วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๕-๑๐


On 3 October 2022 Thailand Media interview Royal Thai Navy (RTN) commander-in-chief Admiral Choengchai Chomchoengpaet stated that RTN will be considering to suspend S26T Submarine (based on Type 039B of People's Liberation Army Navy) programme due RTN Naval Dockyard not provided enough information by lack times & tools and renegotiate with China CSOC. (Weibo)


Meantime, RTN is looking to build 2nd Bhumibol Adulyadej-class frigate in Thailand with technology transfer from South Korea or other design include BAE Systems 94m OPV with Bangkok Dock, and new Maritime Patrol Aircraft or Anti-Submarine Helicopter. (Sompong Nondhasa)




Type 071E (Yuzhao)-class landing platform dock (LPD) for the Royal Thai Navy "HTMS Chang (III)" on fitting out at Chinese Hudong Zhonghua shipyard to be delivered in end of 2022.




Coast Guard Squadron (CGS), Royal Thai Fleet (RTF), Royal Thai Navy (RTN) helded ships lowering the Naval Ensign of Thailand Flag ceremony for final two T.91 class Coastal Patrol Craft, T.98 and T.99 on 5 October 2022.
Thailand's domestic Royal Thai Naval Dockyard builded T.98 and T.99 have been decommissioned since 1 October 2022 after serviced for 37 years and 34 years respectively. (Royal Thai Navy)


Thailand company's Datagate co.,Ltd. is distributor for both Russian defence industry export agency Rosoboronexport and Ukrainian Ukroboronprom at Defense & Security 2022. (My Own Photo)


Air and Coastal Defence Command (ACDC) Royal Thai Navy's Chinese FK-3 medium-range surface-to-air missile system launcher platform and Russian Dzhigit support launching unit (SLU) with two Igla-S Man-portable air-defence system (MANPADS) short-range surface-to-sir missile system 
mount on Thailand domestic Thairung TR Transformer 4x4 family vehicle with snorkel and add-on armoured. (Royal Thai Navy)

วันนี้  ( 3 ตุลาคม 2565)   พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเป็นครั้งแรก 
ภายหลังเป็นประธานในพิธีประดับยศและแสดงความยินดีให้แก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานยศทหารชั้นนายพลเรือ และ พิธีรายงานตนเองของนายทหารชั้นนายพลเรือ ณ กองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม  
โดยในส่วนของข้อซักถามถึงนโยบายเร่งด่วน ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวว่า
นโยบายเร่งด่วน 3 เรื่อง ประกอบด้วย 1.การเสริมสร้างรากฐาน มุ่งเน้นการจัดหายุทโธปกรณ์ให้มีความคุ้มค่า 2. ประสานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในด้านการฝึกร่วม พบปะเยี่ยมเยียนระหว่างประเทศ 3. ในส่วนของการบริหารจัดการกองทัพ ต้องให้มีความทันสมัยและเป็นสากลต้องมีคุณธรรมและโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ และอาจมีโครงการปลดหนี้เพื่อให้การช่วยเหลือกำลังพ ที่อาจจะมีปัญหาหนี้นอกระบบ หรือปัญหาหนี้ล้นพ้นตัว เพื่อให้กำลังพลมีสวัสดิการและสวัสดิภาพ ตลอดจนมีความพร้อมในการทำงานให้กับกองทัพเรือต่อไป

พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เผยว่า เรือยกพลขึ้นพลบก เรือหลวงช้าง ซึ่งต่อจากจีนจะส่งมอบให้ไทยปลายปี 2565 นี้ โดยเป็นเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบก 
ซึ่งภารกิจหลักของเรือดังกล่าวจะใช้ปฎิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก ลาดตระเวนตรวจการณ์และช่วยเหลือประชาชน ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และช่วยประชาชนในช่วงที่เกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ ซึ่งเรือขนาดเล็กไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่ได้ 
โดยเรือดังกล่าวสามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ได้ 3 เครื่อง การสนับสนุนเรือดำน้ำเป็นแค่ภารกิจส่วนหนึ่งที่วางไว้ โดยสามารถใช้สนับสนุนกำลังพลเรือดำน้ำส่งกำลังบำรุงให้เรือดำน้ำได้ด้วย

พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ลำดับที่ 56 …
พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ จบการศึกษาจาก โรงเรียนเซนต์คาเบรียล รุ่นที่ 50 
โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 22 โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 79 (หัวหน้านักเรียน) หลักสูตรเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 55 (จบการศึกษาลำดับที่ 1) วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 41 (ประธานรุ่น วทร.41) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 61 
เคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญ คือ ผู้บังคับการเรือหลวงคำรณสินธุ์ ผู้บังคับการเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ผู้ช่วยทูตทหารเรือไทย ประจำกรุงวอชิงตันดีซี ผู้อำนวยการกองการฝึก กรมยุทธการทหารเรือ 
ผู้อำนวยการกองนโยบายและยุทธศาสตร์ กรมยุทธการทหารเรือ เสนาธิการกองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ รองเจ้ากรมยุทธการทหารเรือ ผู้อำนวยการสำนักกิจการความมั่นคง กรมยุทธการทหารเรือ 
รองเจ้ากรมสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3/ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 3 รองเสนาธิการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ

พล.ร.ต.พิบูลย์  พีรชัยเดโช ผู้บัญชาการกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ พร้อมคณะนายทหารฝ่ายอำนวยการ กองเรือยามฝั่ง ตรวจเยี่ยมชุดเฝ้าเรือปลด ได้แก่ เรือ ต.94 - เรือ ต.99 
เพื่อบำรุงขวัญและเน้นย้ำถึงหน้าที่การดูแลเฝ้าระวังรักษาเรือให้คงสภาพตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้สามารถลอยลำอยู่ได้จนกว่าจะมีการสั่งการเพิ่มเติม เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป ณ บริเวณท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ในวันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2565 เวลา 10.00 น.

การให้สัมภาษณ์สื่อครั้งแรกของ พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือไทย ณ พิธีประดับยศและแสดงความยินดีและรายงานตนเองให้แก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานยศทหารชั้นนายพลเรือ ที่กองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022)
ผู้บัญชาการทหารเรือไทยท่านที่๕๖ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ได้ให้ข้อมูลแก่สื่อเกี่ยวกับโครงการสำคัญของกองทัพเรือไทยในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ที่ได้เริ่มต้นในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ และจะสิ้นสุดในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ บางส่วนเช่น
โครงการเรือดำน้ำ S26T ที่มีปัญหาเยอรมนีไม่ส่งมอบเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า MTU 396 แก่จีน โดย CSOC จีนผู้รับสัญญาเสนอเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า CHD 620 ของจีนเองมาติดตั้งแทน ซึ่งกรมอู่ทหารเรือ อร.ได้ส่งสรุปผลรายงานไปเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๕ นั้น

แม้ว่ากองทัพเรือไทยได้ยืนยันความจำเป็นที่จะต้องมีเรือดำน้ำจำนวน ๓ลำเข้าประจำการ แต่ความล่าช้าเรื่องปัญหาเครื่องยนต์ดีเซลที่มีการเจรจากับ CSOC จีนมาตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๖๕ และเลื่อนมาเรื่อยๆนั้น ทำให้กองทัพเรือตัดใจที่จะเลื่อนการตัดสินใจออกไปเพื่อให้มีเวลาศึกษาให้มากขึ้น
ซึ่งการจัดซื้อเครื่องยนต์ MTU 396 เยอรมนีมาติดตั้งกับเรือดำน้ำ S26T เองในไทยนั้น ผบ.ทร.ก็ให้คำตอบในแนวทางเดียวที่ผู้เขียนเคยวิเคราะห์คือทำไม่ได้ ทั้งในแง่สัญญาที่ผู้สร้างเรือคือต้องเป็นผู้ดำเนินการ และไม่มีอู่เรือใดในทยที่จะรองรับการดำเนินการ รวมถึงความยุ่งยากในการขนส่งเรือมาไทย
ในระหว่างนี้กองทัพเรือไทยยังมองที่จะพิจารณาสั่งต่อเรือผิวน้ำเพิ่มเติมเช่นเรือฟริเกตใหม่ที่สร้างในไทย อาจจะเป็นชุดเรือหลวงภูมิพลลำที่สอง หรือแบบเรือฟริเกตเบาของ BAE Systems ที่บริษัทอู่กรุงเทพเสนอ(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-90m-opv.html)

