วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การจัดหาเรือฟริเกตใหม่จาก Hyundai เกาหลีใต้อาจมีปัญหาหลัง ผบ.กองทัพเรือฟิลิปปินส์ถูกสั่งย้ายกะทันหัน

Spotlight falls on Philippine frigates acquisition programme after navy chief’s sudden removal
A computer generated image of the Philippine Navy's new frigates. Source: Hyundai Heavy Industries
http://www.janes.com/article/76541/spotlight-falls-on-philippine-frigates-acquisition-programme-after-navy-chief-s-sudden-removal

ตามคำสั่ง(Acting on instructions)จากกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์(DND: Department of National Defense) กองทัพแห่งชาติฟิลิปปินส์(AFP: Armed Forces of the Philippines)
ได้มีคำสั่งสั่งย้าย พลเรือโท Ronald Joseph Mercado จากตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพเรือฟิลิปปินส์(PN: Philippine Navy) ซึ่งเป็นการสั่งย้ายอย่างกะทันหันโดยที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน

ความคืบหน้าในกรณีนี้ได้รับการยืนยันโดยโฆษกกองทัพฟิลิปปินส์ พันเอก Edgard Arevalo เมื่อวันที่ 19 ธันวาคมที่ผ่านมา และคำสั่งย้ายมีผลทันทีในวันเดียวกัน
โดยพลเรือโท Mercado ได้เข้ารับตำแหน่งผู้บัญญาการทหารเรือฟิลิปปินส์มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2016

เป็นที่คาดว่านายพลเรือ Mercado จะถูกย้ายไปรับตำแหน่งในกองบัญชาการกองทัพฟิลิปปินส์ที่ Manila ที่ซึ่งเขาจะประจำอยู่จนถึงกำหนดเกษียณอายุภาคบังคับของเขาในเดือนมีนาคม 2018 ที่จะมาถึง
โดยตามข้อกำหนดปกติของกองทัพฟิลิปปินส์ กำลังพลในกองทัพจะมีกำหนดเกษียณเมื่อมีอายุถึง 56ปี

อย่างไรก็ตามตำแหน่งที่แน่นอนของพลเรือโท Mercado ที่จะมีการแต่งตั้งใน บก.กองทัพฟิลิปปินส์ยังไม่มีการประกาศจากกองทัพฟิลิปปินส์ในเวลาที่เขียนอยู่นี้
ซึ่งผู้ที่จะมาเป็นว่าที่ผู้บัญชาการกองทัพเรือฟิลิปปินส์แทนคือ พลเรือตรี Robert Empedrad ที่เคยดำรงตำแหน่งรองเจ้ากรมการผู้เกษียณและกำลังสำรอง(Retirees and Reservists Affairs) มาก่อน

การสั่งย้ายผู้บัญชาการทหารเรือฟิลิปปินส์ซึ่งถูกมองว่าเขาขาดความน่าเชื่อถือและไว้วางใจแล้วนั้น ทำให้ความสนใจถูกจับจ้องไปยังโครงการจัดหาเรือฟริเกตเบาใหม่ 2ลำของกองทัพเรือฟิลิปินส์ ที่ถูกพบว่ามีความผิดปกติเป็นจำนวนมาก
ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคม 2016 ฟิลิปปินส์ได้เลือกบริษัท Garden Reach Shipbuilders & Engineers Ltd.(GRSE) อินเดียเป็นผู้ชนะในโครงการจัดหาเรือฟริเกตเบา เพราะยื่นราคาให้ต่ำที่สุด(http://aagth1.blogspot.com/2016/05/ssv-2.html)

แต่ต่อมาเมื่อ 29 มิถุนายน 2016 กระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ได้ประกาศตัดสิทธิ์บริษัท GRSE อินเดียออกจากโครงการจัดหาเรือฟริเกตของกองทัพเรือฟิลิปปินส์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามความต้องการของโครงการที่กำหนดไว้
โดย Fernando Manalo ปลัดกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ในเวลานั้นกล่าวว่าอู่ต่อเรือของอินเดียนั้น "ไม่มีความสามารถทางการเงินเท่าตามการคำนวณขีดความสามารถการทำสัญญาจัดหาเงินทุนสุทธิของตัวบริษัท"(http://aagth1.blogspot.com/2016/07/blog-post_2.html)

ทำให้บริษัท Hyundai Heavy Industries(HHI) สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเป็นผู้ยื่นราคาต่ำสุดเป็นอันดับสองในกลุ่มผู้ประมูล ได้ถูกเลือกให้เป็นผู้ชนะรายใหม่ในโครงการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ของกองทัพเรือฟิลิปปินส์
เหนือผู้เข้าแข่งขันรายอื่นที่เหลือคือ บริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering สาธารณรัฐเกาหลี กับบริษัท Navantia สเปน

ทำให้แบบเรือฟริเกตเอนกประสงค์ HDF-3000 ของ HHI เกาหลีใต้ ที่มีพื้นฐานจากเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Incheon(FFX-I) ของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(ROKN: Republic of Korea Navy)
ได้รับสัญญาวงเงิน 15,744,571,584 Philippine Peso($311 million) จากกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์สำหรับการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ 2ลำของกองทัพเรือฟิลิปปินส์เมื่อปี 2016 โดยมีกำหนดส่งมอบในปี 2020 ครับ(http://aagth1.blogspot.com/2016/10/hyundai-dsme.html)