอยทะลุทางกราบซ้าย ๒ รอย
 - สำรวจตัวเรือโดยรอบเพื่อหารอยทะลุอื่นๆ 
 - การปิด/เปิด ประตูผนึกน้ำภายในตัวเรือ
 - ห้อง Gun Bay ปืน ๗๖/๖๒ มม.
 - ป้อมปืน ๔๐/๗๐ มม.
 - ห้อง Gun Bay ปืนกล ๔๐/๗๐ มม.
 - สภาพฐานแท่นแพชูชีพ
 นอกจากนั้นยังกู้วัตถุพยานอื่น ได้แก่
 - โทรศัพท์มือถือ ๑ เครื่อง
 - เครื่อง DVR ๑ เครื่อง
 - เสื้อชูชีพ ๑ ตัว
 - คอมพิวเตอร์ LAPTOP ๑ เครื่อง
 - สมุดจดคำสั่งการนำเรือ ๑ เล่ม
 ได้หลักฐานครบถ้วนตามที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องนำเรือทั้งลำขึ้นมาจากน้ำ
 ๓. ผลการปลดวัตถุอันตรายและการทำให้ยุทโธปกรณ์ที่สำคัญของสหรัฐฯ หมดขีดความสามารถ
 ทางฝ่ายสหรัฐฯ ได้ทำให้ยุทโธปกรณ์สำคัญหมดขีดความสามารถทางทหาร (Demilitarization) จำนวน ๓ รายการเรียบร้อย ได้แก่
 - อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นฮาร์พูน โดยการทำให้ระบบควบคุมที่ห้องศูนย์ยุทธการและห้องเรดาร์ ๒ รวมทั้งท่อยิงอาวุธปล่อยฯ หมดขีดความสามารถ และได้นำท่อยิงอาวุธปล่อยฯ ที่ทำให้หมดขีดความสามารถแล้วขึ้นมาให้ ทร. โดย สพ.ทร. จะดำเนินการตามขั้นตอนของการจำหน่ายต่อไป
 - ตอร์ปิโด MK 309 โดยการทำให้ระบบควบคุมที่ห้องศูนย์ยุทธการและห้องเรดาร์ ๒ รวมทั้งแท่นยิงตอร์ปิโดฯ หมดขีดความสามารถ และได้นำแท่นยิงตอร์ปิโดฯ ที่ทำให้หมดขีดความสามารถแล้วขึ้นมาให้ ทร. โดย สพ.ทร. จะดำเนินการตามขั้นตอนของการจำหน่ายต่อไป
 - เครื่องมือสื่อสาร โดยการทำให้เครื่องมือสื่อสารที่ห้องวิทยุ จำนวน ๒๑ รายการ หมดขีดสามารถแล้วขึ้นมาให้ ทร. โดย สสท.ทร. จะดำเนินการตามขั้นตอนของการจำหน่ายต่อไป
 ได้มีการนำอาวุธปืนของ ทร. ขึ้นจากเรือ ได้แก่
 - ปืนกล ๒๐ มิลลิเมตร จำนวน ๒ กระบอก
 - ปืนเล็กยาว เอ็ม ๑๖ จำนวน ๑๐ กระบอก
 การนี้ สพ.ทร.จะนำไปตรวจสอบสภาพและพิจารณาดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับต่อไป
 ๔. ผลการนำสิ่งของของ ร.ล.สุโขทัย ขึ้นมาเพื่อจัดทำเป็นอนุสรณ์สถาน
 เราสามารถนำวัตถุของเรือขึ้นมาได้จำนวน ๑๑ รายการ ดังนี้
 - ป้ายชื่อ ร.ล.สุโขทัย
 - พญาครุฑประจำเรือ 
 - พระพุทธรูปประจำเรือ
 - พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ
 - แผ่นนูนรูปเสด็จเตี่ย
 - ระฆังเรือ
 - ธงราชนาวีผืนใหญ่
 - เสากระโดงเรือ
 - สมอเรือ
 - ป้ายขึ้นระวางประจำการเรือ
 - ป้ายรายนามผู้บังคับการเรือ
สรุป 
การปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตราย ร.ล.สุโขทัย บรรลุภารกิจและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ๔ ประการ ได้แก่ การค้นหาผู้สูญหาย การตรวจสอบวัตถุพยาน การปลดวัตถุอันตราย และการนำวัตถุที่มีคุณค่าทางจิตใจของ ร.ล.สุโขทัย ขึ้นมา 
โดยการปฏิบัติการจำนวน ๑๙ วัน นักดำทั้งหมดมีความปลอดภัย ถือเป็นความสำเร็จในการปฏิบัติงานร่วมกันของ ทร. และ ทร.สหรัฐฯ ซึ่ง ทร. ต้องขอขอบคุณ ทร.สหรัฐฯ เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ ทร. ในครั้งนี้
สำหรับ ร.ล.สุโขทัย ในปัจจุบันอยู่ในสถานะที่ไม่มีผลกระทบต่อการเดินเรือ หลังจากที่เราได้ตัดเสากระโดงเรือความสูง ๑๐ เมตรออกอีก ทำให้ความสูงของเรือลดลงไปอีก ส่งผลให้มีความปลอดภัยต่อการเดินเรือเพิ่มขึ้นอีก จากเดิมที่ความลึกจากผิวน้ำถึงส่วนที่สูงที่สุดของเรือระยะ ๒๗ เมตร 
เพิ่มเป็นระยะ ๓๗ เมตร ร.ล.สุโขทัย ไม่มีวัตถุและสิ่งที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ไม่มีวัตถุอันตรายต่อคนและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล รวมทั้งไม่มีขีดความสามารถทางทหารที่จะสามารถนำไปใช้ได้อีก




