Police officers are seen in front of the HMS Queen Elizabeth during its commissioning ceremony on Dec. 7, 2017, in Portsmouth, England. (Matt Cardy/Getty Images)
https://www.defensenews.com/naval/2017/12/07/britain-moves-to-restore-carrier-strike-capability-with-warship-commissioning/
กองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy) ได้เข้าใกล้ไปอีกขั้นในการกลับมามีขีดความสามารถด้านกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีอีกครั้งในวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา
ในพิธีขึ้นระวางประจำการเรือบรรทุกเครื่องบิน R08 HMS Queen Elizabeth ระวางขับน้ำ 65,000tons อย่างเป็นทางการ ณ ฐานทัพเรือ HMNB Portsmouth ทางตอนใต้ของ England
เรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Queen Elizabeth ได้เริ่มการทดสอบการปฏิบัติการร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ไปแล้วในช่วงปี 2017 นี้ และในปี 2018 เรือมีกำหนดการที่จะเดินทางไปยังชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ
เพื่อดำเนินการทดสอบการปฏิบัติการบินร่วมกับเครื่องบินขับไล่ F-35B Lightning II ส่วนหนึ่งจาก 14เครื่องที่สหราชอาณาจักรสั่งจัดหาจากบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ
HMS Queen Elizabeth เป็นเรือรบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ประจำการในกลุ่มประเทศยุโรปขณะนี้ โดยเป็นเรือลำแรกของเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Queen Elizabeth จำนวน 2ลำ
ที่สร้างโดยบริษัท BAE Systems และกลุ่มพันธมิตรอุตสาหกรรมทางเรืออังกฤษ ที่มีวงเงินโครงการประมาณ 6.2 billion British Pound($8.3 billion)
เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Queen Elizabeth ลำที่สอง R09 HMS Prince of Wales ที่ได้ทำพิธีตั้งชื่อเรือเมื่อ 8 กันยายนที่ผ่านมานั้น(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/hms-prince-of-wales-f-35b.html)
ส่วนโครงสร้างเรือได้สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว และมีกำหนดการที่จะส่งมอบให้กองทัพเรือสหราชอาณาจักรได้ในปี 2019 แต่จะมีเรือบรรทุกเครื่องบินเพียงลำเดียวที่ออกปฏิบัติการได้ในช่วงเวลาใดๆก็ตาม เนื่องจากอังกฤษไม่มีกำลังพลและทรัพยากรมากพอที่จะปฏิบัติการเรือได้พร้อมกันทั้ง 2ลำ
ในพิธีขึ้นระวางประจำการ พลเรือเอก Sir Philip Jones, First Sea Lord และผู้บัญชาการกองทัพเรือสหราชอาณาจักร ได้กล่าวว่า
"การชักธงราชนาวีอังกฤษ(White Ensign) บนเรือ HMS Queen Elizabeth วันนี้ สหราชอาณาจักรได้ยืนยันที่อยู่ของเธอท่ามกลางมหาอำนาจทางทะเลของโลกในแง่ความเกรียงไกรและความกำยำ
เรือบรรทุกเครื่องบินจะตั้งอยู่ในหัวใจของการปรับปรุงความทันสมัยและความแกร่งกล้าของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร ขีดความสามารถในการแสดงกำลังและอำนาจในทะเล ในอากาศ เหนือพื้นดิน และใน Cyberspace และเสนอทางเลือกทางทหารและทางการเมืองของชาติเราในโลกที่ไม่แน่นอนนี้"
การประจำการ HMS Queen Elizabeth อย่างเป็นทางการเป็นการกลับมามีขีดความสามารถการโจมตีด้วยเรือบรรทุกเครื่องบินอีกครั้งของกองทัพเรืออังกฤษ
หลังจากที่รัฐบาลพรรคอนุรักษ์นิยมได้สั่งปลดประจำการเรือบรรทุกเครื่องบินเบาชั้น Invicible ทั้งหมดตามแผนทวบทวนยุทธศาสตร์กลาโหมและความมั่นคง(Strategic Defence and Security Review) ในปี 2010
เป็นเวลาหลายปีจนถึงตอนนี้ที่นักบินและกำลังพลกองทัพเรือสหราชอาณาจักรได้คงทักษะของพวกตนโดยการปฏิบัติการร่วมกับกองทัพสหรัฐฯชาติพันธมิตร
