Royal Thai Navy (RTN)'s FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej frigate as Task Unit
from Thailand has participated International Fleet Review 2022 at Japan on 6
November 2022.
หน่วยเรือสวนสนามทางเรือนานาชาติ นรส.โดยเรือฟริเกต เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/photos-international-fleet-review-2022.html,
https://aagth1.blogspot.com/2022/10/international-fleet-review-2022.html)
กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ได้เข้าร่วมการสวนสนามทางเรือนานาชาติ
International Fleet Review 2022 ที่อ่าว Sagami จังหวัด Kanagawa ญี่ปุ่น
เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022)
ซึ่งเผยแพร่ภาพผ่านการถ่ายทอดสดเนื่องจากมาตรการป้องกัน Covid-19
ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ได้รับการตรวจกระบวนเรือสวนสนาม
โดยมีเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-183 JS Izumo
กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force)
เป็นเรือธง และนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น Fumio Kishida
ประธานในพิธีรับความเคารพหมู่เรือ
ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช
กองทัพเรือไทยเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เรือจากกองทัพเรือมิตรประเทศจำนวน
๒๑ลำที่เข้าร่วมการสวนสนามทางเรือนานาชาติ International Fleet Review 2022
ที่ญี่ปุ่นเนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๐ปีการก่อตั้งกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น
เรือรบจากกองทัพเรือกลุ่มชาติ ASEAN ที่เข้าร่วมการสวนสนามทางเรือรวมถึง
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง KDB Darulehsan กองทัพเรือบรูไน(Royal Brunei Navy),
เรือคอร์เวต KRI Diponegoro กองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL:
Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut),
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง KD Kelantan กองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy,
TLDM: Tentera Laut Diraja Malaysia) และเรือฟริเกต RSS Formidable
กองทัพเรือสิงคโปร์(RSN: Republic of Singapore Navy)
รวมถึงเรือจากกองทัพเรือมิตรประเทศอื่นๆทั่วโลกอาทิ
เรือพิฆาต DDG39 HMAS Hobart เรือฟริเกต FFH151 HMAS Arunta เรือส่งกำลังบำรุง
A304 HMAS Stalwart และเรือดำน้ำ SSG74 HMAS Farncomb กองทัพเรือออสเตรเลีย(RAN:
Royal Australian Navy),
เรือฟริเกต FFH 331 HMCS Vancouver และเรือฟริเกต FFH 338 HMCS Winnipeg
กองทัพเรือแคนาดา(RCN: Royal Canadian Navy), เรือฟริเกต F47 INS Shivalik
และเรือคอร์เวต P28 INS Kamorta กองทัพเรืออินเดีย(IN: Indian Navy),
เรือส่งกำลังบำรุง A11 HMNZS Aotearoa กองทัพเรือนิวซีแลนด์(RNZN: Royal New
Zealand Navy), เรือฟริเกต F252 PNS Shamsheer และเรือส่งกำลังบำรุง A47 PNS Nasr
กองทัพเรือปากีสถาน(PN: Pakistan Navy),
เรือส่งกำลังบำรุง AOE-51 ROKS Soyang กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(RoKN: Republic
of Korea Navy), และเรือลาดตระเวน CG-62 USS Chancellorsville
กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy)
ยังมีการสวนสนามทางอากาศที่ประกอบด้วยอากาศยานหลายแบบทั้ง
เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-1 เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-3C Orion
เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกญี่ปุ่น US-2 เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ SH-60K
Seahawk กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น
เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64DJ Apache เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง CH-47JA
อากาศยานใบพัดกระดก V-22B Osprey กองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น(JGSDF: Japan
Ground Self-Defense Force)
เครื่องบินฝึก T-4 ฝูงบินผาดแผลง Blue Impulse เครื่องบินลำเลียง C-2 เครื่องบินขับไล่ F-2 เครื่องบินขับไล่ F-15J Eagle
และเครื่องบินขับไล่ F-35A Lightning II
(ไม่แสดงภาพในการถ่ายทอดสดเนื่องจากข้อตกลงกับสหรัฐฯ)
กองกำลังป้องกันป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense
Force)
เครื่องบินขับไล่ F/A-18E กองทัพเรือสหรัฐฯ และเครื่องบินขับไล่ F-35B Lightning
II นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps), เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล Falcon
200 Guardian กองทัพเรือฝรั่งเศส(French Navy, MN: Marine nationale)
ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช กองทัพเรือไทย เข้าร่วมกระบวนหมู่เรือฝึกร่วมกับเรือฟริเกต
RSS Formidable สิงคโปร์ และเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง KDB Darulehsan บรูไน
เมื่อวันที่ ๒๘-๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๕ก่อนเดินทางมาถึงฐานทัพเรือ Yokosuka
ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดชได้จอดเทียบท่าในตำแหน่งที่ปกติจะเป็นที่จอดของเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์
DDH-183 Izumo และกำลังพลร่วมเดินสวนสนามทางบกระหว่างาน Fleet Week วันที่ ๓-๕
พฤศจิกายน ๒๕๖๕
ซึ่งเปิดให้ประชาชนเยี่ยมชมเรือโดยได้รับความสนใจอย่างมากจากชาวญี่ปุ่นครับ