วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

กองทัพบกไทยและออสเตรเลียเสร็จสิ้นการฝึกผสม Chapel Gold 2025
















The Royal Thai Army (RTA) and the Australian Army concluded the combined training exercise Chapel Gold 2025 from 29 June to 10 July 2025, hold by RTA 1st Infantry Battalion, 25th Infantry Reginemet, 5th Infantry Division, 4th Army Area at Khet Udomsak Military Camp, Mueang District, Chumphon Province, Thailand with held closing ceremony at Ban Nam Phu School, Pak Khlong Subdistrict, Pathio District, Chumphon Province, Thailand on 10 July 2025. (Royal Thai Army)





เปิดฉากฝึกผสม “Chapel Gold 2025” ไทย - ออสเตรเลีย
29 มิ.ย. 68 ณ ลานพื้นแข็ง ค่ายเขตอุดมศักดิ์ จ.ชุมพร
พล.ต.อภินันท์ แจ่มแจ้ง ผบ.พล.ร.5 และ ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารออสเตรเลีย ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกผสมระหว่าง กองทัพบกไทย - กองทัพบกออสเตรเลีย ภายใต้รหัส Chapel Gold 2025 พร้อมรับฟังบรรยายสรุปและตรวจเยี่ยมการฝึก  2 สถานีสำคัญ:
สถานีการยิงปืนทางยุทธวิธี (Combat Shooting)
สถานีดำรงชีพในป่า (Jungle Survival)
การฝึกผสม “Chapel Gold 2025” ถือเป็นหนึ่งในความร่วมมือด้านความมั่นคงที่สำคัญของกองทัพบกไทยกับประเทศพันธมิตร เพื่อยกระดับมาตรฐานทางทหารให้สอดคล้องกับภัยคุกคามและสภาวะแวดล้อมในยุคปัจจุบัน

การฝึกผสม ทบ.ไทย - ทบ.ออสเตรเลีย รหัส Chapel Gold 2025
เมื่อ 6 ก.ค.68
ดำเนินการจัดการฝึก โดยทำการฝึกร่วมกันระหว่าง ทบ.ไทย - ทบ.ออสเตรเลีย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- การฝึกในสถานี : อาวุธศึกษา ทบ.ไทย - ทบ.ออสเตรเลีย
- การฝึกในสถานี : มวยไทย (Thai boxing)
และเล่นกีฬาร่วมกัน 
- กีฬาสากล : ฟุตบอล, วอลเลย์บอล, ตะกร้อ 
- กีฬาพื้นบ้าน : ชักเย่อ
- แข่งขันกีฬาวิบากทหาร
เพื่อให้ ทบ.ไทย - ทบ.ออสเตรเลีย ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ทางทหาร และเพิ่มขีดความสามารถในการปฎิบัติการร่วมกัน เสริมสร้างสัมพันธ์อันดีต่อกัน 
ณ พื้นที่การฝึก ร.25 พัน.1 ค่ายเขตอุดมศักดิ์ อ.เมือง จ.ชุมพร

พิธีปิดการฝึก “Chapel Gold 2025” กองทัพบกไทย – ออสเตรเลีย ผบ.พล.ร.5 ร่วมพิธีปิด
วันที่ 10 กรกฎาคม 2568 เวลา 10.00 น.
พลตรี อภินันท์  แจ่มแจ้ง ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 ร่วมพิธีปิดการฝึกผสม กองทัพบกไทย - กองทัพบกออสเตรเลีย ประจำปี 2568 รหัส Chapel Gold 2025 โดยเป็นการฝึกตามโครงการฝึกผสมระหว่างกองทัพบกไทย กับกองทัพมิตรประเทศ
เพิ่มขีดความสามารถทางยุทธวิธี การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางทหาร และส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างประเทศพันธมิตร โดยมี พลโท ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นประธาน ณ โรงเรียนบ้านน้ำพุ ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
โดยหลังจากกระทำพิธีปิด ได้ร่วมกิจกรรมด้านกิจการพลเรือน (CIMIC Activity) ได้แก่ ทาสีปรับปรุงภูมิทัศน์ ร่วมจัดเลี้ยงอาหารและเครื่องดื่มให้แก่เด็กนักเรียน ซึ่งมีบุคลากรทางการศึกษา รร.บ้านน้ำพุ, ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ ตำบลปากคลอง เข้าร่วมกิจกรรม

