วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562

อิสราเอลยกเลิกการขายเครื่องบินขับไล่ F-16 มือสองให้โครเอเชียเพราะสหรัฐฯไม่อนุมัติ

Israel halts F-16 sale to Croatia
Israel's government has abandoned a plan to sell surplus Lockheed Martin F-16s to Croatia, as the Middle Eastern country could not obtain approval from the USA to transfer the second-hand fighters fitted with Israeli equipment.
https://www.flightglobal.com/news/articles/israel-halts-f-16-sale-to-croatia-454965/


Israeli Air Force F-16C Barak 2020, Independence Day 2017(wikipedia.org)

รัฐบาลอิสราเอลได้ยกเลิกแผนที่จะขายเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16C/D Block 30 Barak(ภาษาฮีบรูแปลว่า 'ฟ้าแลบ') ส่วนเกินที่เคยประจำในกองทัพอากาศอิสราเอล(Israeli Air Force) แก่โครเอเชีย
ตามที่อิสราเอลไม่สามารถที่จะได้รับการอนุมัติจากสหรัฐฯในการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-16 มือสองของตนที่ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ของอิสราเอลได้

ในปี 2018 รัฐบาลโครเอเชียได้บรรลุข้อตกลงกับรัฐบาลอิสราเอลในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Barak จำนวน 12เครื่องที่เคยประจำในกองทัพอากาศอิสราเอล ควบคู่ไปกับชุดการสนับสนุน
ประกอบด้วยเครื่องจำลองการบิน(Simulator), อะไหล่, อุปกรณ์ภาคพื้นดิน, การฝึก, บริการการส่งกำลังบำรุง และชุดระบบอาวุธขั้นต้น "อิสราเอลได้รับผิดชอบในการขออนุมัติจากสหรัฐฯเพื่อส่งมอบเครื่องบินในรูปแบบที่ได้รับการสั่งจัดหา" กระทรวงกลาโหมโครเอเชียกล่าว

ไม่เพียงเท่านั้นเครื่องบินขับไล่ F-16 เหล่านี้ได้รับการ "ติดตั้งองค์ความรู้และวิทยาการของอิสราเอล" Udi Adam ผู้อำนวยการทั่วไปของกระทรวงกลาโหมอิสราเอลแถลงว่า "น่าเศร้าที่เงื่อนไขต่างๆไม่เป็นผลสมบูรณ์
และเราไม่สามารถจะได้การรับรองที่เพียงพอ(ในการส่งมอบแก่บุุคคลที่สาม) และบรรลุผลโครงการเนื่องจากสภาพการณ์ไม่คาดคิดที่เกินการควบคุมของเรา โครเอเชียไม่สามารถมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ที่ปรากฎนี้และไม่สามารถที่จะรับผิดชอบได้" เขาเสริม

Adam และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหมโครเอเชีย Damir Krsticevic ได้เข้าพบกันในวันที่ 10 มกราคม 2019 หลังจากที่โครเอเชียได้ตั้งเส้นตายต่ออิสราเอลก่อนหน้าในเดือนนี้เพื่อสร้างการตัดสินใจในความเป็นไปได้ของการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-16
Krsticevic แถลงว่า "โครเอเชียยังมีนโยบายทางการเมืองที่จะคงขีดความสามารถการรบของกองทัพอากาศตน" และนั่นเขาได้เชื่อมั่นในรัฐบาลโครเอเชียว่า "จะมองหาหนทางที่จะเติมเต็มจุดหมายนี้"

ตามที่ไม่มีการลงนามสัญญาสุดท้ายกับอิสราเอล โครเอเชียไม่ได้รับผลกระทบทางการเงินจากข้อตกลงที่ถูกยกเลิกไปดังกล่าว นอกเหนือจากอิสราเอลก่อนหน้านี้รัฐบาลโครเอเชียได้ออกเอกสารขอข้อเสนอ(RFP: Request for Proposals) สำหรับสัญญาการจัดหาเครื่องบินรบจากหลายประเทศ
เช่น เครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 30 มือสองจากกรีซ, เครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 ใหม่สหรัฐฯ, เครื่องบินขับไล่ Saab Gripen C/D สวีเดน และเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา KAI FA-50 สาธารณรัฐเกาหลี แต่ภายหลังเกาหลีใต้ได้ถอนตัวจากการแข่งขันเนื่องจากไม่ตรงความต้องการ

แม้จะพ่ายแพ้ในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ 12เครื่อง Krsticevic ได้ย้ำว่าโครเอเชีย "ยังคงเปิดรับความร่วมมือ" กับอิสราเอลอยู่ ทาง Adam กล่าวว่าอิสราเอลกำลังมองไปข้างหน้า "เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ที่มีความงอกเงยเพิ่มเติมในพื้นที่กว้างขวางหลายรูปแบบ" กับโครเอเชีย
Flight Fleets Analyzer แสดงข้อมูลว่ากองทัพอากาศโครเอเชีย(Croatian Air Force, HRZ: Hrvatsko ratno zrakoplovstvo) มีเครื่องบินขับไล่ Mikoyan MiG-21bis รุ่นที่นั่งเดี่ยวและ MiG-21UMD รุ่นสองที่นั่งรวม 12เครื่องของรัสเซียที่เก่าล้าสมัย

กองทัพอากาศโครเอเชียยังมีอากาศยานแบบอื่นอีกจำนวนหนึ่ง เช่น เครื่องบินฝึกใบพัด Zlin Z 242L สาธารณรัฐเช็ก, เครื่องบินฝึกใบพัด Pilatus PC-9M สวิตเซอร์แลนด์, เครื่องบินใบพัดดับไฟป่า Air Tractor AT-802A/F สหรัฐฯ, เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกดับไฟ Canadair CL-415 แคนาดา,
เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Mil Mi-17 รัสเซีย, เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Sikorsky UH-60M สหรัฐฯ, เฮลิคอปเตอร์ฝึก Bell 206B-3 สหรัฐฯ และเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ Bell OH-58D สหรัฐฯครับ(https://aagth1.blogspot.com/2017/04/pzh-2000-oh-58d.html)