วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2563

อินเดียนำเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศสชุดแรกเข้าประจำการอย่างเป็นทางการ

Indian Air Force formally inducts first five Rafale fighter aircraft


These aircraft were formally inducted into the IAF’s No 17 ‘Golden Arrow’ Squadron in a ceremony held on 10 September. (IAF)





One of the five Rafale fighters that arrived at Ambala AFS in northern India on 29 July. (Dassault)



กองทัพอากาศอินเดีย(IAF: Indian Air Force) ได้ทำพิธีนำเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Dassault Rafale ชุดแรก 5เครื่องเข้าประจำการอย่างเป็นทางการ จากที่สั่งจัดหา 36เครื่องในปลายปี 2016 ที่วงเงิน 7.9 billion Euros($9.35 billion)(https://aagth1.blogspot.com/2016/09/rafale-36.html)
เครื่องบินขับไล่สองเครื่องยนต์ไอพ่น Rafale ชุดแรก 5เครื่องประกอบด้วยรุ่นที่นั่งเดี่ยว 3เครื่องและรุ่นสองที่นั่ง 2เครื่องซึ่งเดินทางจากฝรั่งเศสมาถึงอินเดียเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/rafale-5-2020.html)

เครื่องบินขับไล่ Rafale ชุดแรกถูกนำเข้าประจำการในฝูงบินที่17(No.17 Squadron) 'Golden Arrows' กองทัพอากาศอินเดียเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2020 ณ สถานีกองทัพอากาศ Ambala Air Force Station(AFS) ทางตอนเหนือของอินเดีย
พิธีนำเครื่องบินขับไล่ Rafale ชุดแรกของกองทัพอากาศอินเดียเข้าประจำการได้เชิญรัฐมนตรีกลาโหมอินเดีย Rajnath Singh และรัฐมนตรีกลาโหมฝรั่งเศส Florence Parly ท่ามกลางผู้มีเกียรติร่วมพิธีอื่นๆ(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/rafale.html)

เครื่องบินขับไล่ Rafale เพิ่มเติมอีก 4เครื่องคาดว่าจะเดินทางมาถึง Ambala AFS อินเดียในเดือนตุลาคม 2020 โดยยังคงเหลืออีก 9เครื่องที่ต้องการจะรับมอบให้ครบความต้องการหนึ่งฝูงบินที่ 18เครื่องมีกำหนดการส่งมอบในกลางปี 2021 ตามแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่อินเดีย
หลังจากนั้นการส่งมอบจะเริ่มขึ้นสำหรับฝูงที่สองซึ่งจะประจำการในฝูงบินที่101(No.101 Squadron) 'Falcons' ณ สถานีกองทัพอากาศ Hasimara AFS ใกล้พรมแดนที่อินเดียมีข้อพิพาทกับจีน ในจำนวน 18เครื่อง ซึ่งการส่งมอบคาดว่าจะเสร็จสิ้นในปลายปี 2022

"การนำเครื่องบินขับไล่ Rafale เข้าประจำการมีขึ้นในเวลาที่เหมาะสมเมื่อสถานการตึงเครียดได้ถูกสร้างขึ้น ณ พรมแดนของเรา" รัฐมนตรีกลาโหมอินเดีย Singh กล่าว
โดยอ้างอิงถึงความตึงเครียดทางทหารที่กำลังดำเนินอยู่ของอินเดียกับจีนตลอดทั้งพื้นที่พิพาทเส้นควบคุมแท้จริง(LoAC: Line of Actual Control) ในเทือกเขา Himalayas

ก่อนหน้านี้ในต้นเดือนสิงหาคม 2020 กองทัพอากาศอินเดียได้นำเฮลิคอปเตอร์โจมตีเบา LCH(Light Combat Helicopter) ที่ออกแบบและผลิตโดย Hindustan Aeronautics Limited(HAL) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานของอินเดีย
จำนวน 2เครื่องถูกพบนำไปทดลองวางกำลังที่ฐานปฏิบัติการส่วนหน้าใน Ladakh ทางเทือกเขา Himalayan ตอนเหนือของอินเดียติดพรมแดนจีนและปากีสถาน(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/101.html)

ซึ่งก่อนหน้าในเดือนกรกฎาคม 2020 กระทรวงกลาโหมอินเดียได้อนุมัติวงเงิน 181.48 billion Indian Rupee ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่จากรัสเซียเพิ่มเติมรวม 33เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/su-30mki-mig-29-33.html)
ประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ MiG-29 มือสองที่ได้รับการปรับปรุงใหม่จากรัสเซีย 21เครื่องวงเงิน 74.18 billion Indian Rupee และเครื่องบินขับไล่ Su-30MKI ที่ได้รับสิทธิบัตรสร้างในอินเดีย 12เครื่องวงเงิน 107.3 billion Indian Rupee ครับ