ความร่วมมือที่ใกล้ชิดที่จะดำเนินต่อไปคือการนำ F-35B รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off/Vertical Landing) ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ(US Marine Corps) ที่จะทำการบินจากดาดฟ้าบินของ HMS Queen Elizabeth
การวางกำลัง F-35B นาวิกโยธินสหรัฐฯบนเรือบรรทุกเครื่องบินกองทัพเรืออังกฤษเป็นส่วนหนึ่งจากการที่อังกฤษไม่สามารถจัดหางบประมาณในการจัดหาอากาศยานที่เพียงพอที่จะทำให้เรือบรรทุกเครื่องบินสามารถใช้งานได้ในเวลาไม่กี่ปีทันทีที่เริ่มนำ HMS Queen Elizabeth เข้าประจำการ
ณ เวลานี้อังกฤษได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35B เพียง 14เครื่องเท่านั้น ซึ่งยังไม่ได้รับมอบครบทั้งหมด โดยเครื่องสุดท้ายที่สั่งในชุดปัจจุบันนี้จะมีการส่งมอบให้ได้ในอีกหลายสัปดาห์ข้างหน้า
การจัดหา F-35B ระยะต่อไปกำลังอย่ระหว่างการเจรจากับ Lockheed Martin สหรัฐฯ แต่โฆษกของกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรปฏิเสธที่จะระบุว่าจะมีการสั่งจัดหา F-35B อีกจำนวนกี่เครื่องในชุดต่อไป
อังกฤษมีความต้องการที่จะจัดหา F-35B 48เครื่องสำหรับกองทัพเรือสหราชอาณาจักร และกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(Royal Air Force) และจะประเมินการจัดหาถึง 138เครื่อง แม้ว่าจะไม่มีความชัดเจนเรื่องระยะเวลาที่แท้จริงก็ตาม
เมื่อถึงช่วงที่ HMS Queen Elizabeth เข้าใกล้ความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตราที่จะมีขึ้นในสิ้นทศวรรษปี 2020s อังกฤษมีแผนที่จะตั้งฝูงบินขับไล่ F-35B สองฝูงบินซึ่งมีเครื่องประจำการฝูงละ 24เครื่อง
เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Queen Elizabeth สามารถรองรับ F-35B ได้ 36เครื่อง แม้ว่าเจ้าหน้าที่กองทัพเรืออังกฤษจะกล่าวว่าเรือสามารถวางกำลังเครื่องบินขับไล่ได้ในจำนวนมากกว่านี้ถ้าต้องการ
คณะรัฐมนตรีรัฐบาลสหราชอาณาจักรได้เสนอว่าเครื่องบินขับไล่เหล่านี้น่าจะมีการเลือกจัดหา F-35A CTOL(Conventional Take-Off and Landing) รุ่นขึ้นลงตามแบบสำหรับกองทัพอากาศอังกฤษภายหลัง
ตั้งแต่ที่สหราชอาณาจักรจะออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในปลายปีนี้ และค่าเงิน Pound Sterling ที่อ่อนค่าลงส่งผลต่องบประมาณกลาโหม จึงมีความกังวลต่อโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 ซึ่งเป็นโครงการกลาโหมที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของอังกฤษ
การประมาณการหนึ่งว่าการจัดซื้อยุทโธปกรณ์จากสหรัฐฯของสหราชอาณาจักรควรจะมีการประเมินบัญชีทุกไตรมาสสำหรับทุก Pound ที่ใช้จ่ายในโครงการจัดหาของกลาโหม
แผนทวบทวนยุทธศาสตร์กลาโหมและความมั่นคงที่ใกล้จะมาถึงนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการคลังสหราชอาณาจักร ไม่ว่าจะมีเงินเพียงพอไม่ก็ตามที่จำเป็นจะต้องตัดงบประมาณกลาโหมลงเพื่อไม่ให้เกิดหลุมดำงบประมาณที่สูงถึง 20 billion Pound ใน 10ปีข้างหน้า
การตัดงบประมาณเหล่านี้คาดว่าจะเกิดขึ้นในแผนทบทวนกลาโหมที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมของกองทัพเรือสหราชอาณาจักรที่มีจำนวนเรือรบและขีดความสามารถลดลงไปอย่างมาก(http://aagth1.blogspot.com/2016/11/blog-post_22.html)
การเผชิญหน้าระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการคลังถึงจุดต่ำเมื่อสื่ออังกฤษรายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตรัฐมนตรีกลาโหมอังกฤษ Philip Hammond ถูกกล่าวโทษว่าเป็นต้นเหตุปัญหาหลุมดำในกระทรวงกลาโหม
และจะถูกระงับการให้ใช้บริการเครื่องบินโดยสาร VIP ของกองทัพอากาศอังกฤษจนกว่ากระทรวงการคลังจะจ่ายค่าโดยสารจากการเดินทางเที่ยวก่อนหน้านี้ครับ