ปิดฉากการฝึก “Chapel Gold 2025” กองทัพบกไทย – ออสเตรเลีย 
แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นประธานในพิธี
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2568 เวลา 10.00 น. ที่โรงเรียนบ้านน้ำพุ ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร พลโท ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นประธานในพิธีปิดการฝึกผสมระหว่างกองทัพบกไทย และกองทัพบกออสเตรเลีย ประจำปี 2568 ภายใต้รหัส “Chapel Gold 2025” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม 2568
สำหรับการฝึกในครั้งนี้ กองทัพบกไทยได้จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์จาก กองพลทหารราบที่ 5 เข้าร่วมการฝึกผสมกับกองกำลังจากกองทัพบกออสเตรเลีย โดยมีเป้าหมายเพื่อ เพิ่มขีดความสามารถทางยุทธวิธี การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางทหาร และส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างประเทศพันธมิตร
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมพัฒนาสัมพันธ์พลเรือน-ทหาร อาทิ การปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน การจัดกิจกรรมสันทนาการให้แก่เยาวชนในพื้นที่ และกิจกรรมจิตอาสา เพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพกับประชาชนในพื้นที่
แม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวในพิธีว่า การฝึก Chapel Gold 2025 ไม่เพียงสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งในการประสานงานระหว่างสองกองทัพเท่านั้น แต่ยังตอกย้ำถึงมิตรภาพอันมั่นคงและยั่งยืนระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค

กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) และกองทัพบกออสเตรเลีย(Australian Army) ได้เสร็จสินการฝึกผสมรหัส Chapel Gold 2025 ระหว่างวันที่ ๒๙ มิถุนายน-๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ตามพิธีเปิด ณ ค่ายเขตอุดมศักดิ์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๘ และพิธีปิด ณ โรงเรียนบ้านน้ำพุ ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘
กองทัพภาคที่๔ ทภ.๔(4th Army Area) เป็นเจ้าภาพการฝึกในปีนี้โดยจัดกำลังเข้าร่วมการฝึกจาก กองทัพทหารราบที่๑ กรมทหารราบที่๒๕ ร.๒๕.พัน๑(1st Infantry Battalion, 25th Infantry Reginemet) กองพลทหารราบที่๕ พล.ร.๕(5th Infantry Division) ขณะที่กองทัพบกออสเตรเลียจัดกำลังจากกองร้อยปืนเล็ก Butterworth(RCB: Rifle Company Butterworth) ซึ่งหน่วยฝึกการรบในป่ากับมิตรประเทศกลุ่มชาติ ASEAN
การฝึกผสม Chapel Gold 2024 ระหว่างวันที่ ๗-๑๐พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ปีที่แล้วมีขึ้นที่จังหวัดเชียงรายโดยมีกองทัพภาคที่๓ ทภ.๓(3rd Army Area) เป็นจ้าภาพ การฝึกผสม Chapel Gold 2025 ปีนี้ได้เห็นการมีส่วนร่วมของนายทหารสัญญาบัตรกองทัพออสเตรเลียที่มาศึกษาที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบกไทย เครื่องสนามที่ทันสมัยของทหารราบไทยและการฝึกแลกเปลี่ยนอาวุธ เช่น ปืนเล็กสั้น M4 ACC-M ของไทย และปืนเล็กยาวจู่โจม EF88 Austeyr ของออสเตรเลียครับ

วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

เบลเยียมจะปลดประจำการเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป NH90 TTH

Belgium to retire NH90 TTH helicopters as defence minister slams ‘bad purchase'





Having announced in 2020 that it was scaling back its use of the NH90 TTH, Belgium has now said it is to withdraw all four helicopters from service in September. (Belgian MoD)

เบลเยียมจะปลดประจำการก่อนกำหนดของเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปทางยุทธวิธี NHIndustries(NHI) NH90 TTH(Tactical Transport Helicopter) ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2024/06/airbus-nh90.html
โดยที่รัฐมนตรีกลาโหมเบลเยียมได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงต่อการจัดซื้อจัดจ้างเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปทางยุทธวิธี NH90 TTH นี้ว่าเป็น "การซื้อที่แย่"(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/mrh90-taipan.html)