หรืออาจจะพิจารณาจัดซื้อเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลใหม่ทดแทนเครื่องที่ปลดประจำการไปแล้วเช่น บ.ตผ.๒ P-3T และเครื่องมีอายุการใช้งานมานาน หรือจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้้ำใหม่ที่จะเสริม ฮ.ปด.๑ SH-60B ที่มีอยู่ด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/uav.html)
ทั้งนี้โครงการเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบก เรืออู่ยกพลขึ้นบกเรือหลวงช้าง(ลำที่๓) ซึ่งเป็นเรือยกพลขึ้นบกชั้น Type 071E LPD คาดว่าจะมีการส่งมอบให้กองทัพเรือไทยโดยจะเดินเรือมาถึงไทยในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ นี้(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/type-071e-lpd.html)
อย่างไรก็ตามทั้งเรือฟริเกตใหม่ เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล และเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ทั้งหมดไม่ใช่ระบบที่จะทดแทนขีดความสามารถสงครามใต้น้ำของเรือดำน้ำได้ อีกทั้ง ร.ล.ช้าง ก็ไม่ได้มีหน้าที่หลักเป็นเรือพี่เลี้ยงเรือดำน้ำเท่านั้นแต่เป็นเรืออู่ยกพลขึ้นบกและช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วย

ในการพิจารณาถ้าเลือกจัดหาเรือฟริเกตชุด ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ลำที่สอง แม้ว่าจะมีการอนุมัติงบประมาณแล้วก็ตาม แต่ค่าใช้จ่ายในการสั่งสร้างเรือย่อมจะสูงขึ้นจากเรือลำแรกเนื่องจากค่าเงินและราคาวัสดุและสิ่งอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งงบประมาณที่จำกัดจาก Covid-19 จะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญ
อีกทั้งการต่อเรือในไทยราคาจะแพงกว่าสั่งต่อเรือจากต่างประเทศด้วย เห็นได้จากเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ ทั้งสองลำ ที่ใช้วิธีถ่ายทอดวิทยาการสร้างในไทยก็บพบปัญหาความล่าช้า ความไม่พร้อมด้านเครื่องมือ และค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น แต่อีกทางก็เป็นการสร้างงานภายในไทยเช่นกัน
กองทัพเรือไทยยังมีความต้องการเสริมสร้างกำลังรบอีกมากทั้งเรือตรวจการใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.997 สองลำที่ล่าช้าด้านการติดอาวุธ เรือตรวจการปืนใหม่ทดแทนเรือเก่าที่อายุการใช้งานมานาน รวมถึงระบบป้องกันทางอากาศพิสัยกลาง FK-3 และพิสัยใกล้ Igla-S บนรถยนตร์บรรทุก Thairung 4x4 ครับ




Royal Thai Navy (RTN)'s task force unit led by FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej frigate was departed Chuk Samet Pier, Sattahip Port, Sattahip Naval Base, Thailand on 22 October 2022.

On 28 October 2022 International Fleet Review Task Unit RTN by Rear Admiral Chokchai Ruangjam, Commander Frigate Squadron One and Commander Task Unit RTN had an update as followed.
HTMS Bhumibol Adulyadej reached to the rendezvous point and met with RSS Formidable, Republic of Singapore Navy and KDB Darulehsan, Royal Brunei Navy. 
All the ships reformed in a Group Sail and continued their voyage to Japan. During the voyage as a Group Sail on 28-30 October 2022, all the ships will conduct joint trainings consisted of SCREENEX, NAVCOMEX, FLAGHOIST, PUBEX, and NSIC altogether. 
Objectives of the trainings mentioned above are: 
-to increase navigation and communication capability
-to strengthen collaboration
-to build clear understanding among the Naval Forces of the three nations
-to get prepared and ready before participating in International Fleet Review in Japan.

