Royal Thai Air Force (RTAF) Beechcraft AT-6TH Wolverine serial "41102" light
attack aircraft of 411th Squadron, Wing 41 Chiang Mai RTAF base in Chiang Mai
Province, Thailand, begun its first training flight in country on 1 October
2024. (Royal Thai Air Force/Chittapon Kaewkiriya, Sompong Nondhasa)
Royal Thai Air Force (RTAF) Dornier Alpha Jet TH attack aircraft of 231st
Squadron, Wing 23 Udon Thani. (Royal Thai Air Force)
Commanders-in-chief of Royal Thai Air Force, Air Chief Marshal Punpakdee
Pattanakul revealed to the media that RTAF has conception to replacing its
aging Alpha Jet TH of 231st Squadron with new AT-6TH Wolverine.
02 ลำเดิม เพิ่มเติมคือสิวใต้ท้อง
บ.จ. ๘ : เครื่องบินโจมตีแบบที่ ๘
Beechcraft AT-6TH Wolverine
Royal Thai Air Force
41102
AT-6 จะมาแทน ALPHA JET …. “บิ๊กไก่” พล.อ.อ.พันธ์ภักดี พัฒนกุล
ผบ.ทอ.มีแนวความคิดที่จะให้ AT-6 WOLVERINE มาทดแทน ALPHA JET ที่ฝูงบิน 231
กองบิน 23 อุดรธานี ...ปัจจุบัน AT-6 ฝูงบิน 411 กองบิน 41 เชียงใหม่
มีภารกิจโจมตีทางอากาศ การบินค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ
รวมถึงภารกิจลาดตระเวนทางอากาศ
ฝูงบิน 231 กองบิน 23
มีหน้าที่เตรียมการและปฏิบัติการใช้กำลังทางอากาศ ในการโจมตีทางอากาศ
การบินค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ รวมถึงการปฏิบัติการฝนหลวง
ประจำการด้วยเครื่องบินโจมตีแบบที่ 7 (Alpha Jet TH)
โดยปัจจุบัน เครื่องบิน Alpha Jet TH มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน
ตอบสนองภารกิจของกองทัพอากาศ และประเทศชาติต่อไป
การเริ่มต้นการฝึกในพื้นที่ในประเทศครั้งแรกของเครื่องบินโจมตีแบบที่๘ บ.จ.๘
Beechcraft AT-6TH Wolverine ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ กองทัพอากาศไทย
เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024)
ราวสามเดือนให้หลังจากที่ได้รับมอบสองเครื่องแรก หมายเลข "41101" และ "41102" จาก
๘เครื่อง เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/at-6th.html)
เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงการจะนำไปสู่การประกาศความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้น(IOC:
Initial Operating Capability) ได้ต่อไป โดยเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH
Wolverine ที่เหลือได้ถูกจัดส่งทางเรือได้เข้าสู่โครงการประกอบขั้นสุดท้าย(Final
Reassembly Program) ณ บริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด(TAI: Thai Aviation
Industries) ไทย ในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ใกล้กับ กองบิน๔ ตาคลี
และจะถูกส่งมอบจนครบ ๘เครื่องภายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๘(2025)
เครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH ที่ได้ลงนามสัญญาจัดหาเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน
พ.ศ.๒๕๖๔(2021) เป็นวงเงิน ๔,๓๑๔,๐๓๙,๙๘๐.๘๐บาท($143 million)
มีพื้นฐานร่วมกับเครื่องบินฝึกแบบที่๒๒ บ.ฝ.๒๒ Beechcraft T-6TH Texan II(T-6C)
โรงเรียนการบินกำแพงแสนกองทัพอากาศไทย ที่รับมอบครบ ๑๒เครื่องแล้วในปี
พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
การที่เครื่องบินโจมตีเบา AT-6TH ถูกกำหนดแบบเป็น "เครื่องบินโจมตีแบบที่๘ บ.จ.๘"
ทำให้นึกถึงการกำหนดแบบให้กับเครื่องบินฝึกแบบที่๑๒ บ.ฝ.๑๒ Cessna T-37B/C Tweet
ที่เคยประจำการในโรงเรียนการบินกำแพงแสนช่วงปี พ.ศ.๒๕๐๔-พ.ศ.๒๕๓๙(1961-1996)
ซึ่งมีพื้นฐานร่วมกับเครื่องบินโจมตีแบบที่๖ บ.จ.๖ Cessna A-37B Dragonfly
ที่เคยประจำการช่วงปี พ.ศ.๒๕๑๖-พ.ศ.๒๕๓๗(1973-1994)
ที่แตกต่างจากเครื่องบินโจมตีและฝึกแบบที่๑๓ บ.จฝ.๑๓ North American T-28D Trojan
ที่เคยประจำการในช่วงปี พ.ศ.๒๕๐๕-พ.ศ.๒๕๓๑(1962-1988)
จากที่เคยเข้าใจว่าเครื่องบินโจมตีเบา AT-6TH จะได้รับการกำหนดแบบเป็น
"เครื่องบินโจมตีและฝึกแบบที่๒๒ บ.จฝ.๒๒"
แสดงให้เห็นว่ากองทัพอากาศไทยพิจารณาว่าเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH และเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH
มีภารกิจที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
แม้จะไม่มีระบุุในสมุดปกขาว RTAF White Paper 2024(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/rtaf-white-paper-2024.html) แต่เข้าใจว่าในการทดแทนเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART
ที่ปลดประจำการปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ในภารกิจโจมตี(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/f-16a-adf-f-16b-l-39zaart.html) ฝูงบิน๔๑๑ ควรจะมีการจัดหา บ.จ.๘ AT-6TH เพิ่มอีก ๔เครื่องให้ครบฝูงขั้นต่ำที่
๑๒เครื่อง
กองบิน๔๑
เองก็มีปัญหาการร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่เรื่องมลภาวะทางเสียงเช่นเดียวกับหลายกองบินที่มีหรือเคยวางกำลังด้วยฝูงบินที่ประจำการด้วยเครื่องบินรบไอพ่น
การนำเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH ซึ่งใช้เครื่องยนต์ใบพัด turboprop
เข้าประจำการในฝูงบิน๔๑๑ ที่เคยประจำการด้วยเครื่องบินโจมตีแบบที่๕ บ.จ.๕ OV-10C
Bronco
ที่เป็นเครื่องบินโจมตีใบพัดก็ดูจะมีเหตุผลในการลดผลกระทบทางเสียงด้วยทางหนึ่ง
โดยทางผู้บัญชาการทหารอากาศไทย พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล
ก็ได้ให้สัมภาษณ์สื่อในต้นเดือนตุลาคม ๒๕๖๗ ว่ามีแนวคิดที่จะนำ บ.จ.๘ AT-6TH มาทดแทนเครื่องบินโจมตีแบบที่๗ บ.จ.๗ Alpha Jet
TH ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ อุดรธานี
ซึ่งกองบิน๒๓ เองก็เช่นเดียวกับกองบิน๔๑
ที่มีประชาชนร้องเรียนผลกระทบด้านเสียงเช่นกัน
การเปลี่ยนแบบยังมีความเหมาะสมในด้านคุณสมบัติร่วม(Commonality) ด้วย
ตามสมุดปกขาว RTAF White Paper 2024 เครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet TH
ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ จะมีการทดแทนพร้อมกับเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ข/ค บ.ข.๑๘ข/ค
F-5E/F TH Supet Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี
ด้วยเครื่องบินขับไล่หรือเครื่องโจมตีใหม่ฝูงบินเดียวจำนวน
๑๒-๑๔เครื่องในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๗๔-๒๕๗๘(2031-2035)
ซึ่งนั่นน่าจะมีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหน่วยต่อไป
การวิเคราะห์ก่อนหน้านั้นการทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ข/ค บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F
TH ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ ตามแผนที่วางในสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย ๒๕๖๗
ถูกมองว่าควรจะทดแทนด้วยเครื่องบินรบเบา(LCA: Light Combat Aircraft)
เช่นเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ Korea Aerospace Industries(KAI)
T-50TH Golden Eagle ที่ปัจจุบันประจำการในฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี แล้ว
๑๔เครื่อง
นอกจากการเปิดเผยแนวคิดการการมองที่จะนำ บ.จ.๘ AT-6TH มาทดแทน บ.จ.๗ Alpha Jet TH
ในฝูงบิน๒๓๑
ว่าอาจจะพิจารณาสภาพกำลังรบในประเทศเพื่อนบ้านอย่างกองทัพอากาศประชาชนลาวทีมีเพียงเครื่องบินฝึกไอพ่น
Yak-130 ๓เครื่อง(เดิม ๔เครื่องตกไป ๑เครื่องเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗)
และเครื่องบินฝึกไอพ่น K-8 ๔เครื่อง
และการเปลี่ยนไปใช้อากาศยานที่ประหยัดค่าใช้จ่ายการปฏิบัติงานมากขึ้นแล้ว
เครื่องบินขับไล่ F-16C/D/D+ Block 52
กองทัพอากาศสิงคโปร์ที่วางกำลังฝึกทีกองบิน๒๓
มานานก็มีแผนที่จะย้ายไปวางกำลังที่ฝูงบิน๒๓๗ ฐานบินน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ในปี
พ.ศ.๒๕๖๙(2026) โดยโครงการปรับปรุงสถานที่ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๖๙(2025-2026)
สิงคโปร์ได้ออกวงเงินสนับสนุนที่ร้อยละ๗๐
ของโครงการในการปรับปรุงสนามบินน้ำพองสำหรับเป็นฐานบินในการฝึกร่วมนานาชาติของ
ASEAN ครับ
Saab JAS 39 Gripen E. (Saab)
Government of Sweden document for "Expenditure 6 Defence and Society crisis
preparedness"
The government's proposal: The government is authorized to enter into an
agreement with Thailand for the sale of up to 12 JAS 39 E/F and associated
air defense systems.
The reasons for the government's proposal: Sweden has a long-term
cooperation with Thailand in the area of air defense. Thailand operates,
among other things, JAS 39 C/D and Swedish radar reconnaissance aircraft.
The sale of JAS 39 C/D has taken place as a bilateral sale by the Swedish
state. Thailand is to transfer 12 older fighter aircraft of the F-16
type.