รัฐมนตรีกลาโหมและการค้าต่างประเทศเบลเยียม Theo Francken ได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2025 ว่าเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป NH90 TTH ที่ปฏิบัติการในภารกิจภายในภาคพื้นดิน
โดยกองทัพอากาศเบลเยียม(BAC: Belgian Air Component) กำลังจะถูกปลดประจำการจากกองทัพในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าที่่จะถึง โดยเฮลิคอปเตอร์แบบใหม่ที่จะทดแทนจะถูกส่งมอบในปี 2026

"เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปทางยุทธวิธี NH90 TTH จำนวน 4เครื่องจะถูกนำออกจากการประจำการในกองทัพอากาศเบลเยียมเริ่มต้นในเดือนกันยายน 2025 นี้ มันเป็นการจัดซื้อที่แย่ 
มีค่าใช้งานที่แพงอย่างสุดขีดที่จะบำรุงรักษา การทดแทนจะมีขึ้นในปี 2026 ที่กำลังจะมาถึง" รัฐมนตรีกลาโหมและการค้าต่างประเทศเบลเยียม Francken ได้ post ในบัญชี X(Twitter เดิม) ทางการของเขา

ข่าวการปลดประจำการเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป NH90 TTH ก่อนกำหนดมีขึ้นตามมาราว 5ปีหลังจากกระทรวงกลาโหมเบลเยียมกล่าวในเดือนมิถุนายน 2020 ว่าตนจะลดจำนวนการบินปฏิบัติการของเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้
เนื่องจากเนื่องจากการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมที่ลดลง, ค่าใช้จ่ายต่างๆที่สูงขึ้น, และการขาดแคลนพนักงาน ณ เวลานั้น กระทรวงกลาโหมเบลเยียมกล่าวตนจะเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณของเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป NH90 TTH 

ไปยังเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเลประจำเรือฟริเกต NH90 NFH(NATO Frigate Helicopter) จำนวน 4เครื่องที่กองทัพอากาศเบลเยียมใช้สำหรับการปฏิบัติภารกิจทางทะเล(https://aagth1.blogspot.com/2024/10/nhi-nh90.html)
เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล NH90 NFH เหล่านี้จะยังคงอยู่ในประจำการของกองทัพอากาศเบลเยียมต่อไปตามการประกาศล่าสุดของรัฐมนตรีกลาโหมและการค้าต่างประเทศเบลเยียม Francken

ในฐานะผู้ถือหุ้นหลักของกลุ่มกิจการค้าร่วม NHI ที่รวมถึงบริษัท Leonardo อิตาลีและบริษัท Fokker เนเธอร์แลนด์ บริษัท Airbus Helicopters ยุโรปสาขาฝรั่งเศส-เยอรมนีไม่ได้ตอบสนองสำหรับการขอความเห็นจาก Janes ในเวลาที่บทความนี้เผยแพร่
เบลเยียมเป็นผู้ใช้งานรายล่าสุดที่ประกาศจะเลิกใช้งานเฮลิคอปเตอร์ NH90 ของตนต่อจากออสเตรเลียและนอร์เวย์ รวมถึงสวีเดนในเร็วๆนี้ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2024/10/uh-60m-black-hawk.html)

วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

กองทัพอากาศไทยและมาเลเซียเสร็จสิ้นการฝึกผสม Air Thamal 2025
























Royal Thai Air Foce (RTAF) and Royal Malaysian Air Force (RMAF) concluded the exercise AIR THAMAL 33/2025 at Wing 1 Korat RTAF Base in Nakhon Ratchasima Province, Thailand on 30 June to 10 July 2025.
33rd iteration of the bilateral exercise AIR THAMAL participated with RMAF Sukhoi Su-30MKM of No.12 Squadron, and Boeing F/A-18D Hornet of No.18 Squadron which deployed at Wing 1 Korat in Thailland for first time
and RTAF Saab Gripen C/D Saab Gripen C/D of 701st Squadron, Wing 7 Surat Thani; Lockheed Matin F-16A/B Block 15 OCU/ADF of 103rd Squdron, Wing 1 Korat; and Northrop F-5E/F TH Super Tigris of 211st Squadron, Wing 21 Ubon Ratchathani. (Royal Thai Air Foce and Royal Malaysian Air Force)

