วันอังคารที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2560

เปรียบเทียบข้อมูลสมรรถนะเรือดำน้ำ S26T จีนและ Project 636 Kilo รัสเซีย

Submarine presentation of China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) and China Shipbuilding & offshore International(CSOC) at Ship Tech.III 2016 (My Own Photo)

Conventional Submarine model of China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) and China Shipbuilding & offshore International(CSOC) at Ship Tech.III 2016 (My Own Photo)

เรือดำน้ำแบบ S26T จีน
มิติขนาด: ยาว 79.5m กว้าง 8.6m สูง 9.2m
ระวางขับน้ำ: ที่ผิวน้ำ 2,660tons ขณะดำใต้น้ำประมาณ 3,660tons
ดำได้ลึกสุด: 300m ใน ๕๐๐วงรอบการดำ(500cycles)
ความลึกปฏิบัติการลึกสุด: 240m
ความลึกเมื่อใช้ระบบขับเคลื่อน AIP(Air-Independent Propulsion): 200m
ระดับความลึกกล้องตาเรือ(Periscope Depth): น้อยสุด 16.6m สูงสุด 30m
ระดับความลึกท่อ Snorkel: 17m
ความลึกปฏิบัติการน้อยสุด: 50m
ระดับความลึกปลอดภัย: 60m
ระบบขับเคลื่อน: เครื่องยนต์ดีเซล(สิทธิบัตร MTU เยอรมนี)สองเครื่อง และ Motor ไฟฟ้ากำลังขับ 5,515kW พร้อมระบบขับเคลื่อน AIP แบบวัฏจักร Stirling สามชุดให้กำลังชุดละ 75kW รวม 225kW
ความเร็วขณะดำใต้น้ำสูงสุดเมื่อใช้ Battery: 18knots ในเวลา ๑๐นาที 17knots ในเวลา ๑ชั่วโมง
ความเร็วขณะดำใต้น้ำสูงสุดเมื่อใช้ กล้องตาเรือ และท่อ Snorkel: 10knots
ความเร็วเงียบ(Silent Speed): 4knots เมื่อใช้ Battery และ 3.2knots เมื่อใช้ AIP
ความเร็วการดำเนินกลยุทธต่ำสุด: 3knots
ความเร็วเดินทาง: 8knots
พิสัยทำการไกลสุด(เมื่อใช้แหล่งความเร็วและพลังงานขับเคลื่อนผสมกันทั้งเครื่องดีเซล, Battery และ AIP): 8,000nmi
พิสัยทำการเมื่อดำใต้น้ำต่อเนื่อง: 260nmi ที่ความเร็ว 4knots โดยระดับพลังงาน Battary ลดจาก 100% เหลือ 20% ใช้กำลังไฟฟ้านอกจากระบบขับเคลื่อน(Hotel Load) 60kW
ระยะเวลาทำการ: ๖๐-๖๕วัน(60-65 days)
ดำน้ำได้นานที่สุด: มากกว่า ๒๐วัน, เมื่อใช้ AIP ต่อเนื่องที่ความเร็ว 3.2knots ๑๐วัน ใช้กำลังไฟฟ้านอกจากระบบขับเคลื่อน(Hotel Load) 75kW
จำนวนเป้าหมายสูงสุดของสถานีวิเคราะห์การเคลื่อนที่(Target Motion Analysis): ๖๔เป้าหมาย(64 Targets) กำหนดการยิงเป้าหมายได้ต่อเนื่อง ๔-๖เป้าพร้อมกัน โจมตีเป้าหมายได้พร้อมกันสูงสุด ๒เป้าหมาย
ระบบอาวุธ: ท่อ Torpedo ๖ท่อยิง สามารถใช้ได้ทั้ง Torpedo, อาวุธปล่อยนำวิถี และทุ่นระเบิด ประกอบด้วย
-Torpedo แบบ ET38(รุ่นส่งออกมีพื้นฐานจาก Yu-6) ทวิประสงค์ต่อต้านเรือดำน้ำและเรือผิวน้ำ นำวิถีด้วยเส้นลวด, เสียงและพลิ้วคลื่น(Fiber-Optic Wire-Guided+Passive/Active Acoustic Homing+Wake Homing) ระยะยิงประมาณ 45-50km ความเร็วสูงสุด 50-65knots(ไม่ทราบระยะยิงที่ความเร็วสูงสุด)
-อาวุธปล่อยนำวิถีแบบ CM-708UNB ระยะยิง 290km ยิงได้ทั้งเป้าหมายเรือผิวน้ำขนาด 3,000tons ที่ความเร็วไม่เกิน 30knots และเป้าหมายตรึงประจำที่ภาคพื้นดินชายฝั่ง(Surface Ships and Inshore fixed Targets)
ควบคุมการยิงได้พร้อมกัน ๔นัด และเตรียมข้อมูลได้พร้อมกันอีก ๒นัด ใช้ได้ที่ความลึก 100m ขึ้นไป
-ทุ่นระเบิด ๓๖ทุ่น แบบ Smart Mine, Bubble Shell, เป้าลวง Torpedo Decoy แบบ MSS-01
อายุการใช้งานตัวเรือ: ๒๕ปี(25 years)
กำลังพล: ประมาณ ๕๐นาย (การฝึกครอบคลุมกำลังพล ๑๗๖นาย ประกอบด้วยนายทหารชั้นประทวน ๑๐๕นาย, นายทหารสัญญาบัตรประจำแผนก ๒๘นาย, นายทหารบังคับบัญชา ๘นาย, ผู้บังคับการเรือ ๘นาย, ครูฝึก ๘นาย, ช่างซ่อมบำรุง ๑๓นาย, นายทหารแพทย์ใต้น้ำ ๔นาย และช่างเชื่อม ๒นาย)

