วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

Textron สหรัฐฯใกล้เสร็จสิ้นการผลิตเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH กองทัพอากาศไทย

Royal Thai Air Force fleet of 12 Beechcraft T-6TH Texan II nearing manufacturing completion, aces installment milestone inspections
Air Chief Marshal Chanon Mungthanya, an F-16 pilot in the Royal Thai Air Force, prepares to fly the Beechcraft T-6 Texan II during his November 2021 visit to Textron Aviation Defense in Wichita, Kansas.



Thailand is the first Asian nation and the eleventh international fleet operator of the Beechcraft T-6 Texan II.

บริษัท Textron Aviation Defense LLC สหรัฐฯประกาศเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ว่า เครื่องบินฝึกแบบที่๒๒ บ.ฝ.๒๒ Beechcraft T-6TH Texan II จำนวน ๑๒เครื่องสำหรับกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)
กำลังใกล้จะเสร็จสิ้นการผลิตและกำลังข้ามสู่ขั้นการตรวจรับทางเทคนิคก่อนกำหนดการ กองทัพอากาศไทยประกาศสัญญาวงเงิน ๕,๑๙๔,๙๙๔,๒๑๖.๔๐บาท($162 million) ในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020)(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/t-6c.html)
ในการจัดหาเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH ๑๒เครื่อง เช่นเดียวกับระบบการฝึกภาคพื้นดินสำหรับนักบินและช่างอากาศยานมืออาชีพ, ระบบการวางแผนและสรุปผลภารกิจ, ชิ้นส่วนอะไหล่ และอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้นดิน
งานในการสนับสนุนสัญญามีขึ้น ณ โรงงานอากาศยานและสถานที่ของบริษัท Textron Aviation Defense ใน Wichita มลรัฐ Kansas เครื่องบินฝึกใบพัด Beechcraft T-6 Texan II ถูกออกแบบและผลิตโดย Textron Aviation Defense ในเครือบริษัท Textron Inc. สหรัฐฯ

"กองทัพอากาศไทยกระตือรือร้นที่จะจัดให้เหล่าศิษย์การบินของตนด้วยเครื่องบินฝึก Beechcraft T-6TH Texan II เราจัดแสดงเครื่องบินทั้งหมด ๑๒เครื่องระหว่างการเยือนล่าสุดของคณะกรรมาธิการตรวจรับของกองทัพอากาศไทย
และภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ พลอากาศเอก ชานนท์ มุ่งธัญญา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศไทยและอดีตนักบินเครื่องบินขับไล่ F-16 ได้ทำการบินกับเครื่องบินฝึก T-6 ที่นี่" Betsy Relph ผู้จัดการโครงการ T-6 สำหรับไทยของ Textron Aviation Defense กล่าว
เครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH มีกำหนดที่จะเดินทางมาถึงโรงเรียนการบินกำแพงแสน กองทัพอากาศไทยระหว่างปลายปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ถึงต้นปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) เป็นไปตามกำหนดการตามที่เครื่องกำลังออกจากสายการผลิต
บ.ฝ.๒๒ T-6TH มีพื้นฐานจากเครื่องบินฝึกใบพัด T-6C Texan II บูรณาการติดตั้งด้วยห้องนักบินแบบ glass cockpit, จอแสดงผลตรงหน้า(HUD: Head-Up Display) และคันบังคับและคันเร่งแบบ HOTAS(Hands-on-Throttle-and-Stick )

"การบินเครื่องบินฝึก T-6TH Texan II กองทัพอากาศไทยจากโรงเก็บอากาศยานในประวัติศาสตร์ ที่ซึ่งฝูงบินเครื่องบินฝึก T-6 ทุกเครื่องทั่วโลกถูกผลิตเป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญที่น่าจดจำอย่างมาก
เครื่องบินเหล่านี้จะทำให้ศิษย์การบินของเรามีข้อได้เปรียบทางวิทยาการที่สำคัญในการเตรียมการสำหรับการเปลี่ยนแบบพวกเขาไปสู่เครื่องบินขับไล่และโจมตีขั้นก้าวหน้า" พลอากาศเอก ชานนท์ มุ่งธัญญา กล่าว
การจัดซื้อเครื่องบินฝึก T-6TH ถึงเป็นสัญญาครั้งแรกที่พิเศษของกองทัพอากาศไทยในการสนับสนุนยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเป้าหมายหลักที่๑๑ S-Curve 11(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/blog-post_25.html)
แผนที่มุ่งเน้นการปรับปรุงความทันสมัยของขีดความสามารถที่สำคัญและส่งเสริมการพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/rohde-schwarz-rv-connex-r-m3ar-t-6th.html)