RMAF ATTACKS IN KORAT AIRSPACE IN AIR EXERCISE THAMAL 33/2025

RMAF SHOWS SUSTAINABLE READINESS IN AIR THAMAL EXERCISE 33/25

The AIR THAMAL 33/2025 Joint Exercise
From 1–9 July 2025, the Royal Thai Air Force (RTAF) and the Royal Malaysian Air Force (RMAF) are conducting a joint exercise to strengthen tactical air cooperation and mutual capabilities.
Thailand has deployed F-16, F-5, and Gripen Malaysia has deployed Su-30MKM and F/A-18D
This is the 33rd iteration of the exercise, codenamed AIR THAMAL 33/2025,held from 30 June – 10 July 2025 at Wing 1 Korat in a Field Training Exercise (FTX) format.
Training activities include: Work-Up Training (WUT), Mini-LFE (small-scale Large Force Employment), DBFM, DACM, TI, DACT, OCA/DCA (Offensive and Defensive Counter-Air operations)
This exercise aims to build mutual understanding in joint air operations and enhance readiness for regional security and peacekeeping missions.

ผสานความร่วมมือ ไทย - มาเลเซีย อันแข็งแกร่งเหนือท้องนภา "Air Thamal 33"
ภาพบรรยากาศการฝึกของกองทัพอากาศไทย และมาเลเซีย ในการฝึกผสมทางอากาศ Air Thamal 33 ณ ฐานบินกองบิน 1 โคราช ด้วยอากาศยานขับไล่ สมรรถนะสูง Gripen F-16 F5-TH F-18 SU-30MKM ในห้วงสัปดาห์แรกของการฝึก 
ซึ่งการฝึกครั้งนี้จะเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติการร่วม และกระชับความพันธ์ที่ดีของมิตรประเทศในภูมิภาค
Cr ภาพโดย : Tentera Udara Diraja Malaysia  & Noppasin Poompo 

บรรยากาศการฝึกผสม AIR THAMAL 33/2025 ระหว่างวันที่ 1–9 กรกฎาคม 2568 กองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศมาเลเซีย ได้ร่วมฝึกผสมเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความร่วมมือด้านยุทธวิธีอากาศ  ไทยส่ง F-16, F-5 และ Gripen  มาเลเซียส่ง Su-30MKM และ F/A-18D การฝึกครั้งนี้เป็นครั้งที่ 33 ภายใต้รหัส AIR THAMAL 33/2025 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 มิ.ย. – 10 ก.ค. 2568 ณ กองบิน 1 ในรูปแบบ Field Training Exercise (FTX)
เนื้อหาการฝึกประกอบด้วย 
Work-Up Training (WUT) 
Mini-LFE (การบินประกอบกำลังขนาดเล็ก) 
DBFM, DACM, TI, DACT 
OCA/DCA (ตอบโต้ทางอากาศรุก–รับ) 
การฝึกนี้มุ่งสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติการทางอากาศร่วม และเตรียมพร้อมต่อภารกิจด้านความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาค

ฝีมือการบินที่เข้มแข็ง และน่าเกรงขามเหนือแผ่นฟ้าร่วมกันระหว่าง ไทย - มาเลเซีย ในการฝึกผสม Air Thamal 33
ภาพบรรยากาศการฝึกที่เข้มข้นในช่วงสัปดาห์สุดท้าย และภาพแห่งความประทับใจของความร่วมมือกันระหว่างกองทัพอากาศไทย - มาเลเซีย ในการฝึกผสม Air Thamal ครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกำลังทางอากาศที่มีความพร้อมในการปฏิบัติการปกป้องรักษาน่านฟ้า และความสัมพันธ์ระหว่างมิตรประเทศที่มีให้กันมาอย่างยาวนาน
CR ภาพโดย : Noppasin Poompo