Royal Thai Navy PF-432 HTMS Khirirat patrol frigate which close to decommissioning where moored at Laem Thian Pier, Sattahip Naval Base, Thailand on 14 March 2024 has undertaking fire at her stern in around 1130am.
FAC-331 HTMS Chonburi fast attack craft gunboat that moored behind after back to home base due 76/62mm naval gun malfunction during exercise on 13 March 2024, was accidental firing stuck live munition to HTMS Khirirat during fixing her 76mm gun.
After 3 days of investigation, Royal Thai Navy ordered to commanding officer of HTMS Chonburi was Discharged from duty on 19 March 2024, 14 injured crews of HTMS Khirirat all now are safe.
safety pin and ammunition feeding malfunction of forward position OTO Melera 76/62 on HTMS Chonburi is the main cause of accident. (Sompong Nondhasa, Royal Thai Navy)

กองทัพเรือ ชึ้แจงสาเหตุ กรณี ปืนขนาด 76/62 มิลลิเมตร ของ เรือหลวงชลบุรี ลั่น โดนเรือหลวงคีรีรัฐ ชี้ระบบนิรภัยการห้ามไกของปืนทำงานผิดพลาด พร้อมตั้งกรรมการพิจารณาโทษหากมีผู้ละเมิดและกำหนดมาตรการป้องกัน
วันนี้ 19 มีนาคม 2567 เวลา 15:00 น. พลเรือเอก ชาติชาย ทองสะอาด ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็นประธานการแถลงข่าว ชึ้แจงข้อเท็จจริง กรณีปืนขนาด  76/62 มิลลิเมตร ออโตเมลารา ของเรือหลวงชลบุรี เกิดอุบัติเหตุลั่นโดนเรือหลวงคีรีรัฐ 
โดยมี พลเรือตรี เฉลิมชัย  สวนแก้ว ผู้บัญชาการกองเรือตรวจอ่าว ร่วมแถลงข่าว ณ สโมสรนายทหารสัญญาบัตรกองเรือยุทธการ อ่าวดงตาล อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ผู้บัญชาการกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ เปิดเผยว่าเมื่อ วันที่ 13 มีนาคม 2567 เวลา 06:30 น. เรือหลวงชลบุรี ได้ออกเรือเพื่อทำการฝึกยิงปืนในทะเล บริเวณเกาะริ้น ระหว่างฝึกยิงปืนนั้น ปืนเรือได้มีการขัดข้องจำนวน 2 ครั้ง 
โดยช่างปืนของเรือหลวงชลบุรี สามารถแก้ไขการขัดข้อง และสามารถทำการยิงต่อไปได้ โดยระหว่างการฝึกยิงปืนรอบสุดท้าย ไม่สามารถยิงลูกปืนจนหมดตามแผนได้ เนื่องจากสนามฝึกยิงปืนไม่ปลอดภัย จึงเดินทางกลับมาจอดเรือที่ฐานทัพเรือสัตหีบ 
โดยช่างปืนของทางเรือได้ดำเนินการถอดถอนลูกปืนออกจากระบบบรรจุของปืน แต่ไม่สามารถถอดถอนลูกปืนที่เหลืออีก 3 นัด ออกจากระบบบรรจุของปืนได้ เนื่องจากระบบมีอาการขัดข้อง ทางเรือจึงขอรับการสนับสนุนช่างปืนจากกรมสรรพาวุธทหารเรือ มาดำเนินการถอดถอน 
เพื่อให้เกิดความปลอดภัย โดยขณะนั้น ลูกปืนจำนวนดังกล่าวยังอยู่ในระบบบรรจุ ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่จะเคลื่อนตัวเข้ารังเพลิงที่จะเสี่ยงต่อการลั่นของปืน และเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ตามระเบียบความปลอดภัยในการฝึกยิงปืนในเรือของกองเรือยุทธการ 
โดยดำเนินการกระดกปืนไว้ที่มุม 40 องศา ซึ่งเป็นมุมที่ปลอดภัยและถือว่าเป็นการปฏิบัติตามหลักการนิรภัย
ต่อมาในวันที่ 14 มีนาคม 2567 เวลา 11:00 น. ช่างปืนจากกรมสรรพาวุธทหารเรือ จำนวน 4 นาย เดินทางมาถึงเรือหลวงชลบุรี และดำเนินการถอดถอนลูกปืนที่อยู่ในระบบบรรจุของปืน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและแก้ไขปืนเรือให้เข้าสู่สภาวะปกติ 