ในวันที่ 28 ต.ค.65  หน่วยเรือสวนสนามทางเรือนานาชาติ ณ ประเทศญี่ปุ่น (นรส.) โดยมี พล.ร.ต.โชคชัย เรืองแจ่ม ผบ.กฟก.1/ผบ.นรส. เป็นผู้บังคับหน่วยเรือฯ  ซึ่ง ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ได้เดินทางมาถึงจุดนัดพบ(R/V) โดยพบกับเรือ ทร.สิงคโปร์ (RSS FORMIDABLE ) และเรือของ ทร.บรูไน (KDB DARULEHSAN) ได้ประกอบกำลังเดินทางในลักษณะ Group Sail เพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศญี่ปุ่น โดยในระหว่างการเดินทางเป็น Group Sail ห้วง  28 -30 ต.ค.65 นั้น จะมีการฝึกร่วมกัน ประกอบด้วย การฝึก SCREENEX (การฝึกนำเรืออยู่ในรูปกระบวนคุ้มกัน) การฝึก NAVCOMEX (การฝึกทัศนสัญญานโคมไฟบังคับทิศ) การฝึก FLAGHOIST (การฝึกทัศนสัญญานธงประมวล) การฝึก PUBEX (การฝึกเปิดบรรณสาร) และ การฝึก NSIC (การฝึกนำเรือในเวลากลางคืน ) เป็นต้น 
ทั้งนี้ การฝึกดังกล่าวเป็นการฝึกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการนำเรือ การติดต่อสื่อสาร อีกทั้งเป็นการกระชับความร่วมมือ และความเข้าใจของ ทร. ทั้ง 3 ประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเดินทางเข้าร่วมพิธีสวนสนามทางเรือนานาชาติ ณ ประเทศญี่ปุ่น ต่อไป

หน่วยเรือสวนสนามทางเรือนานาชาติ เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชซึ่งออกเรือจากสัตหีบเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๕(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/photos-international-fleet-review-2022.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/10/international-fleet-review-2022.html)
มีกำหนดจะเข้าร่วมการสวนสนามทางเรือนานาชาติ International Fleet Review 2022 ที่อ่าว Sagami จังหวัด Kanagawa ญี่ปุ่นในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ โดยระหว่างวันที่ ๒๘-๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๕ ได้ประกอบกำลังเดินทาง Group Sail กับกองทัพเรือสิงคโปร์และกองทัพเรือบรูไน
กองทัพเรือมิตรประเทศ ๒๑ลำ ที่จะเข้าร่วมงานจากชาติ ASEAN นอกจากไทยประกอบด้วยเรือฟริเกต RSS Formidable สิงคโปร์ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง KDB Darulehsan บรูไน เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง KD Kelantan กองทัพเรือมาเลเซีย และเรือคอร์เวต KRI Diponegoro กองทัพเรืออินโดนีเซียครับ




The US Air Force (USAF) Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF). (US Air Force)
Royal Thai Air Force (RTAF) to be assessed for feasibility of operational for F-35 5th Generation fighter by late 2022, the US government expected to be decided on approval of possible sale of F-35 to Thailand in January 2023.
If US denined for F-35, RTAF will return its budget to the Ministry of Finance of Thailand then to make new study for platform to replacement current its fleet of F-16 fighter.




Lockheed Martin F-16AM/BM EMLU Fighting Falcon of 403rd Squadron, Wing 4 Takhli, Royal Thai Air Force conducted Armed Reconnaissance (Armed Recce) mission on west border of Thailand, 
covering Uthai Thani Province, Nakhon Sawan Province, Kamphaeng Phet Province, Tak Province and Mae Hong Son Province since October 2022. (Royal Thai Air Force)
This suggest that RTAF is response to recently increasing air strike activities by Myanmar Air Force's aircrafts and helicopters against on ethnic group and anti military junta of Myanmar Armed Forces (tatmadaw), 
On 24 October 2022 local time 2000, Myanmar Air Force launched night air strike at A Nang Pa in Hpakant in Kachin state during the 62nd Anniversary ceremony of the founding of Kachin Independence Organization (KIO), killing more than 60 people including famous actors and singers, Kachin Independence Army (KIA) high ranked officers and local civillion. 

Clip: F-16AM/BM RTAF Armed Reconnaissance (Armed Recce)