พิธีปิดการฝึกผสม AIR THAMAL 33/2025 ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา
วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม 2568 พลอากาศเอก พันธ์ภักดี  พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ และ General Dato' Sri Haji Muhamad Norazlan Bin Aris ผู้บัญชาการทหารอากาศมาเลเซีย ร่วมเป็นประธานในพิธีปิดการฝึกผสม AIR THAMAL 33/2025 ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา
ในการนี้ พลอากาศเอก พันธ์ภักดี  พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้กล่าวโดยสรุปในพิธีความว่า “การฝึกในปีนี้มีความพิเศษอย่างยิ่ง เนื่องจากมีการนำอากาศยานหลายแบบเข้าร่วมการฝึกฯ และเป็นครั้งแรกที่เครื่องบินขับไล่ แบบ Su-30MKM จากกองทัพอากาศมาเลเซียได้เดินทางมาฝึกในประเทศไทย 
ซึ่งถือเป็นโอกาสสำคัญในการเพิ่มพูนทักษะการปฏิบัติการร่วมกันของกำลังพลทั้งสองประเทศ รวมทั้งการฝึกในครั้งนี้ได้ขยายขนาดมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา โดยมีฝูงบินเข้าร่วมมากถึง 5 ฝูงบิน แสดงถึงความตั้งใจร่วมกันของทั้งสองกองทัพอากาศ ในการยกระดับการฝึกให้มีประสิทธิภาพและความหลากหลายยิ่งขึ้น" 
รวมทั้งได้กล่าวแสดงความชื่นชมต่อความสำเร็จของการฝึกและขอบคุณกำลังพลทุกนายที่เข้าร่วมการฝึกในครั้งนี้
การฝึกผสม AIR THAMAL 33/2025 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน - 10 กรกฎาคม 2568 ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา มีนาวาอากาศเอก เจริญ  วัฒนศรีมงคล รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกรมยุทธการทหารอากาศ เป็นผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม ฯ กองทัพอากาศ และ Colonel Hasfa Nyzam Bin Abdul Hamid เป็นผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม ฯ กองทัพอากาศมาเลเซีย 
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศผสมของกองทัพอากาศทั้งสองประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอน และวิธีการปฏิบัติการทางอากาศร่วมกันของกำลังพล 
ตลอดจนเพื่อเพิ่มพูนและกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างกำลังพลทุกระดับของกองทัพอากาศทั้งสองประเทศให้มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น นำไปสู่ความร่วมมือที่เข้มแข็งในการดูแลประชาชน และความมั่นคงในภูมิภาคต่อไป 
สำหรับอากาศยานที่เข้าร่วมการฝึกผสม ฯ จากกองทัพอากาศและกองทัพอากาศมาเลเซีย ได้แก่ เครื่องบินขับไล่แบบ F-16 A/B/ADF, Gripen C/D, F-5 E/F, Su-30MKM และ F/A-18D 
การฝึกผสม ฯ ประกอบด้วยการฝึกเตรียมความพร้อม (Work-Up Training : WUT) การฝึกบินประกอบกำลังทางอากาศขนาดเล็ก (Mini Large Force Employment : Mini-LFE) มีภารกิจเฉพาะในการฝึก ได้แก่ 
การบินขับไล่ขั้นมูลฐาน (Dissimilar Basic Fighter Maneuver : DBFM) การบินรบในอากาศ (Dissimilar Air Combat Maneuver : DACM) การบินสกัดกั้นทางยุทธวิธี (Tactical Intercept : TI) การบินยุทธวิธีการรบในอากาศ (Dissimilar Air Combat Training : DACT) รวมถึงการบินตอบโต้ทางอากาศเชิงรุกและเชิงรับ (Offensive Counter-Air : OCA, Defensive Counter-Air : DCA)
นอกจากนี้ กองทัพอากาศยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคพลเรือน ได้แก่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ในการร่วมวางแผนและบริหารจัดการห้วงอากาศเพื่อให้เกิดประโยขน์ต่อการฝึกโดยไม่ส่งผลกระทบต่อภาคส่วนอื่นๆ ของประเทศไทย
การฝึกผสม AIR THAMAL 33/2025 นับเป็นอีกก้าวสำคัญของความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาค ซึ่งนอกจากจะยกระดับขีดความสามารถทางทหารแล้ว ยังส่งเสริมมิตรภาพที่มั่นคงและยั่งยืนระหว่างกองทัพอากาศและกองทัพอากาศมาเลเซียอีกด้วย

กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Foce) และกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ได้เสร็จสิ้นการฝึกผสมทางอากาศรหัส AIR THAMAL 33/2025 ณ กองบิน๑ โคราช ในจังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๓๐ มิถุนายน ถึง วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘(2025) โดยเป็นการฝึกครั้งที่๓๓ ระหว่างกองทัพอากาศทั้งสองชาติ
การฝึกผสม AIR THAMAL 2025  ซึ่งมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘ และพิธีปิดวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘ ณ กองบิน๑ โคราช มีขึ้นให้หลังจากการฝึกผสมทางอากาศรหัส ELANG THAINESIA XX/2025 ระหว่างกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) ระหว่างวันที่ ๙-๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๘ ที่ผ่านมา

เช่นเดียวกับการฝึกผสมทางอากาศ ELANG THAINESIA 2025 ที่กองบิน๑ เช่นกันที่กองทัพอากาศอินโดนีเซียได้นำอากาศยานของตนกลับเข้าร่วมการฝึกในไทยหลังจากว่างเว้นมาหลายปี(https://aagth1.blogspot.com/2025/06/elang-thainesia-2025.html) การฝึกผสมทางอากาศ AIR THAMAL 2025 ครั้งล่าสุดนี้กองทัพอากาศมาเลเซียก็ได้กลับมานำอากาศยานเข้าร่วมการฝึกหลังจากว่างเว้นมาหลายปีเช่นกัน
โดยเป็นครั้งแรกที่กองทัพอากาศมาเลเซียนำเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30MKM ฝูงบินที่๑๒(No.12 Squadron)(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/blog-post_29.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/09/su-30mkm.html) และเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18D Hornet ฝูงบินที่๑๘(No.18 Squadron)(https://aagth1.blogspot.com/2024/10/fa-18cd.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/05/sniper-atp.html)มาวางกำลังฝึกที่กองบิน๑ ในไทยพร้อมกัน

ขณะที่กองทัพอากาศไทยได้นำเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐/ก บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี, เครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Matin F-16A/B Block 15 OCU/ADF ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช, และเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ข/ค บ.ข.๑๘ข/ค Northrop F-5E/F TH Super Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี เป็นต้นเข้าร่วมการฝึก
อากาศยานอื่นที่ร่วมสนับสนุนการฝึกยังประกอบด้วยเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ EC725(Airbus Helicopters H225M) ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ โคกกระเทียม กองทัพอากาศไทย และเครื่องบินลำเลียง Lockheed Matin C-130H Hercules และเครื่องบินลำเลียง Airbus A400M Atlas กองทัพอากาศมาเลเซีย นับเป็นการยกระดับใหม่ของการฝึกที่มีมายาวนานของกองทัพอากาศไทยและมิตรประเทศในภูมิภาคอย่างต่อเนื่องครับ

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

ภาพเปิดเผยความคืบหน้าการปฏิบัติการบนดาดฟ้าบินเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สามของจีน CV-18 Fujian

China progresses flight deck operations on third aircraft carrier





Satellite imagery showing CV 18 Fujian at Jiangnan Changxingdao Shipyard in Shanghai. Markings on the deck are indicative of fixed-wing aircraft activity during sea trials. (Map data: Google, © 2025 CNES/Airbus/© 2025 Janes)

จีนได้เริ่มต้นการปฏิบัติการต่างๆบนดาดฟ้าบินของเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สามของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Type 003 เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian ก่อนหน้าการนำเข้าประจำการที่คาดการณ์ไว้
ชุดภาพถ่ายดาวเทียมที่บันทึกได้ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2025 บ่งชี้ว่าการปรากฏถึงรอยลื่นไถล(skid marks) ต่างๆในพื้นที่รับอากาศยานกลับลงบนเรือของส่วนดาดฟ้าบินมุมเฉียงของเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian

รอยลื่นไถลต่างๆเหล่านี้ได้ปรากฏโดยชัดเจนเฉพาะในพื้นที่ส่วนนี้ที่ซึ่งชุดสายลวดเกี่ยวตะขอ(cross-deck pendants) บนเรือบรรทุกเครื่องบินจะถูกทำงานระหว่าการปฏิบัติรับอากาศยานปีกนิ่งกลับลงเรือ
นี่ตั้งข้อสังเกตว่ากองการบินกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLANAF: People’s Liberation Army Navy Air Force) ได้ดำเนินการทดสอบการรับรองการปฏิบัติบนเรือบรรทุกเครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian

ระหว่างที่เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian ทำการทดลองเรือในทะเลครั้งที่8 ล่าสุดของตนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม 2025 ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/cv-18-fujian.html)
การรับรองคุณสมบัติน่าจะดำเนินการปฏิบัติโดยรุ่นต่างๆของเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน Shenyang Aircraft Corporation(SAC) J-15(https://aagth1.blogspot.com/2024/11/j-15d.html)

เครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินตระกูล J-15 ได้ถูกนำมาวางกำลังบนเรือบรรทุกเครื่องบินสองลำที่เข้าประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนก่อนหน้าแล้วคือ(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/wargames.html)
เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Type 001 เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-16 Liaoning(https://aagth1.blogspot.com/2022/05/cv-16-liaoning-100.html) และเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Type 002 เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-17 Shandong(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/pentagon.html)

นอกเหนือจากรอยลื่นไถลต่างๆ ชุดภาพถ่ายดาวเทียมยังได้บ่งชี้การปรากฏของรอยไหม้(scorch marks) บนแผ่นป้องกันความร้อนจากเครื่องยนต์ไอพ่น(jet blast deflector) สำหรับรางดีดส่งอากาศยานขึ้นบิน(catapult) ตำแหน่งที่ 2 ด้วย
รอยไหม้ต่างๆเหล่านี้ตั้งข้อสังเกตว่าได้มีการนำรางดีด catapult แม่เหล็กไฟฟ้า(EMALS: Electro-Magnetic Aircraft Launch System) บนเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian อย่างน้อยหนึ่งระบบมาใช้ส่งอากาศยานปีกนิ่งขึ้นบิน

อย่างไรก็ตามรอยไหม้นี้ไม่ถูกพบเห็นบนแผ่นป้องกันความร้อนจากเครื่องยนต์ไอพ่นอื่นอีกสองตัวบนเรือ นี่จึงตั้งข้อสังเกตุว่าการปฏิบัติการส่งอากาศยานของกองการบินกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนขึ้นบินขณะนี้ถูกจำกัดที่ตำแหน่งราง catapult 2 เท่านั้น
ชุดภาพยังเห็นดาดฟ้าบินบนเรือที่มีแบบจำลองขนาดเท่าของจริง mock-up ของอากาศยานหลากหลายแบบ(https://aagth1.blogspot.com/2024/11/j-35a.html) และการทำเครื่องหมายตำแหน่งต่างๆ ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่ากองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนกำลังเดินหน้าปรับแต่งขั้นตอนการปฏิบัติงานบนดาดฟ้าก่อนหน้าการนำเรือเข้าประจำการ

CV-18 Fujian เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สามและลำที่สองที่จีนสร้างในประเทศทั้งหมด(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/type-003-cv-18-fujian.html)  และเป็นลำแรกที่ใช้ใช้แบบแผนรูปแบบการปฏิบัติการอากาศยานแบบ CATOBAR(Catapult-Assisted Take-Off But Arrested Recovery)
เรือบรรทุกเครื่องบินสองลำแรกของจีน เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-16 Liaoning และเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-17 Shandong แต่ละลำถูกสร้างโดยติดตั้งทางวิ่งขึ้น ski-jump และมีแบบแผนในรูปแบบการปฏิบัติการอากาศยานแบบ STOBAR(Short Take-Off But Arrested Recovery)

เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian มีความยาวเรือรวมที่ประมาณ 320m และดาดฟ้าบินของเรือมีความกว้างที่ประมาณ 80m ในจุดที่กว้างที่สุด ได้รับการติดตั้งรางดีด catapult ระบบแม่แหล็กไฟฟ้าสามตำแหน่ง และสายลวดเกี่ยวหยุดอากาศยานสี่เส้นติดตั้งในตำแหน่งทางวิ่งแนวเฉียง
เครื่องบินขับไล่พหุภารกิจประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน J-15T เป็นรุ่นที่ถูกติดตั้งฐานล้อลงจอดหน้าด้วยก้านยึด(launch bar) กับรางดีด catapult สำหรับการปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ CATOBAR เช่นเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian โดยตรงครับ