โดยได้ตรวจสอบ และดำเนินการแก้ไขข้อขัดข้องตามขั้นตอน ซึ่งในระหว่างที่แก้ไขข้อขัดข้องอยู่นั้น ลูกกระสุนที่อยู่ในรางบรรจุได้เลื่อนเข้าไปในลำกล้อง และเกิดอุบัติเหตุปืนลั่น โดนเรือหลวงคีรีรัฐ จนเกิดเหตุเพลิงไหม้บริเวณท้ายเรือ
จากการสอบสวน เจ้าหน้าที่กรมสรรพาวุธทหารเรือทราบว่า ตรวจพบลูกปืนหนึ่งนัด อยู่ในถาดบรรจุ และอีกสองนัดอยู่บนพลูป้อนลูกปืน และมีลองลูกปืน (ปลอกกระสุนที่ยิงออกไปแล้ว) ถูกขัดอยู่บริเวณนิรภัยลองเปล่า ทำให้ลำกล้องปืนไม่เลื่อนเข้าไปสู่สภาวะปกติ
เนื่องจากปืนอยู่ในสถานะปลอดภัย ลูกปืนไม่อยู่ในสถานะพร้อมยิง มีกลไลนิรภัยที่จะห้ามไก มิให้ปืนลั่น ช่างสรรพาวุธ จึงมีแนวคิดในการถอนลองลูกปืนที่ค้างก่อน เพื่อให้ปืนเคลื่อนที่ไปข้างหน้าช้า ๆ โดยวิธีการที่จะถอนลูกปืนออกจากตัวปืนได้ 
จะต้องเลื่อนถาดบรรจุลูกปืนที่ค้างในถาดบรรจุนัดแรกลงมาในแนวเดียวกับรังเพลิง แล้วถอนลูกปืนจากตำแหน่งด้านหน้ารังเพลิง ซึ่งวิธีนี้ ลูกปืนจะยังไม่ถูกบรรจุเข้ารังเพลิง อันจะเป็นอันตรายได้ หลังจากนั้นก็จะดำเนินการเดียวกันกับลูกปืนที่ค้างในนัดที่ 2 และ 3 ตามลำดับต่อไป 
แต่ในระหว่างที่ เจ้าหน้าที่กรมสรรพาวุธทหารเรือเริ่มดําเนินการซ่อมทํา โดยทำการเลื่อนกระบอกปืนมายังตำแหน่งถอนลูกปืน และปลดนิรภัยลองเปล่า เพื่อให้ปืนกลับเข้าที่ข้างหน้าเพื่อถอนลูกปืน ปืนเกิดอาการกลับเข้าที่ข้างหน้าอย่างรุนแรง ทําให้ลูกปืนที่อยู่บนถาดบรรจุถูกผลักเข้าไปในรังเพลิง 
และลูกเลื่อน เลื่อนปิดทันทีที่ลูกปืนถูกรุนเข้ารังเพลิง และลูกปืนนัดนั้น ลั่นออกจากปืน  ซึ่งไม่เป็นไปตามกลไกปกติของปืน ถึงแม้ลูกปืนเข้าไปในรังเพลิง แต่ปืนจะไม่ลั่นออกไป เนื่องจากมีเครื่องนิรภัยการลั่นไก เป็นตัวป้องกันมิให้มีการยิงออกไป 
อีกทั้งขณะนั้นไม่มีการเดินระบบไฟฟ้าเข้ามาในระบบ จึงไม่มีโอกาสที่ระบบไฟฟ้าจะส่งผลให้การทำงานของระบบปืนผิดพลาด อีกทั้ง ระบบนิรภัยการลั่นไกมีการทำงานหลายชั้น จึงสรุปได้ว่า สิ่งนี้ไม่น่าจะเกิด แต่มีอุบัติเหตุที่เกิดจากความปกติของเครื่องนิรภัยการลั่นไก
ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการกล่าวว่า จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความเสียหาย บริเวณท้ายเรือของเรือหลวงคีรีรัฐทำให้เกิดความเสียหายจำนวนสี่ห้องบริเวผู้ท้ายเรือ คือ ห้องใต้ป้อมปืนขนาด 40 มม.  ห้องครัว ห้องเสมียนช่างกล และห้องน้ำนายทหาร 
ซึ่งไม่มีอุปกรณ์สำคัญของเรือได้รับความเสียหายแต่อย่างใด เรือหลวงคีรีรัฐ ยังคงมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการ โดยกองเรือยุทธการ ได้ประสานให้กรมอู่ทหารเรือ เข้ามาตรวจสอบ เพื่อดำเนินการซ่อมทำให้อยู่ในสภาพเดิมต่อไป 
ในส่วนของการช่วยเหลือเยียวยาผู้บาดเจ็บนั้น  ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ กล่าวว่า อุบัติเหตุในครั้งนี้ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ รวมจำนวน 14 นาย ส่วนใหญ่เกิดจากการสำลักควันไฟและลมร้อนที่เข้าไปในระบบหายใจ ส่วนน้อยมีอาการแสบตาเคืองตาและมีแผลเล็กน้อยที่ผิวหนัง 
ทั้ง 14 นายได้เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ ตั้งแต่วันเกิดเหตุ ปัจจุบันกลุ่มผู้บาดเจ็บเล็กน้อยจำนวน 9 นาย ได้ออกจากโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมา 