The procurement must take place as an intergovernmental transaction. In
order to satisfy Thailand's demands for an intergovernmental deal, it is
proposed that the Riksdag authorize the government to enter into an
agreement with Thailand for the sale of up to 12 JAS 39 E/F and associated
air defense systems.
This means that the Swedish state undertakes to order and deliver combat
aircraft and other offered equipment and operations. The revenue from the
sale must cover the state's costs. (page 53)
F-16V Block 70/72 Viper production line at Lockheed Martin's Greenville
site. (Lockheed Martin)
The Royal Thai Air Force announced its selection of Gripen E/F on 28 August
2024. Lockheed Martin also still offer its F-16V Block 70/72 for RTAF in
statement to local media on 18 October 2024.
สหรัฐฯยื่นข้อเสนอใหม่ให้รัฐบาลไทย เพื่อขาย F-16 Block 70/72 ... ตามที่นาย
Jordan Smith ฝ่ายพัฒนาธุรกิจสากล ของ Lockheed Mariin
ได้แถลงข่าวออนไลน์ ถึงข้อเสนอชดเชยทางเศรษฐกิจ (Economic Offset) มูลค่า 1.7
พันล้านดอลลาร์ หรือราว 56,100 ล้านบาท ซึ่งเป็นข้อเสนอล่าสุด
หลังจากที่ทอ.ไทยตัดสินใจเลือก Gripen F/F ไปแล้ว
และเรื่องกำลังจะเข้าการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
เพื่อให้ความเห็นชอบ
อีกทั้งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้เข้าพบกับนาย ภูมิธรรม
เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เมื่อวันที่ 16
ต.ค.ที่ผ่านมาและได้มีการพูดคุยกันในเรื่องการขาย F-16 Block 70/72 ให้กับไทย
ซึ่งได้มีการพูดถึง Economic Offset
และข้อเสนอพิเศษเกี่ยวกับการเปิดเจรจาเรื่องการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯที่ฝ่ายไทยต้องการเจรจามานานแล้ว
แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ
เนื่องจากสหรัฐฯยังไม่เปิดโอกาสให้มีการพูดคุยเพื่อเปิดกว้างให้สินค้าของไทยได้ส่งออกไปยังสหรัฐฯได้สะดวกโดยปลดล็อคในเงื่อนไขบางประการและลดกำแพงภาษีลง
ซึ่งถ้าทำได้ประเทศไทยจะได้ประโยชน์มหาศาลและเป็นผลดีกับการส่งสินค้าไปขายยังสหรัฐฯ
โดยข้อเสนอนี้สหรัฐฯได้เสนอต่อรัฐบาลไทยโดยตรง
ซึ่งเราก็ต้องติดตามท่าทีของรัฐบาลไทยว่าจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้มากน้อยแค่ใหน
และอาจเป็นจุดเปลี่ยนโอกาสสุดท้ายของ Lockheed Martin
ที่จะโน้มน้าวให้ไทยหันมาเลือก F-16 Block 70/72 ก็ได้
เพราะว่าจะยังไม่มีการเซ็นต์สัญญากับ SAAB ซึ่งคาดว่าจะมีราวต้นปีหน้า
นอกจากนี้ Jordan Smith ยังกล่าว่า ปัจจุบัน F-16 รุ่นต่างๆ
มีประจำการในประเทศต่างๆทั่วโลกอยู่ถึง 3,100 เครื่อง
เฉพาะในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ราว 500 เครื่อง และในปี 2040
จะมีอีกหลายประเทศจัดซื้ออีกรวม 400 เครื่อง
ดังนั้น จึงทำให้ระบบการผลิตอะไหล่และการสนับสนุนด้านการซ่อมบำรุงต่างๆ
มีความมั่นคง โดย F-16 Block 70/72 มีอายุการใช้งานถึง 12,000 ชั่วโมง
สามารถใช้ได้ถึง 40 ปีทีเดียว...