พล.อ.อ. อลงกรณ์ วัณณรถ ได้พบปะให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนครั้งแรก ในโอกาสที่เข้ามารับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2565 
ซึ่งท่านได้กล่าวถึงโครงการจัดหาเครื่องบินรบ F-35 ซึ่งขณะนี้เราได้เสนอความต้องการในการจัดหาเครื่องบินจำนวน 2 เครื่อง ในวงเงินประมาณ 7,383 ล้านบาท ไปยังรัฐบาลสหรัฐฯเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเราได้รับงบประมาณในปี 2566-2569 มาแล้วเช่นกัน 
และอยู่ระหว่างการดำเนินการที่จะประสานข้อมูลต่างๆอย่างต่อเนื่องไปยังรัฐบาลสหรัฐฯ เราคงได้รับคำตอบในช่วงเดือน ม.ค. - ก.ค. ปีหน้า ซึ่งทอ.ก็ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ เมื่อถึงตอนนั้น ถ้าได้รับคำตอบว่าสหรัฐฯจะขายให้ ก็จะถึงขั้นตอนในการเตรียมการร่างสัญญาต่อไป 
ต่อข้อถามที่ว่าเรามีความกังวลเรื่องเรื่องปัญหาในการจัดหาที่จะตามมาอย่างไรบ้าง? กองทัพอากาศมีความมั่นใจในเรื่องความได้มาตรฐานของ F-35 จากล็อคฮีดมาร์ติน เราดูเรื่องขีดความสามารถในการส่งการบำรุงต่างๆ ขีดความสามารถในการดำเนินการต่างๆ 
จากประสบการณ์ที่เขาส่งอากาศยานแบบนี้ไปจำหน่ายให้ประเทศต่างๆทั่วโลก แต่ถ้าเราดำเนินการช้า ก็หมายความว่าเราต้องไปต่อคิวจากประเทศต่างๆที่มีการจัดซื้อก่อนหน้าเรา ดังนั้นเมื่อเมื่อได้รับอนุมัติให้ขายได้ เราต้องดำเนินการเซ็นต์สัญญาให้เร็วที่สุด 
แต่ถ้าสหรัฐฯไม่ขายให้ทอ.ก็ต้องคืนเงิน 369 ล้านบาทที่ได้งป. ปี 66 ให้รัฐบาล  ส่วนจะดำเนินการจัดหายุทโธปกรณ์แบบใดต่อในปี 67 ก็ต้องมาพิจารณากันอีกที เราไม่สามารถเอางป.นี้ไปจัดหาเครื่องบินแบบอื่นได้ 
เรื่องนี้กองทัพอากาศได้ทำงานอย่างเต็มที่เนื่องจาก F-35 ในเฟสแรกไม่มีการจัดซื้ออาวุธมาด้วย แต่เราก็ถือว่าความทันสมัยนั้นเป็นอาวุธของเรา อีกทั้ง F-35 ก็สามารถติดตั้งเชื่อมต่ออาวุธบางอย่างที่ทอ.มีใช้งานได้เลย สุดท้ายโอกาสที่จะขายหรือไม่ขายให้อยู่ที่ 50/50 ซึ่งก็ต้องรอดูกันต่อไป ...

กองทัพอากาศส่งเครื่องบิน F-16 ฝึกบินตามแผนป้องกันประเทศ
วันนี้ (วันที่ 27 ตุลาคม 2565) พลอากาศตรี ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยว่า 
กองทัพอากาศตระหนักถึงการดำรงขีดความสามารถในการป้องกันทางอากาศ  จึงกำหนดให้มีการฝึกเตรียมความพร้อมของเครื่องบินรบ และหน่วยปฏิบัติหน้าที่ในระบบป้องกันทางอากาศ 
รวมทั้งซักซ้อมความเข้าใจในการประสานการปฏิบัติร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับหน่วยภาคพื้นอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มการฝึกตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
ทั้งนี้การขึ้นบินของเครื่องบินขับไล่แบบที่ 19 หรือ F-16 นั้น เป็นภารกิจการฝึกบิน บริเวณพื้นที่การฝึกทางด้านทิศตะวันตกของประเทศไทย ครอบคลุมจังหวัดอุทัยธานี, จังหวัดนครสวรรค์, จังหวัดกำแพงเพชร, จังหวัดตาก และจังหวัดแม่ฮ่องสอน
โดยมีลักษณะรูปแบบการฝึก คือ การบินลาดตระเวนด้วยสายตาและการบินลาดตระเวนด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ระยะความสูงต่ำและระยะความสูงสูง เพื่อเฝ้าระวังเหตุ และสร้างความคุ้นเคยกับภูมิประเทศให้กับนักบิน
ขอให้พี่น้องประชาชนเชื่อมั่นว่ากองทัพอากาศมุ่งมั่นปฏิบัติภารกิจการป้องกันทางอากาศอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อพิทักษ์รักษาอธิปไตยของชาติ และความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนเป็นสำคัญ