ส่วนกลุ่มผู้ได้รับบาดเจ็บที่ต้องการการเฝ้าระวัง จำนวน 5 นาย โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ได้ใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมกับการทำการรักษาด้วยเครื่องปรับความดันบรรยากาศสูงหรือแชมเบอร์ เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับผู้ได้รับบาดเจ็บในระบบทางเดินหายใจ 
โดยปัจจุบันทุกนายมีอาการดีขึ้นตามลำดับ ยังคงเหลือผู้ป่วยที่ยังอยู่ห้อง ICU จำนวน 2 นาย ทั้งนี้ ผู้ป่่วยดังกล่าว ยังคงได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์เฉพาะทางและได้รับการตรวจรักษาจนกว่าจะหายเป็นปกติ
การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับบาดเจ็บนอกจากการรักษาพยาบาลแล้วกองทัพเรือยังได้มีการช่วยเหลือเยียวยาโดยได้มอบเงินสวัสดิการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเหตุที่ทรัพย์สินเสียหายให้กับทุกคน 
นอกจากนั้นทางกองเรือยุทธการและกองเรือฟริเกตที่ 1 ซึ่งเป็นกองเรือต้นสังกัดของเรือหลวงคีรีรัฐ ได้มีการบำรุงขวัญให้แก่กำลังพลประจำเรือ 111 นาย ซึ่งเป็นเรื่องที่กองทัพเรือให้ความสำคัญ และให้ความเร่งด่วนในการช่วยเหลือเยียวยา
สำหรับผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้บัญชาการกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ กล่าวว่า กองเรือตรวจอ่าว ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดของเรือหลวงชลบุรี ไม่ได้มีการปล่อยปละละเลยในการปฎิบัติหน้าที่
ปัจจุบันทางกองกองเรือตรวจอ่าวได้ลงคำสั่งให้ผู้บังคับการเรือหลวงชลบุรีมาช่วยราชการที่กองบัญชาการกองเรือตรวจอ่าวแล้ว โดยจะมีการสอบสวนผู้บังคับการเรือ และผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งหากมีความผิดพลาดก็จะมีการพิจารณาโทษ โดยไม่มีการช่วยเหลือแต่อย่างใด
ทั้งนี้ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า กองทัพเรือมีการดำเนินการเป็นมาตรฐาน ตามขั้นตอน ซึ่งในขั้นตอนแรก คือการสอบสวนหาข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้บัญชาการทหารเรือ ได้มอบหมายให้กองเรือยุทธการ ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและทำการสอบสวน 
ซึ่งได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ภายใน 3 วันตามที่ผู้บัญชาการทหารเรือสั่งการ สิ่งที่ได้จากขั้นตอนนี้ คือ สาเหตุที่เกิดขึ้น ซึ่งกองเรือยุทธการ ได้จัดทำรายงานผลการสอบสวนนำเรียนผู้บัญชาการทหารเรือแล้ว จะเห็นได้ว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ 
มีปัจจัยที่เกิดขึ้นทั้งในเรื่องขององค์วัตถุและองค์บุคคล ซึ่งกองทัพเรือไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้สั่งการให้หน่วยเกี่ยวข้องต่าง ๆ ดำเนินการสอบสวนผู้เกี่ยวข้องและทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติ และหากพบว่ามีการกระทำผิดในขั้นตอนใด ๆ จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายขึ้น 
จะพิจารณาลงโทษต่อไป รวมทั้งดำเนินการทบทวนมาตรการและขั้นตอนปฏิบัติ เพื่อมิให้เกิดเหตุในลักษณะดังกล่าวขึ้นอีก
สำนักงานโฆษก กองทัพเรือ