ปัจจุบันเครื่องบินฝึกใบพัด T-6 Texan II ได้ทำการบินเป็นชั่วโมงบินรวมมากว่า ๔.๖ล้านชั่วโมงตลอดทั้งฝูงบินทั่วโลกจำนวนเกือบ ๑,๐๐๐เครื่อง และบรรลุอัตราความพร้อมประจำวันถึงร้อยละ๙๑ ตลอดทุกฝูงบิน T-6 นานาชาติที่ Textron Aviation Defense สนับสนุน
แต่ละปีนักบินมากว่า ๓๐๐นายจาก ๔๒ประเทศสำเร็จการศึกษาจากการฝึกกับเครื่องบินฝึก T-6 ผ่านโครงการฝึกบิน NATO Flight Training ในแคนาดา, โครงการฝึกนักบินไอพ่นร่วม Euro NATO Joint Jet Pilot Training Program(ENJJPT) ที่ฐานทัพอากาศ Sheppard AFB ในมลรัฐ Texas
และโครงการความเป็นผู้นำการบิน(Aviation Leadership Program) กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) นักบินเพิ่มเติมอีก ๒,๐๐๐นายสำเร็จการศึกษาจากโครงการตลอดทั้งกองทัพอากาศสหรัฐฯ, กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: U.S. Navy), นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: U.S. Marine Corps), กองทัพบกสหรัฐฯ(U.S. Army) และหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ(USCG: U.S.Coast Guard) ขณะที่นักบินมากกว่า ๒,๗๐๐นาย สำเร็จการศึกษาจากโครงการ T-6 ทั่วทั้งกองทัพอากาศกรีซ(HAF: Hellenic Air Force), กองทัพอากาศอาร์เจนตินา(Argentine Air Force), 
กองทัพอากาศอิสราเอล(Israeli Air Force), กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force), กองทัพอากาศอิรัก(Iraqi Air Force), กองทัพอากาศแคนาดา(RCAF: Canadian Air Force), 
กองทัพเรือเม็กซิโก(Mexican Navy), กองทัพอากาศเม็กซิโก(Mexican Air Force), กองทัพอากาศโมร็อกโก(Royal Moroccan Air Force) และกองทัพอากาศนิวซีแลนด์(RNZAF: Royal New Zealand Air Force)

ล่าสุดกองทัพอากาศไทยยังได้ประกาศสัญญากับ Textron Aviation Defense วงเงิน ๔,๓๑๔,๐๓๙,๙๘๐.๘๐บาท($143 million) สำหรับระบบบูรณาการในการสนับสนุนปฏิบัติการโจมตีเบา ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่
สัญญาครั้งประวัติศาสตร์สำหรับเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด Beechcraft AT-6 Wolverine จำนวน ๘เครื่อง , อุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้นดิน, ชิ้นส่วนอะไหล่, การฝึกและอุปกรณ์อื่นๆ(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/at-6th.html)
จะถูกจัดตั้งขึ้นในไทยในฐานะลูกค้าส่งออกเปิดตัวระดับนานาชาติรายแรกสำหรับเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด AT-6E Wolverine แบบใหม่ล่าสุดของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/at-6e-wolverine.html)
การจัดซื้อเครื่องบินโจมตีเบา AT-6TH ในการกำหนดแบบของกองทัพอากาศไทยเป็นการสนับสนุนแผน S-Curve 11 ในการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมการบินของไทย และความร่วมมือด้านกลาโหมกันทั้งสองฝ่ายระหว่างสหรัฐฯและไทยครับ