Royal Thai Air Force pilots train with Rohde & Schwarz communications
The new training aircraft for the Royal Thai Air Force will be flying with Rohde & Schwarz R&S M3AR software defined radios.
บริษัท Rohde & Schwarz เยอรมนีได้รับการประกาศสัญญาจากบริษัท RV Connex ไทยที่จะส่งมอบระบบวิทยุสื่อสารทางอากาศขีดความสามารถหลายย่านความถี่กำหนดค่าด้วยชุดคำสั่งแบบ R&S M3AR
สำหรับเครื่องบินฝึกใบพัด Textron Aviation T-6C Texan II ใหม่ของกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ที่จะถูกกำหนดแบบเป็นเครื่องบินฝึกแบบที่๒๒ บ.ฝ.๒๒ T-6TH เมื่อเข้าประจำการ(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/t-6c.html)
"เรามีประวัติการทำงานที่ยาวนานกับกองทัพอากาศไทย ความมุ่งมั่นของเราที่มีเพื่อจะส่งมอบแนวทางแก้ปัญหาระบบสื่อสารเข้ารหัสที่ตรงความต้องการของไทย ที่นี่ส่วนประกอบภายในประเทศและการมีส่วนร่วมของภาคอุตสาหกรรมไทยเป็นสิ่งสำคัญ
RV Connex เป็นหุ้นส่วนระดับชาติของไทยและเป็นเพื่อนร่วมทีมที่ไว้ใจได้ กับพวกเขาเรานำความเข้ากันได้ร่วมกันและเหมาะสมสำหรับระบบสื่อสารเข้ารหัสของกองทัพอากาศไทย เรารู้จักกลุ่มลูกค้าของเราและสนับสนุนพวกเขาในฐานะหุ้นส่วนในระยะยาวที่น่าเชื่อถือ กองทัพอากาศไทยรู้ว่าเรารักษาคำสัญญาของเรา" Stefan Pleyer รองประธานภาคส่วนการประยุกต์ใช้ระบบ Avionic อากาศยานของ Rohde & Schwarz อธิบาย
ระบบวิทยุสื่อสารพหุบทบาท หลายรูปแบบการทำงาน หลายย่านความถี่ R&S M3AR เป็นตัวเลือกแนวทางแก้ไขปัญหาสำหรับตัวส่งสัญญาณ(transmission) ที่น่าเชื่อถือของข้อมูลภารกิจที่สำคัญยิ่ง
ไม่ว่าจะเครื่องบินไอพ่นหรือเครื่องบินใบพัด, เฮลิคอปเตอร์ หรืออากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ออกแบบให้มีขนาดกะทัดรัด มีคุณสมบัติย่านความถี่วิทยุที่ยอดเยี่ยม แม้จะอยู่ใต้สถานะสภาพแวดล้อมที่รุนแรง
ระบบวิทยุ R&S M3AR มีความเข้ากันได้กับมาตรฐานระบบสื่อสารร่วมทางทหารและพลเรือน ทำงานในงานความถี่ 30MHz-400MHz พร้อมมาตรการป้องกันทาง Electronic(EPM: Electronic Protective Measures)
ป้องกันวิทยุจากการมาตราการต่อต้านทาง Electronic(ECM: Electronic Countermeasures) โดยรูปแบบความถี่ก้าวกระโดด(Frequency Hopping) สำหรับมาตรการต่อต้านการถูกต่อต้านทาง Electronic(ECCM: Electronic Counter-Countermeasures) เป็นตัวเลือกสำหรับวิทยุ M3AR ทุกรุ่น
ระบบวิทยุ R&S M3AR มีความเข้ากันได้กับระบบสื่อสารเข้ารหัส NATO HAVE QUICK I/I และบูรณาการระบบสื่อสารเข้ารหัสล้ำยุค SATURN รวมถึง R&S SECOS ในสายกับมาตรฐาน NATO STANAG 4246 และ STANAG 4372 ทำให้มั่นใจว่าการเชื่อมโยงจะปราศจากการถูกก่อกวน
ด้วยตัวส่งสัญญาณกำลังสูงทำให้มีประสิทธิภาพขณะที่อากาศยานหลายเครื่องทำภารกิจด้วยการบินต่ำทางยุทธวิธีเหนือพื้นดิน ต้องการการบำรุงรักษาต่ำสามารถตรวจสอบการทำงานผ่านสายสัญญาณมาตรฐาน MIL-STD-1553B ได้ และการปรับปรุงสำหรับอนาคตตลอดอายุการใช้งานระยะยาว
ระบบวิทยุตระกูล R&S M3AR ได้ถูกนำไปใช้งานในอากาศยานทางทหารต่างๆทั่วโลกตั้งแต่ปี 2000 และได้รับการพิสูจน์แล้ว ตั้งแต่เครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon, F-16, Tornado, Su-30MKM และ JAS-39 Gripen เครื่องบินลำเลียง A400M และ KC-390
เครื่องบินโจมตีเบา Super Tucano เฮลิคอปเตอร์โจมตี Tiger เฮลิคอปเตอร์ H125M FENNEC, H225M, A109, Super Lynx และ NH90 เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-53 และเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม EMB-145 AEW&C เป็นต้น
กองทัพอากาศไทยได้สั่งจัดหาเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH จำนวน ๑๒เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) และเครื่องบินโจมตีเบา T-6TH จำนวน ๘เครื่อง ซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด AT-6E Wolverine ในปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021)(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/at-6th.html)
โดยมีพื้นฐานร่วมกันทั้งสองโครงการถูกจัดหาภายใต้นโยบายจัดหาและพัฒนา(P&D: Purchase and Development) ของกองทัพอากาศไทย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเป้าหมายหลักที่๑๑ S-Curve 11 ของรัฐบาลไทยที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคอุตสาหกรรมการบินของไทยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/blog-post_25.html)