Royal Thai Air Force (RTAF)'s Lockheed Martin F-16BM 40301 of 403rd Squadron, Wing 4 Takhli and Republic of Singapore Air Force (RSAF)'s F-16C in special scheme 30th Anniversary Exercise Cope Tiger 1994-2024. (Royal Thai Air Force)
The RTAF is seeking to replace its ageing F-16A/B combat aircraft fleet since 2020. These aircraft have been in service from 1988.




Royal Thai Air Force's Saab Gripen C of 701st Squadron, Wing 7 Surat Thani at Wing 1 Korat during invovled Exercise Cope Tiger 2024. (Sompong Nondhasa)
The Gripen E is being offered to Thailand under a joint bid by the Swedish and UK governments.




Royal Thai Air Force's modernized Northrop F-5E/F TH Super Tigris of 211th Squadron, Wing 21 Ubon Ratchathani and Alpha Jet TH (modernized Dornier Alpha Jet A) of 231st Squadron, Wing 23 Udon Thani during Exercise Cope Tiger 2024 at Wing 1 Korat. (Sompong Nondhasa)




Royal Thai Air Force releases photos of its one of 8 Beechcraft AT-6TH Wolverine serial "41103" light atack aircraft in  close air support mission (CAS) with weapons training flight part of Pilot Training Course at Textron Aviation Defense  in Wichita, Kansas, USA, 
scheduled from 12 February to 15 May 2024.
First of two AT-6TH Wolverine will be delivered to 411 Squadron, Wing 41 Chiang Mai RTAF base in June 2024. (Royal Thai Air Force)

ตามข้อมูลล่าสุดในสมุดปกขาวของกองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๖๗ RTAF White Paper 2024 ของกองทัพอากาศไทยฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ในการสัมมนาเชิงวิชาการ RTAF Symposium 2024 ณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ผ่านมา
กองทัพอากาศไทยได้ตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่หนึ่งฝูงบินจำนวน ๑๒-๑๔เครื่องเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B ADF  ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๗(2025-2034) ที่จะเริ่มในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗
เป็นที่เข้าใจว่าตัวเลือกในขณะนี้มีสองแบบคือเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16C/D Block 70/72 สหรัฐฯ และเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen E/F สวีเดน คาดว่าการเจรจากับสหรัฐฯและสวีเดนและตัดสินใจเลือกแบบจะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗ นี้ก่อนเริ่มปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘

ในงานแสดงการบินนานาชาติ Singapore Airshow 2024 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๐-๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ผ่านมาคณะตัวแทนนายทหารกองทัพอากาศไทยก็ได้เยี่ยมชมการรับฟังข้อมูลจากหลายๆบริษัทผู้ผลิตอากาศยานและอาวุธยุทโธปกรณ์จากหลายๆชาติที่มาร่วมจัดแสดงในงาน 
บริษัทต่างๆเหล่านี้รวมถึง Boeing สหรัฐฯที่นำเสนอเครื่องบินขับไล่ F-15EX Eagle II ด้วยเครื่องจำลองการบิน Simulator และ Lockheed Martin สหรัฐฯสำหรับ F-16 และ F-35 ซึ่งในการฝึก Cope Tiger 2024 ล่าสุดเป็นครั้งแรกที่กองทัพอากาศสหรัฐฯนำเครื่องบินขับไล่ F-35A มาวางกำลังฝึกในไทยเป็นครั้งแรก
โดยโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๘๐-๒๕๘๙(2037-2046) มีความเป็นได้มากขึ้นว่าในเวลานั้นสหรัฐฯน่าจะพิจารณาว่ากองทัพอากาศไทยอาจจะมีความพร้อมสำหรับการขาย F-35 ให้ไทยแล้ว

อีกความชัดเจนที่ตามมาระหว่างการฝึก Cope Tiger 2024 คือการเดินทางเยือนไทยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร David Cameron เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ซึ่งได้ชมเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ก Gripen D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ ที่วางกำลังในกองบิน๑ โคราช
รัฐมนตรีต่างประเทศสหราชอาณาจักร Cameron ได้ให้สัมภาษณ์และเผยแพร่ข้อมูลผ่านช่องทางการของตนว่าสนับสนุนบริษัท Saab สวีเดนในการเสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F แข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่หนึ่งฝูงจำนวน ๑๒เครื่องของกองทัพอากาศไทย
รัฐมนตรี Cameron กล่าวว่าเครื่องบินขับไล่สวีเดนมีระบบที่สร้างในสหราชอาณาจักรถึงร้อยละ๔๐ ถ้าไทยสั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen เพิ่มก็จะสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจการสร้างงานในสหราชอาณาจักรได้ถึง 400 million British pound sterling ซึ่งเป็นหนึ่งในความร่วมมือด้านต่างๆกับไทยด้วย

อีกโครงการที่ต่อเนื่องกันคือโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F TH Super Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี หรือเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet A TH ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ อุดรธานี ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๗๔-๒๕๗๘(2031-2035) 
โดยที่เครื่องบินรบทั้งสองแบบในสองฝูงบินจะถูกทดแทนด้วยเครื่องบินขับไล่หรือโจมตีเแบบเดียวเพียงหนึ่งฝูงบินจำนวน ๑๒-๑๔เครื่อง ซึ่งไม่ได้ระบุถึงการจัดหาเครื่องบินโจมตีและฝึกแบบที่๒๒ บ.จฝ.๒๒ AT-6TH Wolverine ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ ระยะที่๒ อีก ๔เครื่องแต่อย่างใด
สมุดปกขาว RTAF White Paper 2024 ล่าสุดยังถูกวิจารณ์ด้วยว่าไม่มีแผนสำหรับเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีใหม่ทดแทนเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง ที่มีอายุการใช้งานมานาน และให้ความสำคัญกับการจัดหาอากาศยานรับ-ส่งบุคคลสำคัญ VIP มากเกินไปครับ








It’s a wrap! Exercise Cope Tiger 2024 has officially concluded. It’s been 30 years of great friendship and training. Thank you to all our airmen and women who have been here in Korat, Thailand.
Singapore, Thailand and United States Participate in 30th Anniversary of Trilateral Air Exercise 
The Republic of Singapore Air Force (RSAF), Royal Thai Air Force (RTAF) and the United States Air Force (USAF) participating in the large force employment air combat exercise. Credit: CPL Timothy Khor, RSAF, Sompong Nondhasa 