ภารกิจลาดตระเวนทางอากาศติดอาวุธ (Armed Reconnaissance: Armed Recce)
หนี่งในภารกิจของกองทัพอากาศ เพื่อตรวจตราความเรียบร้อยของพื้นที่ที่กำหนด ซึ่งโดยปกติจะใช้เครื่องบินขับไล่/โจมตีจำนวน 2 หรือ 4 เครื่อง 
ติดอาวุธที่เหมาะสมกับภารกิจทั้งอาวุธอากาศสู่อากาศ หรืออากาศสู่พื้น เช่น จรวดนำวิถี AIM-9 จรวดนำวิถี AIM-120 ระเบิดเอนกประสงค์ (Mark: MK) หรือระเบิดนำวิถี (Guide Bomb Unit: GBU) 
เพื่อให้สามารถใช้อาวุธได้อย่างทันที เมื่อพบสถานการณ์ที่เป็นภัยต่อประเทศ หรือเพื่อป้องกันตนเองตามกฎการใช้กำลัง
ทั้งนี้การลาดตระเวนทางอากาศนั้นจะวางแผนการบินล่วงหน้า ซึ่งแตกต่างจากภารกิจการบินสกัดกั้นทางอากาศที่เครื่องจะต้องวิ่งและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ควบคุมการบินสกัดกั้นทันที

รูปภาพสวยๆ จากภารกิจลาดตระเวนทางอากาศติดอาวุธ (Armed Reconnaissance: Armed Recce)

กองทัพอากาศสหรัฐฯคาดว่าจะส่งคณะทำงานมาประเมินความเป็นไปได้ในการปฏิบัติการเครื่องบินขับไล่ F-35 ในไทยราวปลายปี พ.ศ.๒๕๖๕ นี้ ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯคาดว่าจะมีการตัดสินใจว่าจะอนุมัติความเป็นไปได้ในการขาย F-35 ให้ไทยหรือไม่ในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
งบประมาณวงเงินราว ๗,๓๘๓,๐๐๐,๐๐๐บาท($193,812,610) สำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35A ระยะแรก ๒เครื่องจะรวมเครื่องยนต์ อะไหล่ อุปกรณ์ พื้นฐานแต่ไม่รวมอาวุธที่ส่วนใหญ่สามารถใช่ร่วมกับที่กองทัพอากาศไทยมรอยู่แล้ว เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-120C AMRRAM
อย่างไรก็ตามถ้ารัฐบาลสหรัฐฯตัดสินไม่อนุมัติการขาย F-35 ให้ไทย กองทัพอากาศไทยก็ยืนยันที่จะคืนงบประมาณวงเงิน ๓๖๙,๑๓๔,๕๐๐บาท($10.2 million) ในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ กลับให้กระทรวงการคลัง จากนั้นก็จะต้องศึกษาเครื่องบินขับไล่แบบอื่นที่จะทดแทน บ.ข.๑๙ F-16A/B กันใหม่

ขณะที่เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๕ กองทัพอากาศประกาศการฝึกความพร้อมกำลังรบทางอากาศในพื้นที่ชายแดนตะวันตกของไทย โดยรวมถึงการนำเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM ELMU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ทำภารกิจลาดตระเวนทางอากาศติดอาวุธ(Armed Reconnaissance)
อย่างไรก็ตามในแหล่งข้อมูลเปิดเช่น Flightradar24 ซึ่งเป็น Website แสดงการติดตามการเดินทางของอากาศยาน ยังได้แสดงถึงเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ บ.ค.๑ Saab 340 Saab 340 ERIEYE AEW&C ฝูงบิน๗๐๒ กองบิน๗ ทำการบินในบริเวณชายแดนตะวันตกด้วย
นี่ทำให้มีข้อสังเกตว่ากองทัพอากาศไทยกำลังทำการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่กองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lei) ได้เพิ่มการใช้กำลังอากาศยานทั้งเครื่องบินรบและเฮลิคอปเตอร์ทางทหารปฏิบัติการโจมตีกองกำลังกลุ่มชาติพันธ์และกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารพม่ามากขึ้น