B-261 Novorossiysk Project 636.3 Varshavyanka (Improved Kilo) Conventional Submarine, Black Sea Fleet, Russian Navy(wikipedia.org)

เรือดำน้ำชั้น Project 636 Varshavyanka (Improved Kilo) 
มิติขนาด: ยาว 73.8m กว้าง 9.9m สูง 6.2m
ระวางขับน้ำ: ที่ผิวน้ำ 2,350tons ขณะดำใต้น้ำ 3,950tons
ดำได้ลึกสุด: 300m
ความลึกปฏิบัติการลึกสุด: 240m
ระดับความลึกกล้องตาเรือ(Periscope Depth): 19m
ระดับความลึกท่อ Snorkel: 17m
ระดับความลึกปลอดภัย: มากกว่า 50m
ระบบขับเคลื่อน: เครื่องยนต์ดีเซลกำลังขับ 1,000kW สองเครื่อง และ Motor ไฟฟ้ากำลังขับ 4,100kW
ความเร็วขณะดำใต้น้ำสูงสุดเมื่อใช้ Battery: 20knots
ความเร็วขณะดำใต้น้ำสูงสุดเมื่อใช้ กล้องตาเรือ และท่อ Snorkel: 10knots
ความเร็วเดินทาง: 7knots
พิสัยทำการไกลสุด(เมื่อใช้แหล่งความเร็วและพลังงานขับเคลื่อนผสมกันทั้งเครื่องดีเซล และ Battery): 6,500nmi
พิสัยทำการเมื่อดำใต้น้ำต่อเนื่อง: 400nmi ที่ความเร็ว 3knots
ระยะเวลาทำการ: ๔๕วัน(45 days)
จำนวนเป้าหมายสูงสุดของสถานีวิเคราะห์การเคลื่อนที่(Target Motion Analysis): ๑๔เป้าหมาย(14 Targets)
ระบบอาวุธ: ท่อ Torpedo ๖ท่อยิง สามารถใช้ได้ทั้ง Torpedo และอาวุธปล่อยนำวิถี รวม ๑๘นัด ประกอบด้วย
-Torpedo แบบ TEST-71ME ต่อต้านเรือดำน้ำเท่านั้น(Anti-Submarine Only) นำวิถีด้วยเส้นลวดและเสียง(Wire-Guided+Acoustic Homing) ระยะยิง 20km ความเร็วสูงสุด 40knots
กับแบบ 53-65KE ต่อต้านเรือผิวน้ำเท่านั้น(Anti-Surface Ship Only) นำวิถีด้วยพลิ้วคลื่น(Wake Homing) ระยะยิง 19km ความเร็วสูงสุด 45knots
-อาวุธปล่อยนำวิถีแบบ Club-S รวม ๔นัด แบ่งเป็น 3M-54E1 สำหรับต่อต้านเรือผิวน้ำ และ 3M-14E สำหรับโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดิน ระยะยิง 300km ใช้ได้ที่ความลึก 100m ขึ้นไป
-ทุ่นระเบิด ๒๔ทุ่น
อายุการใช้งานตัวเรือ: ไม่เกิน ๒๕-๓๐ปี(no more than 25-30 years)
กำลังพล: ๕๒นาย