กองทัพอากาศไทยได้แสดงความชัดเจนของตนเพียงพอในการเลือกเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐ข/ค
บ.ข.๒๐ข/ค Saab Gripen E/F
เป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก
F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗
แม้ว่ากองทัพอากาศไทยจะยังไม่มีการจัดแถลงการณ์การเลือก Gripen E/F
ที่เดิมคาดว่าจะมีขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ก็ตาม
ขณะที่ระหว่างการสรุปผลประกอบการประจำไตรมาสที่๓ ของบริษัท Saab
สวีเดนเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ผู้บริหารของ Saab ได้กล่าวต่อสื่อว่า
Saab
กำลังเดินหน้าเข้าสู่ขั้นตอนการเจรจาสัญญากับไทยสำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่
บ.ข.๒๐ข/ค Gripen E/F จำนวน ๑๒เครื่องที่น่าจะรวมเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียว
บ.ข.๒๐ข Gripen E จำนวน ๖-๘เครื่อง เครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง บ.ข.๒๐ค Gripen
F จำนวน ๒-๔เครื่อง
ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๗ รัฐบาลสวีเดนได้เผยแพร่เอกสาร "รายจ่าย๖
กลาโหมและการเตรียมการรับมือวิกฤตสังคม" ที่รวมการอนุมัติการขายเครื่องบินขับไล่ JAS 39 Gripen E/F จำนวน
๑๒เครื่อแก่ไทย
ซึ่งกองทัพอากาศไทยมีเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D
๑๑เครื่องในฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี คาดว่าการลงนามสัญญาจะมีขึ้นในปี
พ.ศ.๒๕๖๘(2025) และส่งมอบเครื่องแรกได้ในปี พ.ศ.๒๕๗๒(2029)
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านั้นในวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗ บริษัท Lockheeed Martin
สหรัฐฯได้จัดการแถลงทาง online ต่อสื่อของไทยถึงการนำเสนอเครื่องบินขับไล่
F-16V Block 70/72 Viper ของตนซึ่งรวมถึงการปรับปรุงข้อเสนอชดเชย(offset)
ที่รวมการชดเชยทางเศรษฐกิจ(economic offset) วงเงิน $1.7 billion(ราว
๕๖,๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท)
ซึ่งดูจะข้อจูงใจต่อรัฐบาลไทยที่ต้องการจะกระตุ้นการส่งออกในประเทศ
ตัวแทนบริษัท Lockheeed Martin
ยังเน้นย้ำถึงว่ากองทัพอากาศได้ลงทุนกับเครื่องบินขับไล่ F-16 ของตนมาเกือบ
๔๐ปีแล้ว โดยโครงสร้างอากาศยานของ F-16V Block 70/72 มีอายุการใช้งานถึง
๑๒,๐๐๐ชั่วโมงบินหรือราว ๔๐ปีถ้าทำการบินเฉลี่ยปีละ ๓๐๐ชั่วโมง
การปรับปรุงเครือข่าย Link 16 datalink ให้กับทั้งฝูงบิน๑๐๒ ใหม่และ บ.ข.๑๙/ก
F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี ยังถูกเน้นย้ำข้อเสนอใหม่ด้วย
นอกจากที่ Lockheeed Martin
สหรัฐฯได้ย้ำถึงการทำงานร่วมกันระหว่างชาติพันธมิตรและไม่ต้องการให้กองทัพอากาศไทยเสียความต่อเนื่องในการเป็นผู้ใช้งาน
F-16 มายาวนานแล้ว
เป็นที่ทราบว่าอิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศของสหรัฐฯเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้
F-16 เป็นผู้ชนะในหลายโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ของต่างประเทศ
ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในขั้นตอนการตัดสินใจระดับรัฐบาล-รัฐสภาของประเทศเหล่านั้นครับ
(นี่ยังรวมถึงการสอบสวนคดีทุจริตของบริษัท Saab โดยหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ
ที่สามารถนำไปสู่การห้ามส่งออกสิทธิบัตรของสหรัฐฯให้ประเทศอื่นโดยเฉพาะเครื่องยนต์ไอพ่น
RM16 ที่มีพื้นฐานจาก ย.General Electric F414 ที่ Gripen E ใช้ด้วย
การทำธุรกิจไม่มีคำว่าเท่าเทียมและยุติธรรม
วิธีการใดที่สามารถทำให้ลูกค้าต้องหันกลับมาซื้อผลิตภัณฑ์ของตนได้แม้ว่ามันจะขายดีมากจนผลิตแทบไม่ทันแล้วก็ตามก็ไม่ใช่เรื่องแปลก)
Royal Thai Air Force Lockheed Martin C-130H Hercules of 601st Squadron
"Lucky", Wing 6 Don Muang show its Full Mission Capability (FMC) Rate by
conducted 10 aircrafts formation Elephant Walks on runway.
601st Squadron, Wing 6 RTAF released photos on its official facebook page on
5 October 2024. (Air Chief Marshal Sakpinit Promthep, Flight Lieutenant
Komen Eansaard, Sukasom Hiranphan)
เครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ Lockheed Martin C-130H/C-130H-30 Hercules
ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง จำนวน ๑๒เครื่องนั้น
นับตั้งแต่เครื่องแรกถูกนำเข้าประจำการในกองทัพอากาศไทยในปี พ.ศ.๒๕๒๓(1980)
จนถึงปัจจุบันก็ครบรอบ ๔๔ปีในปี พ.ศ.๒๕๖๗ นี้แล้ว ที่เครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘
C-130H
ยังคงเป็นเครื่องบินที่มีอัตราความพร้อมสูงปฏิบัติการที่สุดและไม่มีการสูญเสียเลยของกองทัพอากาศไทย
ในปี พ.ศ.๒๕๖๗ นี้ เครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H
ของกองทัพอากาศไทยยังคงทำภารกิจต่างๆอย่างต่อเนื่อง
เห็นได้จากหลังเสร็จสิ้นการทำ Elephant Walks พร้อมกัน
๑๐เครื่องบนทางวิ่งของกองบิน๖
ก็ต้องทำภารกิจไปสนับสนุนการช่วยเหลือประชาชนจากเหตุน้ำท่วมที่ภาคเหนือ ภาคกลาง
ภาคอีสาน และภาคใต้ของประเทศไทยทันที
แสดงถึงความพร้อมระดับสูงสุดของเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีแบบดังกล่าวนี้
แม้ว่ากองทัพอากาศไทยน่าจะยังคงใช้งาน บ.ล.๘ C-130H ของตนไปอีกหลายปี
เช่นเดียวกับบางประเทศอย่างอินโดนีเซียที่จัดหาเครื่องบินลำเลียง C-130J Super
Hercules รุ่นใหม่แต่ก็ยังคงจะปรับปรุงเครื่องบินลำเลียง C-130
รุ่นเก่าเพื่อใช้งานต่อไปอยู่(https://aagth1.blogspot.com/2024/10/ptdi-c-130-9.html) อย่างไรก็ตามในระยะยาว บ.ล.๘ C-130H
ก็จำเป็นต้องมีการทดแทนด้วยเครื่องบินลำเลียงใหม่อยู่ดีครับ
The Royal Thai Air Force (RTAF) has signed a support contract with Diehl
Defence with respect to the IRIS-T short-range air-to-air missile system.
