วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

มาเลเซียเตรียมปล่อยเรือฟริเกต LCS Gowind ลำแรก KD Maharaja Lela ลงน้ำ

First LCS Gowind Frigate for Royal Malaysian Navy set for August 24th Launch
The first LCS Gowind frigate for the RMN out of the construction hall at Lumut shipyard. Note that the mast is fitted. Picture via @MohdAzzmel

The first LCS Gowind frigate for the RMN out of the construction hall at Lumut shipyard. Picture via @MohdAzzmel

The first LCS Gowind frigate for the RMN out of the construction hall at Lumut shipyard
https://navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/2017/august-2017-navy-naval-forces-defense-industry-technology-maritime-security-global-news/5493-first-lcs-gowind-frigate-for-royal-malaysian-navy-set-for-august-24th-launch.html

กองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut DiRaja Malaysia) ได้ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าเรือฟริเกต Littoral Combat Ship(LCS) Gowind ลำแรก
ที่สร้างโดยอู่เรือ Boustead Heavy Industries Corporation Berhad(BHIC) ที่ Lumut ทางตะวันตกของมาเลเซีย จะมีกำหนดทำพิธีปล่อยเรือลงในวันที่ 24 สิงหาคมนี้

ผู้สังเกตการณ์และเจ้าหน้าที่ของกองทัพเรือบางส่วนได้เผยแพร่ภาพของการก่อสร้างตัวเรือ โดยเรือ LCS Gowind ลำแรกของกองทัพเรือมาเลเซียนี้มีหมายเลขเรือ 2501 ได้รับการตั้งชื่อเรือว่า KD Maharaja Lela
ซึ่งนำชื่อมาจาก Dato Maharaja Lela(เสียชีวิต 20 มกราคม 1877) วีรบุรษแห่งชาติจากรัฐ Perak ซึ่งผู้นำชาตินิยมชาวมาลายูในการต่อต้านการเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรที่ปกครองมาเลเซียในเวลานั้น

เมื่อปลายปี 2016 กองทัพเรือมาเลเซียได้จัดทำ Website แบบสำรวจเพื่อให้ประชาชนมาเลเซียลงชื่อว่าจะให้โครงการเรือฟริเกต LCS หรือในอีกชื่อคือ Second Generation Patrol Vessel(SGPV) ใช้ชื่อชั้นเรือจากกลุ่มใดจากสามกลุ่มคือ
กลุ่ม1 นักรบ(Pejuang) สัญลักษณ์แห่งจิตวิญญาณเพื่อปกป้องเอกราชของชาติ, กลุ่ม2 อาวุธ(Senjata) การเสริมอำนาจของอาวุธโบราณที่ใช้โดยเหล่านักรบแห่งแผ่นดินเกิดต่อผู้รุกราน และกลุ่ม3 ความกล้าหาญ(Nilai Keberanian) การเสริมความกล้าหาญและความเป็นวีรชนในจิตวิญญาณการต่อสู้ของตัวบุคคลและกองทัพ

โดยผล Vote นั้นกลุ่มที่ได้รับเลือกคือ กลุ่ม1 นักรบ ซึ่งชื่อชั้นเรือของเรือฟริเกต LCS ชั้น Gowind ทั้ง 6ลำจะถูกตั้งชื่อตามวีรบุรุษแห่งชาติของมาเลเซียดังนี้คือ KD Maharaja Lela, KD Sharif Mashor, KD Raja Mahadi, KD Mat Salleh, KD Tok Janggut และ KD Mat Kilau
เรือลำแรกของเรือฟริเกตชั้น Maharaja Lela คือ KD Maharaja Lela 2501 นั้นได้ทำพิธีวางกระดูกงูเรือเมื่อ 8 มีนาคม 2016(http://aagth1.blogspot.com/2016/03/gowind.html)

ตามที่ได้ทราบจากงานแสดงการบิน LIMA 2017 ที่ Langkawi เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่า ระบบ Panoramic Sensors and Intelligence Module(PSIM) จะยังไม่มีการติดตั้งระบบบนเรือก่อนการทดลองเรือหน้าท่าที่จะมีขึ้นในเดือนมิถุนายน 2018(แม้ว่าจะมีภาพการติดตั้งเสากระโดงเรือแล้ว)
PSIM เป็นชุด Module ระบบขนาดใหญ่ที่บูรณาการระบบตรวจจับ, ระบบอำนวยการรบ ระบบสื่อสาร และสถานีปฏิบัติการรวมไว้ด้วยกัน ตามข้อมูลล่าสุดจากกองทัพเรือมาเลเซียเรือฟริเกต LCS ชั้น Maharaja Lela ควรจะมีความพร้อมปฏิบัติการได้ในปี 2023

เรือฟริเกต LCS Gowind ลำที่สอง(KD Sharif Mashor) ได้มีการวางกระดูงูเรือเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2017 และมีกำหนดจะปล่อยเรือลงน้ำในเดือนพฤษภาคม 2018 โดยมีการยืนยันว่าอัตราความเร็วการสร้างและปล่อยเรือลำต่อต่อๆมาจะเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ
เมื่อต้นปี 2011 กองทัพเรือมาเลเซียได้เปิดโครงการ SGPV วงเงิน 6 billion Malaysian Ringgit(1.9 billion) สำหรับการจัดหาเรือฟริเกตที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก 6ลำ

โดยในปลายปี 2011 ผู้ชนะการแข่งขันคัดเลือกคือแบบเรือ Gowind ของบริษัท Naval Group(DCNS เดิม) ฝรั่งเศส ร่วมกับอู่เรือ Boustead Naval Shipyard มาเลเซีย สำหรับการถ่ายทอด Technology เพื่อสร้างในประเทศ
เรือฟริเกต LCS/SGPV มาเลเซียมีพื้นฐานจากแบบเรือคอร์เวต Gowind 2500(เช่นเดียวกับที่กองทัพเรืออียิปต์เลือกจัดหา) โดยเรือของกองทัพเรือมาเลเซียนั้นมีขนาดใหญ่กว่าดังนั้นจึงถูกจัดชั้นเป็นเรือฟริเกต(ตัวเรือยาว 111m ระวางขับน้ำ 3,100tons)

เรือฟริเกต LCS มาเลเซียมีความแตกต่างจากเรือคอร์เวตชั้น El Fateh(Gowind) กองทัพเรืออียิปต์มากเช่น ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ NSM(Naval Strike Missile) ของ Kongsberg สวีเดน ปืนใหญ่เรือ BAE Systems Bofors 57mm Mk3 ทรง Stealth แบบเดียวกับเรือคอร์เวตชั้น Visby กองทัพเรือสวีเดน ขณะที่เรืออียิปต์ติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ MBDA Exocet MM40 ฝรั่งเศส และปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76mm จาก Leonardo อิตาลี
เรือมาเลเซียยังติด Radar SMART-S Mk2 จาก Thales ระบบควบคุมการยิงและกล้อง Optronic จาก Rheinmetall เยอรมนี กับระบบสื่อสารบูรณาการจาก Rhode & Schwarz เยอรมนีครับ