จากที่มีการเผยแพร่เอกสารการนำเสนอข้อมูลเรือดำน้ำแบบ S26T ของ CSOC สาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเป็นเอกสารที่เสนอต่อคณะกรรมการคัดเลือกแบบเรือดำน้ำในช่วงการพิจารณาแบบเรือในปี พ.ศ.๒๕๕๘(2015) ที่น่าจะมีแหล่งที่มาจากเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องในกองทัพเรือเอง
(แต่น่าเสียดายที่ว่าถูกนำไปขยายผลโดยผู้ไม่หวังดีต่อกองทัพเรือไทย ในการโจมตีเรื่องความโปร่งใสในกระบวนการจัดหา และข้อกังขาในสมรรถนะของเรือดำน้ำที่ด้อยกว่าเรือดำน้ำแบบต่างๆของประเทศอื่นที่ส่งเข้าแข่งขัน ทั้งยังเสนอข้อมูลใส่ร้ายว่ากองทัพเรือโกหกประชาชนด้วย)
ในประเด็นสมรรถนะของเรือดำน้ำ S26T ที่มีพื้นฐานจากเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าโจมตีตามแบบชั้น Type 039B ที่ถูกสร้างเข้าประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) นั้น
มักจะถูกอ้างอิงว่ามีเรือดำน้ำจีนที่เสนอให้ไทยสมรรถนะด้อยว่าเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Project 877 Paltus (NATO กำหนดรหัส Kilo) และ Project 636 Varshavyanka (NATO กำหนดรหัส Improved Kilo) ที่กองทัพเรือรัสเซียมีประจำการและส่งออกได้หลายประเทศทั่วโลกรวมถึงจีน

อย่างไรก็ตามจากการเปรียบเทียบจากเอกสารที่เผยออกมาและแหล่งข้อมูลเปิดเผยของเรือดำน้ำทั้งสองชั้นนั้นพบว่า เรือทั้งสองชั้นมีข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบแตกต่างกันไปในแต่ละจุด
โดยรวมเรือดำน้ำ S26T จีนจะมีจุดเดียวเหนือกว่าเรือดำน้ำ Kilo รัสเซียคือเรือดำน้ำจีนมี AIP ทำให้มีพิสัยทำการไกลกว่า ขณะที่ระบบ AIP ซึ่งรัสเซียเองยังพัฒนาไปใช้กับเรือดำน้ำชั้น Project 677 Lada ของตนเองไม่เสร็จเลย แต่จีนมีใช้และพร้อมจะส่งออกให้ไทยแล้ว
เรือดำน้ำชั้น Amur 1650 ที่รัสเซียเสนอส่งออกต่างประเทศนั้นมีการเสนอทางเลือกในการติดตั้งระบบ AIP แบบ Kristall-27E ซึ่งเป็นแบบ Fuel Cell(oxygen-hydrogen) ขณะที่ AIP ของ S26T เป็นแบบวัฏจักร Stirling
อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้ยังไม่มีเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้นใดของรัสเซียที่ได้รับการติดตั้งระบบ AIP ตามที่เคยรายงานไปว่ากองทัพเรือรัสเซียยังไม่ได้ติดสินใจที่จะให้เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าของตนติดตั้งระบบ AIP(http://aagth1.blogspot.com/2017/01/aip.html)

แต่ถึงตอนนี้เรือดำน้ำชั้น Lada เองก็ยังอยู่ในระหว่างการสร้างเพิ่มอีก ๒ลำ จากลำแรกที่มีปัญหาต้องแก้แบบเรือใหม่ โดยรัสเซียกำลังพัฒนาเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าใหม่แบบ Kalina
และตอนนี้รัสเซียก็ยังคงต่อเรือดำน้ำชั้น Kilo ใช้เองและส่งออกซึ่งไม่มี AIP อีกทั้งเรือชั้น Amur ก็ยังไม่มีลูกค้าเลย ซึ่งกองทัพเรือไทยน่าจะมีการศึกษาแล้วขณะที่รัสเซียเสนอเรือดำน้ำ Kilo Project 636 และ Amur 1650
แต่ทั้งนี้เนื่องจากเอกสารของ S26T ที่ออกมานั้นเป็นเอกสารในปี 2015 อีกทั้งยังไม่ครบถ้วนทั้งเล่ม ดังนั้นอาจจะมีข้อผิดพลาดและแตกต่างไปจากเรือดำน้ำ S26T ล่าสุดที่ได้รับการปรับแก้เพื่อเสนอให้กองทัพเรือไทยล่าสุดครับ
(ไม่ขอนำตัวเอกสารมาลงเผยแพร่ เนื่องจากดูแล้วเป็นเอกสารข้อมูลปกปิด ทั้งยังเป็นการ Scan ที่อาจจะถูกแก้ไขดัดแปลงได้ด้วยครับ)