The IRIS-T is a short-range, all‐aspect infrared-homing missile that can
travel at speeds in excess of Mach 3 and has a maximum range of 25 km.
(Diehl Defence)
https://aagth1.blogspot.com/2024/10/diehl-defence-iris-t.html
Update: Thailand awards IRIS-T support contract to Diehl Defence
A Diehl Defence spokesperson told Janes on 23 October that the contract
became “effective immediately and will remain effective until late
2027”.
The RTAF has already integrated the IRIS-T with its primary combat aircraft,
the Lockheed Martin F-16A/B Fighting Falcon, the Saab JAS 39 Gripen, and the
Northrop F-5 Tiger II following the type's upgrade to the F-5TH Super Tigris
standard.
Diehl Defence released an image of an IRIS-T with a Korea Aerospace
Industries (KAI) T‐50 Golden Eagle in the background. The RTAF operates
fourteen T-50THs, designed for training, search-and-rescue, escort, and
light-attack roles.(Royal Thai Air Force/KATSUHIKO TOKUNAGA)
การลงนามสัญญาการสนับสนุนสำหรับระบบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ IRIS-T
ระหว่างกองทัพอากาศไทยและบริษัท Diehl Defence
เยอรมนีน่าจะเป็นไปตามโครงการสร้างคลังอาวุธและจัดหาอาวุธ กระสุน
วัตถุระเบิดวิกฤติของกองทัพอากาศ (IRIS-T) วงเงิน ๒๕๖,๕๕๒,๐๐๐บาท($6,996,237)
Diehl เปิดเผยเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ว่าสัญญา
"ได้มีผลทันทีและจะยังคงมีผลไปจนถึงปลายปี พ.ศ.๒๕๗๐(2027)"
โดยที่เครื่องบินรบหลายแบบของกองทัพอากาศไทยทั้งเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐/ก
บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี,
เครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก Lockheed Martin F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔
ตาคลี และเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ข/ค บ.ข.๑๘ข/ค Northrop F-5E/F TH Super
Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี สามารถใช้งานอาวุธปล่อยนำวิถี IRIS-T
ได้อยู่แล้ว
ถ้าพิจารณาจากภาพวาดสามมิติประกอบและแผนการบูรณาการ IRIS-T
เข้ากับเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 และเครื่องบินขับไล่ KF-21
ทำให้มองได้ว่ากองทัพอากาศไทยมองที่จะบูรณาการ IRIS-T
กับเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔
ในความร่วมมือกับบริษัท Korean Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี
และอาจจะรวมถึงเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH ด้วยครับ
The Royal Thai Army (RTA)'s acquisition of eight AH-6i Little Bird light
attack helicopters will allow the service to replace its obsolete AH-1F
Cobra helicopters (seen here). (Royal Thai Army)
Update: Boeing test-flies Thailand's first AH-6i
According to a Boeing spokesperson, the helicopter was “inducted into the
production flight testing process in the second quarter of 2024. The
remaining seven aircraft are in various stages of production now. We are
working ... to move the aircraft down the line and through the test flight
process,” the spokesperson added on 7 October.
The company did not specify when the pilot training programme would start,
deferring the matter to the RTA and the US Army.