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมากองทัพอากาศพม่าได้มีการเพิ่มขีดความสามารถกำลังทางอากาศของตนมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดหาเครื่องบินรบที่สามารถใช้อาวุธนำวิถีความแม่นยำสูงและระบบตรวจจับเป้าหมายทุกกาลอากาศหลายแบบ(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/ftc-2000g.html)
ล่าสุดคือการโจมตีทางอากาศงานฉลองครบ ๖๒ปี KIO(Kachin Independence Organization) ที่เมือง Nang Pa in Hpakant วันที่ ๒๔ ตุลาคม 2022 เวลาท้องถิ่นประมาณ 2000 ซึ่งทำให้นักแสดงนักร้อง พลเรือน และนายทหารระดับสูงกองกำลัง KIA(Kachin Independence Army) เสียชีวิตมากกว่า ๖๐คน
ซึ่งทั้งเครื่องบินขับไล่ JF-17, เครื่องบินฝึก/โจมตีเบา Yak-130, เครื่องขับไล่ Su-30SME และเครื่องขับไล่ฝึก FTC-2000G ต่างมอบขีดความสามารถที่ทำลายข้อจำกัดในอดีตแก่กองทัพพม่าที่นิยมใช้วิธีเผาและทำลายล้างทั้งชุมชนที่ต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อชายแดนไทยครับ


6 of 12 LG1 MK3 105mm howitzer artillery for Royal Thai Army (RTA) at NEXTER factory in France to be shipping to Thailand.


Thailand's Defence Technology Institute (DTI) has initiated a project to procure and develop technologies based around China's 105 mm CS/AH2 light howitzer, seen at Airshow China 2021.





2nd Anti-Aircraft Artillery Battalion, 2nd Anti-Aircraft Artillery Regiment, Army Air Defense Command, Royal Thai Army conducted Unit School training for new modernized Bofors 40mm L/70 OES (TYPE A upgraded) automatic gun on 18-20 October 2022.

เจ้าหน้าที่ บ.ยูไนเต็ดดีเฟนซ์เทคโนโลยีจำกัด ตรวจสอบนความเรียบร้อย ปืนใหญ่ LG1 MK 3   6 ระบบแรก ที่โรงงาน NEXTER ประเทศฝรั่งเศส ก่อนทำการขนส่งมาประเทศไทย

กองทัพบกไทยได้ประกาศโครงการซื้อปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งแบบลากจูง ขนาด 105mm แบบที่๑ วงเงิน ๘๓๔,๔๐๐,๐๐๐บาท($26,722,194 or 22,677,763 Euros) จากบริษัท ยูไนเต็ด ดีเฟนซ์ เทคโนโลยี จำกัด(UNITED DEFENSE TECHNOLOGY Co., Ltd.) ไทย
ซึ่งคือปืนใหญ่เบาลากจูงแบบ Nexter LG1 Mk III ขนาด 105mm จำนวน ๑๒ระบบ จากภาพการตรวจสอบ ณโรงงาน บริษัท NEXTER Systems ฝรั่งเศส ปืนชุดแรกจำนวน ๖ระบบคาดว่าจะมีการส่งมอบมาถึงไทยได้ในเร็วๆนี้(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/lg1-mk-iii-105mm.html)
มีข้อมูลว่าปืนใหญ่เบาลากจูง LG1 Mk 3 ชุดแรกจำนวน ๖ระบบหรือหนึ่งกองร้อยปืนใหญ่ น่าจะถูกนำเข้าประจำการในกองพันทหารปืนใหญ่ที่๑๑ กรมทหารราบที่๑๑๒ กองพลทหารราบที่๑๑ ตามการปรับปรุงความทันสมัยของหน่วยปืนใหญ่ช่วยตรงกรมทหารราบยานเกราะล้อยาง Stryker RTA 8x8

ด้าน สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI เองก็มี โครงการวิจัยร่วมและพัฒนาจัดสร้างต้นแบบปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งขนาด 105mm แบบ CS/AH2 ระยะที่๑ วงเงิน ๔๘,๐๐๐,๐๐๐บาท($1,439,712) กับบริษัท POLY TECHNOLOGIES, INC. สาธารณรัฐประชาชนจีน
ซึ่งปืนใหญ่เบา CS/AH2 ขนาด 105mm ที่มีการนำมาจัดแสดงในงานแสดงอาวุธในจีนล่าสุดจะเป็นปืนใหญ่ลากจูงขนาดเบาลักษณะเดียวกับ ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง ปบค.๔๙ M119(L119) ที่ประจำการใน กองพันทหารปืนใหญ่ที่๓๑ รักษาพระองค์ ซึ่งประกอบในไทย และ LG1 Mk3
เป็นที่เข้าใจว่ากองทัพบกไทยยังมีความต้องการทดแทนปืนใหญ่เบา 105mm หลายแบบที่มีอายุการใช้มานานและล้าสมัยซึ่งเป็นได้ทั้ง ป.ลากจูง หรือ ป.อัตตาจร อย่างไรก็ตามโครงการของ DTI มีวัตถุประสงค์หลักที่การสร้างต้นแบบ แต่จะเข้าประจำการจริงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจในอนาคต

โครงการจ้างซ่อมปรับปรุงปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน Bofors 40mm L/70 วงเงิน ๔๔๖,๕๐๐,๐๐๐บาท($13,996,873.07) ราคาต่อหน่วย ๒๓,๕๐๐,๐๐๐บาท($736,677.53) โดยบริษัท ARMISYS SUPPLY ไทย ที่ประกาศในปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ระบบที่ได้รับการปรับปรุงก็ถูกส่งมอบแล้ว
ตามที่ กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๒ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๒ ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ได้จัดการฝึก Unit School การใช้การใช้ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานแบบ Bofors 40mm L/70 OES (TYPE A ปรับปรุง) ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๕
เป็นที่เข้าใจว่า หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ นปอ. กองทัพบกไทย จะได้รับมอบ ปตอ.Bofors 40mm L/70 OES ที่ปรับปรุงความทันสมัยโดยเอกชนไทยเข้าประจำการในหน่วยใช้งานของตนต่อไปได้อีกนานครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/bofors-40mm-l70.html)








Royal Thai Army and US Army conduct Joint Pacific Multinational Readiness Center Rotation 23-01 at Area X -Ray Schofield barracks and Big Island Hawaii 15 October - 17 November 2022.

“THE MAN”
The infantry does not change. We are the only arm of the military where the weapon is THE MAN himself. 
“ข้าคือทหารราบ” 
กองร้อยทหารราบของไทยได้ทำการเคลื่อนย้ายกำลังพลทั้งหมดเข้ายังพื้นที่รับการประเมินผล ณ Big Island รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา 

Combined Arms Rehearsal (CAR) ซักซ้อมเเผนการปฏิบัติบนภูมิประเทศจำลอง
การฝึกร่วม JPMRC 23-01 (Joint Pacific Multinational Readiness Center Rotation 23-01) ณ  Area X -Rayค่าย Schofield barracks รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา
โดยการฝึกในวันนี้ยังมีในส่วนของ การใช้อุปกรณ์เลเซอร์ที่ติดตั้งมากับอาวุธ SAW และ M249 และการสาธิตการตั้งยิงปืนกลโดย SFAB ให้กับหมู่ปืนกลและพลปืนเล็กกล \ 
การฝึกการบรรจุ การแก่เหตุติดขัด และการเปลี่ยนพลยิง ของหมู่ปืนกล \ การติดอุปกรณ์ MIELS, รับความรู้เกี่ยวกับยานพาหนะเเละยุทโธปกรณ์ประจำยานพาหนะ

กองทัพบกไทยส่งทหารร่วมฝึกกับกองทัพบกสหรัฐฯ ณ Area X -Ray ค่าย Schofield barracks และ Big Island รัฐ Hawaii สหรัฐ ระหว่างวันที่ ๑๕ ตุลาคม-๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เป็นความร่วมมือทางทหารในการส่งกำลังพลไปฝึกร่วมที่สหรัฐฯที่มีมาต่อเนื่องหลายปีของกองทัพบกไทย
กำลังพลหลักจากทั้งกองพันทหารราบที่๑ กรมทหารราบที่๑๕ กองพลทหารราบที่๕(1st Infantry Battalion, 15th Infantry Regiment, 5th Infantry Division) กองทัพภาคที่๔(4th Army Area) ร่วมกับนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าและนักเรียนนายสิบทหารบก จัดกำลังเข้าร่วมการฝึกที่สหรัฐฯ
กำลังพลกองทัพบกไทยได้แสดงถึงเครื่องแบบและอุปกรณ์สนามแบบใหม่ที่ทันสมัยทัดเทียมกับของกองทัพบกสหรัฐฯ และการฝึกเรียนรู้การใช้งานและปฏิบัติการกับอาวุธใหม่ เช่นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง FGM-148 Javelin ที่กำลังจัดหา และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง CH-47F Chinook ครับ