History of Cope Tiger
การฝึกผสม COPE TIGER มีจุดเริ่มต้นมาจากการฝึกผสม AIR THAISING ในปี 2526 ระหว่างกองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศสิงคโปร์ และการฝึกกำลังทางอากาศระหว่างไทยและสหรัฐฯ ในชื่อรหัส COPE THUNDER ณ ฐานทัพอากาศ CLARK ประเทศฟิลิปปินส์ 
แต่ต่อมาได้เกิดภัยพิบัติและสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่สงบ จึงไม่สามารถทำการฝึกในประเทศฟิลิปปินส์ได้  
ต่อมาในวันที่ 29 มิ.ย.2536 มีมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้มีการฝึกพหุภาคีหรือการฝึกหลายชาติ (MULTILATERAL EXERCISE) ระหว่าง กองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศสิงคโปร์ กองทัพอากาศและนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา 
โดยจัดการฝึกเป็นครั้งแรกในปี 2538 โดยใช้ชื่อรหัสว่า COPE TIGER 95 ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา และดำเนินการฝึกมาจนถึงปัจจุบัน
















AH-64E 2-158th Assault Helicopter Battalion 16th CAB 7th Infantry Division US Army and 9th Aviation Battalion Cobra Gold 2024-1








The exercise Cobra Gold 2024 in Thailand concluded on 26 February to 8 March 2024. (U.S. Department of Defense)



Amphibious Exercise -Joint Forcible Entry Operation ((AMPHIBEX-JFEO) involved Royal Thai Marine Corps (RTMC) Royal Thai Navy (RTN); US Marine Corps (USMC), US Army and US Air Force (USAF); and Republic of Korea Navy (RoKN) and Republic of Korea Marine Corps (RoKMC) at the Naval Training Field No. 15, in Hat Yao, Sattahip district, Chonburi province on 1 March 2024 as parts of the exercise Cobra Gold 2024 in Thailand. 



Combined Arms Live Fire Exercise (CALFEX) and Cobra Gold 2024 Closing Ceremony involved Royal Thai Marine Corps (RTMC) Royal Thai Navy (RTN); US Marine Corps (USMC), US Army and US Air Force (USAF); and Republic of Korea Marine Corps (RoKMC) at Naval Training Field no. 16, Ban Chanthakhlem, Chanthaburi province on 8 March 2024. 








Royal Thai Navy (RTN) held opening ceremony of Naval Exercise Fiscal Year 2024 at the Naval Training Field No. 15, in Hat Yao, Sattahip district, Chonburi province, Gulf of Thailand on 5 March 2024. (Royal Thai Navy)












Royal Thai Army (RTA) and US Army conducted the exercise HANUMAN GUARDIAN 2024 in Thailand on 11-22 March 2024. (Royal Thai Army)

ตลอดช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ผ่านมานับเป็นห้วงเวลาของการฝึกใหญ่สำคัญหลายรายการของกองทัพไทยรวมถึงการฝึกกองทัพเรือประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ ที่มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ณ สนามฝึกกองทัพเรือ หมายเลข๑๕ หาดยาว อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
การฝึกผสมนานาชาติ Cobra Gold 2024 ที่มีส่วนร่วมทั้งกองทัพบกไทย กองทัพเรือไทย นาวิกโยธินไทย กองทัพอากาศไทย กับสหรัฐฯ, สาธารณรัฐเกาหลี, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์, มาเลเซีย และอีกหลายชาติ การฝึกผสม Hanuman Guardian 2024 ระหว่างกองทัพบกไทยและกองทัพบกสหรัฐฯ
และการฝึกผสมทางอากาศ Cope Tiger 2024 ระหว่างกองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศสหรัฐฯ และกองทัพอากาศสิงคโปร์ รวมถึงการฝึกปฏิบัติการร่วม พลเรือน ตำรวจ ทหาร ประจำปี ๒๕๖๗ กฝร.พตท.๖๗ ของกองทัพไทย ตำรวจไทย และหน่วยงานรัฐ โดยในปี ๒๕๖๗ ยังจะมีการฝึกต่างๆตามมาอีกมากครับ