ตามที่บริษัท Boeing
สหรัฐฯได้เปิดเผยภาพแรกของของเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ ฮ.ลว/อว.๖ Boeing
AH-6i Little Bird หมายเลขเครื่อง "22001" เครื่องหมายวงกลมกองทัพไทย
และตัวอักษร "ทบ." เครื่องแรกจาก
๘เครื่องสำหรับกองทัพบกไทยทำการบินทดสอบครั้งแรก ณ โรงงานอากาศยาน Mesa ของ
Boeing ในมลรัฐ Arizona สหรัฐฯ ในสื่อประชาสัมพันธ์ทางการของตนเมื่อวันที่ ๔
ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗
มีขึ้นหลังจากในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ตัวแทนบริษัท Boeing
ได้ให้สัมภาษณ์สื่อว่า ฮ.ลว/อว.๖ AH-6i ทั้ง
๘เครื่องที่กองทัพบกไทยสั่งจัดหาได้ในอยู่ในหลากหลายสถานะการสร้างและเข้าสู่ขั้นตอนการบินทดสอบแล้ว
โดยการส่งมอบจะมีขึ้นภายหลังในปี พ.ศ.๒๕๖๗ นี้(https://aagth1.blogspot.com/2024/06/ah-6i.html) แต่ Boeing
ไม่ได้ระบุว่าการฝึกนักบินกองทัพบกไทยโดยกองทัพบกสหรัฐฯจะเริ่มขึ้นเมื่อไร
อย่างไรก็ตามสื่อหลักส่วนใหญ่ยังคงอ้างอิงเอกสารประกาศของDSCA(Defense Security
Cooperation Agency) สหรัฐฯว่า ฮ.ลว/อว.๖ AH-6i จะมาทดแทน เฮลิคอปเตอร์โจมตี
ฮ.จ.๑ Bell AH-1F Cobra ซึ่งตามข้อเท็จจริงโครงการจัดหา ฮ.ลว/อว.๖ AH-6i และ
ฮ.โจมตีใหม่เป็นคนละโครงการกันซึ่งมีตัวเลือกระหว่างเฮลิคอปเตอร์โจมตี ฮ.จ.๖๔
Boeing AH-64E Apache หรือเฮลิคอปเตอร์โจมตี ฮ.จ.๑ Bell AH-1Z Viper ครับ
Thai Defense Industry (TDI) by Chaiseri displayed its First Win ATV
(Armoured Tactical Vehicle) 4x4 at the Defense & Security 2023 show in
Bangkok. (My Own Photos)
Thailand's Thai Defence Industry (TDI) (joint venture between Thai private
firm Chaiseri metal & rubber Co. Ltd. and Ministry of Defence of
Thailand agency's Defence Technology Institute (DTI)) and Pakistan Heavy
Industry Taxila (HIT) signed Memorandum of Understanding (MOU) on sell 100
Chaiseri First Win 4x4 wheeled armored vehicles with technology
transfer to production at HIT on 18 September 2024. Royal Thai Armed Forces
(RTARF) announced on 11 October 2024.
Thailand wins First Win deal from Pakistan
The inclusion of a transfer of production technology clause in the agreement
likely enables HIT to manufacture the First Win vehicles locally. It is
likely that Chaiseri will produce a small initial batch of vehicles before
HIT delivers the remaining units to the Pakistan Army.
The First Win vehicle has been built by Chaiseri in several configurations.
The specific variation of the vehicle to be procured by Pakistan has not
been disclosed.
การลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding)
ในการบรรลุข้อตกลงการขายยานเกราะล้อยาง Chaiseri First Win 4x4 จำนวน
๑๐๐คันพร้อมการถ่ายทอดวิทยาการการผลิตระหว่างบริษัท Thai Defense Industry
จำกัด(TDI) ไทยกับ Heavy Industries Taxila(HIT)
รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตรถถังยานเกราะของปากีสถาน และบริษัท Paradigm Technologies
International ปากีสถาน
เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๗ ซึ่งกองทัพไทยได้เผยแพร่ในสื่อสังคม online
ของตนเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗
นับเป็นความสำเร็จล่าสุดและสูงที่สุดของภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยภายใต้การสนับสนุนระหว่างภาคเอกชนคือบริษัท
Chaiseri ไทย และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI
จนถึงกองทัพไทยและกระทรวงกลาโหมไทย
แม้ว่าไม่มีการเปิดเผยมูลค่าวงเงินและรายละเอียดใดๆก็ตาม
โดยที่ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพบกไทย กองทัพเรือไทย(นาวิกโยธินไทย)
กองทัพอากาศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย และหน่วยงานรักษากฎหมายของไทยเอง
ปากีสถานกำลังจะเข้าร่วมกลุ่มผู้ใช้งานยานเกราะล้อยางตระกูล First Win 4x4 ของ
Chaiseri ไทยร่วมกับมาเลเซียที่ถ่ายทอดผลิตแก่ Deftech มาเลเซียในชื่อ AV4
Lipan Bara 4x4 จำนวน ๒๐คัน อินโดนีเซียไม่เปิดเผยจำนวน และภูฏาน
๒๕คันครับ
Army Research and Development Office (ARDO), Royal Thai Army (RTA) with
National Research Council of Thailand (NRCT) and Bangkok University follow
and evaluate research and innovation on potential study programme for
sustainment of CAESAR 155mm/52calibre wheeled self-propelled howitzer (SPH)
of 721st Artillery Battalion, 72nd Artillery Regiment, Artillery Division,
RTA at Fort Sirikit, Lopburi Province, Thailand on 18 October 2024. (Royal
Thai Army)
ติดตามความก้าวหน้า โครงการวิจัย วช.
วันที่ 18 ต.ค. 67 : พล.ต ระวี ตั้งพิทักษ์กุล ผอ.สวพ.ทบ. และคณะฯ
เข้าร่วมคณะทำงานบริหารจัดการแผนงานการวิจัยและพัฒนาเพื่อดำรงสภาพยุทโธปกรณ์ของกองทัพสำหรับอุตสาหกรรมความมั่นคงและป้องกันประเทศ
เพื่อติดตามและประเมินผลโครงการวิจัยและนวัตกรรมตามแผนงานฯ ประจำปี
2567
"โครงการการศึกษาความเป็นไปได้ในการดำรงสภาพยุทโธปกรณ์ปืนใหญ่อัตตาจรซีซาร์
(CAESAR)" ซึ่งมี ผศ.ดร. กิ่งกาญจน์ สุขคณาภิบาล สังกัด มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
เป็นหัวหน้าโครงการ ณ ป.72 พัน.721 พล.ป. จว.ล.บ.
การติดตามรายงานความก้าวหน้า : ผลการดำเนินงานรอบ 2 เดือน
ดำเนินการศึกษาการทำงานส่วนประกอบต่างๆ
ของระบบไฟฟ้าของยุทโธปกรณ์ปืนใหญ่อัตตาจรซีซาร์ ปนร.52 ขนาด 155 มม.
โดยเฉพาะส่วนประกอบสำคัญที่ชำรุด ได้แก่ ชุดกล่องควบคุมระบบ BGCA,
จอคอมพิวเตอร์, และระบบชี้ทิศทางอัตโนมัติ ซึ่งเป็นไปตามแผนงานรอบ 2
เดือน
แผนการดำเนินงานในระยะต่อไป : ทำการศึกษาการรับ-ส่งข้อมูล เเละ data flow
ของปืนใหญ่อัตตาจรซีซาร์
โดยการดักสัญญาณระหว่างคอมพิวเตอร์ควบคุมการยิงกับระบบต่างๆ
เพื่อนำมาวิเคราะห์เเละเปรียบเทียบหาปัญหาของระบบการยิงของปืนใหญ่อีก 5 หน่วย
ในลำดับต่อไป
ประกาศกองวิทยาการ กรมสรรพาวุธทหารบก ขอเชิญชวนเสนอข้อมูลทางเทคนิค
สิ่งอุปกรณ์ชิ้นส่วนซ่อมสายสรรพาวุธ ของ ปืนใหญ่อัตราจร ขนาด 155 มม./52
คาลิเบอร์แบบ caesar
ปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบ ขนาด 155mm/52calibre อัตตาจรล้อยาง แบบ ปนร.๕๒
CAESAR ที่จัดหามาจำนวน ๖ระบบเข้าประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๒(2009)
ซึ่งปัจจุบันวางกำลังใน กองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๒๑ กรมทหารปืนใหญ่ที่๗๒ ป.๗๒
พัน.๗๒๑ กองพลทหารปืนใหญ่ ค่ายสิริกิติ์ จังหวัดลพบุรี
นั้นนับเป็นปืนใหญ่อัตตาจรล้อยางแบบแรกของกองทัพบกไทย
ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงคล่องแคล่วยิงได้ไกลและแม่นยำมาก
อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกับปืนใหญ่อัตตาจรแบบอื่นๆที่เมื่อตัวรถแคร่ฐาน(chassis)มีปัญหาก็จะทำให้ทั้งระบบใช้งานไม่ได้ด้วย
ตามที่มีเอกสารประกาศกองวิทยาการ(Technical Services Division)
กรมสรรพาวุธทหารบก สพ.ทบ.(Ordnance Department)
เสนอข้อมูลซ่อมปืนใหญ่อัตราจรล้อยาง ปนร.๕๒ CAESAR
ซึ่งรายการซ่อมทำส่วนใหญ่จะเป็นของรถยนตร์บรรทุก Renault Sherpa 5 6x6 ฝรั่งเศส
ซึ่งเป็นรถแคร่ฐาน
นอกจากข้อเสียเปรียบที่ระบบควบคุมทั้งหมดเป็นแบบอัตโนมัติล้วนไม่มีระบบ manual
สำรองที่ทำให้ต่อมากองทัพบกไทยได้จัดหาปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง ATMG
ที่่สร้างในไทยจำนวนมาก(https://aagth1.blogspot.com/2023/11/defense-security-2023-m758-atmg-155mm.html) สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก สวพ.ทบ.
ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ วช.และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ได้ตั้งโครงการศึกษาการซ่อมส่วนระบบไฟฟ้าที่ชำรุดของ ปนร.๕๒ CAESAR
ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานต่อไปได้ครับ
Infantry Company task group from 2nd Infantry Regiment, 2nd Infantry
Division Queen's Guard Royal Thai Army concluded the exercise Joint Pacific
Multinational Readiness Center 2025-01 (JPMRC 25-01) at Hawaii on 23
September to 18 October 2024. (SMART Soldiers Strong Army)
The ten-day China-Thailand joint army training Commando 2024 came to an end
on Oct. 25th. Click the clip for highlight reels.
กองร้อยทหารราบกำลังพล ๑๐๕นายจากกรมทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ฯ ร.๒ รอ.,
กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ฯ พล.ร๒ รอ.ได้เสร็จสิ้นการเข้าร่วมการฝึก JPMRC
25-01 ที่รัฐ Hawaii สหรัฐฯ ระหว่างวันที่ ๒๓ กันยายน-๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗
ซึ่งนอกจากจะได้เห็นการฝึกใช้งานอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ๆของสหรัฐฯแล้ว
ยังเห็นทหารบกไทยใช้เครื่องแบบสนาม combat shirt
ใหม่มาใช้ในการฝึกที่ต่างประเทศครั้งแรกด้วย
ชุดปฏิบัติการหน่วยทหารขนาดเล็ก นทล.๘นายจาก กองพันทหารราบที่๑,
กรมทหารราบที่๑๑๒, กองพลทหารราบที่๑๑ ร.๑๑๒ พัน๑, พล.ร.๑๑
ก็ได้เข้าร่วมการแข่งขัน Cambrian Patrol 2024 ที่ Wales
สหราชอาณาจักระหว่างวันที่ ๔-๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗
ซึ่งเป็นครั้งแรกกองทัพบกไทยส่งทีมที่ชนะเลิศการตรวจสอบหน่วยทหารขนาดเล็กในระดับกองทัพบกประจำปี
๒๕๖๗ โดยทีมทหารบกไทยได้เหรียญรางวัลกลับมาด้วย
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ กองทัพบกไทยยังได้ส่งกำลังพลไปร่วมการฝึก Strike
2024/Commando 2024 กับกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนที่ Kunming มลฑล Yunnan
ระหว่างวันที่ ๑๕-๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗
รวมถึงนาวิกโยธินไทยได้ส่งกำลังพลร่วมสังเกตการณ์การฝึก KAMANDAG 2024
ที่ฟิลิปปินส์ระหว่างวันที่ ๑๕-๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗
จะเห็นได้ว่าทั้งเดือนตุลาคมนี้ทหารไทยมีการฝึกกับมิตรประเทศตลอดครับ
German Navy F222 Baden-Württemberg frigate and A1412 Frankfurt am Main, the Berlin-class replenishment ship contracted third area operation command of Thailand Maritime Enforcement Command Center (TMECC) via Indo-Pacific Regional Information Sharing (IORIS) system during Indo- Pacific Deployment 2024 (IPD 2024) at Andaman sea on 19 October 2024. (Royal Thai Navy)
วันที่ 19 ต.ค.67 ระหว่างเวลา 08.30 - 11.00 น. ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศปก.ศรชล.) และ ศปก.ศรชล.ภาค 3 เข้าร่วมการฝึกตราทางเป้าด้วยระบบ IORIS กับเรือรบเยอรมันจำนวน 2 ลำได้แก่ FGS Baden-Wuerttemberg และ FGS Frankfurt ตามคำเชิญของสหภาพยุโรป (EU)
โดยในการฝึกเป็นการฝึกการสื่อสารผ่านช่องทางกล่องข้อความ (Chat box) การแลกเปลี่ยนข้อมูลเป้า ,การส่งเป้า (Mark) ให้เรือรบทำการพิสูจน์ทราบ การส่งเป้าจากเรือรบให้ทำการหาข้อมูลเพื่อยืนยันความเสี่ยงของเป้า ซึ่งส่วนที่เข้ารับการฝึกได้เรียนรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ในการใช้งานระบบ IORIS อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคงทางทะเลของไทย (ศรชล.) กับเรือรบต่างประเทศ
ทั้งนี้ ระบบ IORIS อยู่ภายใต้โครงการ CRIMARIO2 ของสหภาพยุโรป (EU) มีวัตถุประสงค์ให้ประเทศสมาชิกร่วมใช้งานระบบที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเป้าในทะเลและการสื่อสารระหว่างหน่วยงานที่ทำหน้าที่รักษากฎหมายใน ทะเลผ่านระบบ IORIS
เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ภาพสถานการณ์ทางทะเล (Maritime Domain Awareness: MDA) และเห็นภาพสถานการณ์เดียวกันในทะเล (Common Operations Picture: COP) ซึ่งเกิดประโยชน์ในการร่วมกันปกป้องและสกัดกั้นการกระทำผิดกฎหมายในทะเล ให้ทะเลเกิดความมั่นคงและความปลอดภัยในภูมิภาค
“ศรชล.เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่ได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาคเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศชาติและประชาชน”
ก่อนหน้านั้นเรือฟริเกต F222 Baden-Württemberg และเรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ A1412 Frankfurt am Main กองทัพเรือเยอรมนีได้เสร็จสิ้นการเดินทางเยือนสิงคโปร์ระหว่างวันที่ ๒-๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗ และเยือนมาเลเซียระหว่าวันที่ ๑๕-๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ในฐานะส่วนขึ้นของการฝึกวางกำลังในอินโด-แปซิฟิกประจำปี 2024(IPD 2024: Indo- Pacific Deployment 2024) ของกองทัพเยอรมนี
แม้ว่าจะไม่มีกำหนดการในการเดินทางเยือนท่าเรือของไทย แต่การผ่านน่านน้ำไทยในทะเลอันดามันเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗ เรือฟริเกต F222 Baden-Württemberg และเรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ A1412 Frankfurt am Main กองทัพเรือเยอรมนีได้ทำการติดต่อศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ศรชล.(TMECC: Thai Maritime Enforcement Command Center) ภาค๓ ในฝั่งอันดามัน
เพื่อร่วมการฝึกตราทางเป้าด้วยระบบแบ่งปันข้อมูลภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก(IORIS: Indo-Pacific Regional Information Sharing) ตามคำเชิญของสหภาพยุโรป(EU: European Union) แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีและและไทยที่ยังคงแสดงบทบาทความร่วมมือระหว่างกันของทั้งสองประเทศเพื่อการรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกร่วมกันอยู่ครับ